วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (Hepatitis B Vaccine)

วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (Hepatitis B Vaccine) โรคตับอักเสบบีคืออะไร           เกิดจากการ ติดเชื้อไวรัสชนิดบี (Hepatitis B virus) สามารถติดต่อทางเลือด และการสัมผัสสารคัดหลั่งต่างๆ โดยสามารถรับเชื้อได้โดยวิธีดังต่อไปนี้ •         ทารกของมารดาที่ติดเชื้อขณะคลอด •         การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่ได้ป้องกัน •         การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน •         การใช้เข็มสักตามตัวหรือสีที่ใช้สักตามตัวร่วมกัน และการเจาะหู •         การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน ที่ตัดเล็บร่วมกัน •         การถูกเข็มที่ใช้แล้วตำจากการทำงาน •         การสัมผัสกับเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่งที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยผ่านเข้าทางบาดแผล           นอกจากนี้ไวรัสตับอักเสบบีทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับและทำให้เซลล์ตับตาย หากเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด ตับแข็ง และมะเร็งตับได้ อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี           แบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ •         ระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 1-4 เดือนหลังติดเชื้อ ซึ่งจะมีอาการดังนี้อาการไข้ ตัวเหลืองตาเหลือง ปวดท้องใต้ชายโครงขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสียและอาเจียน อ่อนเพลีย ผื่น ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง เกิดจากการที่เซลล์ตับถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ในกรณีนี้อาจทำให้เกิดภาวะตับวายได้อาการตับอักเสบระยะเฉียบพลันจะดีขึ้นใน 1-4 สัปดาห์ และจะหายเป็นปกติเมื่อร่างกายสามารถกำจัดและควบคุมเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ ซึ่งมักใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน แต่ผู้ป่วยส่วนน้อย (5-10%) ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมด ทำให้ผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง •         ระยะเรื้อรัง แบ่งผู้ป่วยได้เป็น 2 กลุ่มคือ ◦          พาหะ คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ผลการตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับอยู่ในเกณฑ์ปกติ ◦          ตับอักเสบเรื้อรัง คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย และตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่มีอาการ บางรายอาจมีอาการอ่อนเพลียหรือเบื่ออาหารได้ การติดเชื้อแบบเรื้อรัง พบบ่อยในเด็กที่ติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิดและยังเป็นอันตรายที่อาจนำไปสู่ ตับแข็ง มะเร็งตับ และเสียชีวิตในที่สุด ใครควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี ·        เด็กและวัยรุ่น o   เด็กไทยทุกคน ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี 3 เข็มด้วยกัน §  เข็มที่ 1    เมื่อแรกเกิด §  เข็มที่ 2    เมื่ออายุ 1-2 เดือน §  เข็มที่ 3    เมื่ออายุ 6-18 เดือน o   ทารกคลอดจากมารดาที่มี HBsAg เป็นบวก (โดยเฉพาะถ้า HBeAg เป็นบวกด้วย) พิจารณาให้ HBIG (Hepatitis B Immune Globulin) 0.5 มล. ภายใน 12 ชม. หลังคลอด และให้วัคซีนครั้งที่ 1 พร้อมๆ กันคนละตำแหน่งกับ HBIG วัคซีนครั้งที่ 2 ให้เมื่ออายุ 1-2 เดือน และครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน o   ในกรณีที่ใช้วัคซีนรวมที่มีคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน และวัคซีนตับอักเสบบี สามารถให้ฉีด (หลังจากเข็มแรกเกิด) ที่อายุ 2, 4, และ 6 เดือนได้ o   ในกรณีเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 11 ปี สามารถฉีดวัคซีนได้ในเดือนที่ 0, 1, 6 ส่วนเด็กที่อายุ ตั้งแต่ 11-15 ปี  อาจฉีดเพียง 2 ครั้ง ในเดือนที่ 0 และเดือนที่ 4-6 โดยใช้วัคซีนขนาด 1.0 มล. เท่าผู้ใหญ่ 
    ·        ผู้ใหญ่ o   บุคคลที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนและมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ดังเช่น §  ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี §  ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายด้วยกัน §  ผู้ที่ฉีดสารเสพติด §  ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์มากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป §  ผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง หรือโรคไตเรื้อรัง §  ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและมีอายุน้อยกว่า 60 ปี §  บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งต่างๆ §  บุคคลในครอบครัวติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี §  ผู้ที่เดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของไวรัสตับอักเสบบี §  ผู้ติดเชื้อเอดส์ o   สตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงก็สามารถฉีดวัคซีนได้ ใครที่ไม่ควรรับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ·        ผู้ที่เคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรงเป็นอันตรายแก่ชีวิตต่อวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี หรือส่วนประกอบของวัคซีน ·        ผู้ที่มีอาการป่วย ควรรอจนกว่าหายเป็นปกติก่อนจึงจะฉีดได้ ควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการไม่พึงประสงค์ดังนี้         ถึงแม้อัตราเสี่ยงของอาการไม่พึงประสงค์อย่างรุนแรงที่เกิดจากวัคซีนเกิดขึ้นน้อยมาก แต่ให้เฝ้าระวังอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที ·        มีอาการผิดปกติดังนี้ อาการของการแพ้รุนแรง กล่าวคือ หายไจลำบาก หรือหายใจมีเสียงวีด เสียงแหบ ไข้สูง ผื่น หน้าบวม ปากบวม ตัวซีด หรือ หัวใจเต้นเร็วเป็นต้น                                                                ด้วยความปรารถนาดี  ศูนย์วัคซีนโรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น

วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น โรคหัด โรคไข้กาฬหลังแอ่นคืออะไร           โรคไข้กาฬหลังแอ่น เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Neisseria meningitidis ซึ่งเป็นเชื้อกรัมลบรูปทรงกลมจำพวกเดียวกับเชื้อหนองในแท้ หรือ Neisseria gonorrheae แต่ไม่ทำให้เกิดกามโรคและมีความรุนแรงในการก่อโรคมากกว่า มีอัตราการตายสูงกว่า             - ชื่อโรคไข้กาฬ มีเหตุจากความรุนแรงของโรค ซึ่งทำให้ผู้ป่วยถึงแก่กรรมได้ในเวลาอันสั้น             - ชื่อหลังแอ่น เนื่องจากลักษณะของผู้ป่วยโรคนี้อาจมีการชักเกร็ง หลังแข็งแอ่น เชื้อที่ก่อโรคมีอยู่ 5 กลุ่ม ได้แก่ A, B, C, Y และ W-135 การติดต่อของโรค           โรคนี้ติดต่อทางละอองฝอยจากน้ำมูก น้ำลาย หรือจากสารคัดหลั่งต่างๆ จากการสัมผัสใกล้ชิด แต่ผู้ที่ได้รับเชื้อเข้าไปส่วนใหญ่ไม่มีอาการ  บางรายจะเป็นพาหะ มีน้อยรายมากที่เชื้อจะลุกลามไปที่เยื่อหุ้มสมองหรือกระแสโลหิต ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้ประปราย ไม่พบการระบาดใหญ่ จากสถิติย้อนหลังพบว่ามีจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ในประเทศไทยปีละไม่เกิน 10 คน           การติดต่อได้ง่ายจากการสัมผัสใกล้ชิด หรือคลุกคลีอยู่กันคนหมู่มาก อยู่รวมๆกัน เช่น นักเรียนนักศึกษาในหอพัก กลุ่มผู้แสวงบุญ หรือกลุ่มนักท่องเที่ยวนักเดินทางที่เข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาด ดังนั้นจึงมีคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนนี้ในประชากรกลุ่มดังกล่าว ระยะฟักตัวของโรค           ผู้ป่วยเริ่มปรากฏอาการป่วย หลังจากรับเชื้อ 2-10 วัน อาการ           เริ่มด้วยมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะมาก อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บคอ ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่ขาและหลัง ต่อมาจะมีผื่นเลือดออกใต้ผิวหนังร่วมกับจ้ำเลือดสีคล้ำ และสะเก็ดดำในที่สุดผู้ป่วยอาจมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยแสดงอาการคอแข็งร่วมด้วย ในรายที่เป็นรุนแรงผู้ป่วยจะซึม ชัก ช็อกและอาจเสียชีวิตได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังเริ่มมีอาการ   วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น           วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่นที่มีใช้ในประเทศไทยสามารถป้องกันโรคได้ 4 สายพันธุ์คือ   A, C, Y, W-135  แต่ในประเทศไทยสายพันธุ์ที่พบบ่อยที่สุดคือสายพันธุ์ B ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวัคซีน ดังนั้นจึงยังไม่มีคำแนะนำให้การฉีดวัคซีนในคนไทยโดยทั่วไปในการป้องกันโรคนี้ การฉีดวัคซีนจึงมีที่ใช้ในกรณีที่คนที่จะเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคเป็นประจำ หรือ ให้วัคซีนแก่ประชาชนที่อยู่เขตระบาดซึ่งทราบสายพันธุ์ของเชื้อแล้ว หรือที่กำลังจะเดินทางเข้าไปในเขตที่มีการระบาดเป็นประจำ เช่น เช่น ประเทศแถบทะเลทรายซาฮาราในทวีปอาฟริกา ประเทศในตะวันออกกลาง ผู้ที่จะเดินทางเข้าไปในเขตดังกล่าว ดังเช่นชาวไทยมุสลิมผู้ไปแสวงบุญ ณ.นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องโรคไข้กาฬหลังแอ่นก่อนการเดินทางอย่างน้อย 10 วัน วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่นแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่ 1.       วัคซีนชนิดโปลิแซค ประกอบด้วยสารสกัดบริสุทธิ์ของแคปซูลของเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น โดยสกัดจากเชื้อ 4 ชนิด ได้แก่ A, C, Y และ W-135 วัคซีนชนิดนี้ใช้ได้ผลดี และมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นชนิด A และ C ในเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปี และในผู้ใหญ่ ส่วนภูมิคุ้มกันสำหรับเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นชนิด C ในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ไม่ดีเท่าใดนัก และวัคซีนชนิดโปลิแซคคาไรด์ไม่ได้ผลชัดเจนในเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นชนิด Y และW-135 สำหรับทุกช่วงอายุ 2.       