โรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่พบมากในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป   โรคอัลไซเมอร์ โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่พบมากในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นอาการเตือน โรคทางสมองเสื่อม มักมีอาการ เช่น ลืมแว่นตา ลืมว่าปิดประตูบ้านแล้วหรือยัง ลืมชื่อคนรู้จัก คล้ายๆ ความจำเสื่อม และอาการหลงลืมที่ไม่รุนแรง ร้อยละ 30 ของคนเหล่านี้จะกลายเป็นโรคสมองเสื่อม สาเหตุของอาการหลงลืม สมาธิสั้น มักพบในผู้ที่ทำงานหลายอย่างพร้อมๆกัน เป็นประเภท “ได้หน้า ลืมหลัง” มีความวิตกกังวลที่มากเกินไปจนทำให้นอนไม่หลับ และเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้บ่อยครั้ง ทำให้สมองเกิดอาการล้า จึงมีอาการหลงลืม ภาวะซึมเศร้า จากการสูญเสียสิ่งที่ตัวเองรัก ไม่มีงานทำ ภาระหนี้สิน หรืออาการเจ็บป่วยเรื้อรัง อุบัติเหตุทางสมอง รวมถึงอายุที่เพิ่มขึ้น สาเหตุของโรคสมองเสื่อม มีดังนี้ โรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมอง โรคอัลไซเมอร์ ร่วมกับ โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กิสัน อุบัติเหตุทางสมอง อาการเตือนโรคอัลไซเมอร์ การคิดคำนวณเริ่มช้าลง บริหารงานที่ผิดพลาดบ่อยขึ้น อารมณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม        ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง หรือสิ่งของเครื่องใช้บางชนิดที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป หลีกหนีตัวเองจากสังคม ปัจจัยเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ น้ำหนักลด ความดันโลหิตสูง เป็นหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน ไขมันครอเรสเตอรอสูงและไขมันชนิดความหนาแน่นต่ำ การรับประทานอาหาร ฮอร์โมนและการออกกำลังกาย ขาดวิตามินบี 12 วิธีการป้องกัน ต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงให้ได้ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นั่งสมาธิ ดูแลและควบคุมในเรื่องของอารมณ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ศูนย์สมองและกระดูกสันหลัง(ศูนย์ผ่าตัดด้วยกล้อง)

