บุคคลกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวาน

บุคคลกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวาน    บุคคลกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวาน           -อ้วน             -อายุมากกว่า 40 ปี             -มีภาวะความดันโลหิตสูง             -เมื่อทดสอบความทนต่อน้ำตาล (กลูโคส) ด้วยการดื่มกลูโคส 75 กรัม             แล้วพบว่าระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมงหลังดื่มกลูโคสอยู่ในช่วง 140-199มก./ดล.             -มีไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงและระดับโคเลสเตอรอลที่ดี (HDL-C) ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ             -มีระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร 8 ชั่วโมงอยู่ระหว่าง 100-125 มก./ดล.             -มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน ความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานในอนาคตขึ้นกับจำนวนปัจจัยเสี่ยง เช่น ถ้าอ้วน มีอายุมากกว่า 40 ปี มีโรคความดันโลหิตสูง ไขมันสูง มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน หรือมีระดับน้ำตาลที่มากกว่า 100 มก./ดล. จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ด้วยความปรารถนาดี จากศูนย์เบาหวาน ต่อมไร้ท่อและไต รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคแอนแทรกซ์

 โรคแอนแทรกซ์ โรคแอนแทรกซ์ ซึ่งกำลังถูกใช้ในการทำสงครามชีวภาพ ความจริงโรคนี้ไม่น่ากลัวนัก รักษาก็ไม่ยาก และบ้านเราเองก็มีมานานแล้ว แต่มีประปรายไม่มาก มาทำความรู้จักกันเลย สาเหตุ โรคแอนแทรกซ์ ( อ่านว่า แอนแถรก ) ได้รับการพิสูจน์ โดย โรเบิต คุก ในปี พ.ศ. 2420 ว่ามีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย แบซิลลัส แอนทราซิส ( Bacillus anthracis ) ซึ่งมีรูปร่างลักษณะเป็นแท่ง เชื้อสามารถสร้างสปอร์ในอาหารเหลว สปอร์ มีลักษณะเป็นช่องกลมๆใส อยู่ภายในเซลล์ สปอร์สามารถอยู่ในดินได้นาน 20-25 ปี ในที่แห้งมีความทนทานต่อความร้อน 140 C ได้นาน 1-3 ชั่วโมง แต่ถ้ามีความชื้นด้วย เช่นนำไปต้ม จะทนความร้อน 100 C ซึ่งเท่ากับความร้อนที่น้ำเดือด ได้นานเพียง 5-30นาทีเท่านั้นครับ เชื้อนี้พบได้ตามพื้นดิน ไม่เคลื่อนไหว ชอบอยู่ติดกันเป็นโซ่ยาวๆ การระบาดมักจะติดเชื้อในสัตว์ และรุนแรงจนทำให้สัตว์ถึงแก่ความตายได้มาก แต่ก็สามารถติดต่อในคนได้ การติดต่อ การติดต่อในคนที่พบบ่อยเป็นการติดเชื้อทางผิวหนัง ทางเดินอาหาร และที่ปอด เชื้อแอนแทรกซ์์ พบได้ทั่วโลกทั้งเอมริกา ยุโรป อาฟริกา ตะวันออกกลางและเอเซีย โรคแอนแทรกซ์ เป็นในสัตว์ได้เกือบทุกชนิด แต่มักพบในสัตว์เลือดอุ่นเลี้ยงลูกด้วยนม เช่น วัว ควาย ม้า ลา ฬ่อ แพะ แกะ สัตว์กินเนื้อและนกบางชนิดก็พบได้ โรคจะติดต่อมาสู่คนได้เมื่อสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรค ซึ่งจะมีเชื้อโรคในทุกส่วนของสัตว์ ทั้ง ขน เนื้อ เลือดกระดูก ในคนจึงรับเชื้อ 3 ทางคือ การติดเชื้อผิวหนังที่เป็นแผล ทางระบบการหายใจ และระบบทางเดินอาหาร การติดเชื้อผิวหนังที่เป็นแผลเกิดจากไปสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่เป็นโรค ทางระบบหายใจพบได้น้อยในประเทศไทย มักจะพบในอุตสาหกรรม ขนสัตว์ หนังสัตว์ ซึ่งเชื้อในหนังและขน และกระจายไปในอากาศ เมื่อหายใจเข้าไปก็ติดเชื้อในปอดได้ ในส่วนนี้ เป็นการติดเชื้อที่กลัวกันมากว่าจะนำมาใช้ในสงคราม ส่วนการติดเชี้อในอาหารมักจากการทานเนื่อสัตว์ที่เป็นโรคโดยไม่ทำให้สุกก่อน อาการ อาการทางคลินิก 1. แอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง