โรควูบ (Syncope)

โรควูบ (Syncope)            โรควูบ (Syncope) คือ อาการเป็นลมหมดสติเป็นภาวะที่พบได้บ่อย  สาเหตุของการเป็นลมหมดสติ มีตั้งแต่เป็นลมธรรมดา จนถึงเป็นลมเนื่องจากความผิดปกติขั้นรุนแรงของหัวใจ ผู้ป่วยที่มีประสบการณ์กับตนเอง  รวมถึงคนใกล้ชิดผู้ป่วย  จนเกิดความวิตกกังวล  สูญเสียความมั่นใจ  เนื่องจากไม่แน่ใจว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดจะเป็นลมหมดสติอีกเมื่อไร  ถ้าเกิดขณะขับรถ  ข้ามถนน  หรือขณะเล่นกีฬา  จะทำอย่างไร  จะฟื้นหรือไม่  จะดูแลในเบื้องต้นอย่างไร  เรามาทำความรู้จักการเป็นลมหมดสติกันดีกว่า เป็นลมหมดสติ เกิดขึ้นเมื่อสมองขาดเลือดไปเลี้ยงในระดับรุนแรง ทำให้ศูนย์ควบคุมความรู้สึกเสียการทำงานไป  มีสาเหตุที่สำคัญ 1.       โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจอาจเต้นช้าเกินไป  ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ  หรือบางกรณีหัวใจเต้นเร็วเกินไป ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพดีพอที่จะส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกาย  ทำให้เป็นลม สาเหตุชนิดนี้เป็นสาเหตุที่อันตราย เพราะผู้ป่วยอาจเสียชีวิตเฉียบพลันได้ 2.       โรคหัวใจชนิดที่มีการอุดตันการไหลเวียนของเลือด  เช่น ลิ้นหัวใจตีบขั้นรุนแรง  หลอดเลือดหัวใจอุดตัน 3.       ความดันโลหิตต่ำ ที่พบบ่อยเกิดจากภาวะท้องเสีย เลือดออกในทางเดินอาหาร  ผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดันในขนาดที่มากเกินไปโดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ 4.       เป็นลมธรรมดา เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยมักมีประวัติเป็นลมตั้งแต่เด็ก มักเป็นลมเวลาเห็นเลือด เห็นเข็มฉีดยา ยืนกลางแดด อากาศร้อนอบอ้าว อยู่ในรถโดยสารที่มีคนแน่น 5.       ความผิดปกติจากระบบควบคุมประสาทอัตโนมัติ(Neurogenic Syncope) มักพบในผู้สูงอายุ ไม่สามารถรักษาความดันโลหิตไว้ได้ 6.       โรคลมชัก   เป็นลมหมดสติจะมีอาการเตือนอย่างไร            บางคนก่อนจะเป็นลมหมดสติ  จะมีอาการเตือนนำมาก่อน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มวนท้อง อยากถ่าย เหงื่อแตก ตัวเย็น ถ้าเป็นจากโรคหัวใจอาจมีใจสั่นนำก่อน  หรืออาจไม่มีเตือนเลยก็ได้ ขณะหมดสติอาจมีอาการเกร็ง กระตุกได้ อาจทำให้สับสนกับโรคลมชัก ควรปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อกำลังจะเป็นลมหมดสติ             ให้รีบล้มตัวลงนอนทันที เพื่อให้หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น จะสามารถป้องกันการเป็นลมได้ และยังลดการเกิดอาการบาดเจ็บถ้าขับรถอยู่ควรจอดทันที แล้วปรับที่นั่งให้อยู่ในท่านอนราบถ้าอยู่ในรถโดยสารควรหาที่นั่ง/นอนในรถ แจ้งคนรอบข้างว่ากำลังเป็นลม ไม่ควรรีบลงจากรถเพราะอาจหมดสติตรงทางลงทำให้เกิดอันตรายได้ ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อพบเห็นคนเป็นลม           ควรปฐมพยาบาลในเบื้องต้น โดยให้ผู้ป่วยนอนราบให้ได้มากที่สุด ป้องกันการบาดเจ็บจากการเป็นลม สังเกตลักษณะผู้ป่วยว่ามีความผิดปกติอย่างไรบ้าง เช่น หน้าซีด ปากเขียว เหงื่อแตก ตัวเย็น เพราะจะสามารถบอกสาเหตุของการเป็นลมได้ มีการทดสอบหาสาเหตุของการเป็นลมหรือไม่                   การทดสอบขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แพทย์สงสัย ถ้าสงสัยว่าเป็นลมจากหัวใจ จึงมุ่งตรวจไปที่โรคหัวใจ ถ้าผู้ป่วยลมชัก เกิดอาการทางระบบประสาทที่สังเกตพบได้ต้องส่งปรึกษาแพทย์ ถ้าสงสัยว่าเป็นลมธรรมดาจึงทำการทดสอบที่เรียกว่า Tilt table test