สมอง ไขสันหลังและกระดูกสันหลัง เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญและความซับซ้อนมากที่สุดในร่างกายของเรา   ศูนย์สมองและกระดูกสันหลัง(ศูนย์ผ่าตัดด้วยกล้อง) Brain and SpineCenter   สมอง ไขสันหลังและกระดูกสันหลัง เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญและความซับซ้อนมากที่สุดในร่างกายของเรา ศูนย์สมองและกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลวิภาวดี เราจึงให้ความสำคัญกับทั้ง 3 ระบบนี้ และเชื่อมโยงการรักษาเข้าด้วยกัน เพราะบ่อยครั้งที่ความผิดปกติเหล่านี้แสดงอาการที่ซับซ้อนออกมายังผลให้การวินิจฉัยทำได้ลำบาก เช่นมีความผิดปกติที่กระดูกต้นคอ แต่ผู้ป่วยกลับมาตรวจด้วยอาการปวดหัว ทำให้แพทย์หลงคิดไปว่าผู้ป่วยเป็นโรคทางสมองทั้งๆ ที่ความผิดปกติอยู่ที่กระดูกต้นคอ หรือบ่อยครั้งที่ผู้ป่วยมีอาการชาตามแขนหรือขาแต่แพทย์คิดว่ามีปัญหาที่กระดูกสันหลัง ทั้งๆ มีสาเหตุอาจมาจากความผิดปกติของสมอง ทำให้สูญเสียโอกาส ในการวินิจฉัยและรักษาโรค ทางศูนย์ฯ มีความพร้อมทั้งทางด้านเครื่องมือ เทคโนโลยีทางการแพทย์ และแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทางใน 3 ระบบนี้ ที่พร้อมตรวจวินิจฉัย ดูแลรักษาอย่างละเอียด รวดเร็วและแม่นยำ สำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติทางสมอง ระบบประสาทและไขสันหลัง ให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข การบริการและการรักษา - อุบัติเหตุที่ศีรษะ สมองได้รับความกระทบกระเทือน - เส้นเลือดในสมองแตก หรือเส้นเลือดในสมองผิดปกติแต่กำเนิด(Arteriovenous Malformation, AVM) - อาการหมดสติ อ่อนแรง อัมพฤกษ์ อัมพาต จากเส้นโลหิตฝอยในสมองแตกทำให้เลือดออกในสมอง - เนื้องอก ถุงน้ำหรอซีสต์ในสมอง       - กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม หรุด หรือแตก ทำให้มีอาการปวดหลัง ปวดคอ ชาแขน ชาขา เป็นต้น - อาการกระตุกของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะตามใบหน้า (Trigeminal Neuralgia) - หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท - ให้คำปรึกษาและผ่าตัดโรคทางสมอง โดยจุลศัลยกรรม(Microsurgery) - เนื้องอกในสมองเด็กหรือผู้ใหญ่ - เนื้องอกในไขสันหลัง - เส้นเลือดโป่งพองในสมอง (Cerebral Aneurysm) - เส้นเลือดผิดปกติในสมอง (AVM) - เส้นเลือดกดทับเส้นประสาท - ฯลฯ เทคโนโลยีทางการแพทย์ -Microscope กล้องจุลทรรศน์ สำหรับการผ่าตัดสมองพร้อมอุปกรณ์บันทึกภาพขณะผ่าตัด เป็นกล้องที่ใช้ขยายภาพสำหรับการผ่าตัดสมอง ไขสันหลังและกระดูกสันหลังในส่วนลึก ช่วยทำให้ศัลยแพทย์สามารถมองเห็นในส่วนที่ลึกของอวัยวะเหล่านี้ได้ชัดเจน เช่น เส้นประสาทสมอง เส้นเลือดสมอง เนื้องอกสมอง ก้อนเลือดที่คั่งในสมอง ไขสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง หินปูนที่กดทับรากประสาทหรือไขสันหลัง นอกจากนี้ยังใช้ร่วมกับการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอและเอว ทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นไขสันหลัง เส้นประสาท เนื้องอก หรือความผิดปกติที่ตาเปล่าไม่อาจมองเห็นได้ ช่วยลดโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดระหว่างการผ่าตัดได้มากขึ้น ตัวกล้องจะต่อเข้ากับเครื่องบันทึกภาพและตัวถ่ายทอดสัญญาณออกทางจอ Monitorซึ่งสามารถบันทึกภาพระหว่างการผ่าตัดไว้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาต่อเนื่องของผู้ป่วย -Head Holder เครื่องตรึงเพื่อให้ผู้ป่วยไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ระหว่างการผ่าตัด เพื่อช่วยให้การผ่าตัดทำได้ง่ายขึ้น โดยในระหว่างผ่าตัด ศีรษะหรือกระดูกสันหลังของผู้ป่วยจะถูกตรึงอยู่กับที่โดยไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ระหว่างการผ่าตัด ทำให้ศัลยแพทย์สามารถทำการผ่าตัดได้ง่ายและแม่นยำขึ้น -Self retaining brain retractor เครื่องมือช่วยการผ่าตัดสมอง       เป็นแขนกลที่ทำงานเสมือนแขนที่สามและสี่ของศัลยแพทย์ ในระหว่างผ่าตัด โดยแทนที่ศัลยแพทย์จะต้องใช้มือทั้งสองข้างไปถือเครื่องมือ หรือให้พยาบาล/ผู้ช่วย ถือเครื่องมือผ่าตัด ก็จะใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ช่วยถือเครื่องมือผ่าตัดแทน ซึ่งมีความแน่นอนไม่สันไหว ไม่มีการเมื่อยล้าเหมือนการถือด้วยมือมนุษย์ ผลลัพธ์ที่ได้ทำให้ลดการบาดเจ็บของสมอง อันเกิดจากการให้ผู้ช่วยถือเครื่องมือผ่าตัด -Aneurysm Clip เป็นอุปกรณ์สำหรับการควบคุมการไหลของเส้นเลือดสมอง ใช้ในรายที่มีการผ่าตัดเกี่ยวกับเส้นเลือดสมอง เนื้องอกในสมอง หรือการักษาที่อาจมีการสูญเสียเลือดเป็นจำนวนมาก ในระหว่างการผ่าตัดทั้งนี้ อุปกรณ์นี้จะช่วยป้องกันหรือลดการเสียเลือดระหว่างผ่าตัดลงได้มาก -Biological Glue หรือ กาวชีวะ ใช้สำหรับห้ามเลือดที่ออกจากสมอง ไขสันหลัง หรือกระดูกสันหลังหรือรอบๆ บริเวณผ่าตัด กรณีที่มีการฉีกขาดของเยื่อหุ้มสมอง เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ มีกะโหลกศีรษะแตก หรือในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมองเนื่องจากเส้นโลหิตแตก หรือในรายที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด เช่น ไตวาย โรคเลือด(Hemophilia) ผู้ป่วยที่บาดเจ็บที่สมองรุนแรง -ชุดผ่าตัดสำหรับการผ่าตัดกระดูกสันหลังฉุกเฉิน ใช้สำหรับการผ่าตัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลัง ในรายที่ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกคอ หมอนรองกระดูกคอเคลื่อนหรือแตกกระดูกคอแตกหรือเคลื่อน เนื้องอกของไขสันหลังที่คอ ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการชาแขนขา หรือแขนขาอ่อนแรง (อัมพฤกษ์,อัมพาต) -เครื่องมือติดตามระดับการเปลี่ยนแปลงของความดันในสมอง(ICP Monitoring) ใช้ตรวจวัดระดับการเปลี่ยนแปลงของความดันในสมอง มีประโยชน์ในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่สมอง ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจวัดการทำงานของสมอง หลังอุบัติเหตุหรือหลังการผ่าตัดได้ง่ายขึ้นโดยเครื่อง จะเตือนการเปลี่ยนแปลงความดันในสมองเป็นระยะๆ ซึ่งสามารถทำงานได้รวดเร็วและแม่นยำกว่า การให้บุคลากรคอยเฝ้าสังเกตด้วยตนเอง ซึ่งหมายถึงโอกาสในการรักษาแต่เนิ่นๆ จะมีมากขึ้น -เครื่องกรอกะโหลกและกระดูกด้วยความเร็วสูง(High Speed Drill) ใช้สำหรับทำงานที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลัง กะโหลกศีรษะและกะโหลกใบหน้า เชน การผ่าตัดสมอง การผ่าตัดเนื้องอกสมองการผ่าตัดเส้นเลือดสมอง การผ่าตัดซ่อมแซมกระดูกใบหน้า การผ่าตัดข้อต่อ การผ่าตัดกรอกระดูกสันหลังหรือหินปูนที่กดทับรากประสาท โดยเครื่องกรอจะมีรอบความเร็วสูงกว่าเครื่องกรอทั่วไป(เครื่องกรอทั่วไปมีอัตราเร็วรอบที่20,000 ต่อนาที โดยประมาณ) ขณะที่เครื่องกรอความเร็วสูงจะมีรอบประมาณ 80,000 ไปจนถึง มากกว่า 100,000 รอบต่อนาที ช่วยให้การผ่าตัดเร็วขึ้นง่ายขึ้น และมีความแม่นยำมากขึ้น MRI – CT Scan -เครื่องเอกซเรย์สนามแม่เหล็ก MRI ใช้ในการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของสมอง ไขสันหลัง ระบบประสาทและกระดูกสันหลัง ซึ่งเครื่องเอ็กซเรย์ทั่วไปทำไม่ได้เครื่องนี้จะสามารถให้รายละเอียดที่แม่นยำ และครบถ้วนสำหรับแพทย์ในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรค -เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบ Multislice (CT scan) สามารถทำการตรวจสมองและกระดูกสันหลัง ได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่นาที ภาพที่ได้ยังสามารถนำมาสร้างเป็นภาพสามมิติ เพื่อให้แพทย์ประเมินความเสียหายของกระดูกโครงสร้าง หรือเส้นเลือดในสมองได้อย่างแม่นยำมากขึ้น -ศูนย์สมอง และกระดูกสันหลังโรงพยาบาลวิภาวดี(ศูนย์ผ่าตัดด้วยกล้อง) เราใช้วิธีการผ่าตัดโดยใช้เทคนิคการผ่าตัดแบบใหม่ โดยยึดแนวความคิด และมาตรฐานแบบเดียวกับการผ่าตัดในโรงพยาบาลต่างประเทศ คือการหลีกเลี่ยงการผ่าตัดที่ต้องมีการเปิดแผลใหญ่ๆโดยไม่จำเป็น ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับศาสตร์ของการผ่าตัดในด้านอื่นที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น การส่องกล้องเพื่อผ่าตัดช่องท้องการส่องกล้องเพื่อผ่าตัดในข้อต่อ การส่องกล้องเพื่อการผ่าตัดทางสูติ-นรีเวช การส่องกล้องหรือใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อการผ่าตัดหู คอ จมูก โดยแนวคิดแบบนี้เรียกว่า Minimally Invasive Surgery หรือ Keyhole Surgery ข้อดีของการผ่าตัดแบบใหม่ คือ 1.ขนาดแผลผ่าตัดเล็กลง (เล็กที่สุดเท่าที่เคยมีการทำในโรงพยาบาลคือ 2-3 ช.ม. ทั้งนี้ขึ้นกับโรคและระยะเวลาที่ผู้ป่วยเป็นมาก่อนรับการรักษา) 2.(ในกรณีทีมีการผ่าตัดสมอง) หลีกเลี่ยงการโกนศีรษะ หรือหากจำเป็นก็จะกันผมบางส่วนออกเพียงเพื่อสามารถหลบซ่อนแผล      เป็นภายหลังการผ่าตัด 3.ลดระยะเวลาการผ่าตัดลงมาก ซึ่งจะมีผลดีทางอ้อม เช่น ลดอัตราเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนจากการผ่าตัด เป็นต้นว่าการติดเชื้อ การบวมของสมอง รวมทั้งลดระยะเวลาการดมยาสลบ (การดมยาสลบนานๆ จะมีโอกาสเกิดผลแทรกซ้อนจากการดมยามากขึ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ) ตัวอย่าง เช่น การผ่าตัดเลือดคั่งในสมอง จะลดระยะเวลาเหลือพียง 30-90 นาที เท่านั้น 4.ลดความเครียดของญาติระหว่างการรอผ่าตัด ซึ่งเดิมญาติมักต้องรอแพทย์ผ่าตัดนานหลายชั่วโมง(อาจใช้เวลานานตั้งแต่ 4 ชั่วโมง ไปจนถึงเป็น 10 ชั่วโมง) ซึ่งช่วงเวลานี้นอกจากจะมีผลต่อผู้ป่วยดังกล่าวแล้ว ญาติที่รอหน้าห้องผ่าตัดจะได้รับความเครียดไปโดยไม่รู้ตัว 5.ลดความบวมช้ำของสมอง ไขสันหลังและกระดูกสันหลังลง ทำให้ลดอัตตราการเกิดโรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัด 6.ลดความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นหลังผ่าตัด เนื่องจากมีการเปิดแผลเล็กลงอวัยวะภายในบอบช้ำลดลง 7.ลดระยะเวลาการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เช่น ผู้ป่วยบางรายที่ได้รับการผ่าตัดสมองสามารถกลับบ้านได้ภายใน 3-5 วัน หลังผ่าตัด(ในบางรายอาจไม่ต้องมีการตัดไหมหลังผ่าตัดเลย) หรือในบางรายที่ผ่าตัดซ่อมแซมกระดูกสันหลัง ก็สามารถกลับไปทำงานเดิมได้ภายใน 2-3 วัน 8.ลดระยะเวลาพักฟื้นที่บ้าน ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานได้เร็ว 9.มีระยะเวลาพักรักษาตัวและการทำกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน 10.เพิ่มโอกาสของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัด ที่จะสามารถกลับไปทำงานหรือใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิม หรือใกล้เคียงกับเดิม ซึ่งช่วยลดภาระของญาติผู้ป่วยในการดูแลหลังผ่าตัดลงได้เป็นอันมาก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