วัคซีนชนิดคอนจูเกต วัคซีนชนิดคอนจูเกตเป็นวัคซีนไข้กาฬหลังแอ่นชนิดใหม่ที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ยาวนานขึ้น   สร้างขึ้นโดยรวมส่วนของโปรตีนเข้ากับโปลิแซคคาไรด์ ซึ่งเป็นแคปซูลของเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น 4 ชนิด ได้แก่ A, C, Y และ W-135 ให้ใช้ได้เพื่อป้องกันการติดเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นในบุคคลที่มีอายุระหว่าง 2-55 ปี   ใครควรได้รับวัคซีนนี้ และจะต้องให้กี่ครั้ง อย่างไร           ผู้ที่ควรได้รับวัคซีนนี้ มี3 กลุ่มใหญ่ๆคือ 1.       เด็กอายุมากกว่า 2 ปี และผู้ใหญ่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น เดินทางไปหรืออาศัยอยู่ในแหล่งระบาดของโรค 2.       นักเรียนนักศึกษาที่จะไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา หรือบางประเทศในยุโรป เช่น อังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนนักศึกษาที่จะเข้าไปพักในหอพัก เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการระบาดของโรคนี้ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา ทำให้ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกามีข้อกำหนดเลยว่า นักเรียนนักศึกษาที่จะเข้าไปเรียนจะต้องได้รับวัคซีนดังกล่าวก่อนเข้าไป และจะต้องยื่นเอกสารว่าได้รับการฉีดวัคซีนนี้ด้วย 3.       กลุ่มผู้แสวงบุญในพิธีฮัจจ์และอุมเราะห์ ซึ่งเป็นข้อกำหนดของทางการประเทศซาอุดิอารเบีย ก่อนเข้าร่วมพิธีดังกล่าวจะต้องได้รับวัคซีนป้องกันไข้กาฬหลังแอ่น โดยจะต้องยื่นหลักฐานว่าเคยได้รับวัคซีนนี้แล้วเพื่อใช้ในการขอ visa เข้าประเทศ โดยจะต้องฉีดล่วงหน้าก่อนเดินทางไปอย่างน้อย 10 วัน และไม่เกิน 2 ปี 4.       กลุ่มนักท่องเที่ยว/นักเดินทางที่จะไปในประเทศในเขต Meningitis belt ในแอฟริกา ตั้งแต่ประเทศแกมเบีย บูร์กินาฟาโซ เซเนกัล กีนี ไปทางตะวันออกจนถึงประเทศเอธิโอเปีย หรือเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าต้องเข้าไปคลุกคลีกับคนในพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้นผู้ที่จะเข้าไปท่องเที่ยวหรือทำงานในประเทศดังกล่าวควรได้รับวัคซีนก่อนเดินทาง            วัคซีนใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังในชนิดโพลีแซคคาไรด์ และฉีดเข้ากล้ามเนื้อในชนิดคอนจูเกต 1 ครั้ง     ใครไม่ควรรับวัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น หรือควร เลื่อนการรับวัคซีนออกไปก่อน ·        เคยมีปฏิกิริยารุนแรงต่อ วัคซีนนี้มาก่อน แพ้ส่วนประกอบของวัคซีน แพ้สารลาเท็ค (latex) ซึ่งเป็นส่วนประกิบของภาชนะบรรจุวัคซีน ·        ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์นานเกิน 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งได้รับยาเคมีบำบัด ฉายแสง ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการเต็มขั้นหรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน    อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังรับวัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น           หลังฉีดวัคซีน อาจมีอาการปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีดได้ และหาย ได้เองภายใน 2 - 3 วัน การดูแลรักษาอาการข้างเคียง หากปวด บวมบริเวณที่ฉีดให้ปะคบด้วยผ้าเย็น หากมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ในขนาดที่เหมาะสม หากอาการข้างเคียง เป็นรุนแรง หรือเป็นมาก ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที และบอกอาการให้แพทย์ทราบโดยละเอียด ด้วยความปรารถนาดี  จากศูนย์วัคซีน โรงพยาบาลวิภาวดี 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันโรคนิวโมคอคคัส

 โรคนิวโมคอคคัส (Pneumococcus)           โรคนิวโมคอคคัลเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อสเตรปโตคอคคัสนิวโมนิอิ (Streptococcus pneumoniae) ถึงแม้เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคปอดบวมซึ่งนำไปสู่การเจ็บป่วยและตายเป็นจำนวนมากทั่วโลก แต่ก็เป็นโรคหนึ่งที่ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน          เชื้อแบคทีเรียนี้พบได้ทุกหนทุกแห่ง มักพบอาศัยอยู่ในโพรงจมูกและลำคอของคนที่เป็นพาหะ โดยไม่มีอาการอะไร เชื้อกระจายไปสู่บุคคลอื่นโดยการไอ หรือ จาม ทำให้มีละอองเสมหะแพร่กระจายออกไป เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการสัมผัสสิ่งปนเปื้อน ซึ่งคล้ายกับการแพร่กระจายของโรคหวัด และไข้หวัดใหญ่    อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อนิวโมคอคคัส           ถ้าสงสัยว่ามีอาการดังต่อไปนี้ ให้รีบพบแพทย์ โรคปอดบวม จะมีอาการไข้สูง ไอ หายใจเร็ว หอบ อาจมีของอาการไข้หวัดนำมาก่อนหรือไม่ก็ได้ โรคหูชั้นกลางอักเสบ จะมีอาการไข้สูง เจ็บหู งอแง ร้องกวน โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน คอแข็ง ปวดศีรษะ อาเจียน กระวนกระวาย ชัก หรือหมดสติอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยอาจมีอาการไข้สูง โดยที่มีหรือไม่มีอาการอื่นร่วมด้วยก็ได้ ควรจะรีบพามาพบแพทย์   การรักษาโรคนิวโมคอคคัส           การรักษาที่สำคัญที่สุดคือการให้ยาปฏิชีวนะที่สามารถกำจัดเชื้อนิวโมคอคคัสได้อย่างรวดเร็ว ก่อนที่จะมีการดื้อต่อยาเพนนิซิลิน ยาปฏิชีวนะสามารถฆ่าเชื้อได้ภายใน 24 ชั่วโมง แต่ในปัจจุบันเชื้อดื้อยาเพนนิซิลินมากขึ้น ทำให้แพทย์ต้องใช้ยากลุ่มใหม่ในการรักษา ความยุ่งยากของการรักษาโรคนี้ยังขึ้นอยู่กับว่า ติดเชื้อบริเวณใด เช่น ติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง อาจทำให้มีการทำลายเนื้อสมองร่วมด้วย ผู้ป่วยอาจมีความพิการเหลืออยู่ในรายที่รอดชีวิต    ทำไมจึงควรได้รับวัคซีน?           เนื่องจากการรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะในปัจจุบันซึ่งเป็นเชื้อดื้อยาเพนนิซิลินมากขึ้น ทำให้การรักษาโรคนิวโมคอคคัสยุ่งยาก และซับซ้อนมากขึ้น นอกจากนี้ยังอาจทำให้มีความพิการหลงเหลือในรายที่รอดชีวิต ดังนั้นการป้องกันโรคนี้โดยการฉีดวัคซีนจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดทางหนึ่ง วัคซีนนิวโมคอคคัสโพลีแซคคาไรด์ (pneumococcal polysaccharide vaccine, PPSV23)                         วัคซีนนิวโมค็อคคัสโพลีแซคคะไรด์ (PPSV) ป้องกันเชื้อแบคทีเรียนิวโมค็อคคัลได้ 23 ชนิด รวมถึงชนิดที่มักก่อให้เกิดโรคขั้นรุนแรงด้วย ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงจะสร้างภูมิคุ้มต่อต้านเชื้อส่วนใหญ่หรือทั้งหมดภายหลังรับการฉีดวัคซีนภายใน 2 ถึง 3 สัปดาห์ ผู้สูงอายุ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และผู้ป่วยเรื้อรังอาจไม่ตอบสนองต่อวัคซีนเท่าที่ควรหรือไม่ตอบสนองเลย ใครควรได้รับวัคซีนนิวโมคอคคัส ? ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีอายุระหว่าง 2 ถึง 64 ปีซึ่งมีปัญหาสุขภาพเรื้อรังเช่น:         -  โรคหัวใจ, โรคปอด, โรคเลือด, โรคเบาหวาน, โรคพิษสุราเรื้อรัง, โรคตับแข็ง, มีของเหลวซึมจากสมองหรือไขสันหลัง หรือมีการเปลี่ยนอวัยวะภายในช่องหู ผู้ที่มีอายุระหว่าง 2 ถึง 64 ปี ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ร่างกายลดการต่อต้านกับการติดเชื้อ เช่น:          - โรคต่อมน้ำเหลืองอักเสบเรื้อรัง, มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือเม็ดเลือด, ไตวาย, มะเร็งของเซลล์พลาสม่า, โรคเกี่ยวกับความผิดปกติของไต, ติดเชื้อเอส ไอ วี หรือ เอดส์, ม้ามบกพร่อง หรือ ไม่มีม้าม, เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 2 ถึง 64 ปี ซึ่งรับประทานยาหรือได้รับการบำบัดรักษาที่ทำให้ร่างกายลดการต่อต้านกับการติดเชื้อ เช่น: ใช้ยาเสตอรอยด์เป็นเวลานาน, ยารักษาเฉพาะโรคมะเร็ง, รับการฉายแสง ผู้ใหญ่อายุ 19 ถึง 64 ซึ่ง: สูบบุหรี่, เป็นโรคหืด    ควรฉีดวัคซีนนิวโมคอคคัส กี่ครั้งและเมื่อไหร่? โดยปกติต้องฉีด PPSV23 เพียงครั้งเดียว แต่ในบางกรณีจำเป็นต้องฉีดครั้งที่สอง ควรฉีดครั้งที่สองให้กับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปที่ได้รับการฉีดครั้งแรกเมื่อบุคคลนั้นมีอายุน้อยกว่า 65 ปี และได้รับการฉีดมานานเกินกว่า 5 ปี ควรฉีดครั้งที่สองให้กับผู้ที่มีอายุ 2 ถึง 64 ปีซึ่ง: มีม้ามบกพร่องหรือไม่มีม้าม, มีโรคเลือดจากโดยกำเนิด, มีการติดเชื้อ เอช ไอ วี หรือเอดส์, เป็นมะเร็ง, มะเร็งเม็ดเลือด ต่อมน้ำเหลืองเซลล์พลาสมา, โรคเกี่ยวกับความผิดปกติของไต, มีการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะหรือไขกระดูก, รับยาเพื่อกดภูมิคุ้มกัน (เช่น ใช้คีโมบำบัด หรือใช้ยาเสตอรอยด์เป็นเวลานาน)ควรฉีดวัคซีนครั้งที่สองหลังจากครั้งแรก 5 ปี   การดูแลอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น           วัคซีนก็เหมือนยารักษาโรคอื่นๆที่อาจเกิดปฏิกิริยาข้างเคียงได้ สำหรับวัคซีนป้องกัน โรคนิวโมคอคคัส  อาจมีผลข้างเคียงบ้างเล็กน้อยเช่น  ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด  มีส่วน้อยเพียง 1% ที่อาจมีไข้ หรือ ปวดกล้ามเนื้อ   การดูแลรักษาอาการข้างเคียง หากปวด บวมบริเวณที่ฉีดให้ประคบด้วยผ้าเย็น หากมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ในขนาดที่เหมาะสม หากมีอาการรุนแรง หรือเป็นมาก ควรปรึกษาแพทย์ทันทีและแจ้งอาการให้ทราบโดยละเอียด    การดูแลอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น สิ่งที่ควรสังเกตุ                สังเกตุหาอาการผิดปกติต่างๆ ของอาการแพ้อย่างรุนแรง คือ ผื่น หน้าบวม ปากบวม คอบวม หายใจไม่สะดวก หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นภายใน 2-3 นาที ถึง 1-2 ชั่วโมงหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน   สิ่งที่ควรปฏิบัติ                    หากคิดว่าผู้รับวัคซีนเกิดปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรงให้นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ในกรณีที่ใช้วัคซีนรวมที่มีคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน และวัคซีนตับอักเสบบี สามารถให้ฉีด (หลังจากเข็มแรกเกิด) ที่อายุ 2, 4, และ 6 เดือนได้ ในกรณีเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 11 ปี สามารถฉีดวัคซีนได้ในเดือนที่ 0, 1, 6 ส่วนเด็กที่อายุ ตั้งแต่ 11-15 ปี  อาจฉีดเพียง 2 ครั้ง ในเดือนที่ 0 และเดือนที่ 4-6 โดยใช้วัคซีนขนาด 1.0 มล. เท่าผู้ใหญ่ 
