โรคอีโบลาเป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดเฉียบพลันรุนแรง

โรคอีโบลาเป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดเฉียบพลันรุนแรง                   พบการระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ.2519  เป็นการระบาดที่เกิดขึ้นพร้อมกันในสถานที่ 2 แห่งคือเมือง นซารา  ประเทศซูดาน  และเมืองยัมบูกู สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกที่เมืองยัมบูกูเกิดขึ้นที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งริมแม่น้ำอีโบลา  โรคนี้จึงได้ชื่อตามชื่อแม่น้ำแต่นั้นมา                 อีโบลาไวรัส เป็นสมาชิกหนึ่งในสามสกุลของวงศ์ Filoviridae หรือไฟโลไวรัส  อีกสองสกุลได้แก่มาร์เบอร์กไวรัส และคิววาไวรัส ในสกุลอีโบลาไวรัสมีไวรัส 5 ชนิดได้แก่ 1.             บุนดีบูเกียว อีโบลาไวรัส (BDBV) 2.             ซาอีร์ อีโบลาไวรัส (EBOV) 3.             เรซตัน อีโบลาไวรัส (RESTV) 4.             ซูดาน อีโบลาไวรัส (SUDV) 5.             ไทฟอร์เรส อีโบลาไวรัส (TAFV) การแพร่โรค                 โรคอีโบลาถูกนำเข้าสู่ประชากรมนุษย์ผ่านการสัมผัสกับเลือด สิ่งคัดหลั่ง อวัยวะ หรือของเหลวชนิดอื่นจากร่างกายของสัตว์ที่ติดเชื้อ ในแอฟริกามีหลักฐานว่าการติดเชื้อเกิดขึ้นได้จากการจับต้องสัตว์ติดเชื้อได้แก่ ชิมแปนซี  กอริลลา  ค้างคาวผลไม้  ลิง  แอนติโลปป่า และเม่น  สัตว์เหล่านี้อาจกำลังป่วยหรือพบเป็นซากอยู่ในป่าทึบที่มีฝนตกมาก                 จากนั้นโรคอีโบลาก็แพร่ระบาดไปในชุมชนโดยการแพร่โรคจากคนสู่คน  การติดเชื้อเกิดจากการสัมผัสโดยตรง (ผ่านผิวหนังที่เป็นแผลหรือเยื้อชุ่ม) กับเลือด สิ่งคัดหลั่ง อวัยวะ หรือของเหลวชนิดอื่นจากร่างกายของผู้ติดเชื้อและจากการสัมผัสโดยอ้อมกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่ปนเปื้อนด้วยของเหลวดังกล่าว พิธีฝังศพที่ผู้เข้าร่วมพิธีมีโอกาสสัมผัสร่างกายของ                ผู้ตายโดยตรงมีบทบาทต่อการแพร่โรคอีโบลา  นอกจากนี้ ชายผู้หายป่วยด้วยโรคอีโบลาแล้วยังสามารถแพร่เชื้อไวรัสผ่านน้ำอุสจิของเขาได้อีกนานถึง 7 สัปดาห์หลังหายจากโรค อาการและอาการแสดงของโรค                 โรคอีโบลาเป็นโรคเฉียบพลันรุนแรงจากเชื้อไวรัส โดยมากมักจะแสดงออกเป็นไข้เฉียบพลันอ่อนเพลียมาก  ปวดกล้ามเนื้อ  ปวดศีรษะและเจ็บคอ  ตามด้วยอาการอาเจียน  ท้องเสีย  ผื่นผิวหนัง ไตและตับทำงานบกพร่อง  และในบางรายจะพบการตกเลือดทั้งภายในและภายนอก  ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่ามีปริมาณเม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดต่ำตลอดจนระดับเอ็นไซม์ตับสูงกว่าปกติ                 คนจะยังอยู่ในระยะติดต่อ  คือยังสามารถแพร่เชื้อออกไปได้ตราบเท่าที่เลือดและสิ่งคัดหลั่งของตนยังมีเชื้อไวรัส  มีการแยกเชื้อไวรัสอีโบลาได้จากน้ำอสุจิของชายผู้หนึ่งที่ติดเชื้อจากห้องปฏิบัติการในวันที่ 61 หลังจากวันเริ่มป่วย                 ระยะฟักตัวของโรคซึ่งหมายถึงระยะเวลานับจากการเริ่มติดเชื้อไวรัสจนถึงเมื่อเริ่มแสดงอาการ  ได่แก่ 2 - 21 วัน การป้องกันการติดเชื้อ                 การป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดสำหรับนักท่องเที่ยว  ผู้เดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดนั้น  ความเสี่ยงมีค่อนข้างต่ำมากแต่มีข้อระมัดระวังขั้นพื้นฐานเพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ  มีดังนี้ ·       หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยที่แสดงอาการ และ/หรือการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ·       หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับศพ และ/หรือ สารคัดหลั่งของศพ ·       หลีกหลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ป่า (ประกอบด้วย ลิง แอนติโลปป่า (สัตว์กีบคู่อยู่ในวงศ์วัวและควาย) หนู และค้างคาว) ไม่ว่าจะเป็นสัตว์มีชีวิตหรือที่ตายแล้ว หรือบริโภคเนื้อสัตว์ป่า ·       ล้างหรือปอกเปลือกผลไม้/ผัก ก่อนรัปประทาน ·       มีเพศสัมพันธุ์แบบปลอดภัยทุกครั้ง ·       ล้างมือเป็นประจำ วัคซีนและยารักษา                 ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคอีโบลา และยารักษาจำเพาะ                ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบประคับประคองอย่างเข้มงวดผู้ป่วยมักจะมีอาการขาดน้ำบ่อยๆ จึงจำเป็นต้องได้รับสารละลายเกลือแร่เพื่อแก้ไขอาการขาดน้ำ โดยอาจให้ทางปาก หรือทางเส้นเลือดสิ่งที่ควรทำสำหรับประชาชนทั่วไปสิ่งที่ควรทำ คือ ติดตามข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้รู้สถานการณ์  และมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ข้อควรรู้ที่สำคัญ                 โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (โรคอีโบลา หรือ EVD ) เดิมเรียกว่าโรคไข้เลือดออกอีโบลา  เป็นโรคของคนที่มีอาการรุนแรงและมักจะถึงแก่ชีวิต มีอัตราป่วยตายที่สูงได้ถึงร้อยละ 90 มักจะเกิดขึ้นในหมู่บ้านที่ห่างไกลของแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตกบริเวณชายป่าทึบเขตร้อนที่มีฝนตกมาก  เชื้อไวรัสนี้แพร่จากสัตว์ป่ามาสู่คน  จากนั้นจึงแพร่ระบาดต่อไปในหมู่คนโดยการแพร่โรคจากคนสู่คน ผู้ป่วยโรคนี้ที่มีอาการรุนแรงจำเป็นต้องดูแลแบบประคับประคองอย่างเข้มงวด สำหรับผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศ สิ่งที่ควรทำ 1. หลีกเลี่ยงหรือชะลอการเดินทางไปประเทศที่มีการระบาด ขณะนี้มี 4 ประเทศ ได้แก่ กินี ไลบีเรีย เซียร์ร่าลีโอน และเมืองลากอสเมืองหลวงประเทศไนจีเรีย(และตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข)    2.  ติดตามข้อมูลข่าวสารที่เป็นทางการจากกระทรวงสาธารณสุข 3.  หากจำเป็นต้องเดินทางไปประเทศที่มีการระบาด ต้อง ·หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด · หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วยหรือสัมผัสผู้ป่วย รวมเสื้อผ้าเครื่องใช้ของผู้ป่วย · หากมีอาการป่วย เช่น ไข้สูง อ่อนเพลีย   ปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ    อาเจียน  ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว รีบพบแพทย์ทันที และแจ้งประวัติ การเดินทาง สิ่งที่ไม่ควรทำ สำหรับผู้เดินทางไปประเทศที่มีการระบาด ·  ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ป่าทุกชนิด ·  ไม่สัมผัสสัตว์ป่าทุกชนิดโดยเฉพาะสัตว์จำพวกลิง หรือค้างคาว ·   ไม่ล้วงแคะแกะเกาจมูก     และขยี้ตา ด้วยมือที่ยังไม่ได้ล้าง  ·   ไม่มีเพศสัมพันธุ์กับคนที่ไม่ใช่คู่นอนหรือคู่รัก ·   ไม่ซื้อยากินเอง    เวลาเจ็บป่วยด้วยอาการไข้                ด้วยความปรารถนาดีจาก โรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ล่มปากอ่าว

ล่มปากอ่าว การหลั่งเร็วคืออะไร? การหลั่งเร็ว (premature ejaculation , PE) หรือ นกกระจอกไม่ทันกินน้ำ หรือ ล่มปากอ่าวหมายถึงภาวะที่ฝ่ายชายไม่สามารถควบคุมการหลั่งให้นานพอที่ฝ่ายหญิงจะถึงจุดสุดยอด การหลั่งเร็วเป็นอาการป่วยซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ที่เป็นและมีลักษณะ3อย่าง ดังนี้ หลั่งก่อนการสอดใส่หรือช่วงเวลาระหว่างสอดใส่และการหลั่งสั้นมาก ไม่สามารถควบคุมการหลั่งได้ รู้สึกไม่มีความสุขหรือความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักทำให้มีปัญหา 1ใน3ของผู้ชายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นเผชิญกับอาการหลั่งเร็ว การรักษาอาการหลั่งเร็ว 1.เทคนิคการปรับพฤติกรรมได้แก่เทคนิค“ stop - start”และ”squeeze” 2.การปรึกษาทางจิตวิทยา 3.การลดความไวในการรับความรู้สึกขององคชาต คือ การใช้ถุงยางอนามัยที่หนาขึ้นและการใช้ยาชาชนิดครีมหรือสเปรย์วิธีนี้ทำให้ระคายเคืองที่ปลายองคชาตและอาจทำให้ช่องคลอดหมดความรู้สึก 4.รักษาด้วยยายาเม็ดชนิดรับประทานสามารถใช้ได้ตามความต้องการครั้งละ1เม็ดและมีความปลอดภัยสูง         อะไรคือความแตกต่างระหว่างภาวะหลั่งเร็วกับภาวการณ์แข็งตัวบกพร่อง ผลกระทบของการหลั่งเร็วมีอะไรบ้าง ความคิดเห็นของผู้ชาย          ผู้ชายที่มีภาวะหลั่งเร็วรู้สึกกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์บางครั้งถึงกับหลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั้งหมดแม้แต่คู่สมรสก็อาจจะรู้สึกว่ามีบางสิ่งขาดหายไปและส่งผลกระทบต่อความใกล้ชิดสนิทสนมต่อกัน ความคิดเห็นของผู้หญิง          หญิงที่คู่รักมีภาวะหลั่งเร็วแทบจะไม่มีความพึงพอใจในการร่วมรักและกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ผู้หญิงหลายคนรู้สึกโกรธและขุ่นเคืองเนื่องจากภาวะหลั่งเร็วดูคล้ายกับฝ่ายชายเห็นแก่ตัวในการร่วมรัก แบบทดสอบ           Thai Premature Ejaculation Diagnostic Tool (PEDT) คือ แบบทดสอบที่ใช้วินิจฉัยภาวะหลั่งเร็วโดยให้ผู้ชายเป็นผู้ประเมินด้วยตนเองประกอบด้วยคำถามต่อไปนี้ 1.การควบคุมการหลั่งน้ำอสุจิของคุณเป็นอย่างไร 〇 (0)ไม่ยากเลย 〇(1)ไม่ค่อยยากนัก 〇(2)ยากปานกลาง 〇(3)ยากมาก 〇(4)ยากอย่างยิ่ง 2.คุณหลั่งน้ำอสุจิก่อนเวลาที่คุณต้องการ 〇(0)เกือบจะไม่เคยหรือไม่เคยเลย0 % 〇(1)เคยประมาณ25 % 〇(2)เคยประมาณ50 % 〇 (3)เคยประมาณ75 % 〇 (4)เกือบทุกครั้งหรือเป็นประจำ100 % 3.คุณเคยหลั่งน้ำอสุจิเมื่อถูกกระตุ้นเพียงเล็กน้อย 〇(0)เกือบจะไม่เคยหรือไม่เคยเลย0 % 〇(1)เคยประมาณ25 % 〇 (2)เคยประมาณ50 % 〇 (3)เคยประมาณ75 % 〇(4)เกือบทุกครั้งหรือเป็นประจำ100 % 4.คุณรู้สึกหงุดหงิดเพราะคุณหลั่งน้ำอสุจิก่อนเวลาที่คุณต้องการ 〇(0)ไม่เลย 〇(1)เล็กน้อย 〇(2)ปานกลาง 〇(3)มาก 〇(4)มากที่สุด 5.คุณรู้สึกกังวลเมื่อเวลาที่คุณหลั่งน้ำอสุจิแล้วขณะที่คู่ของคุณยังรู้สึกไม่พึงพอใจอย่างมากกับการมีเพศสัมพันธ์ 〇(0)ไม่เลย 〇(1)เล็กน้อย 〇(2)ปานกลาง 〇(3)มาก 〇 (4)มากที่สุด PEDT scoreผลตรวจการทดสอบแบบสอบถาม PEDT score≥11:มีอาการหลั่งเร็ว PEDT score = 9 or 10:มีความเสี่ยงที่จะมีอาการหลั่งเร็ว PEDT score≤8:ไม่มีอาการหลั่งเร็ว

