“โรคกระเพาะอาหารอักเสบ” 【Gastritis】 รู้ทันอาการ ➥ รักษาเองยังได้ หายไว

โรคกระเพาะไม่หายสักทีทำอย่างไรดี อาจเกิดจากความเครียด หรือยาแก้ปวดบางกลุ่ม กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นเป็นอวัยวะที่มีน้ำย่อยและกรดที่เข้มข้น สำหรับใช้ในการย่อยอาหาร ดังนั้น ผนังของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ จึงต้องมีกลไกในการปรับสภาพให้ทนต่อกรดและน้ำย่อย จึงไม่ทำให้เกิดแผลในภาวะปกติ สาเหตุของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastriti)s และแผลในกระเพาะอาหาร เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า เอช.ไพโลไร (H.pylori) ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังหรืออาจเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ (Chronic gastritis and/or peptic ulcer) ยาแก้ปวดข้อและกระดูก หรือยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs ซึ่งจะทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบหรือเป็นแผลได้ หากมีการใช้ยากลุ่มนี้ยาจะไปทำลายชั้นผิวของกระเพาะอาหารเช่นกัน การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และรับประทานอาหารรสจัดบ่อยๆ จะทำให้เกิดการกัดกร่อนทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก เนื่องจากจะทำให้มีกรดในกระเพาะมากกว่าปกติ ความเครียดก็เป็นสาเหตุให้เกิดการกระตุ้น ให้มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารได้ อาการ ปวดจุกแน่นท้องที่บริเวณลิ้นปี่ หรือแสบท้อง ท้องอืด มีลมในท้องมาก เรอบ่อย หรือแน่นขึ้นไปที่หน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน (ในกรณี ที่มีอาการมากขึ้น และไม่ได้รับการรักษา) อาการปวดอาจสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เช่น หิวแล้วปวด หรืออิ่มแล้วปวด บางรายมีอาการปวดแสบท้องตอนกลางคืนบ่อยๆ อาการแทรกซ้อน จากแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ เช่น ถ่ายอุจจาระมีสีดำ อาเจียนเป็นเลือด การรั่วทะลุของกระเพาะอาหารหรือลำไส้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีอาการเหมือนอาหารไม่ย่อย ท้องอืดมาก รู้สึกอิ่มตลอด รับประทานอาหารได้น้อยกว่าปกติ การรักษา การรักษาด้วยยา Antacid เป็นยาตัวแรกที่ใช้มานาน เพื่อลดอาการที่เกิดขึ้น และป้องกันการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร โดยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารสามารถทานยาได้ตลอดเวลา ออกฤทธิ์ระยะสั้น Histamine receptor antagonists โดยจะช่วยยับยั้งการหลั่งกรด การรักษาด้วยยานี้จะได้ผลเมื่อใช้นานประมาณ 1 เดือน Proton pump inhibitors เป็นยาที่นิยมใช้ในปัจจุบันแต่มีราคาที่ค่อนข้างแพง มีฤทธิ์ยับยั้งการผลิตกรดและช่วยให้แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้นหายได้เร็วขึ้น Mucosal protective agents มีผลในการเคลือบแผลทำให้หายได้เร็วขึ้น ไม่ให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินอาหาร การรักษา H.pylori เมื่อมีการตรวจพบจะพิจารณาให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์ การปฏิบัติตัว รับประทานอาหารอ่อนครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้งได้เคี้ยวอาหารให้ช้าๆและเคี้ยวให้ละเอียด รับประทานอาหารระหว่างมื้อ แต่ไม่ควรรับประทานอาหารแล้วนอนทันที เพราะเพิ่มการหลั่งกรดในช่วงกลางคืน หลีกเลี่ยงการดื่มนม เพราะอาจทำให้เกิดอาการแน่นท้องหรือมีลมในกระเพาะอาหารมาก งดหรือหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ – การดื่ม Alcohol ลดภาวะเครียด

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า EDX (EMG & NCS)

การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า (electrodiagnosis)EMG             เป็นเครื่องมือในการช่วยตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า และค้นหาความบกพร่องของเส้นประสาท จากอาการชาที่มือ ชาเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้องและแม่นยำ เครื่อง EMG คืออะไร มีหลักการและวิธีการอย่างไร...                                                                                                                                                                                                                                                                                                   การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า คือ การนำเอาความรู้ทางด้านไฟฟ้ามาใช้ช่วย ในการตรวจวินิจฉัยโรค โดยทั่วไปจะมีหลักการและวิธีการตรวจอยู่ด้วยกัน 3 ลักษณะ คือ    1.การตรวจการนำไฟฟ้าของเส้นประสาท (Nerve Conduction Study)                   เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการใช้ไฟฟ้าขนาดที่ปลอดภัยกระตุ้นตามแนวทางเดินของเส้นประสาทในส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อตรวจว่ามีความผิดปกติของเส้นประสาทตรงส่วนใดมากน้อยเพียงใด เช่น กรณีที่เส้นประสาททำงานผิดปกติ อันเป็นผลเนื่องมาจากเบาหวาน หรือ การกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือและข้อศอก เป็นต้น   2.การตรวจวินิจฉัยไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ (Needle Electromyographic Study)                  เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการใช้เข็มเล็กๆตรวจดูความผิดปกติของกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาท เช่น การกดทับของเส้นประสาทบริเวณคอและหลัง การบาดเจ็บของเส้นประสาท หรือภาวะกล้ามเนื้อมีความผิดปกติ เป็นต้น   3.การตรวจการนำไฟฟ้าของระบบประสาทส่วนกลาง (Evoked Potential)                  เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการใช้ไฟฟ้า แสง เสียง กระตุ้นให้มีสัญญษณไฟฟ้าผ่านไปตามแนวของเส้นประสาท เพื่อตรวจว่ามีความผิดปกติที่ส่วนใดของสมองและไขสันหลัง   การตรวจดังกล่าวมีประโยชน์อย่างไร                 การตรวจดังกล่าวข้างต้น จะช่วยให้การวินิจฉัยโรคมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น รวมทั้งยังใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนรักษาต่อไป   การตรวจมีความปลอดภัยพียงใด                การตรวจนี้เป็นการตรวจที่ปลอดภัยตั้งแต่เด็กถึงผู้ใหญ่ ท่านอาจรู้สึกเหมือนการถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้า หรืออาจเจ็บบ้างเมื่อใช้เข็มตรวจในกล้ามเนื้อ สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น คือ                  • อาจระบมจากการใช้เข็มตรวจซึ่งมักหายไปใน 2-3 วัน                • กรณีที่ต้องมีการตรวจกล้ามเนื้อด้วยเข็ม ในบริเวณช่วงอกอาจเกิดภาวะลมรั่ว (Pncumothorax)  ซึ่งจะมีอาการแน่นหน้าอกหายใจลำบากแต่อย่างไรก็ตามภาวะแทรกซ้อนนี้พบได้น้อยมากและสามารถแก้ไขได้   ถ้าท่านมีปัญหาดังต่อไปนี้ กรุณาแจ้งแพทย์ก่อนการตรวจ               • ประวัติเลือดออกง่าย หรือรับประทานยาบางชนิดที่อาจทำให้เลือดออก                   ง่าย (ในกรณีที่ต้องใช้เข็มตรวจ)                 • ติดเครี่องกระตุ้นการของหัวใจด้วยไฟฟ้า (Pace Maker)                 • มีผิวหนังอักเสบและติดเชื้อในบริเวณที่ต้องการตรวจ   หมายเหตุ   • ผู้ป่วยที่กินยา Mestinon (ยาแก้โรค Myasthenia gravis) งดรับ ประทานยาล่วงหน้าก่อนการตรวจ 1 วัน                     • ไม่ต้อง งดน้ำ และอาหาร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.วิภาวดี เบอร์ 02-561-1111 ต่อ 1118-9 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

มายืดกล้ามเนื้อให้ผ่อนคลายกันดีกว่า เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ลดอาการเจ็บปวดได้