    บุคคลที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนและมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ดังเช่น - ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี - ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายด้วยกัน - ผู้ที่ฉีดสารเสพติด - ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์มากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป - ผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง หรือโรคไตเรื้อรัง - ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและมีอายุน้อยกว่า 60 ปี - บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งต่างๆ - บุคคลในครอบครัวติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี - ผู้ที่เดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของไวรัสตับอักเสบบี - ผู้ติดเชื้อเอดส์ สตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงก็สามารถฉีดวัคซีนได้ ใครที่ไม่ควรรับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ผู้ที่เคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรงเป็นอันตรายแก่ชีวิตต่อวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี หรือส่วนประกอบของวัคซีน ผู้ที่มีอาการป่วย ควรรอจนกว่าหายเป็นปกติก่อนจึงจะฉีดได้ ควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการไม่พึงประสงค์ดังนี้          ถึงแม้อัตราเสี่ยงของอาการไม่พึงประสงค์อย่างรุนแรงที่เกิดจากวัคซีนเกิดขึ้นน้อยมาก แต่ให้เฝ้าระวังอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที         มีอาการผิดปกติดังนี้ อาการของการแพ้รุนแรง กล่าวคือ หายไจลำบาก หรือหายใจมีเสียงวีด เสียงแหบ ไข้สูง ผื่น หน้าบวม ปากบวม ตัวซีด หรือ หัวใจเต้นเร็วเป็นต้น                         ด้วยความปรารถนาดี  จาก ศูนย์วัคซีนโรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก โรคคอตีบ และ โรคไอกรน (Tdap)

วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก โรคคอตีบ และ โรคไอกรน (Tdap) โรคบาดทะยัก โรคคอตีบ และ โรคไอกรน คืออะไร  มีความรุนแรงอย่างไร โรคบาดทะยัก เกิดจากพิษของเชื้อบาดทะยัก ที่มีอยู่ตามสิ่งแวดล้อมทั่วไป เช่นในดิน พื้นหญ้า มูลสัตว์ เจริญได้ดีในที่ที่ไม่มีออกซิเจน ส่วนมากมักจะมีประวัติมีบาดแผลตามร่างกาย เช่น ตะปูตำ หนามตำ สัตว์กัด เป็นต้น เมื่อเชื้อบาดทะยักเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล แล้วปล่อยสารพิษออกมาทำลายระบบประสาท ทำให้มีอาการเกร็ง กระตุกของกล้ามเนื้อ ขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ คอแข็ง ชักกระตุก หายใจลำบาก รุนแรงจนเสียชีวิตได้ ระยะฟักตัว 5 วัน - 15 สัปดาห์ แต่พบมากระหว่าง 6-15 วัน โรคคอตีบ เกิดจากเชื้อคอตีบ ซึ่งอยู่ในน้ำลาย เสมหะ หรือน้ำมูกของผู้ป่วย ซึ่งทำให้ลำคออักเสบรุนแรง เกิดเป็นพังพืดอุดกั้นทางเดินหายใจ นอกจากนี้ การติดเชื้อยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน กล่าวคือเชื้อคอตีบสามารถปล่อยสารพิษ ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและประสาทอักเสบได้ โรคนี้เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายโดยการหายใจ ไอ หรือจามรดกัน มีระยะฟักตัวประมาณ 1-7 วัน อาการของโรคคอตีบ จะมีอาการ ไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว เจ็บคอเล็กน้อยแต่รู้สึกกลืนลำบาก คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลียมาก ถ้ามีอาการอักเสบของกล่องเสียง จะมีอาการไอ เสียงแหบ หายใจลำบาก โรคไอกรน เกิดจากเชื้อไอกรนซึ่งมีอยู่ในคอของผู้ป่วยที่เป็นโรคในระยะแรกเท่านั้น ติดต่อได้โดยการไอหรือจามรดกัน ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการไอมาก จนหายใจลำบาก ในเด็กอาจมีอาการ หยุดหายใจ ชัก ไออย่างรุนแรง ซึ่งทำให้หายใจลำบาก อาเจียน และรบกวนการนอนหลับ ระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน อาการของโรคไอกรน แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่                          ·        ระยะแรก มีไข้ต่ำๆ น้ำมูกไหล จามและไอคล้ายไข้หวัด  อาการไอจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าสู่ระยะที่สองระยะนี้เป็นอยู่นานประมาณ 7-14 วัน ·        ระยะที่สอง มีอาการไอเป็นชุดคือไอติดต่อกันครั้งละนานๆจนตัวงอและหายใจแทบไม่ทัน เมื่อหยุดไอจะหายใจเข้ายาวๆเสียงดังวู้บ ยกเว้นทารกที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน อาจไม่มีอาการนี้ และมักจะอาเจียนมีเสมหะออกมาด้วย ในรายที่ไอรุนแรง หน้าจะเขียว ตาโปนแดง หลอดเลือดที่คอโป่ง บางรายอาจไอจนหลอดเลือดฝอยใต้เยื่อบุตาแตกเป็นปื้นแดงที่ตาขาวและอาจพบรอยบวม ช้ำ หรือห้อเลือดที่หนังตาด้วย ในเด็กเล็กอาจมีอาการชักเกร็ง หยุดหายใจ ตัวเขียวเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง อาการไอเป็นชุดส่วนใหญ่มักจะเป็นมากตอนกลางคืนหรือเมื่อกระทบอากาศเย็น ดื่มน้ำเย็นจัด ถูกควันบุหรี่ หรือถูกฝุ่น ระยะนี้จะเป็นอยู่นานประมาณ 1 เดือน แต่จะเป็นมากในช่วง 2 สัปดาห์แรก ·        ระยะที่สาม เป็นระยะฟื้นตัว อาการไอจะค่อยๆลดลงรับประทานอาหารได้มากขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือปอดอักเสบ ถ้าเป็นในเด็กอ่อนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้ อาจทำให้เกิดอาการชักเกร็งและหยุดหายใจเนื่องจากสมองขาดออกซิเจนระหว่างที่ไอนานๆมักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ใครควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก  โรคคอตีบ และ โรคไอกรน                  วัคซีนสำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่  อายุ 11 ถึง 18 ปี ·        แนะนำให้ฉีด Tdap ตอนอายุ 11 หรือ 12 ปี (สำหรับเด็กที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน DTaP ให้ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 7 ปี) ·        เด็กและวัยรุ่นที่ฉีด DTaP ไม่ครบทุกเข็มตอนอายุ 7 ปีควรฉีดวัคซีนที่มีส่วนผสมของ Td และ Tdap ให้ครบทุกเข็ม อายุ 19 ถึง 64 ปี ·        ผู้ใหญ่ควรได้รับการฉีดวัคซีน Td กระตุ้นทุกๆ 10 ปี ในผู้ใหญ่ที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปี ซึ่งยังไม่เคยฉีด Tdap ควรฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีน Tdap ในครั้งต่อไป ผู้ใหญ่อายุ 65 ปีขึ้นไปอาจฉีด Tdap กระตุ้น 1 เข็ม ·        ผู้ใหญ่ (รวมทั้งหญิงที่จะตั้งครรภ์และผู้ใหญ่ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป) ที่มีโอกาสใกล้ชิดกับทารกที่มีอายุต่ำกว่า 12 เดือนควรต้องฉีด Tdap หนึ่งเข็มเพื่อช่วยป้องกันทารกจากโรคไอกรน ·        บุคลากรทางการแพทย์ซึ่งต้องสัมผัสโดยตรงกับคนไข้ในโรงพยาบาลหรือคลีนิคควรฉีด Tdap 1 เข็ม อายุ 65 ปีขึ้นไป ·        อาจฉีด Tdap กระตุ้นหนึ่งเข็ม การฉีดวัคซีนป้องกันในผู้ป่วยหลังจากมีบาดแผล ·        บุคคลที่มีบาดแผลหรือแผลไหม้อาจต้องฉีด Td หรือ Tdap เพื่อป้องกันการติดเชื้อบาดทะยัก Tdap สามารถฉีดให้กับผู้ที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนนี้มาก่อน  การฉีดวัคซีนป้องกันในหญิงตั้งครรภ์ ·        หญิงตั้งครรภ์ซึ่งยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีน Tdap ควรฉีดหนึ่งครั้งจากอายุครรภ์ครบ 20 สัปดาห์ และจะให้ดีควรอยู่ระหว่างไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ ถ้าฉีดให้มารดา ก็จะป้องกันให้ลูกที่คลอดออกมาได้ประมาณ 6 เดือนและวัคซีนป้องกันบาดทะยัก จะช่วยป้องกันการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์และคลอดบุตรด้วย  สตรีที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน Tdap ระหว่างตั้งครรภ์ ควรฉีด 1 เข็มทันทีหลังคลอดบุตร  เนื่องจากลูกที่ป่วยเป็นโรคไอกรนอาจมีสาเหตุจากการติดเชื้อมาจากแม่  ทั้งวัคซีน Tdap และ Td อาจฉีดร่วมกับวัคซีนอื่นได้  การดูแลอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น             วัคซีนอาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงได้ ซึ่งจะมีอาการผื่น หน้าบวม คอบวม หายใจลำบาก หรือ หัวใจเต้นเร็ว ซึ่งต้องรีบพาผู้ได้รับวัคซีนไปพบแพทย์อย่างรีบด่วน อย่างไรก็ตามอาการแพ้อย่างรุนแรงจากวัคซีนพบได้น้อยมาก             ปฏิกิริยาที่อาจพบได้หลังจากการฉัดวัคซีน ได้แก่ ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งมักหายเองภายใน 1-2 วัน นอกจากนี้อาจะพบ ไข้ อาเจียน ปวดเมื่อย หากมีอาการปวด บวม บริเวณที่ฉีดวัคซีนให้ประคบเย็น แต่ถ้ามีอาการผิดปกติอื่นนอกเหนือจากนี้ ควรปรึกษาแพทย์โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด   ภายใน 12 ชม. หลังคลอด และให้วัคซีนครั้งที่ 1 พร้อมๆ กันคนละตำแหน่งกับ HBIG วัคซีนครั้งที่ 2 ให้เมื่ออายุ 1-2 เดือน และครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน o   ในกรณีที่ใช้วัคซีนรวมที่มีคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน และวัคซีนตับอักเสบบี สามารถให้ฉีด (หลังจากเข็มแรกเกิด) ที่อายุ 2, 4, และ 6 เดือนได้ o   ในกรณีเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 11 ปี สามารถฉีดวัคซีนได้ในเดือนที่ 0, 1, 6 ส่วนเด็กที่อายุ ตั้งแต่ 11-15 ปี  อาจฉีดเพียง 2 ครั้ง ในเดือนที่ 0 และเดือนที่ 4-6 โดยใช้วัคซีนขนาด 1.0 มล. เท่าผู้ใหญ่  o   บุคคลที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนและมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ดังเช่น §  ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี §  ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายด้วยกัน §  ผู้ที่ฉีดสารเสพติด §  ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์มากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป §  ผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง หรือโรคไตเรื้อรัง §  ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและมีอายุน้อยกว่า 60 ปี §  บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งต่างๆ §  บุคคลในครอบครัวติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี §  ผู้ที่เดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของไวรัสตับอักเสบบี §  ผู้ติดเชื้อเอดส์ o   สตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงก็สามารถฉีดวัคซีนได้ ใครที่ไม่ควรรับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ·         ผู้ที่เคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรงเป็นอันตรายแก่ชีวิตต่อวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี หรือส่วนประกอบของวัคซีน ·         ผู้ที่มีอาการป่วย ควรรอจนกว่าหายเป็นปกติก่อนจึงจะฉีดได้ ควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการไม่พึงประสงค์ดังนี้                 ถึงแม้อัตราเสี่ยงของอาการไม่พึงประสงค์อย่างรุนแรงที่เกิดจากวัคซีนเกิดขึ้นน้อยมาก แต่ให้เฝ้าระวังอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที ·         มีอาการผิดปกติดังนี้ อาการของการแพ้รุนแรง กล่าวคือ หายไจลำบาก หรือหายใจมีเสียงวีด เสียงแหบ ไข้สูง ผื่น หน้าบวม ปากบวม ตัวซีด หรือ หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น                                                    ด้วยความปรารถนาดี  จาก ศูนย์วัคซีน โรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี

วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี โรคไข้สมองอักเสบเจอีคืออะไร           คือโรคไข้สมองอักเสบที่เกิดจากไวรัสเจอี (Japanese encephalitis virus, JEV) มียุงรำคาญซึ่งหากินเวลากลางคืนเป็นพาหะนำโรค มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดเป็นที่อาศัยของไวรัส ระยะฟักตัวของโรค 5-15 วัน จึงเริ่มมีอาการได้แก่ มีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียนพุ่ง มีอาการชักเกร็ง ไม่รู้สึกตัว และอาจเสียชีวิตได้           คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไม่แสดงอาการ ผู้ติดเชื้อ 250 ราย มีเพียง 1 รายที่แสดงอาการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบโดยเฉพาะช่วงอายุ 0 ถึง 4 ขวบ และมีอัตราตายและพิการทางสมองสูงมาก โรคนี้พบแพร่กระจายทั่วทวีปเอเชีย การรักษาตามอาการ ไม่มียารักษาเฉพาะ แต่สามารถป้องกันด้วยวัคซีน   การป้องกัน โรคไข้สมองอักเสบเจอีมีอัตราตายและความพิการสูง การป้องกันจึงมีความสำคัญ สามารถทำได้โดย 1.       ควบคุมพาหะนำโรค เช่น ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง 2.       ระวังไม่ให้ถูกยุงกัด 3.       ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี   วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีในประเทศไทย มี 2 แบบคือ 1. วัคซีนเชื้อตาย เตรียมโดยเลี้ยงไวรัสก่อโรคในสมองหนูแรกเกิด มีทั้งชนิดสายพันธุ์ Beijieng และสายพันธุ์ Nakayama ขนาดวัคซีนไม่เท่ากัน ขนาดวัคซีนสำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี เป็นกึ่งหนึ่งของเด็กโต เริ่มให้ได้เมื่ออายุ 12-18 เดือน ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 2 เข็มห่างกัน 1-4 สัปดาห์ และให้เข็มที่สาม 1 ปี หลังจากรับวัคซีนเข็มแรก           ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคของวัคซีนทั้งสองสายพันธุ์ให้ผลดีพอกัน ผู้ที่ได้รับวัคซีน 2 เข็ม ร้อยละ 80-90 จะมีระดับภูมิคุ้มกันสูงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อได้ระยะหนึ่ง และเมื่อได้รับวัคซีนครบ 3 เข็มจะป้องกันโรคได้ 3-5 ปี หากอาศัยในพื้นที่ระบาด แนะนำให้ฉีดกระตุ้น 1 เข็ม ทุก ๆ 4-5 ปี อีกไม่เกิน 2 ครั้ง ก็จะสามารถป้องกันโรคในช่วงวัยที่มีความเสี่ยงสูงได้ 2. วัคซีนเชื้อเป็นที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลง ป้องกันโรคได้ ร้อยละ 95-100 มีข้อดีกว่าวัคซีนเชื้อตายคือ ภูมิคุ้มกันอยู่ได้นาน ไม่ต้องฉีดเข็มกระตุ้น และวัคซีนได้จากการเลี้ยงไวรัสในเซลล์เพาะเลี้ยง ไม่ได้เลี้ยงในสมองหนู จึงลดความเสี่ยงที่จะเกิดผลแทรกซ้อนทางระบบประสาทคือสมองและไขสันหลังอักเสบอย่างเฉียบพลันอันเนื่องจากเนื้อเยื่อสมองหนูปนเปื้อนในวัคซีน 1)          วัคซีนจากประเทศจีนในรูปผงแห้ง เตรียมโดยเลี้ยงไวรัสสายพันธุ์อ่อนกำลัง SA 14-14-2 ในเซลล์เพาะเลี้ยง กำหนดให้ 2 เข็ม เริ่มให้ได้มื่ออายุ 1 ขวบ และให้เข็มที่สองห่างจากเข็มแรก 1 ปี 2)          วัคซีนผลิตโดยใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรม โดยการตัดต่อยีนของไวรัสไข้สมองอักเสบเจอีสายพันธุ์ SA14-14-2 ใส่เข้าไปแทน ที่ยีน PrM และ E ของไวรัสวัคซีนไข้เหลืองสายพันธุ์ 17D เพื่อให้ได้ไวรัสที่มี structural protein เหมือนไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี และมี non-structural protein เหมือนไวรัสวัคซีนไข้เหลือง ใช้ในเด็กที่อายุตั้งแต่ 9 เดือนขึ้นไป สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันจนถึงระดับที่สามารถป้องกันโรคได้ ภายใน 28  วัน ภายหลังการฉีดวัคซีน 1  โด๊ส หากต้องการผลการป้องกันโรคในระยะยาว (long term protection) แนะนำให้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น 1-2 ปี หลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรก   โดยภูมิคุ้มกันโรคจะคงอยู่ในระดับสูงได้อย่างน้อย 3   ปี ภายหลังจากได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น  ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 1 ครั้ง ในผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ฉีดวัคซีนเพียง 1 โด๊ส โดยทั่วไปร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันจนถึงระดับที่สามารถป้องกันโรคได้ หลังจากได้รับวัคซีนไปแล้ว 14  วัน และไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นภายในระยะเวลาอย่างน้อย 5  ปีหลังการฉีดวัคซีนเข็มแรก   ใครควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี            ประชากรที่อยู่ในแหล่งระบาดของโรค และนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมายังประเทศในทวีปเอเชียรวมทั้งประเทศไทย นานเกิน 1 เดือน แนะนำให้ฉีดวัคซีนให้ครบอย่างน้อย 10 วันก่อนเดินทาง เพื่อให้มีระดับภูมิคุ้มกันสูงพอในการป้องกันโรคและจะได้เฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น   ใครควรงดรับวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี หรือเลื่อนการรับวัคซีนออกไปก่อน 1.       มีประวัติแพ้วัคซีนจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีในครั้งก่อน 2.       แพ้สารเจลาตินไม่ควรรับวัคซีนชนิดเนื้อตาย 3.       หญิงตั้งครรภ์ 4.       ห้ามฉีดเชื้อเป็นในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจากสาเหตุต่างๆ หรือผู้ที่รับยากดภูมิคุ้มกัน หรือผู้ที่อยู่ในภาวะที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ 5.       กรณีเจ็บป่วยเรื้อรังเช่น โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ หรือมีภาวะชักภายใน 1 ปี ให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ 6.       มีไข้สูงหรือติดเชื้อรุนแรงให้เลื่อนการรับวัคซีน รอจนหายดีก่อนจึงค่อยมารับวัคซีน     ผลข้างเคียงที่พบบ่อย วัคซีนเชื้อตาย           ผลข้างเคียงพบบ่อย ได้แก่ปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีด มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย คลื่นไส้ เกิดผื่นแพ้แบบลมพิษ อาจเกิดทันทีหรือล่าช้าไป ส่วนใหญ่ภายใน 10 วัน วัคซีนเชื้อเป็น           ผลข้างเคียงพบน้อยกว่าวัคซีนเชื้อตาย และหายได้เองใน 2 วัน ได้แก่ ปวดบวมแดงร้อนบริเวณที่ฉีด มีไข้ เกิดผื่น คลื่นไส้ เด็กร้องโยเย เบื่ออาหาร เป็นต้น  การดูแลอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น สิ่งที่ควรสังเกต ü สังเกตุหาอาการผิดปกติต่างๆ ของอาการแพ้อย่างรุนแรง คือ ผื่น หน้าบวม ปากบวม คอบวม หายใจไม่สะดวก หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นภายใน 2-3 นาที ถึง 1-2 ชั่วโมงหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน สิ่งที่ควรปฏิบัติ           หากคิดว่าผู้รับวัคซีนเกิดปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรงให้นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด                                               ด้วยความปรารถนาดี  จาก ศูนย์วัคซีน โรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ไขมันในเลือดสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ

ไขมันในเลือดสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ            ไขมันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย ไขมันเป็นส่วนประกอบของเซลล์ โดยเฉพาะผนังเซลล์ทุกชนิด เซลล์สมอง และเป็นแหล่งพลังงานสำรองโดยเก็บไว้ในรูปเซลล์ไขมัน ไขมันที่สูงผิดปกติมีความเกี่ยวพันอย่างยิ่งกับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ไขมันในร่างกาย ได้มา 2 ทางคือไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นและไขมันที่ได้มาจากอาหาร ไขมันที่ได้มาจากอาหาร มี 2 ประเภทคือ ไขมันจากพืชและไขมันจากสัตว์ ไขมันจากสัตว์ ได้แก่ไขมันที่ได้จากอาหารจำพวก เนื้อสัตว์ มันสัตว์ หนังสัตว์ (หนังเป็ด หนังไก่) ไขมันสัตว์ (มันหมู มันวัว) ไข่แดง สมองและเครื่องในสัตว์ ซึ่งมี “คอเลสเตอรอล” เป็นส่วนประกอบสำคัญ ไขมันที่ได้จากพืช ประกอบด้วย “ไตรกลีเซอไรด์” เป็นส่วนใหญ่ ได้จากอาหารประเภท กะทิ แป้ง ขนมหวานที่มีน้ำตาลมาก ไขมันกลุ่มนี้ ในปัจจุบันเชื่อว่ามีส่วนที่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเช่นกัน แต่ความสำคัญน้อยกว่า คอเลสเตอรอล           อาหารไขมันต่างๆ ที่รับประทานเข้าไปไม่ว่าจะอยู่ในรูปใด เมื่อลงไปถึง ลำไส้เล็กจะถูกย่อยด้วยน้ำดี และน้ำย่อยจากตับอ่อน เป็นกรดไขมันและสารประกอบไขมันขนาดเล็กๆ จากนั้นถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็กเข้าสู่ร่างกาย เข้าสู่กระแสโลหิต และเข้าไปย่อยสลาย และสร้างขึ้นใหม่ที่ตับ           ในร่างกาย ไขมันต่างๆเหล่านี้จับตัวอยู่ในรูปสารประกอบต่างๆ คือ คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ จับกับสารประกอบ ฟอสโฟไลปิด