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

วัคซีนไข้หวัดใหญ่

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เรียบเรียงโดย ภญ.ผศ.ดร.สุนีย์ เตชะอาภรณ์กุล โรคและความสำคัญ           ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อที่รู้จักกันดี โดยเฉพาะเมื่อครั้งล่าสุดที่เกิดการระบาดไปทั่วโลก เมื่อปี พ.ศ. 2552 ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สูงถึง 1.2 แสนราย เสียชีวิต 231 ราย ทุกปีจะพบผู้ป่วยมากในช่วงต้นฤดูฝนจนถึงปลายฤดูหนาว เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่คือ ไวรัสอินฟลูเอนซ่า ซึ่งมี 3 ชนิดคือ A, B และ C ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ก่อโรครุนแรงและเป็นสาเหตุของการระบาดทุกปี คือ Influenza A virus ซึ่งยังมีการจำแนกเป็นซับไทป์ต่างๆ ตามชนิดของโปรตีนที่เปลือกหุ้มคือ H และ N ระบุเป็น H1N1 หรือ H3N2 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบได้ทุกปี ส่วนสายพันธุ์ H5N1 เป็นสาเหตุของไข้หวัดนก ไวรัสมีการกลายพันธุ์อยู่เสมอ ไวรัสที่แยกเชื้อได้จากผู้ป่วยแต่ละปีจึงมีลำดับกรดอะมิโนแตกต่างกันบ้าง แม้จะเป็นสายพันธุ์เดียวกันเช่น H1N1 และเป็นสาเหตุที่ทำให้เชื้อดื้อยาได้ง่ายมาก การติดต่อของไข้หวัดใหญ่           ไข้หวัดใหญ่ติดต่อได้ง่ายโดยการไอ จาม หรือพูดคุย ที่เกิดได้บ่อยที่สุดคือใช้มือที่สัมผัสสิ่งของที่เปื้อนเชื้อในน้ำมูก น้ำลาย หยิบอาหารใส่ปาก ขยี้ตา แคะจมูก ซึ่งล้วนเป็นทางผ่านของไวรัสของไข้หวัดใหญ่เข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจึงควรล้างมือบ่อยๆ ปิดปากปิดจมูกเพื่อลดการกระจายเชื้อขณะไอจาม การแพร่เชื้อจะเกิดได้มาก ในที่มีคนหนาแน่น เช่น โรงเรียน โรงงาน รถประจำทาง อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ อาการโดยทั่วไป ได้แก่ มีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย ไอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บางรายมีอาการคัดจมูก หรือเจ็บคอร่วมด้วย ในเด็กอาจมีอาการอุจจาระร่วงและมีไข้สูงจนชัก ส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน แต่มีน้อยกว่าร้อยละ 10 ที่เกิดภาวะแทรกซ้อน ที่สำคัญคือ ปอดบวม และอาจรุนแรงจนเสียชีวิตได้ กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหย์ที่รุนแรงได้แก่ ผู้สูงวัย อายุ 65 ปีขึ้นไป เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี คนอ้วนมากๆ (น้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัม) คนท้องที่อายุครรภ์เกิน 16 สัปดาห์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ที่มีปัญหาด้านการกลืนและหายใจ เช่นโรคลมชัก โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง ผู้พิการทางสมอง เด็ก (อายุไม่เกิน 18 ปี) ที่ต้องกินยาแอสไพรินต่อเนื่องเป็นเวลานาน วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ประกอบด้วยไวรัส influenza A สองสายพันธุ์ คือ H3N2 และ H1N1 และไวรัส Influenza B หนึ่งสายพันธุ์ สายพันธุ์ที่ใส่ในวัคซีนมีการเปลี่ยนใหม่ทุกปี ตามที่คาดการณ์ว่าสายพันธุ์ใดจะระบาดในปีนั้น ซึ่งองค์การอนามัยโลกเป็นผู้ประกาศ โดยประเมินจากไวรัสที่แยกได้จากผู้ป่วยในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกในปีที่ผ่านมา           วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีทั้งชนิดวัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ และวัคซีนเชื้อตายทั้งสองชนิดเลี้ยงในไข่ไก่ฟัก แต่ปัจจุบันที่มีขายในประเทศไทยมีเพียงวัคซีนเชื้อตาย วัคซีนเชื้อเป็นที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมกำลังอยู่ในระหว่างการวิจัยและ พัฒนา 1) วัคซีนเชื้อตาย เดิมประกอบด้วยอนุภาคไวรัสทั้งตัวที่หมดฤทธิ์ แต่ผลข้างเคียงสูง จึงเลิกผลิต วัคซีนเชื้อตายที่มีใช้ในปัจจุบัน มี 2 แบบ คือ 1.1) split vaccine ผลิตโดยทำให้อนุภาคไวรัสแตกโดยละลายไขมันที่เปลือกหุ้มออก เหลือแต่ส่วนโปรตีนที่เปลือก (H, N) และโปรตีนส่วนอื่นๆของไวรัส ที่มีขายในไทยได้แก่ Fluarix®, Fluzone® และ Vaxigrip® 1.2) subunit vaccine มีแต่โปรตีนที่ผิว (H, N) ที่แยกให้บริสุทธิ์ บางบริษัทผสมสารเสริมฤทธิ์ ช่วยให้สร้างภูมิคุ้มกันได้ดี ที่มีขายในไทยได้แก่ Agrippal S1®, Fluad® และ Influvac®           วัคซีนเชื้อตาย ทำเป็นรูปยาน้ำขนาดบรรจุ 0.5 มล. หรือ 0.25 มล. (1 โด๊ส) ในกระบอกฉีดยา (prefilled syringe) หรือ บรรจุ 5 มล.(10 โด๊ส) ในขวดแก้ว (vial) แล้วแต่บริษัท           วัคซีนเชื้อตาย ให้ได้ทุกวัยตั้งแต่อายุ 6 เดือนเป็นต้นไป รวมทั้งคนในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหากติดเชื้อ ตลอดจนบุคคลากรทางการแพทย์และผู้ที่ต้องดูแลคนกลุ่มเสี่ยง 2) วัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ ได้จากการเลี้ยงไวรัสที่ก่อโรครวมกับไวรัสอ่อนฤทธิ์ที่เจริญได้ดีที่ อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เกิดการแลกเปลี่ยนยีน ได้ไวรัสอ่อนฤทธิ์ที่มีโปรตีน H และ N เหมือนไวรัสที่ก่อโรค เป็นรูปยาน้ำขนาดบรรจุ 0.2 มล.(1โด๊ส) ในหลอดสำหรับพ่นจมูกที่มีตัวควบคุมปริมาณยาให้พ่นได้ทีละ 0.1 มล.            ผู้ที่รับวัคซีนเชื้อเป็นได้คือผู้ที่อายุ 2 ถึง 49 ปีที่มีสุขภาพแข็งแรงและไม่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ ผู้ที่ดูแลคนในกลุ่มเสี่ยง รวมทั้งคนที่ทำงานในหอบริบาลพิเศษสำหรับทารกแรกเกิด หอผู้ป่วยโรคมะเร็ง หอผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ก็รับวัคซีนเชื้อเป็นได้ ขนาดและการบริหารวัคซีน             ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อตามธรรมชาติ หรือโดยการรับวัคซีนทั้งสองชนิดจะอยู่ได้ไม่เกิน 1 ปี และสายพันธุ์ที่ระบาดแต่ละปีก็แตกต่างกันไป จึงต้องรับวัคซีนทุกปี ปีละ 1 ครั้งในช่วงก่อนเข้าฤดูระบาด สำหรับประเทศไทยแนะนำให้รับวัคซีนก่อนเข้าฤดูฝน คือในราวปลายเมษายน ถึงต้นพฤษภาคม ผู้ที่เคยป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่มานานเกิน 1 ปีแล้ว ก็ควรรับวัคซีนในปีถัดไปอีก วัคซีนเชื้อตาย ให้โดยวิธีฉีดเข้ากล้าม 0.5 มล. เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ รับเพียง 0.25 มล.           คนแก่ที่อายุ 65 ปีเป็นต้นไป ควรรับ Fluad ® ซึ่งใส่สารเสริมฤทธิ์ กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้สูงพอที่จะการป้องกันโรคได้ วัคซีนเชื้อเป็นให้โดยวิธีพ่นเข้าจมูก 2 ทั้งข้าง ๆละ 0.1 มล.           เด็กอายุไม่เกิน 8 ปี ที่ยังไม่เคยรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ขนิดใดมาก่อนเลย ในปีแรกต้องรับวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน ปีต่อไปรับเพียงครั้งเดียว ประสิทธิภาพของวัคซีนไข้หวัดใหญ่           ภายหลังรับวัคซีน 2-3 สัปดาห์ จะเริ่มมีภูมิคุ้มกัน (แอนติบอดี) สูงพอที่จะป้องกันโรคได้ ซึ่งจะมีระดับสูงสุดในระยะ 2-4 เดือนและป้องกันโรคได้นานเพียง 6-12 เดือนหลังรับวัคซีน การทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนในเด็กอายุ 5-6 ปีที่มีสุขภาพดี วัคซีนชนิดพ่นจมูกป้องกันโรคได้ประมาณ 87% และ วัคซีนเชื้อตายป้องกันโรคได้ 70-90%           อย่างไรก็ดีไวรัสก่อโรคในบ้านเราแต่ละปี มีความแตกต่างกับไวรัสที่ใช้ทำวัคซีนบ้าง ดังนั้นประสิทธิภาพในการป้องกันโรคอาจจะไม่สูงมากนัก ผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้ว ก็ยังมีโอกาสเกิดโรคได้ แต่อาการจะไม่รุนแรง เพราะภูมิคุ้มกันจากการรับวัคซีนยังป้องกันได้บ้าง การศึกษาประสิทธิภาพวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตายในกลุ่มผู้สูงอายุไทยใน เขตเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2550 พบว่ามีผู้ติดเชื้อร้อยละ 8.9 ในกลุ่มผู้ที่รับวัคซีน ส่วนกลุ่มผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนมีผู้ติดเชื้อร้อยละ 16.9 ผลข้างเคียง            วัคซีนทั้งสองชนิดมีผลข้างเคียงน้อย สำหรับผู้ที่รับวัคซีนเชื้อตาย ผลข้างเคียงที่พบบ่อย (มากกว่าร้อยละ 10) คือ อาการปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีดประมาณ 1 ถึง 2 วัน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีอาการง่วงนอน เบื่ออาหาร วัคซีนเชื้อตายที่มีสารเสริมฤทธิ์ พบผลข้างเคียงมากว่าชนิดที่ไม่มีสารเสริมฤทธิ์ ผลข้างเคียงที่พบบ่อย (มากกว่าร้อยละ 10) สำหรับผู้ที่รับวัคซีนเชื้อเป็น ได้แก่ คัดจมูก น้ำมูกไหล พบได้ทุกช่วงอายุ ส่วนอาการไข้สูง พบในกลุ่มเด็กอายุ 2-6 ปี อาการเจ็บคอพบในผู้ใหญ่ ข้อห้ามใช้ 1. วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่มีในท้องตลาดทุกยี่ห้อ เลี้ยงไวรัสในไข่ไก่ฟัก ดังนั้นผู้ที่แพ้ไข่ หรือผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีนไข้หวัดใหญ่อย่างรุนแรง ไม่ควรรับวัคซีน อาการแพ้อย่างรุนแรง ได้แก่ อาการหน้าซีด หัวใจเต้นเร็ว มึนงง หลอดลมตีบทำให้หายใจลำบากมีเสียงดังวิ๊ดๆ 2. เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี คนอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป คนท้อง ตลอดจนผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเมื่อติดเชื้อ ห้ามรับวัคซีนเชื้อเป็น 3. บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องดูแลคนที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอมาก ๆ จนต้องอยู่ในเขตปลอดเชื้อ เช่นคนไข้ที่อยู่ระหว่างการปลูกถ่ายไขกระดูก ห้ามรับวัคซีนเชื้อเป็น 4. ผู้ที่แพ้อากาศและมีอาการแน่นจมูกหายใจไม่ออก แนะนำให้รับวัคซีนเชื้อตายแทน 5. หากกำลังอยู่ในระหว่างเจ็บป่วย เช่นมีไข้สูง ควรเลื่อนการรับวัคซีน รอจนแข็งแรงก่อน แต่หากเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่นแพ้อากาศ ผื่นคัน เป็นหวัดหรือเจ็บคอมีไข้ต่ำๆ รับวัคซีนเชื้อตายได้ บรรณานุกรม 1. ฐิติพงษ์ ยิ่งยง สำนักระบาดวิทยา. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2552. Available from:URL: http://epid.moph.go.th/Annual/Total_Annual.html 2. Centers for Disease Control and Prevention. Prevention and Control of Seasonal Influenza with Vaccines: Recommendations of the Advisory Committee on Immunization Practices (ACIP). MMWR 2010;59(RR-8):1-68. 3. Flumist (Package insert). Med Immune. Gaithersburg(MD). 2011. Available from:URL: http://www.fda.gov/downloads/BiologicsBloodVaccines/Vaccines/ApprovedProducts/UCM123743.pdf. 4. Fluzone (Package insert). Swiftwater (PA). 2011. Available from:URL: http://www.fda.gov/downloads/BiologicsBloodVaccines/Vaccines/ApprovedProducts/UCM195479.pdf 5. Usa Panichprathompong. AFRIM Clinical Trial Center Zmujme. Influenza in Thai senior citizen. Thailand Human Influenza Research Meeting Summary. 11-12 October 2007   ด้วยความปรารถนาดีจาก.. Vaccine Center Vibhavadi Hospital