5 อาหารเช้า ยิ่งกิน ยิ่งอ้วน

5 อาหารเช้า ยิ่งกิน ยิ่งอ้วน ที่มาโดย : www.thaihealth.com               มื้อเช้าเป็นมื้อที่มีประโยชน์ เพราะจะช่วยทำให้ร่างกายมีพลังงานที่สามารถนำไปทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ แถมยังช่วยให้ สดชื่น กระปรี้กระเปร่า ช่วยกระตุ้นพลังงานสมองได้ แต่ทว่าความเร่งรีบของคนในยุคปัจจุบันทำให้การหาอาหารเช้าแบบมีประโยชน์อาจจะค่อนข้างจะลำบากไปหน่อยเลยมักจะชอบรับประทานอะไรง่ายๆ ที่อยู่ท้องและสะดวกไว้ก่อน ซึ่งอาหารจำพวกนั้นก็มีหลายอย่างที่รับประทานเข้าไปแล้วยิ่งอ้วนและทำลายสุขภาพ 1.น้ำหวานต่างๆ  อาทิ กาแฟเย็น ชาเขียว ชาเย็น โกโก้ น้ำหวานต่างๆ เป็นของคู่ใจของคนทำงานเลยก็ว่าได้ บางคนต้องดื่มกาแฟเย็นตอนเช้าเป็นประจำทุกวัน ซึ่งในน้ำเหล่านี้อุดมไปอุดมไปด้วยน้ำตาล นมข้น ครีมเทียม ยกตัวอย่าง เช่น กาแฟเย็นแก้วหนึ่งมีแคลอรี่เฉลี่ยอยู่ที่ 97-400 กิโลแคลอรี่ โดยเป็นไขมัน 0.4-22.1 กรัม โปรตีน 0.6-10.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.4-49.4 กรัม เป็นส่วนที่เป็นน้ำตาล 11-38 กรัม หรือประมาณ 3-10 ช้อนชา ( ข้อมูลจาก สสส. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้อาจนำมาซึ่งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ทางที่ดีหันมาดื่มกาแฟดำ หรือถ้ายังทำใจไม่ได้ให้ลองสั่งแบบหวานน้อยแทน 2.น้ำผลไม้สำเร็จรูป  หลายคนชอบดื่มน้ำผลไม้ตอนเช้าเพราะคิดว่ามีประโยชน์และทำให้ร่างกายสดชื่น แต่ถึงจะขึ้นชื่อว่าน้ำผลไม้ก็จริงแต่ก็ไม่ได้จะดีเสมอไป เพราะในน้ำผลไม้สำเร็จรูปมักจะอุดมไปด้วยน้ำตาลที่สูงมาก ทางที่ดีลองคั้นเองหรือปั่นดื่มเอง หรือไม่ก็ทานผลไม้สดๆ ไปเลยจะดีกว่า 3.อาหารฟาสต์ฟู้ดหรืออาหารจานด่วน  อาหารประเภทนี้มีปริมาณแป้ง ไขมัน และน้ำตาลสูง หากรับประทานเป็นประจำจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน ฯลฯ ได้ 4. อาหารเช้าแบบสำเร็จรูป  อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กสำเร็จรูป อุดมไปด้วยโซเดียมค่อนข้างสูง ซึ่งเราควรจะได้รับปริมาณโซเดียม ไม่เกิน 2000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ 1 ช้อนชา ซึ่งหากได้รับปริมาณโซเดียมมากเกินความจำเป็นแล้ว จะทำให้เกิดอาการอ้วนบวมน้ำ ขาดสารอาหาร อีกทั้งอาจจะทำให้ก่อให้เกิดโรคต่างๆ มากมาย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจ หรือ โรคหลอดเลือด เป็นต้น แต่ถ้าหากอยากรับประทานขึ้นมาจริงๆ ควรเติมสารอาหารด้วยการใส่ผัก ใส่ไข่ หรือเนื้อสัตว์ลงไปด้วยจะดีกว่า 5. อาหารปิ้งย่าง  อาทิ หมูปิ้ง ไก่ปิ้ง ตับปิ้ง ฯลฯ ถือได้ว่าเป็นอาหารโปรดตอนเช้าของใครหลายๆ คน เพราะหาซื้อรับประทานง่าย อิ่มท้อง อีกทั้งประหยัดเวลาในการรับประทาน ซึ่งข้าวเหนียวครึ่งทัพพีมีพลังงาน 80 กิโลแคลอรี่ หมูปิ้ง 1 ไม้ 130 แคลอรี่ และโดยส่วนใหญ่คนทั่วไปมักจะนิยมรับประทานประมาณ 3 ไม้ ต่อ 1 คน คิดเป็นพลังงาน 470 กิโลแคลอรี่ ซึ่งมีแคลอรี่ใกล้เคียงกับข้าวมันไก่เลยทีเดียว นานๆ กินทีคงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้ากินแบบนี้เป็นประจำทุกวัน น้ำหนักก็ขึ้นได้เหมือนกันนะ ทั้งนี้อาหารที่กล่าวไปข้างต้นนั้นใช่ว่าจะไม่สามารถรับประทานได้เลย เพราะถ้าวันไหนที่เร่งรีบจริงๆ เราก็ยังสามารถรับประทานได้อยู่ มื้อถัดไปเราก็ค่อยหาอะไรดีๆ มีประโยชน์ให้กับร่างกายแทน และควรบริโภคแต่พอดีรวมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วยจะดีที่สุด

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

5 วิถีชาญฉลาดของคนรักออกกำลังกาย

5 วิถีชาญฉลาดของคนรักออกกำลังกาย ที่มาจาก : หนังสือพิมพ์แนวหน้า    1.จัดตารางให้สมดุล                เพราะชีวิตมีหลายด้านหลายบทบาท และองค์ประกอบในการมีสุขภาพที่ดีไม่ได้ อยู่ที่การออกกำลังเพียงอย่างเดียว การแบ่งเวลาสำหรับการทำงาน การออกกำลังกาย และการทำกิจกรรมกับครอบครัวเพื่อนฝูงในสัดส่วนที่ลงตัว จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยจัดระเบียบให้ชีวิตไม่ยุ่งเหยิงและยังส่งผลดีต่อร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆ กัน 2. กำหนดวันพัก             ยิ่งออกกำลังกายหนักเท่าไรร่างกายก็ต้องการพักมากเท่านั้น เพราะเมื่อกล้ามเนื้อถูกกระตุ้นให้ใช้งานหนักแล้ว ย่อมต้องการระยะเวลาในการฟื้นฟู การพักผ่อนจะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้น ลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและระบบการทำงานของร่างกายจากการออกกำลัง ป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดเมื่อยหรือบาดเจ็บเรื้อรังจากการออกกำลังกายหนักเกินไป 3. คั่นด้วยกิจกรรมเบาๆ            ถ้าเบื่อที่จะนอนอยู่บ้านเฉยๆ ก็สามารถเลือกการออกกำลังกายเบาๆ เช่น การว่ายน้ำ หรือเล่นโยคะ ที่เชื่อมโยงการเคลื่อนไหวของร่างกายเข้ากับการหายใจ ซึ่งช่วยให้ร่างกายยืดหยุ่น ผ่อนคลายและจิตใจสงบ ขณะที่ร่างกายต้องการฟื้นฟู โดยไม่เป็นการใช้กล้ามเนื้อหนักจนเกินไป 4. พักผ่อนเพียงพอ            การนอนเป็นวิธีง่ายๆ ที่หลายคนมองข้าม ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะพบว่าการนอนมีส่วนสำคัญในการฟื้นฟูร่างกาย และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมให้ดียิ่งขึ้น 5. กินอาหารที่มีประโยชน์             อาหารมีส่วนสำคัญอย่างมากในระบบการทำงานของร่างกาย นอกจากช่วยให้มีพลังงานเพียงพอ ยังช่วยเสริมสร้างและฟื้นฟูร่างกายไม่ให้ทรุดโทรม                                    ด้วยความปรารถนาดีจากโรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาวะน้ำท่วมสมอง (ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง)