เท่าที่มีในประเทศไทย มักจะได้ประวัติว่าไปแล่เนื้อวัวควายที่ตายเองโดยไม่ทราบสาเหตุ ต่อมาประมาณ 2-3 วันจะมีตุ่มแดงขึ้นตรงที่สัมผัส เช่นมือหรือนิ้วมือ ตุ่มจะคันแต่ไม่เจ็บ และในเวลา 12-48 ชั่วโมงต่อมา จะพองเป็นตุ่มน้ำใส และกลายเป็นตุ่มหนอง ตรงกลางจะแตกและแผลจะลึกกลมเหมือนเบ้าขนมครกมีขอบนูนชัด แผลจะกลายเป็นสีน้ำตาล ต่อมาจะกลายเป็นสีดำเหมือนถูกบุหรี่จี้ขอบแข็ง การที่แผลเป็นสีดำเหมือนถ่านหิน จึงได้ชื่อว่าแอนแทรกซ์ ซึ่งรากศัพท์ แปลว่าถ่านหินนั่นเองครับ ทั้งหมดจะเกิดประมาณวันที่ 5 หลังจากมีตุ่มแดง แผลอาจพบได้ที่นิ้ว บริเวณ ตา คอ แขน ขา ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ปวดหัว และอ่อนเพลีย ในรายที่รุนแรง การอักเสบจะลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง และเข้าสู่กระแสเลือด เกิดภาวะ ติดเชื้อในเลือด ช็อกและเสียชีวิตได้ 2. แอนแทรกซ์ ที่ระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง หายใจขัด กระสับกระส่าย เจ็บคอ เจ็บหน้าอก ลิ้นบวม หอบ เขียว ไอเป็นเลือด เกิดความดันโลหิตต่ำ ช็อค ถึงแก่กรรม การติดเชื้อทางหายใจจะรุนแรงและการดำเนินโรคจะเร็วกว่าแบบอื่น ดังนั้นต้องรีบรักษา จุดเด่นคืออาการเร็ว เจ็บหน้าอก ไอ เป็นเลือด 3. แอนแทรกซ์ ที่ระบบอาหาร มักจะมีประวัติกินแกงเนื้อ ยำเนื้อ และมาด้วยอาการปวดท้องฉับพลัน ท้องร่วงอย่างรุนแรง คล้ายกับอหิวาต์ อุจจาระอาจเป็นเลือดสดๆจำนวนมาก ทำให้มีอาการซีด ไข้สูง อาเจียน อ่อนเพลีย ถ้าอาการหนักมาก ก็อาจช็อค ถึงแก่กรรมได้ อาการแทรกซ้อนและการรักษา อาการแทรกซ้อนอื่น อาจพบติดเชื้อในกระแสเลือด จะมีไข้สูง ช็อค อาจติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง จะมีอาการทางสมอง คือ ปวดหัว สับสน กระวนกระวาย เอะอะอาละวาด จนกระทั่งซึมหมดสติ การวินิจฉัย โรคไม่ยากคือ ได้จากประวัติ สัมผัสสัตว์หรือได้รับจดหมายมีผงแป้งของจริงจากบิล ลาเดน หรือ ผู้ก่อการร้าย ตรวจร่างกายพบอาการดังกล่าว และตรวจพบเชื้อจากเสมหะ ผิวหนัง หรือเพาะเชื้อจากเลือด  สำหรับ การรักษา โชคดีที่รักษาไม่ยาก ยาที่ใช้ได้มีหลายตัวด้วยกันได้แก่ เพนนิซิลิน สเตรพโตมัยซิน เตตร้าไซคลิน อีรีย์โทรมัยซิน คลอแรมเฟนนิคอล ถ้าเป็นเพนนิซิลลิน ส่วนมากมักต้องให้ยาในรูปการฉีดเข้าเส้นเลือด เพราะรักษาไม่ยากจึงไม่น่ากลัว และลักษณะเชื้อชนิดแกรมบวก ก็มักจะไม่ดื้อยามาก แต่ก่อนที่ตายกัน เพราะยังไม่มีการพบยาทีรักษา แต่ตอนนี้มียาดีหลายอย่างมากมายครับ การป้องกัน การป้องกัน กระทำได้โดย ให้สุขศึกษาแก่ประชาชน ไม่ทานเนื้อสุกๆดิบ เช่น น้ำตก ลาบ การต้มเดือดประมาณ ครึ่งชั่วโมงจะทำลายสปอร์ได้หมด ถ้าสัตว์ตายโดยไม่ทราบสาเหตุต้องแจ้งเจ้าหน้าที่มาตรวจ ถ้าเปิดซองจดหมายพบแป้งให้แจ้งกระทรวงสาธารณสุข ถ้ารู้ปั๊บรักษาปุ๊บ ปลอดภัยแน่นอนครับ การฉีดวัคซีน อาจฉีดได้ในสัตว์ ส่วนในคนไม่แพร่หลายมักให้แก่ บุคคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับสัตว์ หรือในอนาคต อาจเป็นเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ ในรายทีสัมผัสโรคไปแล้ว ควรเฝ้าสังเกตุอาการประมาณ 7 วัน เพราะระยะฟักตัวของโรคไม่เกิน 7 วัน ถ้าพ้นนี้ไป สบายใจได้ ถ้าระหว่างนี้ป่วยก็รักษาทันครับ สรุป แอนแทรกซ์จึงเป็นโรคที่น่ารู้ แต่ไม่น่ากลัวสำหรับบ้านเรา และที่สำคัญที่สุด คือเราไม่เป็นศัตรูกับใคร ก็คงไม่มีใครมาแกล้งเรา หวังว่าคงจะได้รับความรู้กันเต็มที่นะครับ ด้วยความปรารถนาดี จาก รพ.วิภาวดี   ขอบคุณที่มา Thaiclinic.com  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภัยร้ายใกล้ตัวจาก แมลงก้นกระดก