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การรักษากระดูกหักด้วยวิธีใส่เฝือก

การรักษากระดูกหักด้วยวิธีใส่เฝือก ทำไมต้องใส่ เฝือก หรือ เฝือกชั่วคราว ?           เพื่อช่วยพยุงกระดูกและกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ ลดปวด ลดบวม และลดกล้ามเนื้อหดเกร็ง ป้องกันไม่ให้กระดูกที่จัดเข้าที่แล้วเกิดการเคลื่อนที่ผิดรูปขึ้นอีก ซึ่งเฝือกที่ใส่อาจจะใส่เป็นเฝือกชั่วคราวแบบครึ่งเดียว หรือเฝือกแบบเต็มรอบแขนก็ได้ โดยที่เฝือกชั่วคราวแบบครึ่งเดียว จะมีความแข็งแรงน้อยกว่าเฝือกแบบเต็ม  ชนิดของเฝือก            ในปัจจุบันมีเฝือกให้เลือกอยู่ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ 1. เฝือกปูน ซึ่งเป็นการนำปูนพลาสเตอร์มาเคลือบบนผ้าฝ้าย เมื่อใส่แล้วก็จะมีสีขาว ข้อดี           ราคาค่อนข้างถูก การใส่เฝือกและการตัดเฝือก ดัดเฝือกทำได้ง่าย ข้อเสีย           มีน้ำหนักค่อนข้างมาก แตกร้าวง่าย ระบายอากาศไม่ค่อยดี อาจทำให้คันเพราะความอับชื้น  ถ้าถูกน้ำเฝือกก็จะเละ เสียความแข็งแรง 2. เฝือกพลาสติก เป็นพลาสติกสังเคราะห์ ข้อดี           น้ำหนักเบา ระบายอากาศได้ดี มีสีสรรสวยงาม มีความแข็งแรงสูง  และเวลาถ่ายภาพรังสี จะเห็นกระดูกได้ชัดเจนกว่า ข้อเสีย           ราคาแพง ( แพงกว่าเฝือกปูนประมาณ 6-7 เท่า )  การตัดเฝือก ดัดเฝือกทำได้ยาก ทำให้ต้องตัดออกและใส่เฝือกใหม่อีกครั้ง เวลาใส่เฝือกทำอย่างไร ? แพทย์จะพันสำลีรองเฝือกก่อนที่จะพันเฝือก เฝือกจะต้องพันให้แน่นพอดีกับแขนหรือขา โดยทั่วไปจะใส่เฝือกตั้งแต่ข้อที่ต่ำกว่ากระดูกที่หัก ถึงข้อที่อยู่สูงกว่ากระดูกที่หัก  เฝือกชั่วคราวจะใส่ในระยะแรกที่มีอาการบวมอยู่ และเมื่ออาการบวมลดลงก็จะใส่เป็นเฝือกเต็ม ซึ่งบางครั้งเมื่อใส่ไปช่วงหนึ่ง (ประมาณ 2 อาทิตย์) เฝือกก็อาจจะหลวมได้ เพราะอาการบวมลดลง ก็จะต้องเปลี่ยนเฝือกใหม่ หลังจากกระดูกเริ่มติดแล้ว (ประมาณ 4-6 อาทิตย์) ก็จะเปลี่ยนเป็นเฝือกชั่วคราวเพื่อสะดวกในการทำกายภาพบำบัด   ลดอาการบวม ทำอย่างไร ?            ในช่วง 48 - 72 ชั่วโมงแรกอาการบวมอาจทำให้เกิดการกดที่เฝือกได้ ทำให้รู้สึกแน่น เฝือกคับ และปวด ซึ่งจะลดอาการบวมได้โดย ยกแขน หรือ ขาให้สูงกว่าระดับหัวใจ เช่น การวางบนหมอน หรือ ผ้า  ขยับนิ้ว หรือ นิ้วเท้า บ่อย ๆ  ประคบเย็นบนเฝือก โดยใช้น้ำแข็งใส่ในถุงพลาสติกแห้งแล้วประคบรอบๆ เฝือกบริเวณที่ได้รับอันตราย การประคบเย็นเพียงจุดเดียวจะไม่ค่อยได้ผล  สัญญาณอันตรายหลังการใส่เฝือก หรือเฝือกชั่วคราว ควรพบแพทย์โดยด่วน  ปวดมากขึ้น และรู้สึกว่าเฝือกคับมาก ซึ่งอาจเกิดจากการบวม อาการชา และรู้สึกซ่า ๆ ที่มือ หรือ เท้า ซึ่งอาจเกิดจากการกดเส้นประสาทมากเกินไป อาการปวดแสบปวดร้อน ซึ่งอาจเกิดเนื่องจากการกดผิวหนังมากเกินไป มีอาการบวมที่บริเวณต่ำกว่าขอบเฝือก ซึ่งอาจหมายถึง เฝือกทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี ไม่สามารถขยับนิ้วมือ หรือ นิ้วเท้า  การดูแล เฝือก หรือ เฝือกชั่วคราว ดูแลเฝือกให้แห้งอยู่เสมอ ถ้าต้องการอาบน้ำให้หุ้มเฝือกด้วยถุงพลาสติก 2 ชั้น แล้วพันปากถุงด้วยเชือกให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปโดนเฝือก ไม่ควรเดินลงน้ำหนักบนเฝือกจนกว่าเฝือกจะแห้งและแข็ง ซึ่งจะใช้เวลา 1 ชม.สำหรับเฝือกพลาสติก และใช้เวลา 2 - 3 วันสำหรับเฝือกปูน พยายามอย่าให้ สิ่งสกปรก ทราย หรือ ฝุ่น เข้าไปในเฝือก ไม่ควรดึงสำลีรองเฝือกออก ไม่ควรใช้ไม้ หรือสิ่งอื่นใส่เข้าไปในเฝือกเพื่อเกา ไม่ควรใส่แป้งเข้าไปในเฝือก แต่ถ้าคันมากให้พบแพทย์  ไม่ควรตัดขอบเฝือกเอง สังเกตผิวหนังที่อยู่ขอบเฝือก ถ้ามีอาการบวม แดง ให้ไปพบแพทย์ หมั่นสังเกตเฝือก ถ้าพบว่ามีเฝือกแตก หัก ให้ไปพบแพทย์ การเอาเฝือกออก ไม่ควรเอาเฝือกออกเอง เพราะท่านอาจตัดผิวหนัง หรือ ทำให้กระดูกหายไม่ดี เมื่อจะเอาเฝือกออก แพทย์จะใช้เลื่อยสำหรับตัดเฝือก ซึ่งใบเลื่อยจะเป็นแบบสั่นไปด้านข้าง (ไม่ใช่เป็นใบเลื่อยแบบหมุน) ซึ่งเมื่อใบเลื่อยถูกกับสำลีรองเฝือก สำลีรองเฝือกก็จะไม่ขาด ทำให้ผิวหนังไม่ได้รับอันตราย เลื่อยตัดเฝือกอาจทำให้เกิดเสียงดัง และ รู้สึกร้อนจากการเสียดสี แต่ก็จะไม่ทำให้เกินอันตรายแต่อย่างใด แนวทางในการรักษา โดยทั่วไปถ้าไม่มีปัญหา แพทย์ก็จะนัดท่านมาตรวจซ้ำประมาณ 1-2 อาทิตย์หลังใส่เฝือก เพื่อดูอาการ และดูว่าเฝือกหลวมหรือไม่ ถ้าเฝือกหลวมก็อาจจะต้องเอ๊กซเรย์และเปลี่ยนเฝือกให้ใหม่ ถ้าเฝือกแน่นและแข็งแรงดีอยู่ แพทย์ก็จะนัดทุก 1-2 เดือนเพื่อเอ๊กซเรย์กระดูก จนกว่ากระดูกจะติดสนิท  แพทย์จะใส่เฝือกไว้ประมาณ 4-6 อาทิตย์ แต่กระดูกจะติดสนิทนั้นจะต้องใช้เวลาถึง 4 - 6 เดือน ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะเอาเฝือกออกแล้วกระดูกที่หักก็ยังติดไม่สนิท จึงควรระมัดระวังในการใช้งานและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่เช่นนั้นกระดูกที่เริ่มติดก็อาจจะหักซ้ำได้ ทำให้ต้องมาเริ่มต้นรักษากันใหม่ ด้วยความปรารถนาดีจาก.. ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อและศัลยกรรมทั่วไป รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

[อย่าฝืน] ปวดท้อง 7 จุด: ขวา,กลาง,ท้องน้อย,ซ้าย ฯลฯ ต้องระวังโรคอะไร? ควรหาหมอ?