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

หัวใจล้มเหลว

โรคหัวใจล้มเหลวคืออะไร               ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ  ของร่างกายได้เพียงพอ หรืออาจหมายถึงภาวะที่หัวใจไม่สามารถคลายตัวหรือขยายตัวเพื่อรองรับเลือดได้ปกติ ทำให้เกิดความดันเลือดในช่องปอดมากขึ้น เกิดการคลั่งของเลือดในปอดมากขึ้น ทำให้มีอาการเหนื่อยง่ายและอาจก่อให้เกิดอาการบวมของร่างกาย   สาเหตุของหัวใจล้มเหลว                       โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจรูมาติก หรือลิ้นหัวใจพิการ โรคหัวใจเป็นแต่กำเนิด โรคโลหิตจาง การดื่มเหล้ามาก ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคติดเชื้อไวรัส ได้รับยาเคมีบำบัด หรือได้รับการฉายแสง ได้รับสารพิษบางชนิด โรคการนอนหลับบางชนิด ภาวะที่เป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้มีอาการของโรคหัวใจล้มเหลวมากขึ้น เช่น ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบอย่างเฉียบพลัน ความดันโลหิตสูง การติดเชื้อบางชนิด เช่น การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ ภาวะที่หัวใจเต้นเร็วหรือช้าเกินไป ภาวะได้รับน้ำมากเกินความต้องการ การขาดการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ การรับประทานอาหารเค็มเกินไป รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดบางชนิด ยากลุ่มสเตียร์รอยด์ เป็นต้น   อาการของโรคหัวใจล้มเหลว                        อาการมีดังนี้ อาการเหนื่อยง่าย เวลาออกกำลังกายแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก นอนราบไม่ได้เวลากลางคืนอาจต้องลุกขึ้นมาเพื่อช่วยหายใจ ไอ ใจสั่น บวม ถ้าเป็นนาน ๆ อาจอ่อนเพลียไม่มีแรง ผอมลงได้   การตรวจวินิจฉัย                       ซักประวัติ ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรค การตรวจร่างกายโดยแพทย์และการตรวจพิเศษต่าง ๆ   การตรวจพิเศษ 1)การตรวจเอกซเรย์ปอด ดูว่าเงาหัวใจโตหรือไม่ และดูว่าปริมาณของสารน้ำ หรือเลือดคลั่งในช่องปอดหรือไม่ 2)การตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูว่าลักษณะที่บ่งชี้ถึงหัวใจโต หรือสงสัยว่ามีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่ มีหัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดจังหวะหรือไม่ 3)การตรวจด้วยเครื่องสะท้อนคลื่นเสียงหัวใจ (Echocard-iography) ดูการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจว่ามีการบีบตัว หรือคลายตัวปกติหรือไม่ มีโรคลิ้นหัวใจพิการ รวมทั้งดูว่าเยื่อหุ้มหัวใจผิดปกติหรือไม่ 4)การตรวจเลือด เพื่อดูระดับเกลือแร่บางชนิดในเลือด การทำงานของไต ไทรอยด์ หรือฮอร์โมนบางชนิด ปริมาณเม็ดเลือดแดง ระดับของ BNP หรือ NT pro BNP (Brain Natriuetic Peptides) ซึ่งพบว่ามีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นในภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถวินิจฉัยและใช้ติดตามการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวได้ 1.      การรักษาทั่วไป 1)        การควบคุมรักษา ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว 2)        การรักษาระยะยาว เพื่อให้ผู้ป่วยดูแลตนเองหลังกลับจาก รพ. 2.1   ควบคุมการดื่มน้ำ ไม่ควรเกิน 1.5 ลิตรต่อวัน 2.2   อาหารเค็ม จำกัดเกลือไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน(ประมาณครึ่งช้อนชา) 2.3 การนั่งน้ำหนักทุกวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อดูว่ามีภาวะน้ำในร่างกายเกินหรือไม่ ถ้าหากน้ำหนักเกินมากกว่า 2 กิโลกรัม ภายใน 3 วัน อาจพิจารณาใช้ยาขับปัสสาวะเอง หรือมาพบแพทย์ 2.4  การควบคุมน้ำหนัก ถ้าอ้วนเกินไปควรลดน้ำหนักตัวเองลงแต่ถ้าหากผอมเกินไปอาจหมายถึง การขาดสารอาหาร หรือภาวะหัวใจวายรุนแรงและเรื้อรังได้ 2.5 การออกกำลังกาย โดยมีโปรแกรมการออกกำลังกายตามความเหมาะสมเป็นรายๆ ไป หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย เช่น การยกน้ำหนัก หรือการเล่นยกเวท 2.6    ระมัดระวังไม่ให้เป็นหวัดติดเชื้อง่าย 2.7    งดดื่มเหล้า และสูบบุหรี่ 2.8    ควบคุมอาหารไขมัน หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ 2.9    การมีเพศสัมพันธ์ ถ้าขึ้นบันได 1 ขั้นโดยไม่เหนื่อย ก็อาจมีเพศสัมพันธ์ได้ปกติ 2.10   พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ 2.11   การเดินทาง ควรระมัดระวัง ไม่ควรไปในสถานที่สูง อากาศเบาบาง อากาศที่ร้อนขึ้นเกินไป           การใช้ยามีหลายชนิด จึงไม่ได้นำมากล่าวในที่นี้ แต่สิ่งสำคัญต้องรับประทานยาสม่ำเสมอ   2.      การรักษาโดยใช้เครื่องมือพิเศษ 2.1                      การฝังเครื่องช็อคหัวใจ (Implantable Cardioverter-Defribrillators, ICD) เป็นเครื่องที่ใช้ฝังเข้าไปที่ตัวผู้ป่วยเพื่อทำการรักษา หัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งมักจะพบได้ในภาวะหัวใจล้มเหลวที่เป็นรุนแรง โดยเครื่องจะวินิจฉัยลักษณะการเต้นของหัวใจ และทำการช็อคไปเองโดยอัตโนมัติ สามารถลดอัตราการเสียชีวิตโดยเฉียบพลันได้ 2.2           การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ CRT (Cardiac Resyn-chonization Therapy) เป็นเครื่องที่ฝังเข้าไปในร่างกายผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวที่เป็นรุนแรง ที่มีลักษณะการนำไฟฟ้าผิดปกติทำให้การบีบตัวของหัวใจไม่สัมพันธ์กัน เพื่อให้มีการนำไฟฟ้าหัวใจที่ดีขึ้น เป็นผลทำให้หัวใจทำงานบีบตัวได้ดีขึ้น สามารถทำให้อาการผู้ป่วยดีขึ้นได้ นอนโรงพยาบาลน้อยลง และลดอัตราการเสียชีวิตได้ อุปกรณ์ชนิดนี้อาจมีการเสริมหน้าที่เป็นแบบช็อคไฟฟ้าหัวใจ เรียกว่า CRT-Defribrillator             3.      การรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ คือการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ(CardiacTranplantation)  ใช้ในกรณีที่ไม่มีทางรักษาโดยวิธีข้างต้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ชีวิตเปลี่ยนด้วย 4 นาที