ภัยร้ายใกล้ตัวจาก “แมลงก้นกระดก”  สวัสดีครับ ผมชื่อ พีเดอร์รัส บางคนก็เรียกว่า แมลงก้นกระดก ตอนนี้ใครๆ ก็กลัวและบอกว่าเรากำลังระบาด ก่อโรคผิวหนังให้กับผู้คนมากมาย ก่อนจะด่วนสรุปว่าเราน่ากลัวมาทำความรู้จักกับเรามากขึ้นเรามี ชื่อภาษาอังกฤษว่า Paederus spp. เป็นแมลงตัวเล็กๆ แต่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่ามีแถบขวางที่ลำตัวเป็นสีส้มกับสีดำ เราไม่ได้คิดเองก็รูปของเราไปอยู่ในข้อสอบของคุณหมอทั้งหลายบ่อยๆ เลย แต่เอ๊ะ! อยู่ๆ ของเหลวในตัวพวกเราไปก่อโรคผิวหนังได้ล่ะ คือ  พวกเราเป็นแมลงที่ออกบินตอนกลางคืน แล้วเป็นพวกหลงแสงสี เห็นแสงไฟที่ไหนไม่ได้ บินไปบินมาพอแรงตก พวกเราบางตัวก็เลยร่วงตกลงมาบนผิวของพวกคุณที่นอนอยู่บริเวณใต้โคมไฟนั้น พวกเราเดินเล่นอยู่ดีๆ บนผิวหนังของคุณ เมื่อคุณหลับไปแล้วก็อาจจะรู้สึกระคายผิวโดยที่ไม่รู้ตัว เผลอตบพวกเราทั้งๆ ที่ยังหลับอยู่ พวกเราจึงตัวแตกตายคาที่สารระคายเคืองที่อยู่ในตัวของพวกเราจึงออกมาเลอะผิวหนังในบริเวณนั้น ก่อให้เกิดผิวหนังอักเสบในลักษณะไหม้สารเคมี (Chemical burn) หากคุณตบพวกเราด้วยมือ แล้วเอาไปขยี้ตาต่อก็จะทำให้เยื่อบุตาอักเสบจากการระคายเคืองได้เช่นกัน ทั้งหมดนี้ จะเกิดขึ้นขณะที่คุณหลับ พวกคุณจะไปพบแพทย์ด้วยความตกใจว่า ตื่นมามีผื่นแสบ ตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง และตาอักเสบแบบฉับพลัน sudden (ซึ่งต่างกับงูสวัดซึ่งประวัติจะยาวนานกว่า) อาจพบผื่นที่มีรูปร่างจำเพาะ เช่น แนวเส้นตรง (Linear confiuration) หากว่าคุณสังหารเราให้ตายแล้วลากเป็นทางยาว หรือเป็นผื่นแบบสมมาตรกันในตำแหน่งข้อพับ (Kissing lesion) หากว่าคุณสังหารด้วยการพับแขน ลักษณะผื่นผิวหนังที่พบได้ เช่น ผื่นแดงแสบ ตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง ทำให้หลายท่านเข้าใจผิดคิดว่าเป็นงูสวัด การรักษา ไม่มีอะไรน่ากลัวอย่างที่สื่อโซเชียลร่ำลือกัน แพทย์จะให้การรักษาแบบผิวหนังอักเสบที่ไม่ใช่การติดเชื้อ ดูแลแผลอย่างเหมาะสมตลอดจนเฝ้าระวังการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ก็หายสนิท แต่อาจทิ้งรอยดำหลังการอักเสบไว้ได้บ้าง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปรอยดำพวกนี้ก็จะจางลงเอง การป้องกัน หากพบพวกเราคลานอยู่บนผิวของท่าน อย่าตบให้สารระคายเคืองแตกคาผิวให้จับพวกเราออกก็จบแล้ว   ที่มาจาก : สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ด้วยความปรารถนาดีจากศูนย์ผิวหนังและเลเซอร์โรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ท่าทางการทำงานเพื่อสุขภาพที่ดี