ปวดท้องเป็นอาการนำที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์บ่อยเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งมีสาเหตุได้หลากหลาย ความสำคัญอยู่ที่อาการปวดท้องเป็นเฉียบพลันหรือเรื้อรัง เพราะหากเป็นเฉียบพลัน บางโรคอาจเป็นสาเหตุที่อันตรายถึงชีวิตได้อย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องรีบมาพบแพทย์อย่างเร่งด่วน ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นโรคทางศัลยกรรมและทางสูตินรี สาเหตุของอาการ สาเหตุของอาการปวดท้องเฉียบพลัน ตามตำแหน่งการปวดที่หน้าท้อง โดยหากปวดบริเวณท้องด้านขวา ขวาบน -  อาจเป็นจากโรคถุงน้ำดีอักเสบ นิ่วถุงน้ำดี ตับอักเสบ กรวยไตอักเสบ งูสวัด ปอดอักเสบ ลำไส้เล็กส่วนต้นอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น ขวาล่าง-  อาจเป็นจาก ไส้ติ่งอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้องอักเสบ ท้องนอกมดลูก ปีกมดลูกอักเสบ เยื่อบุผนังมดลูกเจริญผิดที่ นิ่วในท่อไตและไต กรวยไตอักเสบ ไส้เลื่อน กะเปาะที่ผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ เส้นเลือดโป่งพองในช่องท้อง มีการรั่วซึม ถ้าปวดบริเวณท้องด้านซ้าย ซ้ายบน - อาจมีสาเหตุจาก กระเพาะอาหารอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ม้ามโต / แตก กรวยไตอักเสบ นิ่วไต งูสวัด กล้ามเนื้อหัวใจตาย ปอดอักเสบ ลำไส้อักเสบ ซ้ายล่าง เป็นได้จาก กะเปาะที่ผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ ลำไส้อุดตัน ลำไส้อักเสบ เส้นเลือดโป่งพองในช่องท้องมีการรั่วซึม ท้องนอกมดลูก ปีกมดลูกอักเสบ เยื่อบุผนังมดลูกเจริญผิดที่ กรวยไตอักเสบ นิ่วในท่อไตและไต ปวดบริเวณลิ้นปี่ อาจเป็นเพราะแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ลำไส้เล็กส่วนต้นอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบระยะแรก เส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง ถุงน้ำดีอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย ปวดรอบสะดือ อาจเป็นไส้ติ่งอักเสบระยะแรก กระเพาะอาหารลำไส้อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ลำไส้อุดตัน เส้นเลือดในช่องท้องอุดตัน เส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง ปวดบริเวณท้องน้อย สาเหตุที่พบได้แก่ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กะเปาะที่ผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ โรคของต่อมลูกหมาก ปีกมดลูกอักเสบ ไส้เลื่อน ช่องเชิงกรานอักเสบ (PID) ท้องนอกมดลูก ลำไส้อักเสบ ลำไส้อุดตัน อาการปวดท้องอาจมีสาเหตุจากโรคนอกช่องท้องก็ได้ เช่น โรคของกระดูกสันหลัง ปอดอักเสบ งูสวัด ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง เบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนเป็น DKA ไตวายที่มีของเสียในเลือดคั่งมาก (uremia) โรคแอดดิสัน (Addison’s disease) ไข้ไทฟอยด์ โรคพอร์ฟัยเรีย พิษจากตะกั่ว ต่อมหมวกไตบกพร่อง โรคทางจิตเวช ปวดท้องจุดต่าง ๆ ทั้ง 7 จุด...หมายถึง..... 1. ชายโครงขวา เป็นจุดของตับและถุงน้ำดี หากกดแล้วเจอก้อนแข็ง ๆ บวกกับอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ก็จะหมายถึง ความบกพร่องเกี่ยวกับตับหรือถุงน้ำดี ปวดมาก หาหมอดีกว่า 2. ใต้ลิ้นปี่ หรือกลางตัวเรา ตรงซี่โครงซี่ล่างสุด (กลางตัว) จะหมายถึง กระเพาะอาหาร ตับอ่อน ตับ และกระดูกลิ้นปี่  หากปวดเป็นประจำเวลาหิวหรืออิ่ม ก็หมายถึง อาจเกี่ยวกับโรคกระเพาะ  หากปวดรุนแรงร่วมกับคลื่นไส้อาเจียน อันนี้ตับอ่อนอักเสบ  หากคลำเจอก้อนเนื้อค่อนข้างแข็งและมีขนาดใหญ่ อาจหมายถึงตับโต (ปรึกษาหมอ) คลำได้ก้อนสามเหลี่ยมแบนเล็ก ๆ มักเป็นกระดูกลิ้นปี่ อันนี้ก็ปรึกษาหมอ 3. ปวดชายโครงขวา เป็นตำแหน่งของม้าม หากเจ็บ ต้องปรึกษาหมอโดยด่วน 4. ปวดบั้นเอวขวา สาว ๆ เป็นกันประจำ ตำแหน่งนี้คือ ท่อไต ไต ลำไส้ใหญ่  ปวดมากจะหมายถึง ลำไส้ใหญ่อักเสบ ปวดร้าวถึงต้นขา อันนี้แรงหน่อย เริ่มต้นเป็นนิ่วในท่อไตครับ ปวดร่วมกับปวดหลัง แถมมีไข้ หนาวสั่นด้วย ปัสสาวะขุ่น อันนี้แรงหน่อย กรวยไตอักเสบ อย่าฝืนนะครับ หาหมอดีกว่า คลำเจอก้อนเนื้อ อันนี้ก็หาหมอวินิจฉัยด่วน 5. ปวดรอบสะดือ มันคือ ตำแหน่งลำไส้เล็ก มักพบในคนที่มักท้องเดิน แต่หากกดแล้วปวดโครต ๆ มันคือไส้ติ่งครับ ปวดมาก ๆ หาหมอด่วน แต่ถ้าปวดแบบมีลมในท้องด้วย ก็ไม่เป็นไรมากครับ อาจแค่กระเพาะลำไส้ทำงานผิดปกติ (คงกินมากไป เหอะ ๆ) 6. ปวดบั้นเอวซ้าย เป็นตำแหน่ง ท่อไต ไต ลำไส้ใหญ่ (เหมือนข้อ 4) 7. ปวดท้องน้อย มันเป็นตำแหน่งกระเพาะปัสสาวะและมดลูก ปวดเวลาถ่ายปัสสาวะหรือถ่ายกระปริบกระปรอย เดาได้ง่ายเลย เพราะมันคือ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือแรงหน่อยคือ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (แต่เป็นกันน้อย) ปวดเกร็งเวลามีประจำเดือน ไม่มีอะไรมาก คุณกำลังมีประจำเดือน แต่ในรายที่ปวดเรื้อรังในหญิงแต่งงานแล้วไม่มีบุตร ไม่อยากบอก ปรึกษาหมอโดยด่วนครับเพราะมันคืออาการมดลูกผิดปกติ 7.1 ท้องน้อยขวา เป็นตำแหน่ง ไส้ติ่ง ท่อไต และปีกมดลูก หากปวดเกร็งเป็นระยะ ๆ แล้วร้าวมาที่ต้นขา หมายถึงกรวยไตอาจเป็นอะไรสักอย่าง หาหมอครับ ปวดเสียดตลอดเวลา กดแล้วเจ็บมาก อย่าทนครับ เพราะเป็นอาการของไส้ติ่งอักเสบ ปวดร่วมกับมีไข้สูง หนาวสั่น มีตกขาว ผู้หญิงเท่านั้น่ที่เป็น เพราะมันคือ ปีกมดลูกอักเสบครับ คลำแล้วเจอก้อนเนื้อ เบื้องต้นอาจเป็นก้อนไส้ติ่งหรือรังไข่ผิดปกติ 7.2. ท้องน้อยซ้าย เป็นตำแหน่ง ปีกมดลูกและท่อไต ปวดเกร็งเป็นระยะและร้าวมาที่ต้นขา มักเป็นนิ่วในท่อไต ปวดร่วมกับมีไข้ หนาวสั่น ตกขาว เป็นเพราะมดลูกอักเสบ ปวดร่วมกับถ่ายอุจจาระผิดปกติ อาจเป็นเพราะลำไส้ใหญ่อักเสบ คลำพบก้อนร่วมกับอาการท้องผูกเป็นประจำ อาจเป็นเนื้องอกในลำไส้ การรักษา แพทย์จะอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายของผู้ป่วยในการพิจารณาเลือกวิธีการตรวจเพิ่มเติมหรือในรายที่อาการปวดท้องไม่ชัดเจนหรือเป็นเรื้อรัง โดยอาการไม่เปลี่ยนแปลงอาจให้การวินิจฉัย โดยให้การรักษาและติดตามอาการ หากผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาดี อาจให้การวินิจฉัยในขั้นต้นได้ แต่หากไม่ตอบสนองต่อการรักษาหรืออาการมีการเปลี่ยนแปลงไป จำเป็นต้องมีการตรวจเพิ่มเติม ซึ่งการตรวจเพิ่มเติมนี้ขึ้นกับสาเหตุของอาการปวดท้องที่แพทย์สันนิษฐาน ได้แก่ การตรวจเลือด ปัสสาวะ อุจจาระ การตรวจทางรังสี การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร การตรวจชิ้นเนื้อ เป็นต้น หากพบภาวะเสี่ยงสามารถเข้ารับการตรวจและคำปรึกษาได้ที่ ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร รพ.วิภาวดี 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

นอนเป็น ทำให้สุขภาพดีได้....