          ความเครียดจะก่อโรคอันตราย เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะอาหาร ฯลฯ ลองมาใช้วิธีที่นักจิตบำบัดชื่ออังชาวอเมริกัน แคเนียลา เทมเพสตา แนะนำ คือ ใช้ร่างกายเพื่อช่วยในการปรับสมดุลจิตใจภายในเวลาเพียง 4 นาที ในช่วงเวลาที่เร่งรีบ แต่คุณเกิดปรี๊ดปรอทแตกเผลอวีนเหวี่ยงคนรอบข้างจนร่างกายเกิดภาวะเครียดก่อนที่ความเครียดจะก่อโรคอันตราย เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะอาหาร ฯลฯ ลองมาใช้วิธีที่นักจิตบำบัดชื่ออังชาวอเมริกัน แคเนียลา เทมเพสตา แนะนำ คือ ใช้ร่างกายเพื่อช่วยในการปรับสมดุลจิตใจภายในเวลาเพียง 4 นาที ดังนี้ ขยับทั้งตัวแบบอุ่นเครื่อง  เมื่อใจหงุดหงิดหรือเคร่งเครียด ภายใน 1 นาทีแรกให้คุณลองเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ลุกขึ้นยืน จากนั้นให้ขยับกล้ามเนื้อบนใบหน้า โดยทำสีหน้าต่างๆ ไปสัก 3-4 แบบ สุดท้ายลองวางมือลงบนตำแหน่งเหนือหัวใจเบาๆ เพื่อช่วยให้เกิดความรู้ตัวและกลับสู่ปัจจุบันขณะอีกครั้ง ยิ้มให้ตัวเอง 30 วินาทีต่อมา  ขอให้คุณยิ้มหวานๆ ให้ตัวเองในกระจก มีผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคนซัส สหรัฐอเมริกา ยืนยันว่าการยิ้มช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตลงได้อย่างน่าอัศจรรย์ แม้ในขณะนั้นคุณไม่ได้รู้สึกสดชื่นเพียงพอที่จะยิ้มแต่วิธีนี้ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการทำหน้าบูดจนมีริ้วรอยบนใบหน้า ท่านั่งช่วยปรับใจ อีก 2 นาทีครึ่งที่เหลือ  ให้คุณนั่งหลังตรง งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ระบุว่า การนั่งหลังตรงภายใน 2 นาที ช่วยปรับอารมณ์ได้ เพราะส่งผลต่อฮอร์โมนเทสทอสเทอโรน ซึ่งทำให้รู้สึกมั่นใจขึ้นราว 20 เปอร์เซ็นต์ และลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่ทำให้รู้สึกเครียดได้ราว 25 เปอร์เซ็นต์   แค่มีความสุขก็สามารถหยุดสารพัดโรคจากความเครียดได้แล้วค่ะ ข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิต 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

หัวใจวาย (Heart Failure)

หัวใจวาย (Heart Failure) หัวใจวาย               หมายถึง ภาวะซึ่งหัวใจไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ หัวใจวายไม่ใช่หัวใจหยุดเต้น เราเรียวหัวใจวายว่า Heart Failure คือหัวใจทำงานล้มเหลวทำให้เนื้อเยื่อต่าง ๆ ขาดออกซิเจน หากหัวใจห้องซ้ายวาย ก็จะมีการคั่งของน้ำที่ปอดทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าน้ำท่วมปอด  Pulmonary Ederma หากหัวใจห้องขวาวายจะเกิดการคั่งของน้ำที่ขาทำให้บวมที่เท้า โดยที่อาการหัวใจวายอาจจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่น เกิดภายหลังจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออาจจะค่อย ๆ เกิดขึ้น โรคของลิ้นหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจ   สาเหตุของหัวใจวาย             เมื่ออายุมากขึ้นการบีบตัวของหัวใจก็จะลดลง หากมีภาวะที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น หรือมีการสูญเสียความสามารถในการบีบตัวของหัวใจก็จะเกิดโรคหัวใจวาย นอกจากนั้นยังมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เช่น การสูบบุหรี่ อ้วน การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การขาดการออกกำลังกาย เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดหัวใจวายได้ หัวใจวายมีด้วยกันหลายสาเหตุ บางครั้งอาจจะไม่ทราบ สาเหตุแน่ชัด สาเหตุที่พบได้บ่อยได้แก่        - หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ (Coronary Heart Disease) ผู้ป่วยมักจะมีประวัติเจ็บแน่นหน้าอกมาก่อน เมื่อเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ กล้ามเนื้อหัวใจก็ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบตันอย่างเฉียบพลันทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายไป หากบริเวณที่ตายกินบริเวณกว้างก็อาจจะเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน       - โรคกล้ามเนื้อหัวใจ ได้แก่ การติดเชื้อไวรัสบางชนิด ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเกิดหัวใจวาย    - ความดันโลหิตสูง (Hypertension) เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหนาตัวและต้องทำงานมากขึ้น เกิดหัวใจล้มเหลว      - โรคลิ้นหัวใจ เช่น โรคหัวใจรูมาติก (Rheumatic Heart Disease) ทำให้ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว     - หัวใจพิการแต่กำเนิด    - โรคปอด เช่น โรคถุงลมโป่งพอง ก็สามารถทำให้หัวใจห้องขวาวาย   -หัวใจเต้นผิดปกติ อาจเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นช้าเกินไป(Bradyarrhythmia) หรือเต้นเร็วเกินไป (Tachyarrhythmia) ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างเพียงพอ    - สารพิษ เช่น สุรา หรือยาเสพติด ซึ่งทำลายกล้ามเนื้อหัวใจ เป็นต้น    - ไทรอยด์เป็นพิษ อาการของโรคหัวใจวาย         ผู้ป่วยอาจมีอาการเล็กน้อยจึงไม่ได้ใส่ใจ มีจำนวนไม่น้อยที่มาพบแพทย์เมื่ออาการหนักมาก ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจวาย ควรที่จะรู้ว่ามีอาการอะไรบ้าง และควรที่จะติดตามอาการเหล่านั้นหากอาการแย่ลงต้องรีบปรึกษาแพทย์อาการต่างๆที่พบได้คือ  - เหนื่อยง่าย หากโรคหัวใจเป็นไม่มากจะเหนื่อยเฉพาะเวลาทำงานหนัก ถ้าโรคหัวใจเป็นมากขึ้นความรุนแรงของอาการเหนื่อยจะมากขึ้น งานปกติที่เคยทำได้ก็จะเหนื่อย แม้แต่เวลาพักก็ยังรู้สึกเหนื่อย หากอาการเหนื่อยเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลงต้องปรึกษาแพทย์ - นอนแล้วจะมีอาการเหนื่อย หลังจากนอนไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง ทำให้ต้องลุกขึ้นมานั่งอาการถึงจะดีขึ้น บางรายนอนราบไม่ได้เลยเรียกว่า Orthopnea - อ่อนเพลียง่าย -  เท้าบวมหรือท้องมานเนื่องจากมีการคั่งของน้ำ - น้ำหนักเพิ่มอย่างเร็ว - ไอเรื้อรังโดยเฉพาะหากเสมหะมีสีแดงหรือชมพู ปนออกมาต้องรีบไปพบแพทย์เพราะอาจเป็นอาการของน้ำท่วมปอด -มีอาการคลื่นไส้อาเจียนเนื่องจากระบบย่อยอาหารได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยลง - ความจำเสื่อมมีการสับสน - ใจสั่นหัวใจเต้นเร็ว   การรักษา           โรคหัวใจวาย เป็นโรคที่มีการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจอย่างต่อเนื่องจนเกิดอาการของหัวใจวาย ผู้ป่วยจำเป็นต้องร่วมมือในการรักษาโดยมีหลักการรักษา ดังนี้     - ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม    - การใช้ยารักษา    - การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น การขยาย Balloon หลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน การผ่าตัดลิ้นหัวใจ    -   การใส่เครื่องมือเพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจ การป้องกันโรคหัวใจวาย      การป้องกันก่อนการเกิดโรค เรียก Primary Prevention เป็นวิธีการที่ดีที่สุด 1.      ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิต เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารรสเค็มจัด ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่เครียด งดการสูบบุหรี่ ดื่มสุราในปริมาณที่จำกัด 2.      รักษาโรคที่เป็นอยู่ เช่น การรักษาโรคความดันโลหิต การรักษาโรคเบาหวาน ไขมัน หลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว หรือตีบ 3.      ตรวจร่างกายประจำปา ก่อนการเกิดโรคหัวใจ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาวะเส้นเลือดขอดบริเวณขา