เป็นไขมันไลโปโปรตีน 2-3 ประเภท คือชนิดความแน่นสูง ชนิดความหนาแน่นปานกลาง และชนิดความหนาแน่นต่ำ ( HDL, IDL ,LDL)            ไขมันในเลือดที่เราทำการตรวจเลือดกันอยู่ ประมาณ 2/3 หรือ 60-70% มาจากไขมันที่เราสร้างขึ้น            ไขมันไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) เป็นไขมันที่ไม่ดี เข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อของหลอดเลือด ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็งตัว ที่เรียกว่า“Atherosclerosis” ไขมันไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำมีคอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบสำคัญ และถ้าในร่างกายมีไขมันชนิดนี้มาก เมื่อผนังของหลอดเลือดแดงที่มีแผลหรือผิดปกติ ไขมันชนิดนี้จะแทรกเข้าไปใต้ชั้นผิวในของหลอดเลือด กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยา ดึงเอาเม็ดเลือดขาว เซลล์กล้ามเนื้อเรียบ ไฟบรินและสารอื่น ๆ ทำให้ผนังหลอดเลือดเกิดมีแผลเป็นหนา ตัวนูนขึ้น (Plaque) และถ้าเป็นซ้ำ ๆ กันและเกิดหลาย ๆ ตำแหน่งจะเกิดหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) ปริกริยานี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าทำให้หลอดเลือดตีบหรืออุดตันได้ โดยเฉพาะ ที่หลอดเลือดหัวใจ ไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) เป็นไขมันที่ดี ทำหน้าที่กำจัด คอเลสเตอรอลออก ไปจากเนื้อเยื่อและหลอดเลือดต่างๆ เมื่อใดแพทย์จะรักษาท่าน           ถ้าท่านมีไขมันคอเลสเตอรอลสูง เช่น มากกว่า 240 มก.% หรือค่ารวมของคอเลสเตอรอลในไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ สูงมากกว่าปกติ แพทย์จะตรวจดูว่ามีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบร่วมด้วยหรือ ไม่ ถ้าท่านมีปัจจัยเสี่ยงได้แก่ มีโรคหลอดเลือดในที่อื่นๆ สูบบุหรี่ เบาหวานความดันโลหิตสูง มีประวัติ การเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจในครอบครัว หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน สูงอายุ ถือว่าท่านมีอัตราเสี่ยงสูง ท่านหรือผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้รับการรักษาอย่างเต็มที่           ไขมันไตรกลีเซอไรด์มีความเกี่ยวพันกับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยกว่าไขมันคอเลสเตอรอล แต่ถ้าสูงมากๆ ก็ต้องรักษา ถ้าท่านเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอยุ่แล้ว ต้องรักษาทั้งไขมันคอเลสเตอรอลและไขมันไตรกลีเซอไรด์ที่สูง วิธีการรักษา            สำหรับไขมันในเลือดสูง เช่น คอเลสเตอรอลสูงมากกว่า 240 มก.% และไขมันไลโปโปรตีน ชนิด LDLสูงมากกว่า 160-180 มก.% รวมทั้งมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ 1. ผู้ป่วยจะต้องควบคุมอาหารเป็นเวลาประมาณ1-3 เดือน 2. หลัง 1-3 เดือน เจาะไขมันในเลือดซ้ำ ถ้าไขมันไม่ดี (ไขมันไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอล) ยังสูงอยู่ การใช้ยาลดไขมันในเลือดอาจจำเป็น ซึ่งปัจจุบันมียาลดไขมันในเลือดในท้องตลาดมีอยู่ 4 กลุ่ม คือ ไฟบริกแอซิด สเตติน เรซิน และ ezetimibe ยาในกลุ่มสเตตินมีผลการทดลองยืนยันชัดเจนว่าสามารถลดอัตราการเสีนชีวิตจาก โรคหลอดเลือดหัวใจ ยาลดไขมันแต่ละกลุ่มมีที่ใช้ และ ข้อดีข้อเสียต่างกัน ควรให้แพทย์เป็นผู้พิจารณา 3.พยายามให้ค่าไขมันคอเลสเตอรอลรวมต่ำกว่า 160 มก.% และ ไขมันไม่ดี (ไขมันไลโป โปรตีนคอเลสเตอรอล) ต่ำกว่า 130 มก.% หรือลดลง 30-50% จากค่าเดิม 4. การควบคุมอาหารและการใช้ยาต้องทำควบคู่กันตลอดไป หลักการควบคุมอาหาร           อาหารควรมีไขมันน้อยกว่า 30% มีคอเลสเตอรอลอยู่ระหว่าง 200-300 มก.%  ถ้าคอเลสเตอรอลสูง 1. หลีกเลี่ยงอาหารจำพวก ไข่แดง ไขมันสัตว์ (มันหมู มันวัว) เครื่องในสัตว์ (ตับ ไต หัวใจ ปอด ลำใส้และสมอง) น้ำมันต่างๆ จากสัตว์ เนื้อสัตว์ที่มีสีแดง (เนื้อวัว เนื้อหมู) หนังเป็ดหนังไก่ ไข่แดง ปลาหมึกตัวใหญ่ หอยนางรม เป็นต้น 2. หลีกเลี่ยงอาหารทอด ให้เปลี่ยนเป็น ปิ้ง ย่าง นึ่ง อบ ต้ม แทน 3. น้ำมันที่ใช้ปรุงอาหารให้ใช้พวกน้ำมันที่มีกรดไขม้นชนิดไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันถั่ว น้ำมัน ข้าว โพด  4. ผักสีเขียวรับประทานได้ไม่จำกัด 5. ลดน้ำหนัก ถ้าไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง 1. หลีกเลี่ยงอาหารจำพวก กะทิ ขนมหวานที่มีน้ำตาล 2. ออกกำลังกาย จะ ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ลดลง 3. ลดดื่ม สุรา เบียร์ 4. ลดน้ำหนัก สิ่งอื่นๆ ที่ท่านควรรู้           การเจาะเลือดหาระดับไขมันรวมในเลือด เพื่อตรวจค่าไขมันไตรกลีเซอไรด์ร่วมด้วย ควรงด อาหารอย่างน้อย 10-12 ชม.(ไม่ใช่ 6 ซม.) แต่น้ำเปล่าสามารถดื่มได้ แต่ถ้าต้องการตรวจเฉพาะ ไขมันไม่ดี (ไขมันไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอล) ไม่ต้องงดอาหาร  ยาลดไขมันในเลือดไม่ช่วยลดไขมันหน้าท้องไม่ช่วยลดน้ำหนักเพราะไขมันหน้าท้อง เป็นเซลล์ไขมันที่ร่างกายสะสม ซึ่งเป็นคนละตัวกับไขมันในเลือด ถ้าไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจแล้ว ระดับไขมันคอเลสเตอรรอลที่ต่ำกว่า 240 มก.% และไขมันไม่ดี (ไขมันไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอล) ต่ำกว่า 130 มก. % ก็ถือว่ายอมรับได้            น้ำมันปลามีฤทธิ์ในการลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ และมีฤทธิ์ในการเพิ่มไขมันไลโปปรตีน ชนิด ความหนาแน่นสูง แต่ไม่ลดไขมันไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) ด้วยความปรารถนาดี จาก... ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลวิภาวดี (Vibhavadi Heart Center)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคหัวใจ โรคหัวใจมีกี่ชนิด?

โรคหัวใจ โรคหัวใจมีกี่ชนิด? โรคหัวใจมีหลายชนิด แบ่งเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ 1. โรคหลอดเลือดหัวใจ 2. โรคกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจพิการหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากไวรัส 3. โรคลิ้นหัวใจพิการจากไข้รูห์มาติก 4. โรคลิ้นหัวใจอักเสบจาการติดเชื้อ 5. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 6. โรคหรือความพิการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ 1. โรคหลอดเลือดหัวใจ           กล้ามเนื้อหัวใจ ต้องอาศัยอาหารและออกซิเจน จากหลอดเลือดแดงโคโรนารีย์ที่มาเลี้ยงหัวใจ ถ้าหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน กล้ามเนื้อหัวใจก็จะขาดอาหารและออกซิเจน ทำให้การทำงานหัวใจเสียไป หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติ เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ในกรณีหลอดเลือดหัวใจตีบ อาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมักเกิดเวลาออกกำลังกาย ซึ่งหัวใจต้องการอาหารและออกซิเจนมากกว่าปกติ เมื่อพักอาการก็หายไปภายในเวลาเป็นนาทีหรือหลายนาที หากหลอดเลือดหัวใจตีบตันจนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายไป หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติ เหลือกล้ามเนื้อหัวใจทำงานน้อยลง อาการรุนแรงกว่าหลอดเลือดหัวใจตีบ อาการนานเป็นชั่วโมงหรือหลายชั่วโมง ถ้าเป็นมากก็จะเกิดอาการหัวใจวายได้           ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมาหาแพทย์ด้วยอาการจุกแน่นหน้าอกเป็นอาการนำ แต่ก็ไม่น้อยที่ผู้ป่วยไม่เจ็บหน้าอกแต่มาหาแพทย์ด้วยอาการ แน่นยอดอกคล้ายท้องอืดท้องเฟ้อ หรือโรคกระเพาะอาหาร บางรายมาด้วยอาการแทรกซ้อน เช่น อาการหอบเหนื่อยจากหัวใจวายเลือดคั่ง หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมทั้งอาจเสียชีวิตก่อนมาพบแพทย์ 2.โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ หรือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากไวรัส             โรคของกล้ามเนื้อหัวใจอาจเป็นตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดจากภายหลังก็ได้ ในพวกที่เป็นภายหลังชนิดที่พบมากที่สุดคือ กล้ามเนื้อหัวใจพิการโดยไม่ทราบสาเหตุ โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการโดยไม่ทราบสาเหตุยังแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ  -ชนิดกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ  -ชนิดกล้ามเนื้อหัวใจพิการขยายตัวไม่ดีเท่าปกติจากโรคบางชนิดที่เข้าไปแทรกในกล้ามเนื้อหัวใจ  -และชนิดกล้ามเนื้อหัวใจไม่หนาแต่หัวใจขยายตัวโตขึ้นบีบตัวได้ไม่ดีเท่าปกติ           โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการที่พบบ่อยคือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการโดยไม่ทราบสาเหตุ ชนิดที่หัวใจขยายตัวโตขึ้นและบีบตัวได้ไม่ดีเท่าปกติ (Dilated Cardiomyopathy) โรคนี้ผลจากความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ไม่พอ ร่างกายปรับตัวโดยเพิ่มขนาดของหัวใจเพื่อเพิ่มปริมาณเลือดที่บีบออกจากหัวใจ ทำให้หัวใจผู้ป่วยด้วยโรคนี้มีขนาดหัวใจที่โตมาก เรียกทางแพทย์ว่า “ Dilated Cardiomyopathy” อาการที่สำคัญที่ตามมาคือ เหนื่อยง่าย ถ้าเป็นมากมีอาการบวมและเหนื่อยหอบของโรคหัวใจวายเลือดคั่ง โรคของกล้ามเนื้อหัวใจชนิดนี้ไม่ทราบสาเหตุที่เป็น แต่บางครั้งอาจพบตามหลังกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากไวรัสหรือเกิดภายหลังการ ได้รับสารพิษบางอย่าง เช่น โคบอล์ท ยารักษาโรคมะเร็ง            ไวรัสหลายชนิดทำให้เกิด โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้ แต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ มักมีประวัติอาการไข้ อาการทางเดินหายใจส่วนบนอักเสบ ต่อมาเริ่มมีอาการเหนื่อยง่ายจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบทำให้การบีบตัวไม่ดี ส่วนใหญ่จะเป็นไม่มาก อาจไม่ได้มาพบแพทย์ ส่วนน้อยที่กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมากจนทำให้เกิดอาการหัวใจวายเลือดคั่ง เหนื่อยมากจนต้องพบแพทย์ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ 3. โรคลิ้นหัวใจพิการจากไข้รูห์มาติก            ความพิการของลิ้นหัวใจมี 2 แบบ คือ ลิ้นหัวใจตีบและลิ้นหัวใจรั่ว ในบางรายพบทั้งลิ้นหัวใจตีบและลิ้นหัวใจรั่วร่วมกัน สาเหตุส่วนใหญ่ในบ้านเราเกิดจาก “ไข้รูห์มาติก” โรคไข้รูห์มาติกนี้จะเริ่มเป็นในเด็กช่วงวัยเข้าเรียน อายุระหว่าง 5-12 ปี ไข้รูห์มาติกเกิดตามหลังการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “ เสตปโตคอคคัส” ในช่องปาก ร่างกายเกิดปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อแบคทีเรีย แต่ปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันเป็นชนิดไวเกิน ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านเนื้อเยื่อที่ปกติด้วย เกิดเป็นโรค “ไข้รูห์มาติก” ผู้ป่วยมีอาการไข้ ปวดข้อ ข้อบวม ผื่นที่ผิวหนัง และเกิดหัวใจอักเสบได้ ต่อมาเกิดลิ้นหัวใจอักเสบเรื้อรัง เกิดภาวะลิ้นหัวใจพิการ (ตีบหรือรั่ว) อาการแสดงของลิ้นหัวใจพิการจะเกิดได้ตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยชรา อาการจะขึ้นกับความรุนแรงของการตีบหรือรั่วของลิ้นหัวใจ ความผิดปกติเกิดได้ที่ลิ้นหัวใจทุกลิ้น แต่พบมากที่สุด คือ ลิ้นหัวใจไมตรัล รองลงมาคือ ลิ้นหัวใจเอออร์ติก ภาวะลิ่นหัวใจพิการจาก ลิ้นหัวใจไมตรัลตีบ มักพบบ่อยในหญิงวัยเจริญพันธุ์ อาการคนเป็นโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบ มักเป็นอาการของโรคหัวใจวายเลือดคั่ง จากการที่เลือดไหลผ่านจากหัวใจห้องบนลงสู่หัวใจห้องล่างไม่ได้ ทำให้น้ำท่วมปอด มีอาการเหนื่อย มึนงง บวม และมีการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ง่าย เป็นต้น หลักการรักษาทั่วไป ในโรคลิ้นหัวใจรั่ว แพทย์จะใช้ยาก่อน เพื่อประคับประคองการทำงานของหัวใจ แต่เมื่อการทำงานของหัวใจเสื่อมลงถึงระดับที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการหัวใจวาย เลือดคั่งต้องทำการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจหรือซ่อมลิ้นหัวใจ ถ้าเป็นลิ้นหัวใจตีบการใช้ยาได้ผลน้อยกว่าลิ้นหัวใจรั่ว เมื่อลิ้นหัวใจตีบถึงระดับที่มีอาการ ต้องทำการผ่าตัดขยายลิ้นหัวใจหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ           ที่น่าสนใจคือ ในปัจจุบันเราพบกลุ่มโรคนี้น้อยลงมาก อาจจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างกว้างขวาง 4.โรคลิ้นหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ           ส่วนใหญ่มักมีความผิดปกติของลิ้นหัวใจอยู่ก่อน เช่น ลิ้นหัวใจพิการจากไข้รูห์มาติก ลิ้นหัวใจเหล่านี้ผลจากการอักเสบทำให้รูปร่างลิ้นหัวใจผิดปกติไป เมื่อมีเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดจากสาเหตุใดก็ตาม เช่น ริดสีดวงอักเสบ ทำฟัน (อุดฟัน ถอนฟัน) เชื้อแบคทีเรียสามารถเกาะติดกับลิ้นหัวใจที่ผิดปกติได้ง่าย และลุกลามทำลายลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดลิ้นหัวใจอักเสบได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาพบแพทย์ด้วยอาการ ไข้หนาวสั่น มีอาการของการติดเชื้อในกระแสเลือด หรืออาจมาด้วย อาการอัมพาตของสมอง แขนขาขาดเลือด จากการที่เศษก้อนเชื้อโรคจากบริเวณลิ้นหัวใจที่อักเสบหลุดกระจายไปติดตาม อวัยวะต่าง ๆ หรือมาด้วยอาการของโรคหัวใจวาย เลือดคั่งจากกล้ามเนื้อหัวใจหรือลิ้นหัวใจถูกทำลายได้            ในปัจจุบัน มีผู้ที่ใช้ยาเสพติดฉีดเข้ามาทางหลอดเลือดมากขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้พบลิ้นหัวใจข้างขวาอักเสบโดยไม่จำเป็นต้องมีความผิดปกติมา ก่อน เนื่องจากเข้มฉีดยาที่ไม่สะอาดทำให้มีเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดตลอดเวลา เชิ้อโรคมีโอกาสที่จะเกาะลิ้นหัวใจง่ายขึ้น การรักษาลิ้นหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ คือ ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ได้รับยาปฏิชีวนะในขนาดสูงทางหลอดเลือดดำในช่วงแรกต่อมาอาจเปลี่ยนเป็นยารับ ประทาน เป็นเวลานาน 4-6 อาทิตย์ ถ้าอาการไม่ทุเลาหรือมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ อาจต้องใช้รักษาด้วยวิธีการผ่าตัดร่วมด้วย 5.โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด            สาเหตุเกิดจาก ความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือ ความผิดปกติของการเจริญเติบโตตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา การเติบโตของเนื้อเยื่อที่จะพัฒนาเป็นหัวใจผิดปกติ ทำให้รูปร่างหัวใจไม่สมบูรณ์ มีได้หลายแบบ ตั้งแต่ ผนังกั้นหัวใจรั่ว (อาจรั่วระหว่างหัวใจห้องบนหรือรั่วระหว่างหัวใจห้องล่าง) บางคนอาจไม่มีผนังกั้นหัวใจเลย (มีแต่หัวใจห้องบนห้องเดียวหรือหัวใจห้องล่างห้องเดียวก็ได้) นอกจากนี้ยังมีลิ้นหัวใจตีบแต่กำเนิด หรือลิ้นหัวใจรั่วแต่กำเนิดได้ ในบางรายมีลักษณะ “ความพิการแบบซับซ้อน” เช่น โรคที่เรียกว่า “Tetralogy of Fallot” (ประกอบด้วยความผิดปกติ คือ ผนังกั้นหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจตีบ ภาวะตัวเขียว หลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าคล่อมผนังหัวใจ) ทำให้การรักษายุ่งยากขึ้น            อาการที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์ แตกต่างไปตามชนิดของความพิการ มีตั้งแต่ตัวเล็กไม่เจริญเติบโต ทางเดินหายใจอักเสบง่าย หรือมีอาการหอบเหนื่อย ไปจนถึงชนิดผิวพรรณตัวเขียวและชนิดผิวพรรณตัวไม่เขียว          โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่พบบ่อยที่สุด คือ ผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว (Ventricular Septal Defect)          โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ส่วนใหญ่รักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัด           แต่ในปัจจุบัน กลุ่มที่ผนังกั้นหัวใจรั่ว มีวิธีการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Closure device สอดเข้าทางขาคล้ายการสวนหัวใจ เข้าไปปิดบริเวณที่รั่วได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นกับขนาดและตำแหน่งที่ผิดปกติด้วย 6. โรคหรือความพิการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ -กลุ่มอาการหัวใจวายเลือดคั่ง -ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ -โรคความดันโลหิตสูง -โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น คอพอกเป็นพิษ เนื้องอกของต่อมใต้สมอง -ภาวะขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น ขาดวิตามินบี -โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ เช่น มีน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรังทำให้เยื่อหุ้มหัวใจหนาตัวผิดปกติบีบรัดหัวใจ -หลอดเลือดพิการ เช่น หลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าตีบ หลอดเลือดแดงใหญ่เออร์ต้าโป่งพอง            โรคเหล่านี้ทำให้เกิดอาการผิดปกติทางหัวใจ อาจตรวจพบหัวใจโต หรือ อาจเกิดอาการหัวใจวายเลือดคั่ง และ/หรือ อาการอื่น ๆ ที่เป็นอาการเฉพาะโรค ด้วยความปรารถนาดี จาก... ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลวิภาวดี (Vibhavadi Heart Center)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

อธิบายการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจสไตล์วิภาวดี

อธิบายการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจสไตล์วิภาวดี           เป้าหมายของการรักษา โรคหลอดเลือดหัวใจตีบกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Acute Coronary Syndrome) คือ แก้ไขภาวะหัวใจขาดเลือด ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากกล้ามเนื้อหัวใจตาย และ ฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ให้กลับมาใกล้เคียงกับสภาวะปกติ อธิบายวิธีการรักษามีหลายวิธี ในที่นี้พยายามอธิบายอีกแบบให้เข้าใจได้ง่ายๆดังนี้ : สองหลักการ สามเป้าหมาย และสี่วิธีการ(2-3-4) หลักการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 2 หลักการ คือ 1. ลดการทำงานของหัวใจเพื่อลดความต้องการออกซิเจน (การให้นอนพัก การให้ยา การลดความกังวล ลดการออกกำลังช่วงที่มีอาการ) 2. เพิ่มปริมาณเลือดและออกซิเจนที่ไปเลี้ยงหัวใจ (การให้ยา การถ่างขยายหลอดเลือดและใส่ขดลวด การผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ) เป้าหมายการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 3 เป้าหมาย คือ 1. แก้ไขภาวะหัวใจขาดเลือด ป้องกันหรือลดจำนวนกล้ามเนื้อหัวใจที่ตาย เพื่อรักษาการทำงานของหัวใจห้องล่างให้เสียหายน้อยที่สุด หรือไม่เสียหายเลย 2. ป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต หรือการต้องนอนโรงพยาบาล 3. ฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ให้กลับมาใกล้เคียงกับสภาวะปกติ วิธีการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 4 วิธีการ คือ 1. รักษาด้วยการทำการผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery bypass graft) 2. การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (percutaneous coronary intervention) การใช้บอลลูนถ่างขยายหลอดเลือด การใช้หัวกรอกากเพชร การใส่ขดลวดชนิดต่างๆ เป็นต้น 3. การรักษาด้วยยา (Medical therapy) ยาลดไขมันในเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด ยากลุ่มปิดกั้นเบต้าหรือกลุ่มที่มีฤทธิ์ใกล้เคียงกัน ยาขยายหลอดเลือดหัวใจและ ยากลุ่ม ACEI/ARB เป็นต้น 4. การแก้ไขปัจจัยเสี่ยง (Risk factors) ด้วยยาและการปรับพฤติกรรมการปฏิบัติตัว อธิบายการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ           กล้ามเนื้อหัวใจทำงาน โดยบีบตัวและคลายตัวตลอดเวลา กล้ามเนื้อหัวใจได้รับสารอาหารและออกซิเจน ผ่านเลือดแดงจากหลอดเลือดแดงโคโรนารี่ ซึ่งเป็นแขนงของหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า การตีบตันของหลอดเลือดเกิดขึ้นเมื่อผนังภายในของหลอดเลือดโคโรนารี่ปริหรือ ฉีกขาด ทำให้เกิดการกระตุ้นกลไกการซ่อมแซมร่างกาย สิ่งแรกคือกลไกการแข็งตัวของเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดที่ผนังหลอดเลือด ถ้ามีการฉีกขาดเล็กน้อย ร่างกายเราสามารถซ่อมแซมได้ มีเซลผนังหลอดเลือดเคลื่อนตัวมาปิดแผล เกิดเป็นรอยแผลเป็นที่ผนังหลอดเลือด ที่เรียกว่า ตะกรัน(plaque) ถ้าเป็นมากลิ่มเลือดขนาดใหญ่อาจทำให้หลอดเลือดโคโรนารี่ตีบหรืออุดตันได้ เมื่อหลอดเลือดโคโรนารี่ตีบ จะทำให้เลือดและออกซิเจนที่ไปเลี้ยงหัวใจลดลง เกิดอาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ความรุนแรงของอาการเจ็บหน้าอกไม่เท่ากันในแต่ละคน