นอนเป็น ทำให้สุขภาพดีได้.... ก่อนนอนคืนนี้เรามีเคล็ด..ไม่ลับดีๆ มาบอกต่อ เพื่อคืนนี้ทุกๆท่านจะได้นอนหลับสนิท สบาย...ไปดูกันนะคะ         หลายคนพบปัญหาใบหน้าร่วงโรย หมองคล้ำ และดูแก่ก่อนวัย จึงสรรหาเครื่องประทินผิวมาโปะมากมาย ราคาแพงแค่ไหนก็บ่ยั่น แต่อาการเหล่านี้ก็ยังไม่หาย สุดท้ายเส้นผมบังภูเขา สาเหตุที่แท้จริงคือนอนไม่พอเท่านั้นเอง สำคัญ การนอนเป็นการกระตุ้นฮอร์โมนเมลาโทนินโดยธรรมชาติ  การนอนหลับที่ดี ควรเป็นแบบนี้นะคะ 1. นอนในห้องมืดสนิท ไม่ควรมีแม้แต่แสงไฟจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะแสงสว่างจะรบกวนการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินรบกวนจังหวะการหลับ-ตื่น ควรมีแค่ไฟเรืองรองไว้สำหรับเปิด เมื่อต้องเข้าห้องน้ำกลางดึก และควรปิดหลังจากเข้าห้องน้ำแล้ว ไม่ควรใช้ไฟห้องน้ำที่สว่างมากกลางดึก ถ้าหลีกเลี่ยงแสงสว่างในห้องนอนไม่ได้ ควรใช้ผ้าปิดตาเวลานอน โดยเฉพาะคนที่อยู่ในเมือง 2.การช่วยให้ร่างกายรับรู้ความแตกต่างของความมืดและความสว่าง จะช่วยให้การหลั่งเมลาโทนินดีขึ้น ดังนั้น ควรเปิดม่านหน้าต่างรับแสงยามเช้าในเวลาเดียวกันทุกวัน เพื่อให้ร่างกายรับรู้และตั้งนาฬิกาชีวภาพบันทึกไว้ ส่วนกลางคืนก็ต้องให้ห้องนอนมืดสนิท เพื่อให้ร่างกายรับรู้ว่านี่คือเวลานอน 3. เลี่ยงการเปิดทีวี โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์ที่มีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าขณะนอนหลับ เพราะจะทำให้สมองตื่นตัว ส่งผลต่อฮอร์โมนเมลาโทนิน 4.ตั้งเวลาการนอนหลับนอนและตื่นให้เป็นเวลาเดียวกันทุกวัน รวมถึงวันหยุดด้วย เพื่อให้ร่างกายได้บันทึกวงจรจังหวะชีวภาพการหลับ-ตื่นเองได้ นอนหลับให้เร็วไม่เกินสี่ทุ่มครึ่ง เพราะช่วงเวลาประมาณห้าทุ่มถึงเที่ยงคืนโกรทฮอร์โมนจะหลั่งออกมา ฮอร์โมนความเครียจากต่อมหมวกไตจะพักการทำงาน และเป็นช่วงเวลาที่ถุงน้ำดีขับสารพิษ ถ้ายังไม่หลับ สารพิษก็กลับเข้าสู่ตับ ส่งผลเสียต่อสุขภาพทำให้แก่เร็ว          นอนหลับให้ได้ปริมาณเหมาะสม ซึ่งไม่เท่ากันในแต่ละคน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6-8 ชั่วโมง ถ้านอนไม่พอ ความอยากนอน ก็จะสะสมในวันถัด ๆ ไปเหมือนติดหนี้ จนในที่สุดร่างกายทนไม่ไหวก็จะแก่เร็ว          ไม่ควรนอนดึกตื่นสายเพื่อชดเชย เพราะร่างกายสูญเสียระบบการนอนไปแล้ว ย่อมไม่ดีต่อสุขภาพ เลี่ยงการใช้นาฬิกาปลุกเสียงดัง เพราะทำให้ร่างกายตื่นตัวเร็วเกินไป ถ้าเรานอนหลับดี ร่างกายจะตั้งเวลาตื่น พฤติกรรมก่อนนอน 1. สำหรับคนที่ชอบคิดนั่นคิดนี่ อาจลองเขียนความคิดเหล่านั้นก่อนนอน เพื่อช่วยเรียงลำดับความคิดและป้องกันไม่ให้สมองตื่นตัวเกินไป 2. ผ่อนคลายก่อนนอน ด้วยการฟังเพลงหรือเสียงดนตรีบรรเลงเพื่อผ่อนคลาย หรือเสียงธรรมชาติ ควรฝึกการหายใจหรือทำสมาธิ หลีกเลี่ยงเสียงเพลงที่ดังหรือหนักไป รวมถึงเพลงที่มีเนื้อร้องซึ่งจะทำให้สมองตื่นตัว รวมถึงกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกตื่นตัวก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือ ดูทีวีแนวตื่นเต้น 3.อย่าออกกำลังกายในช่วงเวลา2-3ชั่วโมงก่อนเวลานอน ถ้ามีปัญหาหลับยากแนะนำให้ออกกำลังกายช่วงเช้า,อย่าหักโหม 4. อย่าพยายามทำงานในช่วงเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนนอน และพยายามทำงานในแต่ละวันให้เสร็จ จัดตารางชีวิตให้ดี เพื่อเลี่ยงความกังวลก่อนนอน 5. อาบน้ำอุ่นก่อนนอน (ไม่ใช่น้ำร้อนนะคะ) จะช่วยให้หลับง่ายขึ้นและเข้าห้องน้ำก่อนนอนเพื่อช่วยลดการตื่นกลางดึก อาหารสุขภาพก่อนนอน 1. อาหารที่มีแอล-ทริปโตแฟน (L-Tryptophan) มาก เพื่อให้ร่างกายผลิตเมลาโทนินและเซโรโทนินช่วยการนอนหลับ เช่น ปลา ถั่ว ฟักทอง กล้วย ธัญพืช 2. เลี่ยงอาหารหรือขนมที่มีน้ำตาลก่อนนอน เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในร่างกายขึ้นและตกลงง่าย เป็นสาเหตุการตื่นกลางดึกและยากที่จะนอนหลับต่อ 3. เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะมื้อเย็น ก่อนนอน เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม ส่วนแอลกอฮอล์นั้น ถึงแม้จะทำให้ง่วงซึม แต่เป็นช่วงสั้น ๆ และเมื่อตื่นก็นอนหลับต่อยาก 4. อย่ากินอาหารปริมาณมากเกินไป หรืออาหารรสจัด เพราะจะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนักและหลับยาก 5. อย่าอ้วน เพราะเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุการนอนกรน นอนไม่สบาย หรือเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) นอนหลับ สวยก่อนนอน  1.เนื่องจากช่วงเวลาหลับเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายซ่อมแซมฟื้นฟูผิวได้ดี ควรมีการเตรียมผิว โดยเริ่มจากล้างหน้าให้สะอาด บำรุงด้วยมอยส์เจอไรเซอร์ที่เหมาะกับสภาพผิว รวมถึงครีมทาใต้ตาด้วย 2. นอนหงายเพื่อลดริ้วรอยและลดอาการใบหน้าบวม ช่วยให้หายใจคล่อง กล้ามเนื้อผ่อนคลาย 3. ปลอกหมอนควรทำจากเนื้อผ้านิ่มลื่น เช่น ผ้าไหม ผ้าที่ทอละเอียด เพื่อป้องกันการเกิดริ้วรอยจากการกดทับ ป้องกันผมเสียแตกหักจากการเสียดสี สิ่งแวดล้อมในห้องนอนต้องเหมาะสม รวมถึงอุณหภูมิห้องต้องเหมาะสม ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป อากาศปลอดโปร่ง เตียงไม่แข็งหรือนิ่มเกินไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อชะลอวัย ถ้าลองทุกวิธีแล้วไม่ได้ผล อาจต้องมีการปรับฮอร์โมน เพิ่มวิตามิน แร่ธาตุ อาหารเสริมบางชนิด รวมทั้งปรับร่างกายให้สมดุลด้วยวิธีธรรมชาติหรือการแพทย์ทางเลือก เช่น การฝังเข็มเพื่อปรับสมดุลภายใน จะช่วยเรื่องการนอนหลับและฟื้นฟูผิวในคราวเดียวกัน เป็นต้น ขอขอบคุณ ที่มา: http://www.goosiam.com/ ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

“มะเร็งรังไข่” เรื่องที่ผู้หญิงควรรู้ คุณอาจเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยง

มะเร็งรังไข่ เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับห้าของมะเร็งที่พบในสุภาพสตรีและอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับ 4 เนื้องอกของรังไข่ เนื้องอกของรังไข่แบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ 2 ชนิดคือ เนื้องอกที่ธรรมดา หรือที่เรียกว่า Benign Tumor เนื้องอกชนิดนี้จะไม่แพร่กระจาย การรักษาทำได้ง่าย ผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออกก็หาย เนื้อมะเร็ง Malignant เนื้องอกชนิดนี้อาจจะเรียกเนื้อร้ายหรือมะเร็ง หากวินิจฉัยได้ช้าเนื้อร้ายจะ แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ชนิดของมะเร็งรังไข่ มะเร็งรังไข่จะเกิดเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบของรังไข่ Epithelial Tumor เป็นเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์ผิวของรังไข่ เนื้องอกส่วนใหญ่เกิดจากเซลล์ชนิดนี้ Germ Cell Tumor เป็นมะเร็งที่เกิดเซลล์ที่ผลิตไข่ Stroma Tumor เป็นเนื้องอกที่เกิดเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันธ์ซึ่งสร้างฮอร์โมนเพศ Estrogen และ Progesteron สาเหตุของมะเร็งรังไข่ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งรังไข่ แต่พบว่ามีความถี่ของการเกิดมะเร็งในคนที่โสดมากกว่าคนที่เคยมีบุตร และมักพบมากในช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จะเกิดตอนวัยทองคนที่มีปัจจัยเสี่ยงมาก มิได้หมายความเขาจะเป็นมะเร็ง