 ท่าทางการทำงานเพื่อสุขภาพที่ดี เราจะมาพูดกันในหัวข้อ ต่อไปนี้ครับ อันตรายจากท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม ลักษณะท่าทางการทำงาน วิธีการทำงาน การเคลื่อนย้ายวัสดุชิ้นงาน อันตรายจากท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม       1. อันตรายต่อเอ็น และกล้ามเนื้อ 2. อันตรายต่อข้อต่างๆ 3. อันตรายต่อเส้นประสาท 4. อันตรายต่อเส้นเลือด ลักษณะท่าทางการทำงาน 1. มือและข้อมือ ท่าทางที่เหมาะสม วางมือในแนวราบเป็นเส้นตรง ท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง 1) การงอนิ้วมือและนิ้วย้อนกลับมาด้านหลังของมือ 2) การงอมือและนิ้วห้อยลงด้านหน้า 3) การหักข้อมือให้เบี่ยงออกไปทางด้านหัวแม่มือ 4) การหักข้อมือให้เบี่ยงออกไปทางด้านนิ้วก้อย 5) การหมุนมือและแขนแบบหมุนออกทางด้านนิ้วก้อย 6) การหมุนมือและแขนแบบหมุนเข้าทางด้านนิ้วก้อย 2. แขนและไหล่ ท่าทางที่เหมาะสม ช่วงหัวไหล่และท่อนแขนในขณะทำงานควรจะระนาบและตั้งฉากกับลำตัว ท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง 1) มือ แขน หรือไหล่เหยียดตรงออกไปด้านหน้าของลำตัว 2) แขน หรือไหล่เคลื่อนที่ไปทางด้านหลังของลำตัว 3) เหยียดแขนตรงออกไปด้านข้างของลำตัว 4) งอแขนเข้าหาลำตัว 3. คอและหลัง ท่าทางที่เหมาะสม ในขณะยืนหรือนั่ง กระดูกสันหลังจะต้องโค้งเว้าตามธรรมชาติ ท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง 1) การงอหลังหรือการโน้มตัวไปข้างหน้า 2) การบิดเอี้ยวลำตัวตรงกระดูกส่วนเอว 3) การเอียงลำตัวไปทางด้านข้างด้านใดด้านหนึ่ง 4) การเอียงคอไปทางด้านข้าง 5) การก้มเงยคอไปมา 6) การหันหน้าไปมา 4. เข่าและขา ท่าทางที่เหมาะสม ท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง 1) การคุกเข่าหรืองอขาเป็นระยะเวลานาน 2) ยืนอยู่ท่าเดียวเป็นเวลานาน วิธีการทำงาน 1. มือและข้อมือ ท่าทางปกติในขณะทำงาน - มือและข้อมืออยู่ในแนวตรงคล้ายการจับมือทักทาย - ควรปรับระดับความสูงของตำแหน่งวางชิ้นงานให้เหมาะสม กับตำแหน่งการวางมือและข้อมือ - ควรวางชิ้นงานตรงหน้าโดยตรง - หากมีการเคลื่อนที่ของชิ้นงานในขณะทำงาน ควรสอดคล้องกับการเคลื่อนที่ของมือ การทำงานซ้ำๆ กัน                 - หลีกเลี่ยงการออกแรงทำงานของมือเดิมซ้ำๆ กันเป็นเวลานาน - ควรมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของมือและข้อมือไปมา - ควรสลับเปลี่ยนชิ้นงานที่ต้องทำให้หลากหลายหากต้องทำงานใดเป็นเวลานานๆ - ถ้าเป็นไปได้ควรมีการสลับหน้าที่การทำงานกันบ้าง การออกแรงจับถือ - ลดการออกแรงจับถือชิ้นงานโดยการใช้ทั้งมือจับ - หลีกเลี่ยงการจับถือสิ่งของที่ใหญ่เกินไป หรือเล็กเกินไป - ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ทั้งสองมือทำงานประสานร่วมกัน - ใช้วิธีการลากหรือเลื่อนสิ่งของแทนที่จะใช้วิธีการจับขึ้นในแนวดิ่ง การใช้ถุงมือและมือจับ               - พิจารณาขนาดและตำแหน่งของมือจับให้รู้สึกถนัดกระชับ - ควรใช้ถุงมือที่มีขนาดพอเหมาะกับมือ - ควรใช้ถุงมือที่มีขนาดใหญ่พอที่จะไม่บีบรัดการไหลเวียนเลือด การใช้เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ - พยายามหลีกเลี่ยงการงอบิดของข้อมือบ่อยครั้งเกินไป - พยายามลดการออกแรงกดที่ไม่จำเป็น - ควรใช้ถุงมือยางในการใช้เครื่องมือที่มีการสั่นสะเทือน และเครื่องมือที่ต้องออกแรงหมุน - ดูแลรักษาเครื่องมือให้ปลอดภัยและเหมาะสมอยู่ตลอดเวลา - ใช้กล้ามเนื้อส่วนใหญ่ของมือในการใช้เครื่องมือ 2. แขนและไหล่ ท่าทางปกติ - ควรรักษาระดับของไหล่และแขนให้อยู่ในท่าทางปกติ คือ ในระดับของการจับมือทักทายกัน - ข้อศอกควรอยู่แนบกับลำตัว        - ข้อศอกควรอยู่ในระดับต่ำ หรือระดับที่รองรับน้ำหนักในการทำงานของท่อนแขน การเอื้อมจับ - พยายามลดความถี่ในการที่จะต้องยื่นแขนออกไปจับวัสดุอุปกรณ์ในการทำงาน - พยายามลดการที่ต้องยกแขนหรือไหล่ในการเอื้อมมือไปจนสุดเอื้อม การเคลื่อนไหวในขณะทำงาน - ใช้วิธีการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ สม่ำเสมอ - หลีกเลี่ยงการยกหรือโยนชิ้นงานขึ้นเหนือศีรษะ - ใช้วิธีการวางชิ้นงานลงเมื่อทำเสร็จ แทนการออกแรงโยน การคงท่าเดิมขณะทำงาน - หลีกเลี่ยงการทำงานท่าเดิมโดยตลอด - ใช้วิธีการหมุนเปลี่ยนงานที่ทำ - ใช้เครื่องมือช่วยในการจับวัสดุอุปกรณ์หรือชิ้นงานในขณะทำงาน - ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อส่วนไหล่และแขนเพื่อให้เกิดการคลายตัว 3. คอและหลัง การทำงานในท่านั่ง ท่านั่งปกติในขณะทำงาน - นั่งทำงานในท่าทางที่การจัดเรียงตัวของกระดูกสันหลังได้รูปทรงตามธรรมชาติ - ใช้เก้าอี้ที่ปรับได้                     

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

วิธีปฏิบัติตัวห่างไกลโรคหัวใจ

วิธีปฏิบัติตัวห่างไกลโรคหัวใจ   แนวทางการรักษาโรคหัวใจในปี 2016 เป็นหน้าที่ของแพทย์ในรักษา แต่การปฏิบัติตัวที่จะทำให้ห่างไกลจากโรคหัวใจก็คือ " 4 ไม่ 5 ต้อง 3 ปกติ" " 4 ไม่ " 1. ไม่น้ำตาล 2. ไม่เกลือ 3. ไม่แปรรูป 4. ไม่เนื้อแดง " 5 ต้อง " 1. ต้องทานน้ำมันมะกอก 2. ต้องทานธัญพืช 3. ต้องทานถั่ว 4. ต้องทานผัก 5. ต้องทานปลา " 3 ปกติ " 1. ระดับความดันปกติ 2. ระดับน้ำตาลปกติ 3. ระดับไขมันปกติ                     ด้วยความปรารถนาดีจากโรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ไข่วันละฟองกินได้หรือไม่?