ภาวะเส้นเลือดขอดบริเวณขา ภาวะเส้นเลือดขอดบริเวณขา             เป็นภาวะที่พบบ่อยในเพศหญิง โดยเฉพาะในช่วงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป จะพบได้มากกว่าร้อยละ 50 ในเพศหญิงจะพบภาวการณ์ขยายตัวของหลอดเลือดแดง (Telangiectasis) ได้มากกว่าเพศชายถึง 4 เท่า แต่ขณะเดียวกันขนาดของเส้นเลือดขอดของหลอดเลือดดำ(Varicose vein) ในเพศชายจะมีขนาดใหญ่กว่าที่พบได้ในเพศหญิงถึง 2 เท่า เส้นเลือดขอดเกิดจากความผิดปกติของวาวล์ดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการไหลย้อนกลับของเลือดทำให้มีการคั่งของเลือดภายในเส้นเลือดและเกิดการโป่งตึงของหลอดเลือดบริเวณนั้นขึ้นมา ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการไหลกลับของหลอดเลือดนั้น คือ ภาวการณ์ตั้งครรภ์ การมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน และรวมถึงการมีประวัติญาติพี่น้องที่มีอาการดังกล่าวด้วย นอกจากจะทำให้เกิดอาการปวดบวมบริเวณขาแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง การติดเชื้อ การอุดตันของหลอดเลือดและการเกิดเลือดออกเฉียบพลันบริเวณดังกล่าวด้วย   ปัจจุบันทางโรงพยาบาลมีการรักษาหลายวิธี เช่น 1.      การฉีดสารเพื่อทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดบริเวณนั้น ๆ  เช่น  Sodium tetradecyl sulfate และPolidocanol โดยสารดังกล่าวจะทำให้เส้นเลือดบริเวณที่ฉีดเกิดการแข็งตัวและเกิดพังผืดจนทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดในที่สุด วิธีนี้เป็นวิธีการรักษามาตรฐานและมีประสิทธิภาพสูง แต่ก็อาจเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดได้ เช่น การเกิดรอยดำจากการฉีดยา แผลอักเสบ การอักเสบของหลอดเลือดบริเวณที่ได้รับการฉีดยา การเกิดการอุดตันของหลอดเลือดดำภารในปอด เนื่องมาจากการฉีดยาในปริมาณมากเกินไปหรือฉีดในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดแดงซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดปลายเท้าได้ 2.      การใช้เลเซอร์ Nd:YAG ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีทำให้เส้นเลือดขอดลดลงถึงร้อยละ 75 หลังจากการรักษา 1 ครั้ง มีประสิทธิภาพที่ดีต่อทั้งหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดง โดยใช้เป็นการรักษาหลักหรือรักษาเสริมจากการที่ผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยามาแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้นก็ได้ 3.      การผ่าตัดเส้นเลือดขอด เป็นอีกวิธีหนึ่งซึ่งมีประสิทธิภาพดีในผู้ป่วยที่มีลักษณะของเส้นเลือดขอดที่ใหญ่หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากเส้นเลือดขอดมาก           ทั้งนี้นอกจากการรักษาดังกล่าวแล้ว การป้องกันการเกิดภาวะเส้นเลือดขอดนั้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในผู้ที่ต้องยืนทำงานติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน ผู้ที่มีน้ำหนักเกินและหญิงตั้งครรภ์ วิธีการป้องกกันที่ได้ผลดี เช่น การยกขาบริเวณที่เป็นและการสวมถุงน่อง (Compression stockings) เพื่อให้เลือดได้ไหลเวียนกลับสู่หลอดเลือดดำได้สะดวกขึ้น และลดการไหลย้อนกลับของเลือดลงสู่ส่วนที่ต่ำกว่ารวมถึงการรับประทานยาต้านการอักเสบ เข่น Ibuprofen และ aspirin ในกรณีเกิดการอักเสบของหลอดเลือด

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus)

หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus) โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน โรคที่เกิดจาการแตกของหมอนรองกระดูกสันหลังโดยมีส่วนไส้ของหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน ถอยหลังออกมากดทับเส้นประสาทไขสันหลัง   อาการของโรค                  ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวด ชา หรืออ่อนแรงจากการทำงานที่ผิดปกติของเส้นประสาทที่โดยกดนั้น สามารถเกิดในคนตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงวัยสูงอายุ เกิดได้กับหมอนรองกระดูกสันหลังทุกระดับตั้งแต่ระดับ กระดูกสันหลังส่วนคอไปจนถึงกระดูกสันหลังส่วนเอว ถ้าโรคนี้เป็นในระดับกระดูกคอ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตามเส้นประสาทจาก ไหล่ ศอก ลงมาถึงปลายนิ้ว อาจเป็นตลอดเวลา หรือเป็นเฉพาะหันหน้าซ้าย-ขวา หรืออาจชาที่ปลายมือร่วมด้วย รายที่เป็นมากมือและแขนอาจอ่อนแรงกว่าอีกข้างจนรู้สึกได้และถ้าหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนทับเส้นประสาท ถ้าโรคนี้เป็นในระดับเอว จะมีอาการปวดเส้นประสาทจากบริเวณสะโพก้นกบ ลงมาต้นขามักจะปวดเลยเข่าลงไปจนถึงข้อเท้าไปจนถึงนิ้วเท้า ปวดจะเป็นมากเวลานั่งนาน เช่น นั่งขับรถนานจะปวด โดยเฉพาะตอนลุกออกจากรถ ไอจามเบ่งมักปวดขึ้นมีอาการชาหรือรู้สึกลดลงที่ปลายเท้าด้วย หรือเป็นมากจะมีอาการอ่อนแรงของขาจนทำให้มีอาการขาอ่อนเดินกระเผลก หรือเดินไม่ได้ตามปกติ พยาธิสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลังแตกเคลื่อนกดทับเส้นประสาทนี้ พบว่ามีการปลิ้นของไส้ในของหมอนรองกระดูสันหลังที่มีลักษณะคล้ายเจลลี่ มาทางด้านหลังเข้าไปในโพรงของไขสันหลัง (Spinal Cannal) ไปเบียดทับเส้นประสาทที่มาเลี้ยงความรู้สึก และการทำงานของกล้ามเนื้อแขนขาทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดแขนหรือขา   การรักษา                 โรคกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังทับเส้นประสาทนั้นการรักษาที่ใช้กันอยู่ก็มีการรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด การผ่าตัดแล้วแต่ข้อบ่งชี้ ส่วนการออกกำลังกายหรือการบริหารร่างกายที่ถูกต้องก็คือ เริ่มตั้งแต่การปฏิบัติตัว ควรนั่งทำงานให้ตัวตรง หลังชิดพนักพิง และไม่ควรนั่งทำงานนาน ๆ ติดต่อกันควรเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง ส่วนการบริหารนั้น ก็การออกกำลังกายทั่วไป เช่น เดิน ว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์ ก็สามารถทำได้ การบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องในช่วงที่มีอาการปวดมากไม่ควรทำ เมื่ออาการดีขึ้นอาจจะเริ่มบริหารโดยการนอนหงายชันเข่า แล้วเกร็งเหลังให้ส่วนที่โค้งของหลัง แนบพื้นกระดกก้นเล็กน้อย ค้างไว้ 5 วินาทีแล้วคลาย ทำซัก 10 ครั้งก็พอ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เวียนศีรษะ เสียการทรงตัว

เวียนศีรษะ เสียการทรงตัว การฟื้นฟูสมรรถภาพการทรงตัวโดยวิธีบริหารลำตัวและศีรษะ 1. การบริหารสายตาและกล้ามเนื้อคอ (นั่งทำ) 1.1 มองขึ้น-ลง ซ้ำ 20 ครั้ง พักแล้วมองไปทางซ้าย มองไปทางขวา 20 ครั้ง ช้าๆ และเร็วขึ้น เมื่อคล่องแล้วมองไปด้วยเคลื่อนไหวศีรษะไปด้วย เช่น มองขวาก็หันขวา มองบนก็เงยศีรษะ มองลงล่างขณะก้มศีรษะ 1.2 มองที่ปลายนิ้วชี้ตัวเองแล้วขยับมือเข้ามาใกล้ตัว 1 ฟุต แล้วถอยกลับไปที่เดิม ทำ 20 ครั้ง 1.3 หลับตาก้มศีรษะมากๆเหมือนคำนับเงยตรงแล้วหงายศีรษะไปด้านหลัง ทำ 20 ครั้ง 1.4 หันศีรษะไปซ้าย ตรง ขวา 20 ครั้ง แล้วลืมตาทำ 1.5 เอียงหูขวาชิดไหล่ขวา ตรง เอียงหูซ้ายชิดไหล่ซ้าย ตรง ทำ 20 ครั้ง แล้วลืมตา 2. ท่าบริหารเพื่อกระตุ้นการทรงตัวทั้งระบบ (5-10 นาที) 2.1 ยืนที่มุมห้องผู้ช่วยอยู่ด้านหลังเท้าชิดหมุนศีรษะไปมา 15-20 ครั้ง 2.2 หมุนทั้งตัวไปมา (ข้อเท้ายังชิดกันเหมือนเดิม) 15-20 ครั้ง 2.3 ยืนเท้าชิดกัน หันหน้าเข้าหามุมห้องมือ ยันข้างฝา (ถ้าจำเป็น) ให้ผู้ช่วยผลักสะโพกเบาๆ ทีละข้าง ผลักเข่าเบาๆ ทีละข้าง พยายามปรับสมดุลด้วยตนเอง 2.4 ยืนท่าเดิม ยกเข่าขึ้นทีละข้าง พยายามยืนขาเดียว 5-10 วินาที ทำสลับขา 3. การบริหารในท่าที่เวียน (ประมาณ 10 นาที) 3.1 ถ้าผู้ป่วยเวียนเวลานอนตะแคง       ให้นั่งบนเตียง โดยยกตัวให้หูซ้ายแตะเตียง นั่งตรงหูขวาแตะเตียง   3.2 ถ้าเวียนเวลานอนหงาย หรือเงยศีรษะ       ให้นั่งเก้าอี้ตัวตรง ก้มพยายามให้จมูกแตะเข่าซ้ายค้างไว้ 10-20 นาที แล้วยืดตัวขึ้นพร้อมๆกับเอียง   หูขวาแตะไหล่ขวา ทำสลับข้างพยายามค้างในแต่ละท่า 10 – 20 วินาที แม้จะมีอาการเวียน เพื่อเอาชนะอาการ ทำประมาณ 5 – 10 นาที 4. การบริหารร่างกายทั่วไป       เป็นการบริหารที่ไม่เป็นระบบแต่ผู้ป่วยจะมีความสุขกับวิธีนี้มากกว่าโดยให้เลือกทำอะไรก็ได้ดังต่อไปนี้ วันละ 20 นาที หรือมากกว่าที่ต้องการ เช่น 4.1 ไปนั่งชมกีฬาในสถานที่จริงๆ เช่น แบดมินตัน เทนนิส กอล์ฟ ฟุตบอล ฯลฯ 4.2 เดินเล่นชมนกชมไม้ มองพื้น มองท้องฟ้า ก้มหยิบเก็บของ (ต้องมีผู้ช่วย) หัดเดินบนฟูก 4.3 เล่นกีฬาเบาๆที่ชอบ เช่น ปิงปอง เลี้ยงบาส พัตกอล์ฟ เป็นต้น (ห้ามว่ายน้ำ)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