แต่เขามีโอกาสเกิดมะเร็งมากกว่าคนอื่น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ พันธุกรรม  ท่านที่มีญาติเป็นมะเร็ง ก็กังวลว่าท่านจะมีพันธุกรรมของมะเร็งด้วยหรือไม่ ให้ท่านไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับพันธุกรรมเพื่อซักประวัติเกี่ยวกับโรคมะเร็งในครอบครัว หากพบว่าท่านมีความเสี่ยง แพทย์จะแนะนำท่านตรวจคัดกรองหาโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ความเสี่ยงทางพันธุกรรม ได้แก่ ญาติสายตรงของท่าน (แม่หรือพี่สาว หรือน้องสาว) เป็นมะเร็งรังไข่ 2 คน ญาติสายตรงคนหนึ่งเป็นมะเร็งรังไข่ อีกคนเป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งเกิดก่อนอายุ 50 ปี ญาติสายตรงเป็นมะเร็งรังไข่ และประวัติในครอบครัว 2 คน เป็นมะเร็งเต้านมก่อนอายุ 60 ปี คนในครอบครัว 3 คน เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ (หนึ่งคนเป็นก่อนอายุ 50 ปี) และมีคนในครอบครัวคนหนึ่งเป็นมะเร็งรังไข่ อายุ  อายุมากจะเสี่ยงต่อการเกิดมาก โดยเฉพาะอายุมากกว่า 40 ปี ผู้หญิงที่มีประจำเดือนอายุน้อยกว่า 12 ปี และไม่ได้ตั้งครรภ์ และเกิดประจำเดือนหมด หลังอายุ 50 ปี จะเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง การตั้งครรภ์ พบว่าผู้ที่ไม่เคยมีบุตรจะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งสูงกว่าคนที่เคยมีบุตร ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่จะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ยากระตุ้นให้ไข่ตก ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค แต่ต้องกินต่อเนื่องนานเกิน 12 เดือน หลายการศึกษาพบว่า การใช้แป้งบริเวณอวัยวะเพศเป็นเวลานาน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ แต่แป้งสมัยก่อนอาจจะมีสารปนเปื้อน หากท่านมีประวัติเหมือนตัวอย่างข้างต้น ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อคัดกรองโรค หลายท่านที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดมะเร็งรังไข่อยากจะตัดรังไข่ทิ้ง ท่านต้องปรึกษาแพทย์พิจารณาถึงผลดีและผลเสียของการผ่าตัด การค้นหามะเร็งแรกเริ่ม โรคมะเร็งทุกชนิด จะเหมือนกันยิ่งพบเร็วการรักษาก็จะได้ผลดี มะเร็งรังไข่ก็เช่นกัน แต่มะเร็งรังไข่มักจะวินิจฉัยได้ช้าเนื่องจากอยู่ภายในช่องท้อง และมักจะไม่มีอาการในระยะแรกของโรค ผู้ป่วยร้อยละ 25 จะวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ได้ก่อนที่มะเร็งจะแพร่กระจาย การค้นพบแรกเริ่มจะเพิ่ม โอกาสในการรักษาให้หายขาด วิธีการค้นหามะเร็งแรกเริ่มได้แก่ การตรวจภายในประจำปี การตรวจภายในจะค้นหามะเร็งปากมดลูก แต่ไม่สามารถ ตรวจมะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกได้ มักจะพบมะเร็งรังไข่ในระยะท้ายของโรค แต่การ ตรวจภายในก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องตรวจเป็นประจำ มีคำแนะนำให้เริ่มตรวจตั้งแต่อายุ มากกว่า 18 ปี พบแพทย์เมื่อมีอาการ อาการที่ควรจะพบแพทย์โดยเร็วได้แก่ ท้องบวม แน่นท้อง เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ แน่นท้องน้อย ปวดหลัง ปวดขา ปวดท้อง แน่นท้องโดยที่หาสาเหตุไม่ได้ การเจาะเลือดหรือการตรวจพิเศษ การตรวจ Ultrasound ผ่านทางช่องคลอดจะช่วย พบก้อนในช่องเชิงกรานได้เร็วขึ้น การเจาะเลือดหา CA-125 ก็ยังไม่สามารถบอก มะเร็งในระยะแรกเริ่มได้ จึงไม่แนะนำการตรวจพิเศษทั้งสองแก่คนทั่วไป เจาะเลือดตรวจหา CA-125 ซึ่งหากเป็นมะเร็งค่านี้จะสูง แต่ก็พบว่าผู้ป่วยที่เป็น มะเร็งค่านี้สูงไม่มาก การทำ Ultrasound ผ่านทางช่องคลอด ซึ่งจะใช้เครื่อง Ultrasound สอดเข้าไปใน ช่องคลอดซึ่งจะปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูง เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับวัตถุ คลื่นเสียงจะสะท้อนกลับเครื่องจะแปลงคลื่นเสียงเป็นสัญญาณภาพระหว่างการตรวจไม่มีความเจ็บปวด อาการของมะเร็งรังไข่ มะเร็งรังไข่ในระยะแรกเริ่มมักจะไม่มีอาการ แต่จะมีอาการในระยะท้ายของโรคอาการที่พบได้ แน่นท้อง อึดอัดท้อง (บางรายสงสัยว่ามีก๊าซในท้อง) คลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย  เบื่ออาหาร รู้สึกแน่นท้องหลังจากรับประทานอาหาร น้ำหนักขึ้นโดยไม่มีเหตุผล เลือดออกช่องคลอด การรักษา โรคมะเร็งรังไข่มีหลายวิธีขึ้นกับระยะของโรค สภาพโดยรวมของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาจะประกอบไปด้วยแพทย์หลายแผนก เช่น สูตินรีแพทย์ แพทย์ทางรังสีรักษา แพทย์ทางเคมีบำบัด การรักษาโดยการผ่าตัดและเหตุผลของการผ่าตัด การผ่าตัดผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งรังไข่มีเหตุผล คือ ผ่าตัดเพื่อการวินิจฉัยโรค โดยแพทย์จะผ่าเข้าไปดูเนื้องอกและตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจ ผ่าตัดเพื่อบอกระยะของโรคโดยแพทย์จะผ่าเข้าดูว่าเนื้องอกลุกลามแค่ไหน และตัดต่อมน้ำเหลือง ผ่าตัดเพื่อการรักษา แพทย์จะผ่าเอามดลูก ท่อรังไข่ รังไข่ออๆก เรียกการผ่าตัดว่า Hysterectomy With Bilateral Salpingo-Oophorectomy และตัดต่อมน้ำเหลืองไปตรวจ ระหว่างการผ่าแพทย์จะส่งชิ้นเนื้อของ ต่อมน้ำเหลืองและน้ำในช่องท้องไปตรวจเพื่อจะได้ทราบระยะของโรค หากพบว่ามะเร็งเริ่มแพร่ กระจายในท้อง แพทย์จะผ่าเอาส่วนที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งออกให้มากที่สุด เพื่อที่จะให้การรักษา ด้วยรังสีหรือเคมีได้ผลดีขึ้น ผลเสียของการรักษา โดยการผ่าตัดในระยะแรก ก็อาจจะปวดแผลบ้างแต่ก็บรรเทาโดยยาแก้ปวด ในระยะต่อมาเมื่อรังไข่ถูกตัดก็ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศ (Estrogen, Progesterone) ก็ทำให้ช่องคลอดแห้ง ร้อนตามตัวเกิดอาการของคนวัยทอง เคมีบำบัด คือการให้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง ซึ่งยานี้ก็มีผลต่อเซลล์ปกติของร่างกาย มีด้วยกัน 2 วิธีคือ การให้เคมีหลังการผ่าตัดเราเรียกว่า Adjuvant Chemotherapy จะให้ยา 4-6 ครั้งใช้เวลา 3-6 เดือน แพทย์จะพิจารณาให้ในกรณีที่แพทย์คิดว่าผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออกไม่หมด หรือการผ่าตัดนั้นยาก ให้เคมีก่อนผ่าตัดเรียก Neo-Adjuvant Chemotherapy แพทย์คิดว่าเนื้อร้ายก้อนใหญ่ผ่าตัดยากหรือผ่าตัดออกไม่หมด แพทย์จะให้เคมีเพื่อก้อนจะได้มีขนาดเล็กลง ยาเคมีมีทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีดซึ่งส่วนใหญ่ใช้ชนิดฉีด แต่ก็มีการให้ยาเคมีเข้าช่องท้องซึ่งอยู่ในช่วงการทดลอง หลังจากให้เคมีบำบัดแพทย์อาจจะผ่าเข้าช่องท้อง เพื่อดูว่ามะเร็งถูกทำลายมากน้อยแค่ไหน หากมีมะเร็งหลงเหลือแพทย์จะผ่าตัดเอามะเร็งส่วนที่เหลือออก ผลเสียของการรักษาด้วยวิธีนี้ ขึ้นกับชนิดของยา และปริมาณยา ผลข้างเคียงที่พบได้คือ คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง เบื่ออาหาร ผมร่วง การฉายแสง แพทย์จะใช้รังสีฉายไปยังส่วนที่เป็นมะเร็งเพื่อทำลายมะเร็ง ผลเสียคือ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ปัสสาวะลำบาก การให้รังสีรักษามีสองวิธีคือ การให้รังสีจากเครื่องที่อยู่ภายนอกร่างกาย External Beam Radiation Therapy โดยจะให้รังสีสัปดาห์ละ 5 วัน Brachytherapy คือการฝังสารที่ให้รังสีใกล้กับมะเร็งเพื่อให้รังสีทำลายเซลล์มะเร็ง แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้รังสีในการรักษามะเร็งรังไข่