 ไข่วันละฟองกินได้หรือไม่?       ไข่เป็นอาหารที่หาทานได้ง่าย ราคาถูก สามารถประกอบอาหารได้หลายอย่าง แต่เป็นเวลานานหลายปีแล้วที่ทางการแพทย์พบว่า ไข่ประกอบด้วยคลอเรสเตอรอล ที่ทำให้คลอเรสเตอรอลในเลือดสูง และทำให้อัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด จึงมีคำแนะนำว่าในผู้ใหญ่ไม่ควรทานไข่เกินสัปดาห์ละ 3ฟอง แต่จากการวิจัยในระยะหลังๆ พบว่า คลอเรสเตอรอลที่มีในไข่ มีผลต่อคลอเรสเตอรอลในเลือดน้อยมาก  ดังนั้นจึงเริ่มมีการรณรงค์ให้ทานไข่กันมากขึ้น และเพิ่มคำแนะนำให้ทานไข่วันละหนึ่งฟอง คำแนะนำใหม่นี้ใช้ได้จริงหรือไม่ เป็นคำถามที่หลายคนสงสัย หรือเป็นเพียงคำโฆษณา องค์ประกอบของไข่ แบ่งออกเป็น สามส่วนใหญ่ๆ คือ 1. เปลือกไข่ (Shell) เป็นเปลือกแข็ง ห่อหุ้มด้านนอก 2. ไข่ขาว (White egg) มีลักษณะเหลวใสหรือสีเหลืองอ่อนห่อหุ้มไข่แดง 3. ไข่แดง (Yolk egg) มีทรงกลมมีส้มหรือแดง อยู่ตรงกลาง ถ้ามีไข่ที่มีเชื้อ ส่วนของไข่แดงจะเปลี่ยนไปเป็นตัวอ่อนและฟักออกมาเป็นตัวได้ คุณค่าทางโภชนาการ      ไข่เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารหลายชนิดอยู่ภายในไข่ ในไข่ขาวจะมีโปรตีนสูง และเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง คือมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย(Essentil aminoacid) ส่วนในไข่แดงจะมีสารอาหารหลายชนิด ได้แก่โปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุ      ไขมันในไข่แดงส่วนใหญ่จะเป็นไขมันไม่อิ่มตัว รวมถึงomega-3ซึ่งเป็นไขมันไม่อิ่มตัว ที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งมีคุณค่าเหมือนไขมันในปลาแซลมอลและปลาทะเล ส่วนคลอเรสเตอรอลจะมีเฉพาะในไข่แดง ไม่มีในไข่ขาว      สารอาหารอื่นได้แก่ ธาตุเหล็ก โฟลิก(Folic acid) ไรโบเฟลวิน(Riboflavin) โคลีน (choline) วิตามินเอ บี ดี และ อี วิตามินที่ไม่พบในไข่คือ วิตามินซี ธาตุเหล็กในไข่ มีคุณค่าเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์ แต่เคี้ยวง่ายไม่เหนียวเหมือนเนื้อสัตว์ จึงเหมาะสมกับเด็กทารก และคนสูงอายุที่มีปัญหาเรื่องฟัน  โฟลิก เป็นสารที่ป้องกันเลือดจาง และป้องกันความพิการแต่กำเนิด มีความจำเป็นในหญิงที่ตั้งครรภ์ โคลีน(Choline) เป็นสารที่ช่วยเสริมสร้างความจำ(Cognitive function) ช่วยพัฒนาการในเด็กที่กำลังเติบโต จะเห็นได้ว่าไข่เป็นอาหารที่มีคุณค่ามาก ให้สารอาหารที่เกือบครบถ้วน ในขณะที่ราคาถูกกว่าอาหารอื่นๆที่มีคุณค่าทางอาหารเท่ากัน สามารถทำเป็นอาหารได้หลายชนิด ไข่กับคลอเรสเตอรอลและโรคหัวใจขาดเลือด                                                                                              ในวงการแพทย์มีความกังวลในคลอเรสเตอรอลที่มีอยู่ในไข่ที่อาจจะเป็นเป็นต้นเหตุของไขมันในเลือดสูง ซึ่งจะก่อปัญหาให้กับอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด แต่ในงานวิจัยที่พบภายหลัง พบว่าคลอเรสเตอรอลในไข่มีผลทำให้คลอเรสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นความกลัวคลอเรสเตอรอลในไข่เริ่มลดลง โดยในสมาคมหัวใจของ สหรัฐอเมริกา (American Heart Association หรือ AHA) ได้เปลี่ยนคำแนะนำในการทานไข่ ซึ่งจากเดิมไม่ควรเกิน 3ฟองต่อสัปดาห์ เป็น วันละไม่เกินหนึ่งฟอง ความปลอดภัยในไข่ ภัยหนึ่งที่อาจพบได้ในไข่คือ เชื้อโรคชื่อ Samonella Enteritidis เชื้อนี้พบว่าเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย       สาเหตุที่มีเชื้อปนเปื้อนในไข่พบว่าเกิดจากสองสาเหตุคือ สาเหตุแรก ที่เป็นสาเหตุใหญ่คือการที่เปลือกไข่มีเลือดหรืออุจจาระปนเปื้อนในขณะที่ทำการเก็บไข่ เกิดจากการเลี้ยงไก้ในที่ไม่สะอาด ไม่ถูกสุขลักษณะ ดังนั้นในการเลือกไข่ ควรเลือกไข่ที่ผิวสะอาด ไม่มีสิ่งปนเปื้อนที่เปลือกไข่ ถ้าเปลือกไข่เปื้อนมากควรทำการเช็ดผิวให้สะอาดก่อนที่จะทำการเก็บ  สาเหตุที่สองคือ การที่แม่ไก่ป่วยติดเชื้อ และเชื้อไปฝังตัวอยู่ในรังไข่ เมื่อออกมาเป็นไข่จะมีเชื้ออยู่ในไข่แดง ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ ควรหลีกเลี่ยงการทานไข่ดิบ ควรทำให้สุกก่อนทาน เชื้อ Samonella จะเจริญได้ดีในอุณหภูมิห้อง แต่เจริญลดลงในอุณหภูมิที่เย็น ดังนั้นจึงควรเก็บไข่ไว้ในตู้เย็น ซึ่งไข่ที่เก็บในตู้เย็นสามารถเก็บไว้ได้นาน 3 สัปดาห์ โดยที่ไข่ไม่เสีย การทานไข่อย่างฉลาด      นอกจากการทานไข่ควรทำให้สุกแล้ว การทานไข่ในรูปแบบไข่ต้ม ไข่ตุ๋น ไข่พะโล้ จะมีปริมาณไขมันน้อยกว่าไข่ชนิดอื่น การทำไข่ดาว ไข่เจียว ไข่ลูกเขย ในการปรุงอาหารควรใช้น้ำมันที่ไม่อิ่มตัว อาหารที่ควรทำ คือ สลัดไข่ หรือยำไข่ เพราะจะทำให้ได้สารจากไข่ มีไฟเบอร์และวิตามินซีจากผัก และผลไม้ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงคือ ขนมปังไข่ดาว ใส่เบคอน ไส้กรอก เพราะจะได้รับปริมาณไขมันสูงมากจากเบคอน น้ำมันที่ใช้ทอด และเนยที่ทาขนมปัง     ควรเลือกทานไข่ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ไข่ไก่ ไข่เป็ด มากกว่าไข่ฟองเล็ก เช่น ไข่นกกระทา เพราะปริมาณคลอเรสเตอรอลในไข่ใบใหญ่จะน้อยกว่าในไข่ใบเล็ก เมื่อเทียบกันในปริมาณเท่ากัน ไข่วันละฟองทานได้หรือไม่                                                                         ในคนทั่วไป การทานไข่วันละฟองถือว่าไม่มากเกินไป โดยเฉพาะในเด็กที่กำลังเจริญเติบโต และในผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องฟันที่ไม่สามารถทานอาหารโปรตีนอื่นได้ แนะนำให้ทานไข่เป็นแหล่งของโปรตีนแทน เนื้อสัตว์ ในคนสูงอายุ ถ้ามีปัญหาเรื่องไขมันในเลือดสูง ในบางมื้ออาจหลีกเลี่ยงการทานไข่แดง ทานเฉพาะไข่ขาวเท่านั้น     คนที่ไม่ควรทานไข่มากเกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์ คือคนที่มีไขมันในเลือดสูง และจำเป็นต้องควบคุมไขมันในเลือด ผู้ที่มีประวัติแพ้ไข่ ก็คงต้องงดทาน เพื่อไม่ให้เกิดอาการแพ้ ประเทศไทยเป็นประเทศที่โชคดี มีการผลิตไข่ที่สามารถทานได้ตลอดปี และมีแหล่งผลิตที่ดีและสะอาด ราคาไม่แพง ดังนั้นเราจึงควรเลือกทานอาหารโปรตีนที่มาจากไข่ มากกว่าการเลือกทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ซึ่งคุณค่าทางอาหารสู้ไข่ไม่ได้  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคของต่อมลูกหมาก