ภาวะน้ำท่วมสมอง ภาวะน้ำท่วมสมองหรือเรียกอีกอย่างว่า ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง ตรงกับชื่อที่เป็นทางการในภาแพทย์คือ Normal pressure Hydrocephalus (NPH) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และรักษาได้ง่าย ได้ผลค่อนข้างดี แต่มีข้อแม้ว่าต้องได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะการวินิจฉัยที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรก จะนำไปสู่การรักษาที่เหมาะสมและทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดพ้นจากความพิการอย่างถาวรได้ในอนาคต ประมาณกันว่าผู้สูงอายุที่ถูกปล่อยให้อยู่ตามลำพังในสถานดูแลผู้สูงอายุ หรือที่อยู่กับพี่เลี้ยงตามบ้านประมาณอย่างน้อย 15-20% ป่วยด้วยโรคนี้โดยไม่ได้รับการรักษา ซึ่งมักเกิดจากความเข้าใจผิดว่ารักษาไม่ได้เพราะเป็นโรคคนแก่ จำนวนผู้ป่วยในความเป็นจริงสำหรับประเทศไทย น่าจะสูงกว่านี้มาก เพราะผู้ป่วยเหล่านี้มีมากขึ้นในสังคมปัจจุบัน ที่มีการแยกตัวของลูกหลานและปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่กันตามลำพังหรือถูกทิ้งไว้ในสถานพยาบาลหรือ Nursing Home มากขึ้นเรื่อยๆ   โพรงสมองคืออะไร คนทั่วไปมักทราบแต่เพียงว่า ภายในกะโหลกศีรษะจะมีแต่เนื้อสมองบรรจุอยู่ แต่ในความเป็นจริงแล้วเนื้อสมองนี้มิได้เป็นเนื้อตันๆ หากแต่ตรงกลางของเนื้อสมองทั้งสองข้างนั้นมีโพรงที่ประกอบด้วยน้ำบรรจุอยู่ โพรงดังกล่าวนี้มีชื่อในทางการแพทย์ว่า “โพรงสมอง” หรือ “Ventricle” และภายในโพรงสมองนี้เองจะมีของเหลวที่มีลักษณะใสเหมือนกับน้ำเปล่าๆ บรรจุอยู่เต็ม ของเหลวดังกล่าวเรียกว่า “น้ำไขสันหลัง” หรือ “Cerebrospinal fuid, CSF”   น้ำไขสันหลัง หรือ น้ำในโพรงสมอง ท่านที่อ่านข้อความข้างต้นอาจจะแปลกใจว่าทำไมเมื่อพูดถึงของเหลวในโพรงสมอง แทนที่จะเรียกของเหลวดังกล่าวว่า “น้ำในโพรงสมอง” กลับไปเรียกว่า “น้ำไขสันหลัง” บางท่านอาจนึกไปว่าคงมีการพิมพ์ผิด แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งสองอย่างนี้สามารถใช้เรียกแทนกันได้ แต่ในทางการแพทย์นิยมใช้คำว่า “น้ำไขสันหลัง” แทน “น้ำในโพรงสมอง” เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ในทางกายวิภาคแล้ว สมองกับไขสันหลังพัฒนามาจากเซลล์ต้นกำเนิดเดียวกัน ไขสันหลังก็เปรียบเสมือนส่วนของสมองที่ยื่นออกมานอกกะโหลกศีรษะ ลงไปตามแนวกระดูกสันหลังทำให้โพรงสมองต้องมีส่วนที่ยื่นตามลงมากับไขสันหลังเช่นกัน น้ำที่อยู่ในโพรงสมองจึงสามารถไหลเวียนออกมานอกสมองลงสู่ช่องไขสันหลังได้เช่นกัน น้ำที่อยู่ในโพรงสมองจึงเป็นน้ำเดียวกันกับที่อยู่ในช่องไขสันหลังนั่นเอง   อาการของน้ำท่วมสมอง อาการแสดงของน้ำท่วมสมองสามารถแยกออกได้เป็นสองกรณี คือ กรณีแรกในรายที่เป็นแบบเฉียบพลัน กรณีเช่นนี้ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดศีรษะรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียนและหากน้ำท่วมมากอาจหมดสติและเสียชีวิตได้ ส่วนกรณีที่สองเป็นกรณีเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยอาจไม่มีอาการเหมือนในกลุ่มแรกเลย หรือหากจะมีก็มักเป็นการปวดศีรษะแบบค่อยเป็นค่อยไป เป็นๆ หายๆ ร่วมกับอาการตามัวมองไม่ชัด สิ่งที่เหมือนกันในทั้งสองกลุ่ม คือ น้ำที่คั่งในโพรงสมองจะส่งผลให้ความดันภายในสมองสูงขึ้นอย่างมาก แต่มีผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นกรณีที่พัฒนามาจากกรณีที่สอง คือ มีน้ำท่วมสมองเรื้อรังแต่เกิดการปรับตัวของสมองได้ทำให้ความดันในโพรงสมองไม่สูงอย่างที่ควรจะเป็น เมื่อวัดความดันในโพรงสมอง ค่าที่ได้จึงมักใกล้เคียงคนปกติ ในทางการแพทย์จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า “น้ำท่วมสมองแบบความดันไม่สูง” หรือ “Normal pressure hydrocephalus” นั่นเอง   อาการแสดงของน้ำท่วมสมอง แบบความดันไม่สูง ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์มักมาด้วยอาการแสดงแบบใดแบบหนึ่งหรือทั้งสามแบบดังต่อไปนี่ เดินทรงตัวไม่ได้ หรือ เดินเซผิดปกติ (Gait Apraxia) เช่น นั่งแล้วยืนไม่ถนัด ต้องหาที่เกาะยึดหรือก้าวเดินต่อไป แต่เมื่อเดินไปแล้วมักจะก้าวสั้นๆ ช้าๆ เพราะกลัวล้ม ด้วยเหตุนี้เราจะเห็นผู้ป่วยเดินขาถ่างเพื่อช่วยการทรงตัว การเดินมักเป็นไปอย่างช้าๆ และหากมีอะไรมาขัดจังหวะการเดินก็จะทรงตัวลำบากขึ้นไปอีกจนต้องหยุดเดินและเริ่มพยายามเดินต่อไปอีก การเดินที่ผิดปกติจะเห็นได้ชัดขึ้น หากเราให้ผู้ป่วยกลับหลังหันเพื่อเปลี่ยนทิศทางการเดิน เราจะพบว่าผู้ป่วยต้องใช้ขาข้างใดข้างหนึ่งเป็นจุดหมุนเพื่อเปลี่ยนทิศคล้ายกับการใช้ “วงเวียน” เพื่อวาดรูปทรงกลมลักษณะเด่นอีกอย่างคือ การเดินจะคล้ายๆ กับมีแม่เหล็กดูดเท้าผู้ป่วยไว้ให้ติดกับพื้นตลอดเวลาทำให้ยกเท้าก้าวเดินได้ลำบากเหมือนถูกดูดติดกับพื้นทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยมากเวลาเดินทั้งๆ ที่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องความแข็งแรงหรือการอ่อนแรงกล้ามเนื้อ ท่าเดินจะคล้ายกับโรคสันนิบาต (โรคพาร์คินซัน) เพียงแต่ผู้ป่วยโรคนี้จะไม่มีอาการเกร็งหรือสั่น (Rigidity/Tremor) ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ในระยะเริ่มแรกด้วยอาการเดินลำบากเพียงอย่างเดียวเป็นกลุ่มที่จะได้ผลดีที่สุดจาการรักษา ความจำเสื่อม (Dementia) อาจเริ่มด้วยการลืมเหตุการณ์ใกล้ๆ ตัว เช่น จำไม่ได้ว่าทานอะไรไปเมื่อเช้า แต่ความทรงจำระยะยาวในอดีต เช่น จำเพื่อน จำพี่น้อง มักไม่ค่อยมีปัญหา (ยกเว้นระยะท้าย) ซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างกับโรคสมองเสื่อมแบบอื่น เช่น โรคอัลไซเมอร์ อาการกลั่นปัสสาวะลำบาก (Urinary Incontinence) ผู้ป่วยต้องรีบเข้าห้องน้ำทันทีเมื่อรู้สึกปวดเบา ในรายที่เป็นมากจะปัสสาวะราดโดยไม่ทันได้รู้ตัวก่อน ซึ่งญาติมักแก้ปัญหาด้วยการใส่ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ซึ่งหากทิ้งไว้มักลงเอยด้วยการกลั้นอุจจาระไม่ได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ไม่จำเป็นต้องมีอาการแสดงครบทั้งสามอย่าง ในทางตรงกันข้าม ผู้ป่วยมักเริ่มด้วยอาการเดินผิดปกติมาก่อนสักระยะซึ่งอาจกินเวลานานเป็นปีก็ได้ แล้วจึงตามมาด้วย ความทรงจำเสื่อมหรือการกลั่นปัสสาวะลำบาก ในที่สุด หากพิจารณาจากอาการทั้งสามอย่างจะเห็นว่า แยกได้ยากจากความผิดปกติธรรมดาของผู้สูงอายุที่ไม่ได้ป่วยด้วยโรคนี้ เช่นญาติมักจะเข้าใจว่าผู้สูงอายุของเราก็เป็นธรรมดา ที่เมื่อแก่แล้วก็เดินเหินลำบาก เป็นธรรมดาที่หูรูดก็หย่อนยานเมื่อแก่ตัวลงจึงมีอาการปัสสาวะเล็ด และเป็นธรรมดาที่เมื่อแก่สมองย่อมฝ่อลงทำให้ลืมโน่นลืมนี้ได้ง่าย จึงทำให้มีการปล่อยปละละเลยทิ้งไว้จนผู้ป่วยสูญเสียโอกาสที่จะรักษาให้ดีขึ้นได้ และท้ายที่สุดจะลงเอยด้วยความพิการและต้องนอนอยู่แต่บนเตียง ซึ่งจะตามมาด้วยแผลกดทับและการติดเชื้อ ที่แย่ไปกว่านั้นคือช่วงท้ายสุดของชีวิตผู้ป่วยจะไม่สามารถจำญาติได้ เพราะความทรงจำเสื่อมลงอย่างมากจากภาวะน้ำท่วมสมอง   เมื่อไรจึงควรสงสัยว่าญาติของเราป่วยด้วยโรคน้ำท่วมสมอง NPH การวินิจฉัยโรคนี้วิธีที่ดีที่สุดคือ การสงสัยว่าผู้ป่วยที่สูงอายุและมีอาการอย่างน้อยหนึ่งในสามดังกล่าวข้างต้น อาจป่วยด้วยโรคนี้และมาพบแพทย์แต่เนิ่นๆ แพทย์สาขาที่เหมาะสมที่สุดที่จะประเมินผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรเป็นแพทย์ทางระบบประสาทโดยเฉพาะ แพทย์จะทำการตรวจแยกโรคที่เกี่ยวข้องออกไปด้วยเสมอ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคสันนิบาตหรือโรคพาร์คินซัน โรคสมองเสื่อมจากโรคเบาหวานหรือเส้นเลือดสมองตีบ โรคไขสันหลัง โรคกระเพาะ ปัสสาวะผิดปกติ เป็นต้น หากแพทย์แยกโรคเหล่านี้ออกไปได้ (ในบางกรณีก็ไม่สามารถแยกโรคเหล่านี้ได้) และยังสงสัยว่าผู้ป่วยอาจเป็นโรคน้ำท่วมสมองจริง ก็อาจทำการส่งตรวจเพิ่มเติมเช่น การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) การเอ็กซเรย์แม่เหล็ก (MRI) การเจาะหลังเพื่อระบายน้ำ หรือทดสอบด้วยการฉีดน้ำเข้าไปในโพรงไขสันหลัง เป็นต้น   น้ำท่วมสมอง...รักษาได้ ความสำคัญอันหนึ่งของการวินิจฉัยโรคนี้ให้ได้คือ “โรคนี้เป็นโรคหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมแบบที่รักษาหรือป้องกันได้” โดยทั่วไปแล้วเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเราหรือญาติของเราป่วยด้วยโรคภาวะสมองเสื่อม จะถือว่าเป็นข่าวร้ายมากสำหรับทั้งผู้ป่วยและญาติ เพราะในปัจจุบันนี้ ยังไม่มีการรักษาใดที่มีประสิทธิภาพดีพอที่จะทำให้การเสื่อมของสมองหายไป หรือหยุดยั้งการดำเนินโรคที่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้เลย อย่างดีก็แค่ชะลอออกไปให้นานขึ้น แต่สุดท้ายก็ลงเอยด้วยการจำใครไม่ได้ ช่วยตัวเองไม่ได้ และเสียชีวิตอย่างเดียวดาย แต่สำหรับภาวะสมองเสื่อม (ซึ่งรวมถึงการเดินที่ลำบาก) อันเกิดจากน้ำท่วมสมองนี้ เป็นภาวะเดียวที่สามารถรักษาหรือป้องกันการแย่ลงได้และผู้ป่วยมีโอกาสสูงที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าสภาพที่เป็นอยู่ การรักษานี้สำคัญมากคือ “การวินิจฉัยให้ได้ และวินิจฉัยให้เร็วพอ” ซึ่งเมื่อแพทย์แน่ใจ (หรือสงสัยและเห็นว่ามีแนวโน้มสูง) ว่าผู้ป่วยน่าจะมีภาวะน้ำท่วมสมอง ก็จะแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัดใส่ท่อระบายน้ำในสมองซึ่งเป็นการผ่าตัดที่ง่ายใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมง ความเสี่ยงต่ำ แต่ได้ผลค่อนข้างดี หรืออย่างเลวร้ายคืออาจไม่ดีขึ้นมากนักแต่ก็สามารถชะลอการเสื่อมออกไปได้ระยะเวลานาน เพื่อคงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไว้ให้นานขึ้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