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

มะเร็งตับ (Liver Cancer)  มะเร็งอันดับ 1 ในเพศชาย

มะเร็งตับ (Liver Cancer) เป็นมะเร็งที่พบอันดับแรกในชายไทย (40.5 ราย/ประชากร 1 แสนคน) และเป็นอันดับที่ 3 ของหญิงไทย (16.3 ราย/ประชากร 1 แสนคน) โดยมีความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้นมาก ในผู้ป่วยตับแข็ง ไวรัสตับอักเสบบีและซีชนิดเรื้อรัง รวมถึงผู้บริโภคแอลกอฮอล์เป็นนิจ มะเร็งตับมีการดำเนินของโรคเร็วมาก ซึ่งผู้ป่วยมักถึงแก่กรรมใน 2-4 เดือน หลังได้รับการวินิจฉัย ประเภทของมะเร็งตับ มะเร็งตับแบ่งได้ 2 แบบ คือ มะเร็งแบบปฐมภูมิ เป็นมะเร็งที่เกิดจากเนื้อตับหรือท่อน้ำดีในตับ มะเร็งแบบทุติยภูมิ เป็นมะเร็งที่แพร่กระจายจากบริเวณอื่นๆ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม ที่มีการแพร่กระจายมาที่ตับ มะเร็งตับชนิดปฐมภูมิจะพบบ่อยเป็นอันดับ 5 ของมะเร็งทั่วโลกถ้าในประเทศไทยปัจจุบันจากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ จะพบว่าเป็นมะเร็งอันดับ 1 ในเพศชาย และ เป็นอันดับ 2 ในเพศหญิง ปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นในแบบปฐมภูมิมากกว่า แต่แบบแพร่กระจายจะเป็นได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดอื่นๆในระยะไหน ถ้าเป็นในระยะที่ 4 ส่วนใหญ่จะพบแพร่กระจายมาที่ตับค่อนข้างเยอะเช่น มะเร็งตับทุติยภูมิ       สาเหตุ สาเหตุจะขึ้นอยู่กับภูมิภาคของทางเอเชียหรือประเทศไทย ส่วนมากจะเป็นเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งการติดเชื้อจะเป็นเรื้อรัง และ สาเหตุสำคัญจะเป็นการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก โดยพบว่าเป็นสาเหตุ 60 % ของมะเร็งตับในคนไทย ซึ่งสถิติคนไทยมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีประมาณถึง 6,000,000 ราย ผลของการติดเชื้อจากไวรัสตับอักเสบบีจะทำให้มีการอักเสบของเนื้อตับเรื้อรังเกิดพังผืดเป็นตับแข็ง และกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด พาหะในความหมายของทางการแพทย์ คือ มีไวรัสอยู่ในระดับต่ำอยู่ แต่ไม่มีอาการแสดงของตัวโรค แต่มีโอกาสที่จะติดต่อจากแม่สู่ลูกได้ แต่พาหะของไวรัสตับอักเสบบีในประเทศไทย คนที่เป็นพาหะส่วนใหญ่จะมีเชื้ออยู่ในร่างกาย แต่เป็นระยะสงบของตัวโรคก็เลยทำให้เข้าใจว่าพาหะไม่เกิดโรค แต่ถ้าวันหนึ่งมีอาการร่างกายอ่อนแอลง ไวรัสที่ซ่อนอยู่ในเซลล์ตับก็มีโอกาสที่จะเพิ่มจำนวน ทำให้เกิดโรคตามมาได้ ซึ่งหลักๆวิธีที่จะป้องกันได้ คือการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และการตรวจคัดกรองในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง และท้ายสุดถ้าตรวจเจอว่ามีโรค การให้ยาต้านไวรัสตับอักเสบบี สามารถที่จะช่วยลดโอกาสเกิดมะเร็งตับได้ มีกี่ระยะและสามารถรู้ได้อย่างไรว่าเป็น มะเร็งตับจะคล้ายๆ มะเร็งทั่วไป คือ ระยะแรกหรือระยะที่รักษาได้ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ และในผู้ป่วยที่มีอาการ ส่วนใหญ่ที่มาถึงก็จะเลยระยะเวลาที่จะสามารถรักษาให้หายขาดได้แล้ว จะแนะนำให้ตรวจคัดกรองโดยใช้ตัวอัลตร้าซาวด์ร่วมกับการตรวจเลือด เช่น ผู้ป่วยตับแข็งไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม ควรตรวจคัดกรองมะเร็งตับทุก 6-12 เดือน ถ้ากรณีผู้ชายอายุ 40 ปี ที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ควรที่จะต้องทำการตรวจคัดกรองมะเร็งตับทุก 6 เดือน ส่วนกรณีผู้หญิงจะตรวจที่อายุ 50 ปี แต่จะต้องทำการดูประวัติของครอบครัวร่วมด้วย ถ้าครอบครัวมีประวัติจะต้องมาตรวจเร็วกว่าปกติทั่วไป ถ้าเป็นระยะหลังจะมีอาการปวดท้องด้านขวา เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ตัวเหลือง ตาเหลือง ขาบวม  ระยะของมะเร็งตับจะมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 (แรก) : ก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดเล็ก และมีเพียงก้อนเนื้อเดียว ระยะที่ 2 (ปานกลาง) : มีการลุกลามของก้อนเนื้อเข้าหลอดเลือดในตับ และ/หรือ มีก้อนเนื้อหลายก้อน แต่ยังเป็นก้อนเล็กๆ ระยะที่ 3 (ลุกลาม): ก้อนเนื้อมะเร็งโตมาก และ/หรือ ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อข้างเคียงตับ และ/หรือ เข้าหลอดเลือดดำใหญ่ในท้อง และ/หรือ ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ตับ ระยะที่ 4 (ระยะสุดท้าย): โรคมะเร็งแพร่กระจายตามกระแสโลหิต(เลือด) มักเข้าสู่ตับกลีบอื่นๆ และปอด แต่อาจเข้าสู่อวัยวะอื่นๆได้ เช่น สมอง และ/หรือ กระดูก หรือ แพร่กระจายยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไปจากตับ เช่น ในช่องท้อง หรือ บริเวณไหปลาร้า ระยะแรก ระยะปานกลาง ซึ่ง 2 ระยะนี้ จะอยู่ในช่วงที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าเป็นระยะลุกลาม หรือ ระยะท้าย ส่วนใหญ่การรักษาจะมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้นให้อยู่ได้นานขึ้น แต่โอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้จะเป็นไปได้ยาก ดังนั้นเพื่อการป้องกันควรมาตรวจทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี ส่วนใหญ่ในโปรแกรมการตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลทั่วไปจะมีการตรวจอยู่แล้ว แต่กรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอาจจะไม่ได้ตรวจ หลักๆที่ต้องตรวจจะเป็นผู้ป่วยที่มีประวัติตับแข็ง มีไวรัสตับอักเสบบีผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องตรวจเป็นพิเศษ        การตรวจวินิจฉัย แนะว่าควรทำในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยตับแข็ง ตับอักเสบบี หรือซีชนิดเรื้อรัง ตลอดจนผู้ที่ดื่มสุรา โดยใช้วิธีการตรวจร่วมกันคือ การเจาะเลือดตรวจระดับแอลฟาฟีโตโปรตีน (Alpha Fetoprotein : AFP) ซึ่งเป็นสารที่เซลล์มะเร็งผลิตออกมา ค่าที่ช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งตับคือ AFP ตั้งแต่ 400ng/ml ขึ้นไป การตรวจทางรังสีวิทยา เพื่อตรวจหาก้อนในตับ (Liver Mass) ได้แก่ การใช้อัลตร้าซาวด์ ตรวจเนื้อตับ (Ultrasonography) หรือใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan 64 Slice) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) โดยเฉพาะการตรวจ 2 อย่างหลังสามารถมองหาแขนงของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็งในตับได้การเจาะตรวจเนื้อตับ (Liver Biopsy) ใช้ในกรณีที่ผลการตรวจข้อ 1 และ 2 ไม่ชัดเจน วิธีนี้ให้การวินิจฉัยมะเร็งตับได้แม่นยำที่สุด เพราะเป็นการนำตัวอย่างก้อนในตับมาตรวจ ทางพยาธิวิทยา แต่มีความเสี่ยงสูงกับภาวะแทรกซ้อนและยังมีข้อจำกัดในผู้ป่วยที่มีน้ำใน ช่องท้องหรือท้องมาน การรักษา การผ่าตัด (Hepatic Resection) เป็นวิธีที่ดีที่สุด หวังผลการรักษาให้หายขาดได้ ถ้าขนาดของก้อนในตับเล็กกว่า 3 ซม. และการทำงานของตับยังสมบูรณ์อยู่ แต่มีผู้ป่วยมะเร็งตับเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น ที่สามารถผ่าตัดได้ การฉีดยาเคมีและสารอุดกั้นหลอดเลือดเลี้ยงก้อนมะเร็ง (Transarterial Oily Chemoembolization : TOCE) เป็นวิธีที่ทำให้ก้อนมะเร็งในตับยุบตัวลง สามารถนำมาใช้ ร่วมกับการผ่าตัดได้ ในกรณีที่ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กกว่า 5 ซม. ในก้อนขนาดใหญ่ วิธีรักษานี้สามารถให้อัตราอยู่รอดโดยเฉลี่ย 9 เดือน  มีส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถยืด อายุขัยได้ถึง 5 ปี การฉีดสารแอลกอฮอล์เข้าก้อนมะเร็ง (Percutaneous Ethanol Injection : PEI) ผ่านทางผิวหนัง ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม เพราะผู้ป่วยมักปวดแสบบริเวณผิวหนังที่ฉีด เป็นอย่างมาก การใช้เคมีบำบัด (Systemic Chemotherapy) สำหรับบรรเทาอาการของมะเร็ง ซึ่งผลการรักษายังไม่เป็นที่น่าพอใจนัก การป้องกันและการตรวจคัดกรอง การฉีดวัคซีนป้องกันตับอักเสบบี ช่วยลดการเกิดมะเร็งตับจากตับอักเสบบีเรื้อรังได้ อย่างไรก็ตามทั่วโลกยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อตับอักเสบซี ทำให้ตับอักเสบซีเรื้อรัง ยังเป็นปัญหาความเสี่ยงต่อมะเร็งตับในอนาคต งดดื่มแอลกอฮอล์ในผู้ป่วยตับแข็งและไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง มีการศึกษาพบว่าแอลกอฮอล์ทำให้ตับแข็งและไวรัสตับอักเสบมีการดำเนินเป็นมะเร็งตับได้เร็วขึ้น ควรตรวจคัดกรองหามะเร็งตับในกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปี ทุก ๆ 6-12 เดือน โดยการเจาะเลือดตรวจหาระดับ AFP ร่วมกับการตรวจ Ultrasound  ไขมันเกาะตับและกลายไปเป็นมะเร็งตับ ปัจจุบันความเสี่ยงที่มีไขมันเกาะตับและกลายไปเป็นมะเร็งตับ หรือ ตับแข็ง จะมีความเสี่ยงสูง มีการตรวจไขมันเกาะตับอยู่ 2 วิธี ถ้ากรณีไขมันเกาะตับอยู่ 30% ตัวอัลตร้าซาวด์ตับจะสามารถตรวจพบได้ ถ้าต้องการตรวจอย่างละเอียดจะเป็นการตรวจ Fibro Scan เป็นการตรวจที่สามารถวัดไขมันในตับได้ รวมถึงดูค่าการมีพังผืดในตับได้เช่นเดียวกัน ถ้ากรณีเป็นไขมันเกาะตับจะมีวิธีการรักษาก่อนที่จะลุกลามอย่างไร? การรักษาในปัจจุบันไม่ได้เน้นการรักษาด้วยยา ถ้ากลุ่มที่เป็นไขมันเกาะตับจะแนะนำให้ผู้ป่วยทำการลดน้ำหนักประมาณ 7-10% จะสามารถช่วยลดการอักเสบของตับและพังผืดได้ แต่หลักๆ ที่สมาคมโรคตับทั่วโลกแนะนำ คือ ให้ผู้ป่วยออกกำลังกายร่วมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ วิธีการรักษาระยะแรกของไขมันเกาะตับเป็นอย่างไร? วิธีการรักษา จะเป็นการดูแลคนไข้ร่วมกันระหว่างอายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ และแพทย์รังสี จะดูว่าทางเลือกไหนเป็นทางเลือกที่เหมาะกับคนไข้ที่สุด ถ้าก้อนมีขนาดเล็กจะใช้วิธีการผ่าตัดเป็นทางเลือกแรก จะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดได้ แต่เงื่อนไขจะดูว่าขนาดหรือก้อนต้องมีขนาดไม่ใหญ่เกิน 5 เซนติเมตร ไม่มีการกระจายของมะเร็ง ไปยังบริเวณเส้นเลือดใกล้เคียงอื่นๆ และการทำงานของตับยังดีอยู่ ถ้าการทำงานของตับไม่ดีบางทีตับที่เหลืออยู่อาจไม่เพียงพอต่อการอยู่รอดชีวิตได้ หรือ การทำงานของตับได้ ซึ่งปกติทางศัลยแพทย์จะมีการประเมินว่าตัดได้หรือเปล่า ถ้ากรณีผู้ป่วยมีตับแข็งจะมีอาการเข้าได้ กับโรคตับระยะท้ายๆ และมีมะเร็งตับร่วมด้วย กรณีนี้วิธีการรักษาที่ดีที่สุด ถ้าก้อนไม่ใหญ่มากและยังอยู่ในระยะที่ยังไม่แพร่กระจาย และอยู่ในเกณฑ์กำหนด คือ การปลูกถ่ายตับ คือ การเอาตับเก่าที่มีมะเร็งออก และ เอาตับใหม่ที่ไม่มีมะเร็งใส่กลับเข้าไป แต่ปัจจุบันค่อนข้างทำได้น้อยอยู่จะทำได้ในโรงพยาบาลใหญ่ หรือโรงเรียนแพทย์ ปัญหาในปัจจุบัน คือ การขาดแคลนผู้ป่วยที่บริจาคอวัยวะ จึงทำให้จำนวนผู้ป่วยที่ต้องการกับจำนวนของตับที่มีให้ยังมีจำกัด ค่าใช้จ่ายในการเฉลี่ยปลูกถ่ายตับประมาณ 1,000,000 บาท ในการผ่าตัดจะเป็นรัฐบาลออกให้จะครอบคลุมเฉพาะข้าราชการและผู้ที่มีประกันสังคม ยังไม่ครบคลุมผู้ป่วยบัตรทองขณะนี้อยู่ระหว่างการวางแผนเพื่อขยายการเข้าถึงการรักษาให้ได้วงกว้างมากขึ้น ปัจจุบันสามารถผ่าตัดได้ปีละ 100 - 200 ราย เพราะมีทรัพยากรที่ค่อนข้างจำกัด และอีกวิธีหนึ่งถ้าเป็นก้อนขนาดเล็กยังอยู่ในระยะไม่เกิน 2 เซนติเมตร ที่ใช้ค่อนข้างเยอะ คือ การใช้เป็นคลื่นไฟฟ้าความถี่สูง ซึ่งความถี่สูงจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ไปทำลายตัวมะเร็งตับ ซึ่งมีผลการศึกษาที่รับรองว่าหายขาดได้ ไม่แตกต่างกับการผ่าตัดตับ ในก้อนมะเร็งก็ขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร ซึ่งต่างประเทศจะนิยมมาก เพราะค่านอนโรงพยาบาลกับการผ่าตัดค่อนข้างแพง และผู้ป่วยหลายรายที่ไม่อยากผ่าตัด หรือ มีความเสี่ยงในการผ่าตัดที่ค่อนข้างสูงก็จะเลือกใช้วิธีนี้ แต่เรื่องการเลือกใช้วิธีการรักษาจะต้องประเมินเป็นรายๆไป เนื่องจากตำแหน่งของก้อนจะมีผลกับการรักษา และอีกระยะหนึ่งที่เป็นระยะลุกลามแล้ว ไม่สามารถให้การรักษาโดยการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ หรือ จี้ไฟฟ้า จะมีการรักษาอีกวิธีหนึ่งเป็นการรักษาที่เรียกว่า “TACE” คือการฉีดยาเคมีบำบัดเข้าไปที่ก้อนมะเร็งโดยตรง ร่วมกับฉีด Gelfoam ไปอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็ง แต่การรักษาไม่ได้ทำให้มะเร็งหายขาด แต่สามารถทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและอยู่ได้นานขึ้น คำแนะนำเพิ่มเติมในการดูแลตัวเองก่อนที่จะเสี่ยงเป็นมะเร็งตับ ฝากเรื่องการป้องกันเพราะการป้องกันก็ดีกว่าการรักษา ในบุคคลทั่วไปถ้าพยายามลดปัจจัยเสี่ยง เช่น การตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี หรือ ซี ต้องระวังพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การใช้ยาเสพติดฉีดเข้าเส้น การสักลาย และ พยายามหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไปหรือไม่เหมาะสม สุดท้ายจะเป็นเรื่องการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพราะไขมันเกาะตับก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งตับที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง และในผู้ป่วยที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี แนะนำให้ฉีดวัคซีน ซึ่งจะป้องกันที่จะทำให้เกิดโรคได้ ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหาร รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

คำแนะนำ การฝังเข็ม ( Acupuncture)