โรคของต่อมลูกหมาก เป็นโรคที่จะเกิดกับผู้ชายทุกคนเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ในจำนวนนี้มะเร็งของต่อมลูกหมากเป็นโรคอันตราย   โรคของต่อมลูกหมาก โรคของต่อมลูกหมาก เป็นโรคที่จะเกิดกับผู้ชายทุกคนเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ในจำนวนนี้มะเร็งของต่อมลูกหมากเป็นโรคอันตราย ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาในระแรก จะสร้างความทรมานแก่ผู้ป่วยอย่างมากเป็นการทำลายคุณภาพชีวิตในวัยทองของตน ในปัจจุบัน ปรากฏว่ามะเร็งของต่อมลูกหมาก เป้นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด เป็นอันดับสองของมะเร็งในผู้ป่วยเพศชาย มะเร็งของต่อมลูกหมาก สามารถตรวจพบได้ในระยะแรก และเมื่อตรวจพบแล้วสามารถรักษาให้หายขาดได้ การปฏิบัติตนเองเพื่อการตรวจค้นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก 1.การตรวจสุขภาพประจำปี ครอบคลุมโรคของต่อมลูกหมาก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1.1 ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวสายตรงเป็นมะเร็งของต่อมลูกหมากได้แก่(ปู่ ตา บิดาและพี่ชายร่วมสายโลหิต) เมื่ออายุเกิน 40 ปี จะต้องได้รับการตรวจต่อมลูกหมาก ในการตรวจสุขภาพประจำปี ทุกๆปี อย่างสม่ำเสมอ 1.2 บุคคลทั่วไปเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป ต้องได้รับการตรวจสุขภาพครอบคลุมโรคของต่อมลูกหมากปีละ1ครั้ง 2.ผู้ที่มีอาการของต่อมลูกหมากโตผิดปกติ จะต้องได้รับการตรวจจากแพทย์เพื่อความมั่นใจ อาการของต่อมลูกหมากโต ได้แก่ - ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน(เกินกว่า2ครั้ง) - ปัสสาวะบ่อย (เร็วกว่า 2 ชั่วโมง) - ปัสสาวะไม่สุด กะปริบกะปรอย - กลั่นปัสสาวะไม่ได้ มีปัญหาราดเล็ด - ปัสสาวะไม่พุ่ง - ปัสสาวะไม่หยด เปรอะเปื้อนมือเท้า - ต้องออกแรงเบ่ง เวลาถ่ายปัสสาวะ การตรวจของแพทย์ ดำเนินเป็นขั้นๆ ดังนี้ 1.การตรวจโดยแพทย์ทั่วไป แพทย์จะสั่งตรวจ - น้ำปัสสาวะ เพื่อตรวจว่ามีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะร่วมด้วยหรือไม่ หากมีการติดเชื้อจำเป็นต้องได้รับการรักษาเริ่มต้นพร้อมกันไป - ตรวจเลือด เพื่อวิเคราะห์สภาพของไต(ส่งตรวจCREAYININE หรือ B.U.N.) ว่ามีการอุดตันในระบบทางเดินปัสสาวะเพียงไร การตรวจเลือดหาปริมาณของ ENZYME ซึ่งผลิตในต่อมลูกหมาก เรียกว่า P.S.A. (Prostatic Specific Antigen) หากพบสูงในเลือด (ค่าปกติ 4ng%) จะนำไปสู่การพิจารณา เพราะอาจเกิดมะเร็งในต่อมลูกหมากได้ 2. การตรวจโดยแพทย์ของระบบทางเดินปัสสาวะ เมื่อแพทย์ทั่วไปได้พบการเปลี่ยนแปลงในน้ำปัสสาวะในเลือดแล้ว หรือเมื่อผู้ป่วยมีอาการของต่อมลูกหมากโต (7 ข้อความ กล่าวแล้ว) จะส่งให้แพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะตรวจวิเคราะห์ต่อไป โดยจะทำการตรวจตามขั้นตอน คือ 2.1 ใช้นิ้วมือตรวจทางทวารหนัก เพื่อคลำต่อมลูกหมากว่ามีขนาดโตเพียงไร มีปุ่มก้อนเนื้อคลำได้หรือไม่ และต่อมลูกหมากมีความแข็ง และเคลื่อนไหวได้เพียงไร 2.2 หากพบก้อนในต่อมลูกหมากจะต้องทำการตรวจในขั้นต่อไป คือ การตรวจด้วยเครื่อง Ultrasound ทางทวารหนัก พร้อมกับพิจารณาเจาะชิ้นเนื้อของต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก ในบริเวณที่เป็นก้อนออกมาตรวจ ยืนยันการเป็นมะเร็งอีกครั้งหนึ่ง 2.3 หากการตรวจโดยเครื่องมือไม่พบก้อน และต่อมลูกหมากไม่แข็งกว่าปกติ แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยมาตรวจวัดปริมาณของ PSA ในเลือดในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน หากผลของ PSA ในเลือดไม่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มขึ้นไม่มาก โอกาสเป็นมะเร็งจะน้อย ผู้ป่วยจะได้รับการนัดหมายติดตามดูต่อไปอย่างใกล้ชิน หากผลของ PSA สูงมากกว่าเดิม จะได้รับการแนะนำให้ทำการตรวจด้วย Ultrasound และเจาะเอาชิ้นเนื้อของต่อมลูกหมากออกมาวิเคราะห์ด้านมะเร็งและเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการเฝ้าติดตามต่อไป การตรวจของแพทย์ทางระบบทางเดินปัสสาวะ จะเป็นการวินิจฉัยขั้นสุดท้าย ว่าต่อมลูกหมากเป็นโรคชนิดใดและควรจะได้รับการรักษาด้วยวิธีใด จึงจะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตในระยะวัยทองได้อย่างมีความสุข LINETwitterFacebook