"เจ็บหน้าอก" อาจไม่ใช่ "โรคหัวใจ" อาการแบบไหน เป็นโรคอะไร รีบเช็ก!

อาการเจ็บหน้าอก... อาจเกิดจากหลากหลายโรค             อาการเจ็บหน้าอก หลายคนต้องตกใจกลัวว่า ต้องเป็นโรคหัวใจแน่เลยยิ่งถ้าอาการเกิดบ่อยๆ ด้วย  ความมั่นใจเรื่องสุขภาพที่แข็งแรงนั้นย่อมหายไปเลย  แต่เกิดความวิตกกังวลเข้ามาแทนที่ ซึ่งจริงๆแล้วอาการเจ็บหน้าอกนั้น  อาจมาจากโรคหัวใจหรือไม่ได้มาจากโรคหัวใจ เสมอไป เพราะมีหลายปัจจัยในการเกิดได้ ดังนี้ 1.หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน             อาการของโรคจะทำให้เจ็บแน่นหรืออึดอัดบริเวณหน้าอก ปวดเมื่อยหัวไหล่  ปวดกราม  หรือจุกบริเวณลิ้นปี่ ซึ่งอาการแบบนี้จะเป็นมากขณะออกกำลังกาย เป็นอาการเจ็บหนักๆเหมือนมีอะไรมาทับหรือรัดบริเวณกลางหน้าอกใต้กระดูก  บางคนมีร้าวไปบริเวณคอ กราม ไหล่ และแขนทั้ง 2 ข้าง โดยเฉพาะข้างซ้าย  อาการจะทุเลาลงเมื่อได้นั่งพักหรืออมยา Nitroglycerin ซึ่งเราก็สามารถดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้ ด้วยการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ออกกำลังกายในระดับที่เหมาะสม ไปตรวจสมรรถภาพหัวใจบ้างปีละครั้ง เพื่อให้แพทย์ได้แนะนำวิธีการดูแลตัวเอง ซึ่งจะช่วยป้องกันอาการเจ็บหน้าอกและการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ 2.เจ็บหน้าอกจากอาการแสบร้อนที่หน้าอกหรือลิ้นปี่             ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคกรดไหลย้อน เมื่อกระเพาะอาหารของคุณและกรดในกระเพาะอาหารที่ช่วยย่อยอาหาร  กลับดันกลับเข้าไปในหลอดอาหาร หลอดที่เชื่อมต่อ ลำคอกับกระเพาะอาหาร และจากกรดในกระเพาะมีความเป็นกรดสูงมาก จึงเป็นเหตุให้คุณรู้สึก แสบร้อนหลังกระดูกหน้าอกของคุณ ซึ่งภายในกระเพาะอาหารนั้นเรียงรายไปด้วยเยื้อหุ้มชั้นดีที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดฤทธิ์กัดกร่อนของกรดมาทำลายได้ ขณะที่หลอดอาหารไม่ได้เป็นเช่นนั้น หากอาการเกิดขึ้นสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือมากกว่า คุณอาจมีโรคกรดไหลย้อน Gastroesophageal Reflux Disease (GERD) เกิดขึ้นแล้ว ต้องได้รับการรักษา มิฉะนั้นอาจเกิดโรคหอบหืด แน่นหน้าอก ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในการพัฒนาเป็นมะเร็งชนิดที่หายยากได้ 3.กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอกได้รับบาดเจ็บ             หรือที่เราเรียกกันแบบธรรมดาว่า “กล้ามเนื้อหน้าอกฉีก” เป็นการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อที่พบได้บ่อยในการเล่นกีฬา สามารถเกิดได้ทั้งในระหว่างฝึกซ้อม หรือในระหว่างการแข่งขันที่ต้องใช้กล้ามเนื้ออย่างหนัก ซึ่งมีปัญหามาก โดยในนักกีฬาจะมีโอกาสบาดเจ็บซ้ำได้สูง และมีอาการปวดเรื้อรังได้ 4.ความรู้สึกที่ไม่สบายภายในหน้าอก             ซึ่งในบางครั้งก็ไม่ทราบสาเหตุ  หรืออาจจะเกิดการที่เราเคยกระทบกระเทือนในบริเวณนั้นมาก่อน  อาการจะทุเลาลงเมื่อได้กินยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบ 5.โรคเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ             หากคุณเป็นอีกคนที่กำลังต่อสู้กับการติดเชื้อไวรัสในช่วงสองสามวันที่ผ่านมานี้ คุณก็อาจจะมีอาการเจ็บปวดแปล๊บๆที่หน้าอกได้ เพราะมันเป็นผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดการอักเสบในชั้นเนื้อเยื่อรอบหัวใจ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงความผิดปกติของภูมิต้านทานที่บกพร่องด้วย เช่นโรคลูปัส และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ถึงแม้ว่าเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมักจะไม่เป็นพิษเป็นภัยมากนัก แต่มันจะส่งผลต่อคุณภาพของชีวิตของคุณ จึงควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง 6.โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ             โรคของเยื้อหุ้มหัวใจอาจทำคุณมีไข้และมีอาการเจ็บหน้าอกได้ ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุที่ทำให้สมรรถภาพการทำงานของร่างกายลดลง ควรเข้ารับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเลาะเยื่อหุ้มหัวใจที่หนาออกไป ก็จะช่วยลดอาการเจ็บหน้าอกให้ดีขึ้นได้                                               สอบถามเพิ่มเติมได้ที่                                              ศูนย์หัวใจ รพ.วิภาวดี                                       โทร 02-561-1111 ต่อ1322-1323