คำแนะนำ การฝังเข็ม ( Acupuncture) การฝังเข็ม คืออะไร           การฝังเข็ม คือการที่แพทย์ใช้เข็มเล็กขนาด 0.18-0.30 มม. ปักลงในจุดต่างๆของร่างกาย แล้วกระตุ้นโดยใช้นิ้วมือหมุนปั่น หรือใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้ากระตุ้นโวลต์ต่ำ ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที แล้วจึงถอนเข็มออก มีฤทธิ์ในการรักษาโรค 3 ประการคือ 1.แก้ไขการไหลเวียนของเลือดลมปราณที่ติดขัด 2.ปรับอวัยวะต่างๆในร่างกายให้อยู่สมดุล 3.กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยที่เป็นอันตราย ออกจากร่างกายและยับยั้ง ความเจ็บปวด ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งมีอาการคลายตัว ประโยชน์ของการฝังเข็ม คือ การรักษาและบรรเทาอาการของโรค โรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม           องค์การอนามัยโลกระบุว่า มีโรคหลายชนิด หลายกรณี ที่สามารถทำการรักษาได้ ทุกเพศ ทุกวัย โดยโรคและอาการที่พบบ่อยๆมีดังนี้  - อัมพาต อัมพฤกษ์ แขนขา อ่อนแรง - ปวดศีรษะ  -นอนไม่หลับ เครียด วิตกกังวล  -ท้องผูก -โรคบริเวณใบหน้า เช่นอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก หน้ากระตุก ขากรรไกรค้าง อ้าปากไม่ขึ้น - โรคกล้ามเนื้อเอ็น ข้อกระดูกและปลายประสาทชา ปวดข้อ รูมาตอยด์ ชาปลายมือและปลายเท้า ตะคริว ปวดหลัง ปวดหัวเข่า ข้อเขาเสื่อ ข้อเข่าพลิก -อาการปวดจากมะเร็ง เนื้องอก ปวดแผลผ่าตัด - แพ้ท้องมาก อาเจียน ทานอาหารไม่ได้ -โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน ปลายเท้าคล้ำดำ ชาปลายมื้อและปลายเท้า -ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง - ลดน้ำหนัก เช่น ลดความอ้วนหลังคลอด ลดไขมันเฉพาะที่ เช่นต้นขา น่อง ต้นแขน ท้องแขน ฯลฯ - เพิ่มน้ำหนักในคนผอม ผู้ป่วยเรื้อรัง - บำรุงสุขภาพ วัยเรียน วัยทำงาน และผู้สูงอายุ -โรคผู้สูงอายุ สั่นกระตุก พาร์กินสัน หลงลืม โรคอัลไซเมอร์ - โรคสูตินารีเวช ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ -วัยทอง - เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ - โรคภูมิแพ้ -เวชสำอางผิวหนัง เช่น ลบรอยตีนกา รอยเหี่ยวย่นใต้คาง ฝ้า สิว กระ -ผมร่วง เส้นเลือดขอด - เลิกยาเสพติด เช่น สุรา บุหรี่ ยาเสพติดอื่นๆ - โรคระบบทางเดินอาหาร และลำไส้ เช่น ปวดท้องเรื้อรัง ริดสีดวงทวาร -โรคอื่นๆซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆไป ข้อควรระวังในการฝังเข็ม           ไม่ควรทำการฝังเข็มในผู้ป่วยต่อไปนี้ 1.     สตรีมีครรภ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงใกล้คลอด จะไม่สามารถทนนอนหรือนั่งเป็นเวลานานๆได้ 2.      ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น โรคฮีโมฟิลเลีย 3.      โรคมะเร็ง(ที่ยังไม่ได้รับการรักษา) 4.      โรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ฯลฯ 5.       ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ(Pacemaker) ห้ามรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้า 6.       ผู้ป่วยที่ตื่นเต้นหวาดกลัวต่อการรักษามากเกินไป ทั้งที่ได้พยายามอย่างเต็มที่แล้วก็ยังควบคุมจิตใจตนเองไม่ได้ 7.       ผู้ป่วยที่เหน็ดเหนื่อยจากการออกกำลังกายอย่างหนัก 8.       ทารกเด็กเล็ก ผู้ป่วยทางจิต โรคสมองเสื่อม ที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้ ทางเลือกอื่นๆ กรณีที่ไม่สามารถรักษาด้วยการฝังเข็ม แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการ ครอบแก้ว (cupping) ซึ่งจะใช้รักษาคนไข้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้ออักเสบ ในทางศาสตร์จีน เชื่อว่าเลือดบริเวณนั้นไหลเวียนไม่ดี การครอบแก้ว คือ การนำแก้วสุญญากาศครอบบริเวณที่มีอาการปวด เพื่อดึงเลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณที่ปวดจะช่วยลดอาการที่ปวดได้มากขึ้น ใช้เวลาประมาณ 7-15 นาที ตามคำสั่งแพทย์ หรือแพทย์อาจพิจจารณารักษาด้วยการ รมยา ( Moxa ) ในรายที่มีอาการอักเสบเรื้อรัง เช่นเอ็นข้อเท้าอักเสบ ข้อเข่าอักเสบ การรมยาโกฏจุฬาลำพา คือ การนำแท่งยาโกฏาจุฬาลำพาจุดไฟ รมบริเวณที่มีอาการปวดบนร่างกาย จนกระทั่งผิวบริเวณที่รมแดงขึ้น ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที   การปฏิบัติตัวสำหรับผู้มารักษาด้วยการฝังเข็ม       การปฏิบัติตัวก่อนมาฝังเข็ม 1.       เตรียมใจไปรักษา การฝังเข็มเป็นการรักษาที่เป็นลักษณะที่เป็นหัตถการ ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีรักษาฝังเข็ม จึงควรมารักษาด้วยความมั่นใจต่อการรักษา มิใช่มาด้วยความกังวล หวาดวิตก 2.       รับประทานอาหารให้พอเหมาะ ควรรับประทานอาหารมาก่อนประมาณ1-2 ชั่วโมง และไม่ควรรับประทานอาหารจนอิ่มมากจนเกินไป 3.       สวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสม ควรสวมเสื้อผ้าที่ เป็นชุดแยกส่วน ผู้ป่วยเป็นโรคอัมพาต ควรสวมเสื้อผ้าที่สามารถพับแขนได้ และกางเกงขาสั้น จะทำให้แพทย์ปักเข็มได้สะดวกมากขึ้น 4.       ทำความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อย เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรคให้มากที่สุด เช่น การอาบน้ำ สระผมก่อนมารักษา การปฏิบัติตัวขณะฝังเข็ม 1.       สงบกายและใจในขณะรักษา ขณะที่มีเข็มปักคาร่างกาย ควรนั่งหรือนอนนิ่งๆ ไม่ควรขยับเคลื่อนไหวส่วนของร่างกายที่มีเข็มปักคาอยู่ ยกเว้นการขยับตัวเล็กๆน้อยๆ ยังสามารถทำได้ แต่ส่วนของร่างกายอื่นๆ ที่ไม่มีเข็มปักอยู่นั้น สามารถขยับเคลื่อนไหวได้ตามปกติ 2.       ควรอยู่ในสภาพที่สงบ ผ่อนคลาย อาจหลับตาและหายใจเข้าออกช้าๆ ให้เป็นจังหวะสม่ำเสมอ เพื่อช่วยทำให้จิตใจสงบสบาย                                       ด้วยความปรารถนาดี จากคลินิกแพทย์ทางเลือก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอ

วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอ โรคตับอักเสบเอคืออะไร           เป็นโรคตับที่เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ซึ่งมักจะพบในอุจจาระของคนที่เป็นโรคตับอักเสบเอ และมักจะติดต่อโดยการใกล้ชิดกับคนที่เป็น หรือจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสตับอักเสบเออยู่ ผู้ที่เป็นโรคตับอักเสบเอ สามารถแพร่เชื้อให้กับบุคคลใกล้ชิดได้ง่าย  สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบเอ           จากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ Hepatitis A virus (HAV) ซึ่งเป็น RNA virus ตระกูล picornaviridae  อาการของโรคตับอักเสบเอ           ในผู้ใหญ่อาการเริ่มต้นส่วนมากจะมีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ แน่นท้อง ตามด้วยตัวเหลือง ตาเหลือง ภายใน 2-3 วัน ซึ่งแตกต่างกันตั้งแต่มีอาการเพียงเล็กน้อยและหายไปใน 1-2 สัปดาห์ จนถึงในรายที่มีอาการรุนแรงและใช้เวลารักษานานหลายเดือน ซึ่งพบได้น้อยกว่า ระยะพักฟื้นส่วนใหญ่มักใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่ก็มักจะหายอย่างสมบูรณ์โดยไม่มีโรคแทรกซ้อนเหลืออยู่ และจะไม่มีอาการกลับเป็นใหม่ ในเด็กการติดเชื้อนี้มักจะไม่ปรากฏอาการ มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากมีอาการเล็กน้อย โดยไม่มีอาการเหลือง แต่สามารถวินิจฉัยได้โดยการทดสอบการทำงานของตับ  การทำลายเชื้อปนเปื้อนไวรัสตับอักเสบเอ           มีการกำจัดอุจจาระ ปัสสาวะ และเลือดอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ดังต่อไปนี้ -ถูกทำลายโดยความร้อนที่ 85o c นาน 1 นาที - ฟอร์มาลีน (ร้อยละ 8 นาน1 นาทีที่ 25o c) - ไอโอดีน (3 mg/ลิตร นาน 5 นาที) - คลอรีน (free residual chlorine 2-2.5 mg/ลิตรนาน 15 นาที) -สัตว์น้ำจำพวกมีเปลือกเช่น หอย กุ้ง ปู ที่มาจากทะเลที่ มีการปนเปื้อนเชื้อนี้ ควรทำให้สุกอย่างน้อยที่อุณหภูมิ 90oc นาน 4 นาที หรือใช้อบภายใต้ความดัน นาน 90 นาที ใครควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอ           ผู้ที่มีอายุ 1 ขวบขึ้นไปที่กำลังจะเดินทางหรือทำงานในประเทศที่มีโรคตับอักเสบเอแพร่ระบาดมาก ได้แก่ ประเทศในทวีปอเมริกากลาง อเมริกาใต้ เอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) แอฟริกา ยุโรปตะวันออก เป็นต้น           ผู้ที่มีอาชีพเสี่ยงต่อการรับและแพร่กระจายของโรค ได้แก่ ผู้ประกอบอาหาร ผู้ที่อยู่ในที่ที่มีคนอยู่ด้วยกันเป็นจำนวนมาก เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก กองทัพทหาร เป็นต้น            บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องสัมผัสกับผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ หรือผู้ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการเพื่อวิจัยเกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบเอบ นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าไปยังแหล่งระบาด หรือ ที่ที่มีความชุกของโรคสูง เช่น ในประเทศเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) อเมริการกลาง อเมริกาใต้ แถบทะเลคาริบเบียน แอฟริกา และ ยุโรปตะวันออก โดยควรฉีดวัคสมาชิกในครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบเอ  - วัคซีนอย่างน้อย 1 เดือนก่อนเดินทาง  - ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายด้วยกัน - บุคคลที่ใช้ยาเสพติด  - ผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง   - ผู้ที่กำลังรักษาโรคเกี่ยวกับความเข้มข้นในการแข็งตัวของเลือด  เมื่อไรควรจะฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอ - เด็กที่อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน - บุคคลที่มีความเสี่ยง อาจเริ่มฉีดเมื่อต้องการจะได้รับความคุ้มกันต่อการติดเชื้อ   -สำหรับผู้ที่เดินทาง ควรเริ่มฉีดวัคซีนครบคอร์ส อย่างน้อย 1 เดือนก่อนเดินทาง ซึ่งควรฉีด 2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน  ควรฉีดวัคซีนตับอักเสบเอ กี่ครั้ง และเมื่อไหร่            ฉีด 2 ครั้ง ฉีดเข็มแรก และเข็มกระตุ้น เมื่อ 6-18 เดือนถัดไป  ข้อห้ามและข้อควรระวังในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอ ·        -เคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรงต่อวัคซีน และส่วนประกอบของวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอมาแล้ว ·        -ผู้รับวัคซีนที่มีอาการป่วยอยู่ ให้รอให้หายป่วยก่อน ·        -ถ้าตั้งครรภ์ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน ·        ควรใช้อย่างระมัดระวังในผู้ที่มีเกร็ดเลือดต่ำ หรือผู้ที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด  ข้อไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนโรคตับอักเสบเอ ·        -ระบม ปวดบริเวณที่ได้รับการฉีดวัคซีน ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ซึ่งจะหายภายใน 1-2 วัน ·        -อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการแพ้อย่างรุนแรง มักเกิดภายใน 2-3 นาที ถึง 2-3 ชั่วโมง แต่อุบัติการณ์เกิดน้อยมาก  ควรจะไปพบแพทย์เมื่อไร ·        อาการผิดปกติต่างๆ เช่น มีไข้สูง หรืออาการแพ้อย่างรุนแรง ดังนี้ หายใจไม่สะดวก หายใจมีเสียงดังหวีด ลมพิษ ซีดขาว หรือหัวใจเต้นเร็ว                                ด้วยความปรารถนาดี  จากศูนย์วัคซีนโรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<