หยุดเครียด ! กับการทำงานด้วย 5 วิธี

 หยุดเครียด ! กับการทำงานด้วย 5 วิธี    ภาวะที่กดดันในการทำงานต่างๆ อาจทำให้เกิดความเครียดได้ง่าย 5 วิธีลดความเครียดในการทำงาน ที่ทุกคนสามารถทำได้ 1.ออกกำลังกาย  ออกกำลังกายเพื่อระบายฮอร์โมนแห่งความเครียดออกไปให้หมด จะเป็นการออกกำลังกายระหว่างการทำงาน เช่น การเดินขึ้นลงบันได หรือจะเป็นการเล่นกีฬา หรือทำงาน บ้านในตอนเย็นหลังเลิกงาน หรือในวันหยุดก็ได้ การออกกำลังกายจนได้เหงื่อจะกระตุ้นให้ ร่างกายหลั่ง ฮอร์โมนแห่งความสุขออกมา ช่วยให้ร่างกายและจิตใจสดชื่น 2.พักผ่อนให้เพียงพอ  ไม่จำเป็นอย่าเอางานกลับไปทำที่บ้าน ต้องรู้จัก บริหารเวลา เพื่อจะได้มีเวลาพักผ่อนส่วนตัวและมีเวลาให้ครอบครัวด้วย อย่าลืมว่าเครื่องจักรยังต้องมีเวลาหยุดพัก และซ่อมบำรุง คุณเองก็เช่นกันต้องมีเวลาพักผ่อนบ้างเพื่อจะได้มีพลังสำหรับการทำงานในวันต่อไป 3.พูดคุยปรึกษาปัญหา การปรึกษาปัญหาที่คุณหนักใจกับคนใกล้ชิด แม้บางครั้งเขาอาจช่วยคุณแก้ปัญหาไม่ได้ แต่การได้พูดสิ่งที่อัดอั้นในใจออกไป และได้คำปลอบประโลมกลับมา คุณจะรู้สึกดีขึ้น สบายใจขึ้น และเมื่อใจสบาย สมองปลอดโปร่ง ก็อาจคิดแก้ปัญหาได้ในเวลาต่อมา 4.รู้จักปรับเปลี่ยนความคิด การรู้จักปรับเปลี่ยนความคิด อย่าเอาแต่วิตกกังวลให้มากเกินไป ลองคิดในหลายๆ แง่มุม คิดในสิ่งดีๆ คิดอย่างมีความหวังบ้าง และอย่าคิดหมกมุ่นถึงแต่ปัญหาของตัวเอง หากแต่ลองคิดถึงคนอื่นบ้างว่า ยังมีคนลำบากกว่าคุณอีกมาก จะได้มีกำลังใจต่อสู้ปัญหาต่อไป 5. ฝึกการอยู่กับลมหายใจ การหายใจเข้าลึกๆ ให้ท้องพองออก และ หายใจออกช้าๆ ให้ท้องแฟบลง จะช่วยชะลอความโกรธ คลายความกังวล ลดความกลัว และความตื่นเต้นลงได้ นอกจากนี้ควรฝึกสมาธิเพื่อสงบจิตใจ โดยมีสติอยู่กับลมหายใจเข้าออก จะช่วยคลายเครียดได้เป็น อย่างดี                                         ที่มาจาก : http://www.thaihealth.or.th