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ทุก ชม. จะมีคนไทย 5 คน เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ

ทุก ชม. จะมีคนไทย 5 คน เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ             คงเคยได้ยินมาบ้าง เช่น โรคหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ บางคนต้องไปขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนหรือผ่าตัดต่อหลอดเลือดบ้าง เพื่อให้คนตระหนักว่าโรคหัวใจ และอัมพาตเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงถึง 11.2 ล้านคนต่อปี ร้อยละ 80 ของการตายก่อนวัยอันควรจากโรคหัวใจและอัมพาต สามารถหลีกเลี่ยงได้หากควบคุมปัจจัยความเสี่ยงจากบุหรี่ อาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะและการไม่ออกกำลังกาย           มีการประมาณกันอย่างคร่าว ๆ ว่าทุกชั่วโมงจะมีคนไทย 5 คน เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ หรือทุกปีกว่า 65,000 คน ต้องตายด้วยโรคหัวใจที่สามารถป้องกันได้          มีหลายคนคิดว่าโชคดีที่ไม่ใช่เรา หรือคนที่เรารัก และก็จะยิ่งเป็นโชคดียิ่งขึ้น ที่ได้อ่านบทความนี้ จนเข้าใจและสามารถนำมาปฏิบัติเกิดประโยชน์ ทำให้ใจสบาย และมาเริ่มทำความเข้าใจกันตามลำดับไป          กล้ามเนื้อหัวใจก็เหมือนกับอวัยวะอื่นที่ต้องการเลือดแดงมาเลี้ยงหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจเรียกว่า หลอดเลือดแดงโคโรนารีซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 มิลลิเมตร แตกแขนงออกจากส่วนต้นของหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ดา (Aorta) บริเวณนั้นมักเรียกว่า ขั้วหัวใจ           หลอดเลือดโคโรนารีมีสองเส้นใหญ่ ๆ คือ หลอดเลือดแดงด้านซ้าย และทางด้านขวา หลอดเลือดหัวใจที่ว่านี้จะอยู่ที่ผิวด้านนอกของหัวใจ แตกแขนงห่อหุ้มทุกตารางนิ้วของหัวใจผนังด้านในของหลอดเลือดโคโรนารีถูกครอบคลุมด้วยเซลล์บุผิวขนาดเล็ก ๆ เรียกว่า เอนโดทีเลียม (Endothelium) ดูราวกับปูด้วยกระเบื้องอย่างดี อาทิ จะหลั่งสารที่สำคัญหลายชนิดคอยป้องกันไม่ให้หลอดเลือดอุดตันจากเกร็ดเลือดและคราบไขมัน ราวกับการเคลือบน้ำยาอย่างดี ทั้งยังมีสารที่ช่วยให้เกิดการขยายตัวของเส้นเลือดทำให้การไหลเวียนดีขึ้นอีกด้วย           เซลล์เนื้อเยื่อบุผิว ที่ว่านี้เหมือน ๆ กับเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายเราตามธรรมชาติซึ่งมีการเจริญและเสื่อมสลายตายไปตามเวลา          ถ้าหากค่อย ๆ เกิดขึ้น และเป็นไปตามธรรมชาติ เช่น ตามอายุ ก็มักไม่ก่อให้เกิดปัญหาทุกข์ร้อนใจอะไร แต่ถ้าหากเกิดก่อนเวลาอันควรอะไรจะเกิดขึ้น นึกถึงสภาพของพื้นกระเบื้อง ที่กระดำกระด่างและร่อนหลุด มีเศษไขมัน คราบของสกปรกไปเกาะอยู่เต็มไปหมด หลอดเลือดหัวใจขนาดเพียง 3 มิลลิเมตร ที่มีไขมันเข้าไปสะสมอยู่ที่ผนัง ค่อยๆ พอกพูนสะสมปริมาณมากขึ้น           การสะสม พอกพูนของไขมันดังกล่าวนี้ อันที่จริงแล้วค่อย ๆ เกิดขึ้นตั้งแต่อายุน้อย ๆ ทั้งที่ ถูกกำหนดโดยหลายปัจจัย อาทิพันธุกรรม และปริมาณไขมันที่บริโภคและการสูบบุหรี่  ความดันโลหิตสูง           ถ้าการสะสมของไขมันเป็นน้อย ๆ (น้อยกว่า 50% ของเส้นเลือด) ก็อาจยังไม่ก่อให้เกิดการอะไร แต่ถ้าเป็นมากซึ่งมักจะเกินกว่า 70% ของหลอดเลือด เลือดไหลเวียนไม่เพียงพอกับความต้องการของกล้ามเนื้อหัวใจ จะเกิดอะไรขึ้น          ถ้าอาการตีบตันค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป ก็จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อขาดเลือดแบบเรื้อรัง โดยเฉพาะเวลาที่ร่างกายและกล้ามเนื้อหัวใจต้องการเลือดไปเลี้ยงมาก ๆ เช่น ขณะออกกำลังกายตื่นเต้น ก็อาจทำให้เกิดอาการ ซึ่งเมื่อหยุดพักแล้วจะดีขึ้นเอง ยกเว้นในบางรายอาจต้องใช้ยาขยายหลอดเลือดช่วย ที่เรียกว่า ยาพ่นหรืออมใต้ลิ้น           ถ้าอาการตีบตันเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันทันใด ซึ่งก็มักเกิดจากไขมัน (Lipid plaque) ที่ผิวด้านในของหลอดเลือดหัวใจมีการแตกออก แล้วก็มีเกร็ดเลือดมาอุดตันเต็มหลอดเลือดทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน มีอาการวูบจากเจ็บหน้าอกจนถึงหัวใจวาย ถึงขนาดทำให้บางคนเสียชีวิตทันทีจากหัวใจ (Sudden cardiacdeath)  เช่น ที่ได้ยินข่าวว่า ดีใจ ตกใจมาก เป็นลมช็อคตายไปเลยก็มี รายที่โชคดีหน่อยก็อาจถูกนำส่งโรงพยาบาลพบแพทย์ รักษาเยียวยากันไปตามความรุนแรง ประเภทนี้ก็มีทั้งที่รอดและที่ไม่รอดเช่นกัน                 ด้วยความปรารถนาดี จากศูนย์หัวใจ รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