โดยทั่วไปมักเจ็บแน่นอึดอัดกลางหน้าอก อาจร้าวไปที่กราม ไหล่ หลังและโคนแขนซ้าย ส่วนใหญ่เกิดเมื่อออกแรงทำภาระกิจที่ใช้กำลัง หรือออกกำลัง และหายไปเมื่อพัก ถ้าเป็นลิ่มเลือดก้อนใหญ่อาจอุดตันหลอดเลือดโคโรนารี่ทั้งหมด เลือดไม่สามารถไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดรุนแรงทันทีและตายลง เกิดอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงอย่างเฉียบพลัน  ในกรณีที่หลอดเลือดอุดตันเฉียบพลัน การรักษาที่สำคัญคือ การพยายามเปิดหลอดเลือดทำลายลิ่มเลือดที่เป็นสาเหตุ ลิ่มเลือดที่อุดตันหลอดเลือดอาจถูกสลายหรือทำลายได้ 2 วิธี ด้วยการทำสวนหัวใจถ่างขยายหลอดเลือดทันที หรือการให้ยาละลายลิ่มเลือด หลักการคือพยายามเปิดหลอดเลือดให้ได้เร็วที่สุด ถ้าทำได้ภายใน 90 นาทีหลังทราบว่าเกิดหลอดเลือดโคโรนารี่อุดตัน เซลกล้ามเนื้อหัวใจก็จะตายน้อยที่สุด ในกรณีหลอดเลือดโคโรนารี่ตีบแต่ไม่อุดตัน เราพอมีเวลาที่จะเตรียมตัวเพื่อการรักษาที่ดีที่สุด เราลดความต้องการออกซิเจนโดย ลดการทำงานของหัวใจ เช่น ให้นอนพักห้ามลุกจากเตียง ให้ยาลดการบีบตัวของหัวใจ ลดอัตราการเต้นของหัวใจ และเพิ่มปริมาณเลือดและออกซิเจนที่ไปเลี้ยงหัวใจ (การให้ออกซิเจน การให้ยา) ประเมินความเสี่ยง ตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ และทำการสวนหัวใจ ฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ เพื่อการรักษาที่เหมาะสม หลักการเบื้องต้นการสวนหัวใจคือ ใช้เข็มเจาะหลอดเลือดแดง ที่บริเวณขาหนีบหรือหลอดเลือดที่ข้อมือ สอดลวดนำและปลอกนำ (guide wire and sheath)เข้าไปในหลอดเลือด จากนั้นสอดสายสวนหัวใจ (catheter) ขนาดประมาณไส้ดินสอหรือไส้ปากกาหมึกแห้ง(1.5-2 มม.) ย้อนหลอดเลือดขึ้นไปจนถึงบริเวณขั้วหัวใจที่มีหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่แตก แขนงออกมา ฉีดสารทึบรังสี (contrast agent) ตรวจหลอดเลือดโคโรนารี่ทั้งข้างซ้ายและขวา ดูว่าหลอดเลือดโคโรนารี่มีการตีบตันหรือไม่ ถ้ามีการตีบตันมีกี่ตำแหน่ง ที่ใดบ้าง แล้วพิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสม ได้แก่ การถ่างขยายหลอดเลือดส่วนนั้นด้วยวิธีการทำบอลลูนและใส่ขดลวด การทำการผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือพิจารณาให้การรักษาด้วยยา การถ่างขยายหลอดเลือดด้วยวิธีการทำบอลลูนและใส่ขดลวด เป็นวิธีการรักษาที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องการ แต่ไม่สามารถทำได้ทุกราย ทำได้ในรายที่หลอดเลือดมีการจุดตีบอย่างชัดเจน และหลอดเลือดต้องตีบมากกว่า70% ขึ้นไป หลอดเลือดไม่คดงอหรือรูปทรงผิดปกติมากเกินไป มักทำในรายที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบ 1-2 เส้น ถ้าตีบ 3 เส้นการถ่างขยายหลอดเลือดยังสามารถทำได้แต่การผ่าตัดดูเหมือนว่าจะได้ผลดีกว่า ถ้าทำบอลลูนโดยไม่ใส่ขดลวด (stent) จะมีอัตราการตีบซ้ำของหลอดเลือด 30-40% ถ้าทำบอลลูนพร้อมกับใส่ขดลวดแบบธรรมดา (Bare metal stent) จะมีอัตราการตีบซ้ำของหลอดเลือด ลดลง และถ้าทำบอลลูนพร้อมกับใส่ขดลวด แบบเคลือบยาต้านการตีบ หลอดเลือด(drug eluting stent) จะมีอัตราการตีบซ้ำของหลอดเลือด < 5% ไม่มีการรักษาใดที่ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการถ่างขยายหลอดเลือด พบได้ 0.05%-0.5%ได้แก่ แพ้สารทึบรังสี เลือดออกในตำแหน่งที่สวนหัวใจ ภาวะไตวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ เลือดไม่ไหลเวียนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจบางส่วน ก้อนเลือดอุดตัน ก้อนเลือดจับที่ขดลวด เกิดการฉีกขาดของหลอดเลือดที่ใส่ขดลวดแต่พบได้น้อยมาก การรักษาโดยการผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ            ในกรณีที่มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจหลายเส้น โดยเฉพาะในกรณีที่ตีบเป็นทางยาว มักใช้ในรายที่มีหลอดเลือดตีบ 3 เส้นโดยเฉพาะตีบแบบกระจายทั่วหลอดเลือด ที่ไม่เหมาะสมกับการถ่างขยายหลอดเลือด หรือในรายหลอดเลือดตีบที่บริเวณโคนของหลอดเส้นเลือดแดงโคโรนารี่ด้านซ้าย(Left main coronary artery) หรือรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันจากการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจหลอดเลือดที่นำมาทำทางเบี่ยงหลอดเลือด ที่นิยมใช้ คือ หลอดเลือดดำที่ขาที่เรียกว่า saphenous vein และหลอดเลือดแดงที่หน้าอกที่เรียกว่า Internal mammillary artery อีกหลอดเลือดที่นิยมใช้คือ หลอดเลือดที่แขน Radial artery โดยทั่วไป อัตราเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากการผ่าตัดน้อยมาก อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลอยู่ที่ 1%-2% แต่ถ้าเป็นผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัวหลายชนิด อัตราการเสียชีวิตก็จะมากขึ้น การรักษาโดยการใช้ยา ยาที่ใช้รักษาหลอดเลือดโคโรนารี่ตีบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มี 5 กลุ่มหลัก คือ ยาลดระดับไขมันในเลือด ยาต้านเกร็ดเลือด ยากลุ่มปิดกั้นเบต้าหรือกลุ่มที่มีฤทธิ์ใกล้เคียงกัน ยาขยายหลอดเลือดหัวใจและ ยากลุ่ม ACEI/ARB การใช้ยา เป็นวิธีการรักษาหลักในรายที่เป็นไม่มาก หรือเป็นมากจนรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ อาจใช้เป็นวิธีการรักษาเดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีอื่นก็ได้ ยาที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถลดอัตราการเสียชีวิตในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ตีบตัน ได้แก่ ยาต้านเกร็ดเลือด(แอสไพริน โคลปิโดเกรล และยาใหม่ๆอีกสองตัว),ยาปิดกั้นเบต้า ยาลดระดับไขมันในเลือดกลุ่มสเตติน ยากลุ่ม ACEI/ARB ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ กลุ่ม Nitrates ช่วยขยายเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ มีทั้งแบบอมใต้ลิ้น แบบรับประทาน และแบบแผ่น ปิดหน้าอก สามารถลดอาการเจ็บแน่นหน้าอกได้ดี แต่ไม่มีการพิสูจน์ว่าสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้           การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติตัว เลิกสูบบุหรี่ Smoking สนับสนุนให้ผู้ป่วยและญาติหยุดสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ ประมาณสามเท่า             รักษาความดันโลหิตสูง Blood pressure control เป้าหมาย (Goal) ความดันโลหิตน้อยกว่า 140/90 มม.ปรอท ข้อแนะนำ(Recommendations)สำหรับคนทั่วไป ผู้ใหญ่ให้วัดความดันโลหิตอย่างน้อยทุก 2 ปี ให้เปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต เพื่อป้องกันความดันโลหิตสูง ลดไขมันในเลือด Cholesterol management เป้าหมาย (Goal)ลดไขมันชนิดไม่ดีหรือข้อแนะนำ (Recommendations) ‘ง่ายๆ คือ งดอาหารมัน หลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์ หนังสัตว์ปีก เนื้อสัตว์สีแดง อาหารทอดอาหารผัด เป็นต้น           การออกกำลังกาย Physical activity เป้าหมาย (Goal) ออกกำลังกายสัปดาห์ละ3-6วัน วันละ30 นาที โดยได้อัตราเต้นของหัวใจ 60-80%ของอัตราเต้นเป้าหมาย แนะนำให้เปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต เช่น เดินให้มาก ทำงานบ้านให้มาก การควบคุมน้ำหนัก Weight management เป้าหมาย (Goal) ดัชนีมวลกายให้อยู่ระหว่าง 18.5-23.5 กก/ตารางเมตร ในคนไทย สำหรับคนที่อ้วนลงพุงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ รักษาเบาหวาน ควบคุมน้ำตาลให้ใกล้เคียงภาวะปกติ สรุป            เป้าหมายการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คือ แก้ไขภาวะหัวใจขาดเลือด ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากกล้ามเนื้อหัวใจตาย และ ฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ให้กลับมาใกล้เคียงกับสภาวะปกติ วิธีการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจมีสี่วิธีหลัก การทำสวนหัวใจถ่างขยายหลอดเลือดทันที การผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือการให้ยา การแก้ไขปัจจัยเสี่ยง (Risk factors) และการปรับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเป็นที่สำคัญกว่าเพื่อน เพราะสามารถลดหรือป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่ที่สำคัญที่สุดคือการป้องกันก่อนเป็นซึ่งทำได้โดยการแก้ไขปัจจัยเสี่ยง (Risk factors) และการปรับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเช่นกัน ดังสุภาษิตที่ว่า Prevention is better than Cure. ด้วยความปรารถนาดี จาก... ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลวิภาวดี (Vibhavadi Heart Center)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

อาการของโรคหัวใจ

อาการของโรคหัวใจ ถ้าแบ่งอาการของโรคหัวใจที่ทำให้มาพบแพทย์แบบง่าย ๆ มี 3 ลักษณะ คือ อาการจุกแน่นหรือเจ็บหน้าอก อาจเป็นอาการของโรคหัวใจขาดเลือด อาการเหนื่อยง่าย อาจเป็นอาการของกลุ่มอาการหัวใจวาย อาการใจสั่นหรือเป็นลม อาจเป็นอาการของกลุ่มอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ต้องแยกจากอาการที่เกิดจากความวิตกกังวล         ต้องเข้าใจด้วยว่า บางรายผู้ป่วยอาจไม่มีอาการ บางรายมีอาการไม่ชัดเจน บางรายมาหาด้วยอาการแทรกซ้อน เช่น หลอดเลือดสมองอุดตันจากก้อนเลือดที่หลุดจากหัวใจ บางรายไม่ทันมาหาแพทย์เนื่องจากเสียชีวิตก่อน   1. อาการจุกแน่นหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด          อาการจุกแน่นหน้าอก เป็นอาการสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดมาพบแพทย์ อาการนี้บางคนเจ็บ บางคนว่าปวด แต่ส่วนใหญ่บอกว่า เป็นอาการแน่นหรือความรู้สึกจุกแน่นในหน้าอก คล้ายมีอะไรมาบีบรัดหรือมาทับที่หน้าอก อาการจุกแน่นหน้าอกเกิดที่บริเวณยอดอกตรงกลาง หรือเยื้องไปทางซ้ายได้เล็กน้อย บางรายจุกยอดอกคล้ายโรคกระเพาะอาหาร อาการปวดเจ็บมักร้าวไปที่ต้นคอ ด้านหลัง กรามซ้าย ไหล่ซ้าย หรือร้าวลงไปที่ปลายแขนซ้ายด้านใน บางคนอาการเจ็บร้าวไปที่คอหรือไหล่จะรุนแรงกว่าที่หน้าอกเองด้วยซ้ำ อาการเจ็บร้าวนี้เป็นตัวช่วยที่สำคัญในการวินิจฉัยด้วย             ถ้าหัวใจขาดเลือดไม่มาก อาการเจ็บแน่นไม่มากและไม่นาน อยู่เฉยๆ ไม่เจ็บ เจ็บเวลาใช้กำลัง เช่น วิ่งออกกำลัง เดินขึ้นบันได ข้ามสะพานลอย หรือกำลังทำงาน เช่น ยกของหนัก ผลักดันรถยนต์ เคลื่อนย้ายตู้เตียง แต่เมื่อหยุดพัก อาการก็หายไป อาจเจ็บมากแค่ 3-5 นาทีแล้วลดลง มักไม่นานกว่า 15-20 นาที แต่ถ้าหัวใจขาดเลือดอย่างรุนแรงจะเจ็บนานกว่านั้น อาจเจ็บนานกว่า 15-30 นาที แค่เดินใกล้ๆ หรือเดินขึ้นบันไดก็เจ็บแน่นหน้าอกหรือเจ็บแน่นเวลาอยู่เฉยๆ ถ้าหัวใจขาดเลือดจนกล้ามเนื้อหัวใจตาย มักเจ็บแน่นรุนแรงที่สุด เจ็บนานกว่า 30 นาที อาจเจ็บเป็นชั่วโมงหรือหลายชั่วโมง เจ็บตลอดเวลาแม้อยู่เฉยๆ อมยาอมใต้ลิ้นก็ไม่หาย และพบอาการอื่นๆร่วมด้วย อาการอื่นๆที่พบร่วมได้บ่อย และมีความสำคัญในด้านช่วยการวินิจฉัย คือ อาการเหงื่อออกตัวเย็น คลื่นไส้อาเจียน บางครั้งมีการปวดอยากถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ หรือบางครั้งรู้สึกหมดเรี่ยวแรง วิงเวียนหรือ เป็นลม ในทางการแพทย์ แพทย์แยกโรคอื่น ๆ ที่อาจมาด้วยอาการคล้าย ๆ กันเช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ กรดไหลย้อน เยื่อหุ้มปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปวดอักเสบหรือปอดบวม หลอดเลือดในปอดอุดตัน กระดูกหน้าอกอักเสบ หรือ ปลายประสาท เอ็น หรือกล้ามเนื้อหน้าอกอักเสบ หลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าปริหรือแตก   2. อาการเหนื่อยง่ายจากหัวใจวายเลือดคั่ง           อาการเหนื่อยง่ายจากหัวใจวายเลือดคั่ง เป็นอาการของน้ำคั่งในถุงลมปอด เมื่อหัวใจบีบตัวได้ไม่ดี หรือบีบตัวดีแต่ต้องบีบตัวผ่านแรงเสียดทานที่สูง เช่น ลิ้นหัวใจตีบ ความดันโลหิตที่สูงมากๆ ทำให้ แรงดันเลือดในห้องหัวใจสูงขึ้น ผลคือแรงดันเลือดในปอดสูงขึ้นตาม ดันน้ำเลือดท้นเข้าไปในปอด (ในถุงลมปอด) การแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ถุงลมปอดเสียไปจากการที่เลือดคั่งที่ถุงลม เกิดอาการเหนื่อย เริ่มตั้งแต่เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกายอยู่เฉยๆไม่เหนื่อย ถ้าเป็นมากขึ้นแม้ออกกำลังกายเล็กน้อยจะเหนื่อย ถ้าเป็นมากขึ้นอีก จะเริ่มเหนื่อยตอนกลางคืนนอนราบไม่ได้ เพราะเวลานอนเลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจมากขึ้นดันน้ำเลือดท้นเข้าไปในถุงลม ปอดมากขึ้น ต้องลุกขึ้นนั่งเป็นช่วงๆ นอกจากนี้ ผลจากหัวใจบีบตัวไม่ดี ปริมาณเลือดที่ไปสู่สมอง กล้ามเนื้อลดลง ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง มึนงงง่าย ถ้าเลือดคั่งมากความดันในหลอดเลือดฝอยในปอดสูงมาก ดันน้ำเลือดในหลอดเลือดเข้าไปสู่ถุงลมในปอดจำนวนมาก ทำให้หายใจมีเสมหะเป็นฟองสีน้ำปนเลือด เหนื่อยหอบรุนแรง การแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ถุงลมในปอดทำไม่ได้ ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง ถ้ารักษาไม่ทัน อาจเสียชีวิตได้              หัวใจห้องขวารับเลือดดำจากร่างกายส่งไปฟอกที่ปอด ถ้าความดันในปอดสูง ความดันในหัวใจห้องขวาก็สูง ความดันในหลอดเลือดดำสูงขึ้นด้วยทำให้เส้นเลือดดำที่คอโป่งพอง น้ำและเกลือแร่ที่ร่างกายเก็บไว้ในหลอดเลือดดำก็ถูกดันออกมาภายนอก ทำให้เกิดการคั่งของเลือดในอวัยวะต่าง ๆเช่น ตับ กระเพาะอาหาร ลำไส้ ทำให้เกิด ตับโต แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน การคั่งของเลือดในแขนขาทำให้บวมตามปลายมือปลายเท้า หรือบริเวณก้น หลัง ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ขยับตัวนอนเป็นส่วนใหญ่ ถึงมีอาการเช่นนี้ แต่ยังมีโรคหลายชนิดที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่ายหรือบวมได้ เช่น โรคปอด เช่น หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมปอดโป่งพอง  โรคไต เช่น ไตวาย บวมจากเสียโปรตีนที่ไต โรคตับ เช่น ตับแข็ง ภาวะขาดโปรตีนอย่างรุนแรง ภาวะซีดอย่างรุนแรง   3. อาการใจสั่นหรือเป็นลมจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ           ในรายหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจเกิดหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะหรือหัวใจเต้นช้าผิดจังหวะ หรือบางครั้งเต้นเร็วบางครั้งเต้นช้า ทำให้มีอาการทั้งสองอย่างรวมกัน   ถ้าหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดเป็นตัวๆหรือเกิดโดดๆ ซึ่งเกิดได้ทั้งหัวใจห้องบนและหัวใจห้องล่าง การเต้นผิดจังหวะแบบนี้ ส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต อาการส่วนใหญ่ที่ท่านมาพบแพทย์ คือ อาการหัวใจเต้นสะดุดหรือหยุดไป บางรายรู้สึกเต้นแรงคล้ายมีอะไรมากระแทก หรือมีอาการใจสั่น ใจเต้นไม่สม่ำเสมอ  ถ้าหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะตลอดเวลานานๆ ที่เรียกว่า เต้นพริ้ว (Atrial fibrillation) หัวใจห้องบนทำงานไม่ไหว บางรายมาด้วยหัวใจวายเลือดคั่ง หรือมาด้วยอัมพาตอัมพฤกษ์ จากการที่เกิดก้อนเลือดในหัวใจแล้วหลุดไปที่สมอง ถ้าหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดจังหวะ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ที่พบบ่อยคือ เต้นแล้วหยุดทำให้มีอาการใจสั่นเป็นลมหมดสติได้ ร่วมกับความดันโลหิตต่ำ ถ้าเต้นไม่หยุดจะทำให้เสียชีวิตได้ ถ้าหัวใจเต้นช้ามาก เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ เกิดอาการมึนงง วิงเวียน หน้ามืดตาลาย เป็นลมหมดสติ จนถึงชักได้เช่นกัน    4. อาการที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยวิตกกังวล           อาการคล้ายกับอาการของโรคหัวใจขาดเลือดหรือโรคหัวใจวายเลือดคั่ง ได้แก่ เจ็บหน้าอก ใจสั่น หายใจไม่เต็มอิ่ม มือเท้าชา เหงื่อออกตามปลายมือปลายเท้า แต่ อาการมักเกิดในวัยรุ่นหรือวัยเจริญพันธุ์ พบในหญิงมากกว่าชาย ที่ช่วยวินิจฉัยคือ   อาการเจ็บหน้าอกเป็นแบบเจ็บจี๊ดๆ หรือเจ็บแปลบๆ เจ็บแบบเข็มแทง  มีจุดที่เจ็บชัดเจน เวลาเอามือกดตรงที่เจ็บจะทำให้เจ็บมากขึ้น  อาการเจ็บหน้าอก อาจเกิดวันละหลายครั้งๆ ละเป็นวินาที  อาการไม่เกิดร่วมกับการออกกำลังกายและการออกกำลังกายอาจทำให้อาการดีขึ้นด้วย แม้เจ็บหน้าอกก็ยังสามารถทำงานได้ มักพบอาการหายใจไม่ออกหรือหายใจไม่เต็มอิ่มร่วมด้วย อาการหายใจไม่สะดวกดีขึ้นเวลาถอนหายใจแรงๆ ถ้ารุนแรงทำให้อาการคล้ายหอบหืดได้             อาการเหล่านี้มักเป็น ๆ หาย ๆ และส่วนใหญ่มีสาเหตุจากความเครียด ซึ่งในบางครั้งผู้ป่วยจะทราบ แต่ส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัว ต้องอาศัยคนใกล้ชิดช่วยสังเกตความเครียด   ด้วยความปรารถนาดี จาก ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลวิภาวดี (Vibhavadi Heart Center)  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เบาหวานขึ้นจอประสาทตา (Diabetic Retinopathy DR)

เบาหวานเกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกาย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ส่งผลต่อระบบเส้นเลือดต่างๆในร่างกาย เช่น ที่ตา ไต และระบบประสาท   เบาหวานเกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกาย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ส่งผลต่อระบบเส้นเลือดต่างๆในร่างกาย เช่น ที่ตา ไต และระบบประสาท เบาหวานขึ้นจอประสาทตา เกิดจากการที่ร่างกาย มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้เกิดพยาธิสภาพผนังเส้นเลือดฝอยที่ตาเกิดอุดตัน โป่งพอง รั่วซึม มีจุดเลือดออก จอประสาทตาบวม มีเส้นเลือดงอกใหม่และเกิดพังผืดดึงรั้งที่จอประสาทตา จนทำให้ตาบอดได้ แบ่งเป็น 2 ระยะดังนี้ 1.ระยะเริ่มต้น ตรวจพบความผิดปกติของจอประสาทตาโดยมีผนังเส้นเลือดโป่งพอง ต่อมามีจุดเลือดออก มีการรั่วซึมของสารไลโปโปรตีน เส้นใยประสาทตาขาดเลือดมาเลี้ยง อาจพบจอประสาทตาบวมน้ำได้ 2. ระยะรุนแรง ตรวจพบมีเส้นเลือดใหม่ ซึ่งจะเปราะบางและแตกง่าย ทำให้เลือดออกในน้ำวุ้นตา อาจพบพังผืดดึงรั้งจอประสาทตาเกิดการฉีกขาดและหลุดลอก ทำให้ผู้ป่วยมีระดับการมองเห็นลดลงหรือตาบอดในที่สุด ถ้ามีเส้นเลือดงอกใหม่ที่ม่านตา จะเกิดการอุดตันทางระบายน้ำในช่องหน้าม่านตา ทำให้ความดันตาสูงขึ้น เกิดต้อหินชนิดหลอดเลือดงอกใหม่ซึ่งรักษาได้ยาก และเป็นสาเหตุของตาบอดได้อีกด้วย การรักษา 1. การรักษาด้วยยา โดยเน้นการรักษาโรคประจำตัวของผู้ป่วย ผู้ป่วยจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเส้นเลือด และความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อป้องกันและควบคุมไม่ให้โรคเบาหวานขึ้นจอตาลุกลามมากขึ้น 2. การรักษาด้วยเลเซอร์ จะทำในกรณีที่ผู้ป่วยมีจอประสาทตาบวมน้ำ เบาหวานขึ้นจอประสาทตาอยู่ในระยะรุนแรงมีเส้นเลือดงอกใหม่ จะเริ่มให้การรักษาด้วยเลเซอร์ แสงเลเซอร์จะถูกฉายลงบนจอประสาทตาโดยตรง ทำให้เส้นเลือดที่ผิดปกติหายไปโรคจะหยุดลุกลามได้ ในบางรายอาจต้องได้รับการฉายแสงเลเซอร์ต่อเนื่องกันหลายครั้ง 3. การฉีดยาเข้าในน้ำวุ้นตา ได้แก่ ยากลุ่ม Steroid และยากลุ่มAnti VEGF เพื่อรักษาโรคจุดกลางรับภาพจอประสาทตาบวมจากเบาหวาน ข้อดีคือ ในรายที่ตอบสนองต่อยาได้ดี การมองเห็นจะกลับคืนมาได้เกือบเท่าปกติ โดยไม่มีผลทำลายจอประสาทตาแค่ยามีฤทธิ์อยู่ได้ชั่วคราว 4. การผ่าตัดน้ำวุ้นตา ในกรณีที่โรครุ่นแรง จนมีเลือดออกในน้ำวุ้นตา หรือมีพังผืดดึงรั้งจอประสาทตาหลุดออก หรือมีจุดกลางรับภาพบวมเรื้อรัง ไม่ตอบสนองต่อการฉายแสงเลเซอร์ หรือยาฉีดจะต้องให้การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดน้ำวุ้นตาหรือผ่าตัดรักษาจอประสาทตา การดูแลตัวเองของผู้ป่วยเบาหวานเพื่อไม่ให้ตาบอด 1. ให้ผู้ป่วยเบาหวาน ควรมารับการตรวจจอประสาทตากับจักษุแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามนัด 2. ควบคุมอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและมีค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1C)<7% 3. รักษาโรคความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 4. ควบคุมระดับไขมันในเลือด 5. งดสูบบุหรี่                          6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ 7. เคร่งครัดการใช้ยาให้ถูกต้อง 8. ปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ สรุป การป้องกันเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ขึ้นอยู่กับความรวดเร็วและความสม่ำเสมอในการรักษา การควบคุมอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อป้องกันการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนจนสู่ภาวะตาบอดได้    

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<