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ปวดศีรษะอาการเป็นๆ หายๆ

 อาการปวดศีรษะเป็นอาการป่วยที่พบในรายงานแพทย์มากที่สุด น้อยมากที่พบว่า อาการปวดศีรษะส่อเค้าถึงการเป็นโรคร้ายแรงบางอย่าง ปวดศีรษะอาการเป็นๆหายๆ อาการปวดศีรษะเป็นอาการป่วยที่พบในรายงานแพทย์มากที่สุด น้อยมากที่พบว่า อาการปวดศีรษะส่อเค้าถึงการเป็นโรคร้ายแรงบางอย่าง อาการปวดศีรษะประมาณร้อยละ 95 เป็นอาการปวดที่ไม่พบโรคอะไรผิดปกติ ลักษณะนี้เรียกว่า อาการปวดศีรษะปฐมภูมิ ซึ่งมีหลากหลายลักษณะแตกต่างกันไป นักวิจัยเองยังไม่แน่ใจว่า การปวดศีรษะเกิดจากอะไร และเรากำลังเฝ้าคอยคำตอบนั้นอยู่ การปวดศีรษะประเภทต่างๆ       เราสามารถแบ่งลักษณะอาการปวดศีรษะปฐมภูมิออกได้เป็น 3 ประเภท แต่หลายคนอาจปวดศีรษะหลายๆ ประเภทพร้อมกันได้ การปวดศีรษะเหตุจากความเครียด พบในผู้ที่มีอาการปวดศีรษะปฐมภูมิทั้งหมด 9 ใน10 ราย พบในผู้หญิง และผู้ชายเท่าๆ กัน มีอาการค่อยๆ ปวด ปวดตื้อๆ เหมือนถูกกดหรือรัดอยู่ที่คอหน้าผากหรือศีรษะ การปวดศีรษะไมเกรน                     พบในผู้มีอาการปวดปฐมภูมิร้อยละ 6 พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายสามเท่า อาการมักจะเริ่มปรากฏในวัยรุ่นมากกว่าในคนที่อายุเกิน 40 ปีไปแล้ว อาการนำคือ การมองเห็นผิดปกติ มีอาการปวดแปลบที่ใบหน้าข้างใด ข้างหนึ่ง เจ็บแปลบตามร่างกายหรือมีความอยากอาหารบางชนิดอย่างรุนแรง การปวดศีรษะเฉพาะที่         มีอาการปวดบริเวณรอบดวงตาข้างใดข้างหนึ่งตลอด มักจะเกิดเป็นช่วงๆ และเป็นช่วงเวลาเดียวกันเสมอในแต่ละวัน ตาแดง น้ำตาไหล และมีอาการคัดจมูกข้างเดียวกัน เป็นอาการที่เกิดขึ้น “ตามเวลา” และสัมพันธ์กับอากาศและแสงสว่างที่เปลี่ยนแปลงไป พบบ่อยในผู้ชาย โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่จัดดื่มจัด แพทย์อาจวินิจฉัยผิดว่า เป็นการติดเชื้อในโพรงอากาศหรือเป็นโรคฟัน ทฤษฎีปวดศีรษะแนวใหม่         นักวิจัยกำลังมุ่งความสนใจไปที่วิถีของเส้นประสาทไทรเจมินัล และสารเคมีในสมองชื่อ ซีโรโตนิน ที่พวกเขาคิดว่าเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง การปวดศีรษะอาจเป็นผลมาจากการเสียสมดุลของสารเคมีในสมอง กล่าวคือ เมื่อปวดศีรษะระดับซีโรโตนินในสมองจะลดต่ำลง ทำให้เกิดการกระตุ้นผ่านเส้นประสาทไทรเจมินัลไปยังหลอดเลือดที่เยื่อหุ้มสมองด้านนอก ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัวจนบวมและอักเสบ เมื่อสมองรับสัญญาณ “เจ็บปวด” ผลก็คือ อาการ “ปวดศีรษะ”นั่นเอง การดูแลรักษาตนเอง                   อาการปวดศีรษะเหตุความเครียดเป็นครั้งคราวอันดับแรก ลองใช้วิธีนวดประคบด้วยความร้อนหรือความเย็นอาบน้ำอุ่นพักผ่อน หรือใช้วิธีผ่อนคลาย ถ้ายังไม่ได้ผลให้กินแอสไพริน (สำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น) หรือ อะเซตามิโนเฟน หรือไอบูโปรเฟน การออกกำลังกายเบาๆ ปริมาณต่ำอาจทำให้อาการปวดศีรษะดีขึ้น ประคบด้วยความร้อนหรือความเย็น อาการปวดศีรษะซ้ำซาก บันทึกการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยระบุรายละเอียดต่างๆ ดังนี้ ความรุนแรง ปวดแบบทำอะไรไม่ได้เลย หรือแค่น่ารำคาญ ความถี่และระยะเวลาที่ปวด เริ่มปวดศีรษะเมื่อไร ปวดแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือปวดทันที ปวดเวลาเดียวกันทุกวัน ปวดทุกเดือนหรือเฉพาะบางฤดูเป็นอยู่นานเท่าไร และต้องทำอย่างไรถึงจะหาย อาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีอาการเตือนหรือไม่ คลื่นไส้หรือเวียนศีรษะหรือเปล่า มองเห็นภาพเป็นสีวูบวาบหรือเป็นจุดดำ หรืออยากอาหารบางอย่างก่อนปวดศีรษะหรือไม่ ตำแหน่งที่ปวด ปวดศีรษะข้างเดียว ปวดที่กล้ามเนื้อคอหรือปวดรอบๆ ดวงตา ประวัติครอบครัว สมาชิกคนอื่นปวดเหมือนๆ กันหรือเปล่า สิ่งกระตุ้นเร้า ปวดศีรษะเพราะกินอาหารบางชนิด หรือทำกิจกรรมบางอย่างหรือไม่ สภาพภูมิอากาศ เวลา หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ มีผลอย่างไรหรือไม่        หากมี ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเร้าให้มากที่สุด และอาจต้องปรับวิถีการใช้ชีวิตบางอย่าง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกาย พอสมควร อาการปวดศีรษะไมเกรนโดยเฉพาะ                                          คนที่ปวดศีรษะไมเกรน ถ้ารีบรักษาจะหายเร็ว กินยาแก้ปวดเช่น อะเซตามิโนฟน ไอบูโปรแฟน หรือแอสไพริน (สำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น) ตามขนาดที่แพทย์แนะนำ บางคนอาจบำบัดด้วยการนอนในห้องมืด หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอิน (กาแฟหรือโคล่า) พบแพทย์             ถ้าใช้วิธีการดูแลรักษาตนเอง 1-2 วัน และอาการปวดยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ แพทย์จะตรวจวินิจฉัยได้ว่า เป็นอาการปวดศีรษะชนิดใด มีสาเหตุจากอะไร และจะพยายามตัดต้นเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป ผู้ป่วยอาจต้องตรวจร่างกายเพิ่มเติม แพทย์จะสั่งยาแก้ปวดขนาดใดขนาดหนึ่งให้ เพื่อระงับอาการปวดชนิดที่แพทย์วินิจฉัยได้ซึ่งยาระงับอาการปวดแต่ละชนิด จะมีสรรพคุณระงับอาการปวดศีรษะบางอย่างโดยเฉพาะ ซึ่งไม่เหมือนกัน            สำหรับผู้ที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนขั้นรุนแรง แพทย์อาจสั่งซูมาทริปแทนยาตัวอื่นๆ ให้ผู้ป่วยซูมาทริปแทนจะทำหน้าที่เหมือนซีโรโตนิน สารเคมีในสมองชนิดหนึ่งถ้าเป็นไมเกรนบ่อยๆแพทย์อาจจ่ายยาป้องกันให้กินทุกวัน ข้อควรระวัง อย่ามองข้ามอาการปวดศีรษะที่หาสาเหตุไม่ได้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีถ้าหากมีอาการปวดศีรษะ เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในทันที เกิดพร้อมอาการไข้ คอแข็ง เป็นผื่น สับสน ชัก เห็นภาพซ้อน อ่อนเพลีย ชา หรือพูดลำบาก เกิดจากการเจ็บคอหรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจรุนแรงขึ้น หลังจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะหกล้ม หรือถูกกระแทก ไม่เคยเป็นมาก่อน และผู้ป่วยอายุมากกว่า55ปี ไม่อยากปวดศีรษะ           การกิน การดื่ม หรือการทำกิจกรรมบางอย่าง มีส่วนทำให้คุณปวดศีรษะหรือเปล่า คนที่ไม่อยากปวดศีรษะควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเร้า เหล่านี้ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละคน ที่พบบ่อยคือ แอลกอฮอล์ ไวน์แดง การสูบบุหรี่          ความเครียด หรืออาการอ่อนเพลีย สายตาล้า การมีกิจกรรมทางเพศ หรือการออกกำลังกายต่างๆ การวางท่าทางของร่างกายที่ไม่ถูกต้อง เปลี่ยนเวลานอน หรือเปลี่ยนเวลาอาหาร อาหารบางชนิด เช่น อาหารหมักดอง กล้วย กาเฟอีน เนยแข็งที่ทิ้งไว้นาน ช็อกโกแลต ผลไม้ประเภทส้มและมะนาว สารปรุงแต่งอาหาร (โซเดียมไนไตรท ในฮ็อตด๊อก ไส้กรอก เนื้อวัว ผงชูรสในอาหารสำเร็จรูป) และเครื่องดื่มปรุงรสอื่นๆ ถั่วและเนยถั่ว พิซซ่า ลูกเกด ขนมปังที่ใส่เชื้อหมักให้ฟู สภาพภูมิอากาศ ระดับความสูงของภูมิประเทศ หรือการเดินทางข้ามเขตเวลาที่ต่างๆ กันมากๆ การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในรอบประจำเดือน หรือการหมดประจำเดือน การกินยาเม็ดคุมกำเนิด หรือการบำบัดด้วยออร์โมนทดแทน แสงจ้าหรือแสงกะพริบ กลิ่นจากน้ำหอม ดอกไม้ หรือน้ำมันรถ มลภาวะในอากาศ หรือห้องที่อยู่กันอย่างแออัด เสียงที่ดังมากเกินไป การดูแลเด็ก             เด็กโตและผู้ใหญ่มักปวดศีรษะซ้ำซาก แต่น้อยมากที่จะส่อเค้าถึงโรคร้ายแรงบางอย่าง การปวดศีรษะอาจสัมพันธ์กับโรคติดเชื้อไวรัสหลายชนิด แต่ถ้าเด็กปวดศีรษะบ่อยๆ ทั้งที่สุขภาพปกติ ควรปรึกษาแพทย์ เด็กบางคนอาจปวดศีรษะไมเกรนหรือมีแนวโน้มปวดศีรษะไมเกรน ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมาก่อน อาการคือ เด็กมักจะอาเจียน ตาสู้แสงไม่ได้และอยากนอนตลอดเวลา แต่จะดีขึ้นเองภายใน 2 - 3ชั่วโมง เด็กอาจจะปวดศีรษะเพราะความเครียดที่โรงเรียนมีปัญหากับเพื่อนหรือครอบครัว หรือเป็นผลจากการใช้ยาบางชนิดโดยเฉพาะยาแก้คัดจมูก            ถ้าคิดว่าเป็นการปวดศีรษะเหตุความเครียด ให้ลองวิธีบำบัดโดยไม่ใช้ยา แต่ถ้าเป็นบ่อยๆ คุณต้องช่วยเด็กบันทึกอาการปวดศีรษะเป็นประจำวันทุกวัน อาจต้องให้กินอะเซตามิโนเฟน หรือไอบูโปรเฟนบ้าง แต่ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป้นเวลานาน เพราะยาอาจปกปิดสาเหตุอาการของดรคที่แท้จริง             ถ้าเด็กปวดศีรษะอยู่นานไม่ยอมหาย หรือปวดทันทีทันใด โดยไม่มีเหตุผลสมควรหรือปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ควรปรึกษาแพทย์ รวมถึงกรณีปวดศีรษะเพราะติดเชื้อ ปวดฟัน เจ็บคอจากการติดเชื้อสเตปโตตอคคัสหรือเชื้ออื่นๆ ด้วย และที่สำคัญควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย ถ้าบุคคลในครอบครัวเคยมีประวัติปวดศีรษะไมเกรนมาก่อน เพื่อให้ตรวจวินิจฉัยง่ายขึ้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

10 พฤติกรรมทำลายไต ควรลดเลี่ยง

10 พฤติกรรมทำลายไต ควรลดเลี่ยง ไต เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายเม็ดถั่วเหลือง มี 2 ข้าง อยู่ด้านหลังใต้กระดูกชายโครงบั้นเอว ซ้ายขวาข้างละ 1 อัน   หน้าที่ของไต ขับของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญอาหาร  รักษาความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย สร้างสารควบคุมความดันโลหิต กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด กำจัดสารพิษ สารเคมี รวมทั้งขับถ่ายยาออกจากร่างกาย   10  พฤติกรรมทำลายไต ควรลดเลี่ยง กลั้นปัสสาวะ Holding Urine ดื่มน้ำไม่เพียงพอ Do not Drinking Enoungh Water รับประทานอาหารรสเค็มมากเกินไป Excessive Salt Intake  ไม่รักษาอาการติดเชื้อทั่วไปอย่างถูกต้องในทันที Do Not Treat The Intection Immediately รับประทานเนื้อสัตว์มากเกินไป Excessive Animal Protein Intake ใช้ยาฉีดอินซูลิน ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน To Long Use Of Insulin ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป Excessive Alcohl Use พักผ่อนไม่เพียงพอ Sleep Deprivation ใช้ยาระงับความเจ็บปวดบ่อยๆ Painkillers Abuse รับประทานอาหารไม่เพียงพอ Vitamin and Mineral Deficiency   ด้วยความปรารถนาดี รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