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

อาการนอนไม่หลับ (Insomnia)

อาการนอนไม่หลับ (Insomnia)    อาการนอนไม่หลับแบ่งง่าย ๆ ออกเป็นชนิดหลับยาก (Sleep onset insomnia), ตื่นบ่อย (Sleep Maintenance insomnia) และ อาการง่วงนอนแม้จะนอนหลับเพียงพอ (Nonrestorative Sleep)   นอกจากนี้ระยะเวลาของอาการนอนไม่หลับ ก็มีความสำคัญต่อการประเมินหาสาเหตุและการรักษา เช่น 1. อาการนอนไม่หลับชั่วคราว (Transient insomnia) มักพบในช่วงเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวัน หรือสิ่งแวดล้อม  หรือ Jet lag เป็นต้น 2. อาการนอนไม่หลับระยะสั้น (Short-term insomnia) มักเป็นแค่ 2-3 วัน จนถึง 3 สัปดาห์  อาจพบได้ในภาวะเครียด เช่น ผู้ป่วยหลังผ่าตัด เป็นต้น 3. อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง เป็นเดือน หรือเป็นปี (longterm or chronic insomnia)   อาจเป็นผลจากการใช้ยา ,การเจ็บป่วยเรื้อรังไม่ว่าทางกายหรือทางจิตใจ หรือเป็นแบบไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งพบได้หลายสาเหตุ เช่น - จากสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ ในห้องนอน แสงสว่าง, เสียงที่อาจไม่เหมาะสม - การนอนกลางวัน - อาหารมื้อหนักก่อนนอน - การดื่มกาแฟ - ยาหรือสารที่กระตุ้นระบบประสาท - อารมย์และความเครียดทางจิตใจ การรักษา           * การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกสุขลักษณะ         * การออกกำลังกายที่เหมาะสม และสม่ำเสมอ         * หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลกระตุ้นระบบประสาทเหล่านี้ จะทำให้อาการนอนไม่หลับของคุณดีขึ้น        * สำหรับการใช้ยานอนหลับ ควรให้อยู่ดุลยพินิจและคำแนะนำของแพทย์   ข้อมูลโดย : http://www.thaiclinic.com