สังเกตอย่างไรว่าเป็น ภาวะหัวใจโต การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo) สามารถดูเบื้องต้นได้

สังเกตอย่างไรว่าเป็น ภาวะหัวใจโต การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo) สามารถดูเบื้องต้นได้ ภาวะหัวใจโต             ขนาดหัวใจที่โตกว่าปกตินั้น อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ โตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ ลองนึกภาพคนเล่นกล้าม นักเพาะกายกล้ามเนื้อใหญ่ขึ้นเพราะทำงานหนัก กล้ามเนื้อหัวใจก็เช่นกัน หากต้องทำงานหนัก บีบตัวมาก ๆ เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง หรือลิ้นหัวใจตีบก็ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้นได้ อีกประการหนึ่งคือขนาดของหัวใจโต เพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือดคั่งค้างในห้องหัวใจมากคล้ายลูกโป่งใส่น้ำ ทำให้ขนาดโตขึ้น มีหลายโรคที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจโตที่เป็นดาราประจำคือ ความดันโลหิตสูง ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว หัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย เบาหวาน เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีโรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่หนากว่าปกติ โดยไม่ทราบสาเหตุอีกด้วย   หัวใจโตคืออะไร             ภาวะหัวใจโตไม่จำเป็นต้องมีอาการผิดปกติใด ๆ หากมีอาการก็จะเป็นอาการเนื่องจากโรคที่เป็นต้นเหตุ และอาการจากหัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อยง่าย หอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น  การตรวจร่างกายจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมากแต่โดยทั่วไปแล้ว การตรวจร่างกายจะมุ่งหาสาเหตุของหัวใจโต มากกว่าที่จะบอกขนาดของหัวใจ  การตรวจที่จำเป็นคือ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และเอกซเรย์ทรวงอก (ปอดและหัวใจ) หากกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือเคยมีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะแสดงให้เห็นจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ ก็มิได้หมายความว่าหัวใจไม่โต หรือไม่มีโรคหัวใจขาดเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจบอกว่าโตแต่จริงๆ  แล้วไม่โตก็ได้ และเอกซเรย์ทรวงอกบอกขนาดหัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็ผิดพลาดได้ง่ายเพราะขึ้นอยู่กับเทคนิคระยะห่างระหว่างหัวใจกับฟิล์ม การหายใจ เป็นต้น บ่อยครั้งที่ดูว่าหัวใจโตจากเอกซเรย์ แต่จริง ๆ แล้วขนาดหัวใจปกติไม่โตเลย ในทางกลับกันเอกซเรย์บอกว่าปกติแต่ความจริงมีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมากก็เป็นได้ ต้องเข้าใจว่าการตรวจเหล่านี้ล้วนมีข้อจำกัดทั้งสิ้น บ่อยครั้งที่แพทย์สั่งตรวจพิเศษเหล่านี้หลาย ๆ อย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อประกอบการตัดสินใจในการให้ความเห็นและรักษา   การตรวจวินิจฉัย             ไม่มีวิธีไหนดีที่สุด โดยไม่มีข้อจำกัดในการตรวจเลย วิธีดูขนาดหัวใจที่ยอมรับกันว่าดีมากในปัจจุบัน คือ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง หรือ Echocardiography หลักการคือเครื่องมือจะส่งคลื่นเสียงความถี่สูงทะลุผ่าอวัยวะต่างๆ ที่จะตรวจเมื่อผ่านส่วนต่าง ๆ คลื่นเสียงเหล่านี้จะสะท้อนกลับ ความสามารถในการสะท้อนกลับขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อเยื่อที่มันผ่าน เช่น เลือด กระดูก กล้ามเนื้อ เหล่านี้ให้สัญญาณการสะท้อนกลับแตกต่างกัน คอมพิวเตอร์จะบันทึกสัญญาณสะท้อนกลับเหล่านี้ นำมาสร้างภาพขึ้นเห็นเป็นอวัยวะที่แพทย์กำลังตรวจอยู่ ดังนั้นหากตรวจที่หัวใจ ก็จะเห็นห้องหัวใจซึ่งวัดขนาดได้ว่าโตหรือไม่ เห็นการทำงานของลิ้นหัวใจเห็นกล้ามเนื้อหัวใจ และความสามารถในการบีบตัวว่าเป็นอย่างไร ดังนั้นจึงให้รายละเอียดได้มากกว่าการตรวจอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจชนิดนี้ไม่เห็นหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ และเห็นภาพไม่ชัดนักในผู้ป่วยที่อ้วนหรือมีโรคปอด (ยกเว้นการตรวจโดยผ่านหลอดอาหาร)   ผู้ที่ควรได้รับการตรวจ             ผู้ที่มีอาการของหัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูงหรือตรวจร่างกายพบระบบการทำงานหัวใจผิดปกติ ควรได้รับการตรวจนี้ เพื่อดูความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนั้นแล้วผู้ที่เอกซเรย์พบว่า หัวใจโตกว่าปกติบางราย ควรดูให้แน่ใจว่าโตจริงไหม ทั้งนี้แล้วแต่แพทย์โรคหัวใจจะพิจารณาเป็นราย ๆ ในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด เช่น เบาหวาน หากพบว่าหัวใจโตจากเอกซเรย์ก็ควรตรวจละเอียดเช่นกัน เนื่องจากภาวะหัวใจโตไม่จำเป็นต้องมีอาการ   การรักษา             การรักษาภาวะหัวใจโต คือการรักษาตามสาเหตุ เช่นรักษาความดันโลหิตสูง ผ่าตัดลิ้นหัวใจ หรือรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น แม้ว่าการรักษาอาจไม่ได้ลดขนาดหัวใจลงให้เห็นได้ชัดเจนจากเอกซเรย์ในบางราย แต่การรักษาจะช่วยป้องกันไม่ให้โตขึ้นเรื่อย ๆ ได้                    ด้วยความปรารถนาดี ศูนย์หัวใจ รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<