หลับสบายด้วย 10 ข้อแนะนำ

หลับสบายด้วย 10 ข้อแนะนำ   การนอนหลับถือได้ว่ามีส่วนสำคัญพอๆ กับการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย เพราะทั้ง 3 ส่วนนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง สำหรับสุขลักษณะการนอนของผู้ใหญ่ไว้ 10 ข้อ ดังนี้ 1. กำหนดเวลานอนและตื่นนอนเป็นประจำ 2. ถ้าคุณมีนิสัยที่ชอบหลับพักกลางวัน ก็ไม่ควรจะนอนกลางวันเกิน 45 นาที 3. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนอน 4 ชั่วโมง และไม่สูบบุหรี่ 4. หลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนก่อนนอน 6 ชั่วโมง ซึ่งรวมถึงกาแฟ ชา และโซดา รวมถึงช็อกโกแลตด้วย 5. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด หรืออาหารที่มีรสหวานก่อนการนอนหลับ 4 ชั่วโมง สามารถรับประทานอาหารว่างได้ก่อนนอนได้ 6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 7. ใช้เตียงนอนในแบบที่นอนแล้วรู้สึกสบายที่สุด 8. ตั้งอุณหภูมิของห้องให้เหมาะสม และถ่ายเทสะดวก 9. ปิดเสียงรบกวนทั้งหมด รวมถึง ลดแสงสว่างให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 10. ใช้เตียงในการหลับนอนเท่านั้น หลีกเลี่ยงการนำงานมาทำบนเตียง                                              ที่มาจาก : เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

มารู้จักการจัดฟันกันเถอะ

การจัดฟัน คืออะไร การจัดฟัน (Orthodontic Treatment) เป็นการเคลื่อนฟันไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม การจัดฟัน คืออะไร การจัดฟัน (Orthodontic Treatment) เป็นการเคลื่อนฟันไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม โดยอาศัยเครื่องมือบางชนิดซึ่งมีทั้งแบบถอดได้และแบบที่ยึดติดอยู่กับตัวฟัน แบบที่อยู่ในช่องปากและแบบที่อยู่นอกช่องปาก นอกจากนี้ การจัดฟัน ยังรวมไปถึง การแก้ไขลักษณะนิสัยที่ผิดปกติในการบดเคี้ยว การเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของขากรรไกรอีกด้วย เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งในด้านความสวยงาม และการทำหน้าที่ ข้อดีและข้อเสียของการจัดฟัน ข้อดีของการจัดฟัน 1. การบดเคี้ยวอาหาร การจัดฟันจะทำให้บดเคี้ยวอาหารได้ดียิ่งขึ้น และย่อยอาหารได้ดียิ่งขึ้น กระเพาะอาหารไม่ต้องทำงานหนักจนเกินไป เนื่องจากการบดเคี้ยวเป็นขั้นแรกในการย่อยอาหาร 2. ทำให้ปัญหาต่างๆ ทางทันตกรรมลดลง - ฟันซ้อนเกจะทำให้เราทำความสะอาดหรือแปรงฟันได้ยาก และไม่ทั่วถึง ส่งผลให้มีคราบอาหารและคราบจุลินทรีย์รวมทั้งหินปูนมาเกาะจับที่ตัวฟันอยู่เยอะ ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ ก็จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดฟันผุและโรคเหงือกได้ - ฟันซ้อนเกจะทำให้เมื่อเราใช้ฟันในการบดเคี้ยวอาหารประจำวัน จะเกิดการสึกของฟันในตำแหน่งที่ไม่ควรจะเกิด ทำให้การสบฟันผิดจากตำแหน่งปกติที่ควรจะเป็น จึงส่งผลให้ยิ่งนานไป ยิ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่อตัวฟัน เหงือกและข้อต่อขากรรไกร 3. ความสวยงาม การจัดฟันจะทำให้ฟันเรียงตัวสวยงาม เป็นการเสริมสร้างบุคลิกภาพและเพิ่มความมั่นใจแก่ตัวเองอีกด้วย ข้อเสียของการจัดฟัน                                      1. ฟันผุ เหงือกอักเสบ เนื่องจากการที่เรามีเครื่องมือจัดฟันอยู่ในช่องปาก จะทำให้การทำความสะอาดเป็นไปได้ยาก ส่งผลให้เกิดฟันผุและเหงือกอักเสบได้ง่าย ผู้ที่จัดฟันจึงควรแปรงฟันอย่างสะอาดทั่วถึงหลังจากมื้ออาหารทุกมื้อ 2. อาการแพ้สาร ที่เป็นส่วนประกอบในเครื่องมือจัดฟัน บางคนแพ้สารนิเกิลที่เป็นส่วนประกอบในเครื่องมือจัดฟัน แต่พบได้น้อยมาก 3. อาการเจ็บ พบได้เกือบทุกคนที่จัดฟัน อาการเจ็บนี้มักเกิดจากการเคลื่อนตัวของฟัน หรือเกิดจากเครื่องมือจัดฟันไปทิ่มกับเนื้อเยื่อภายในช่องปาก อาการเจ็บจะเป็นในบางช่วงของการจัดฟันเท่านั้น 4. อาการปวดข้อต่อขากรรไกร อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการจัดฟัน เนื่องจากฟันเคลื่อนตัวไปในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมต่อการบดเคี้ยว 5. ฟันตายหรือรากฟันมีการละลายตัว พบได้ไม่บ่อยนักในผู้ที่มีการจัดฟัน อย่างไรก็ตามเราพบว่าในระหว่างการจัดฟันนั้น ฟันที่ตายไปแล้ว อาจจะย้อนกลับมามีชีวิตดังเดิมได้ และในคนปกติที่ไม่ได้จัดฟันรากฟันก็จะมีการละลายตัวได้เองอยู่แล้ว ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดฟัน                  ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดฟันนั้น จะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย โดยเฉลี่ยการจัดฟันแบบติดแน่นนั้นใช้เวลาประมาณ 1.5 - 2.5 ปี แต่ก็ยังมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่ทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดฟันแตกต่างกันไป ดังนี้ 1. ผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีอายุมากกว่า มักจะใช้ระยะเวลาในการจัดฟันมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 2. การจัดฟันที่มีการถอนฟันร่วมด้วย มักจะใช้เวลาในการจัดฟันมากกว่าการจัดฟันที่ไม่มีการถอนฟันร่วมด้วย 3. การจัดฟันที่มีการผ่าตัดขากรรไกรร่วมด้วย มักจะใช้เวลามากกว่าการจัดฟันที่ไม่มีการผ่าตัดขากรรไกร 4. การผิดนัดบ่อยๆ ย่อมทำให้เวลาในการจัดฟันนานขึ้น         5. การไม่ปฏิบัติตามที่แพทย์สั่ง เช่น การใส่ยางหรือการใส่เครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้ ย่อมทำให้เวลาในการจัดฟันมากขึ้น 6. การรับประทานอาหารโดยการไม่ระมัดระวัง จะทำให้เหล็ก ยางหรือลวดจัดฟันหลุด หรือเสียหาย ย่อมทำให้ระยะเวลาในการจัดฟันมากขึ้น  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<