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

7 อาการที่แสดงถึงการออกกำลังกายหนักเกินไป

7 อาการที่แสดงถึงการออกกำลังกายหนักเกินไป    ข้อดีของการออกกำลังกายมีมากมายไม่ว่าจะร่างกายแข็งแรง  คลายเครียด สุขภาพดี อ่อนเยาว์ ป้องกันการเจ็บป่วย ฯลฯ แต่จะออกกำลังกายอย่างไรจึงจะเรียกว่าออกกำลังกายอย่างฉลาด ไม่ใช่ออกกำลังกายอย่างหนักจนส่งผลร้ายต่อร่างกายแทน  และจะมีอาการดังต่อไปนี้    1.รู้สึกอ่อนเพลีย แทนที่จะสดชื่นกระปรี้กระเปร่าหลังออกกำลังกาย  2. ออกกำลังแล้วไม่เห็นผลเหมือนช่วงแรก   3.  มีอาการเมื่อยตามร่างกาย ข้อต่อ หรือกระดูก เรื้อรังไม่หายสักที 4.   เครียด หดหู่ ซึมเศร้าผิดปกติ 5.   นอนไม่หลับ หรือ รู้สึกนอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ  6.   ไม่มีเรี่ยวแรง หรือ รู้สึกหมดแรงง่ายกว่าปกติ  7.  ป่วยง่าย ป่วยบ่อย หรือป่วยแล้วหายยาก หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ควรพักผ่อนและงดออกกำลังกายสักพัก เมื่อร่างกายฟื้นฟูดีขึ้น คลายความเครียดแล้ว ค่อยกลับมาออกกำลังกายกันอีกครั้ง  ด้วยความปรารถนาดีจากโรงพยาบาลวิภาวดี  ข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์แนวหน้า คอลัมน์สุขภาพ ความงาม หน้า 16 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ดื่มน้ำน้อยเกินไป...ทำสุขภาพพัง

 การดื่มน้ำน้อยไม่เพียงทำให้ร่างกายขาดน้ำและรู้สึกอ่อนเพลียไม่สดชื่นเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพของคุณอีกด้วยเราจึงมี 5 โรคร้ายที่มาจากการดื่มน้ำน้อย มานำเสนอ เพื่อให้คุณรีบหันมาใส่ใจสุขภาพและดูแลตัวเองก่อนโรคร้ายจะถามหา  1. สมองเสื่อม  การดื่มน้ำน้อย อาจส่งผลเสียจนเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมได้ เพราะเมื่อร่างกายของเราขาดน้ำ ปริมาณของน้ำในร่างกายไม่เพียงพอในการเป็นส่วนหนึ่งของเลือดที่สูบฉีดไปทั่วร่างกาย เลือดมีความข้นหนืดมากขึ้นทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ จึงเป็นสาเหตุของอาการสมองเสื่อมได้นั่นเอง เพราะฉะนั้นหากคุณรู้สึกไม่สดชื่น เนือยๆ คิดอะไรช้า ไม่กระฉับกระเฉง นั่นอาจเป็นผลมาจากการดื่มน้ำน้อยเกินไปได้ 2. ริดสีดวงทวาร  การดื่มน้ำไม่เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ อาจส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ยากลำบากมากขึ้น และอาจทำให้คุณไม่สามารถขับอุจจาระออกมาได้ เพราะอุจจาระอาจแห้งเกินไป เมื่อของเสียสะสมอยู่ในลำไส้ ลำไส้ก็จะดูดซึมของเสียนั้นกลับเข้าร่างกายไปอีก ยิ่งทำให้เลือดมีของเสียและข้นหนืดกว่าเดิม อุจจาระก็แข็งแห้งกว่าเดิม จนเกิดเป็นอาการท้องผูก เมื่อคุณมีอาการแบบนี้บ่อยๆ อาจทำให้คุณป่วยเป็นโรคริดสีดวงทวารได้ 3. ปวดข้อ กระดูกอ่อนในหลายๆ ส่วนของร่างกาย  รวมไปถึงหมอนรองกระดูก มีส่วนประกอบเป็นน้ำมากถึง 80% ดังนั้นหากข้อต่อหรือหมอนรองกระดูกแห้ง ไม่ชุ่มชื้นเพียงพอ อาจทำให้ข้อต่อต่างๆ ดูดซับแรงกระแทกได้ไม่ดีพอ จนเกิดอาการบาดเจ็บได้ง่าย หรืออาจอักเสบได้ง่ายเมื่อต้องออกแรงเดิน ยก เหวี่ยง รวมไปถึงการออกกำลังกาย  4. ทางเดินปัสสาวะอักเสบ-กระเพาะปัสสาวะอักเสบ  หากคุณมีอาการปวดปัสสาวะ แต่ไม่มีปัสสาวะไหลออกมา หรือไหลออกเพียงหยดสองหยด คุณอาจกำลังเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อันเนื่องมาจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอ การติดเชื้อ และการกลั้นปัสสาวะนานๆ  5. ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ  ปัญหาสุขภาพของคุณผู้หญิงที่ต้องเจอหากดื่มน้ำน้อย หากคุณพบว่าคุณมีประจำเดือนที่ไม่สม่ำเสมอ ขาดๆ หายๆ มีน้ำเกินไป มีสีเข้มเกินไป มาเป็นลิ่มเลือด หรือแม้กระทั่งปวดท้องประจำเดือนมาก หนึ่งในสาเหตุอาจมาจากการดื่มน้ำน้อยเกินไปได้  หากคุณยังไม่รู้ว่ากำลังดื่มน้ำน้อยเกินไปหรือไม่ ให้รีบไปสังเกตอย่ามองข้ามสัญญาณเตือน    ด้วยความปรารถนาดีจากโรงพยาบาลวิภาวดี 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<