มายืดกล้ามเนื้อให้ผ่อนคลายกันดีกว่า เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ลดอาการเจ็บปวดได้       ประโยชน์ของการยืดกล้ามเนื้อ (Stretching)                 การยืดกล้ามเนื้อเป็นวิธีการรักษาเพื่อทำให้เนื้อเยื่อที่มีการตึงหรือหดสั้นยืดยาวออกมีผลทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ลดการคลั่งของของเสียในเนื้อเยื่อ ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวยืดหยุ่นดีขึ้น ทำให้ลดการเจ็บปวดและการเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นไปได้อย่างปกติ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการเตรียมกล้ามเนื้อก่อนและหลังออกกำลังกายช่วยป้องกันและลดการบาดเจ็บได้อีกด้วย หลักการยืดกล้ามเนื้อด้วยตนเอง 1.   การเคลื่อนไหวต้องทำอย่างช้าๆ 2.   แรงที่ใช้ในการยืดต้องเบาๆช้าๆ และค้างไว้เมื่อรู้สึกตึงหลีกเลี่ยงการ กระตุกเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งมากขึ้นอาจเกิดการบาดเจ็บได้ 3.   การยืดแต่ละครั้งต้องค้างไว้ 5-10 วินาที 4.   การปล่อยจากการยืดต้องค่อยๆลดแรงที่ยืดลง การยืดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ 1.กล้ามเนื้อต้นคอ-บ่า • ยืดกล้ามเนื้อต้นคอ มือประสานด้านหลังศีรษะกดศีรษะลงคางชิดอกช้าๆให้รู้สึกตึงค้างไว้ 10 วินาที เงยหน้าขึ้นช้าๆ   นั่งเก้าอี้ มือยึดขอบเก้าอี้ อีกมือวางที่ด้านข้างศีรษะให้ศีรษะก้มลง และเอียงไปหาไหล่ตรงข้าม กดยืดให้รู้สึกตึงค้างไว้ 10 วินาที กลับมาหน้าตรงสลับซ้าย-ขวา 2.กล้ามเนื้อแขนและสะบัก • ยืดกล้ามเนื้อสะบัก สะบักข้างที่จะทำการยืดให้ยกมือพาดไปไหล่ตรงข้ามใช้มืออีกข้างออกแรงดันบริเวณต้นแขนไปด้านหลังให้รู้สึกตึงสะบักค้างไว้ 10 วินาที   ยกแขนข้างที่จะยืดเตะสะบักด้านตรงข้ามมืออีกข้าง ออกแรงดันบริเวณข้อศอกไปด้านตรงข้ามรู้สึกตึงบริเวณท้องแขนและสะบักค้างไว้ 10 วินาที ยืดกล้ามเนื้อแขนและมือ • ไขว้แขนไปด้านหลังใช้มืออีกข้างจับบริเวณข้อมือออกแรงดึงออกด้านข้าง/ดึงให้รู้สึกตึงค้างไว้ 10 วินาที • มือประสานกันไขว้ด้านหลังเหยียดแขนตรงให้รู้สึกตึงบริเวณหน้าไหล่ค้างไว้ 10 วินาที • มือประสานยกขึ้นเหนือศีรษะ แขนตรงให้รู้สึกตึงค้างไว้ 10 วินาที • กระดกข้อมือขึ้น-ลง ออกแรงดันยืดให้รู้สึกตึง ค้างไว้ 10 วินาที 3.กล้ามเนื้อหลังและสะโพก • นอนหงายชันเข่าขึ้นดึงเข้ามาชิดอกทั้งสองข้างค้างไว้ 10 วินาที • นอนหงายตั้งขาขึ้นไขว้ข้ามขาอีกข้างมือกดเข่าชิดพื้นด้านตรงข้ามมืออีกข้างยึดขอบเตียงกับไหล่ยกตามสลับอีกข้าง • นอนหงายชันเข่าสอดแขนใต้น่องดึงเข้ามาชิดหน้าอกรู้สึกตึงบริเวณสะโพกและต้นขาด้านหลัง ค้างไว้ 10 วินาที • นั่งขัดสมาธิ มือวางที่พื้นแขนเหยียดตรงเลื่อนมือไปด้านหน้าจนศีรษะติดพื้น ถ้าไม่สามารถนั่งขัดสมาธิได้นั่งเหยียดขาตรงได้ • ยกแขนข้ามศีรษะเอียงลำตัวไปด้านข้าง ค้างไว้   4.กล้ามเนื้อขาและเท้า • ยืดน่องและต้นขาด้านหลัง นอนหงายงอเข่าข้างหนึ่งขึ้นนำผ้ายาวคล้องฝ่าเท้าที่งอเหยียดเข่าพร้อมใช้มือดึงผ้าให้กระดกข้อเท้ารู้สึกตึงบริเวณน่องและต้นขาด้านหลัง ยืนหันหน้าเข้าผนังก้าวเท้ามาข้างหน้า 1 ก้าว ขาข้างหลังเข่าเหยียดตรง เท้าวางราบกับพื้นโน้มตัวไปค้างหน้าค้างไว้ • ยืดต้นขาด้านใน นั่งหันฝ่าเท้าชนกันมือจับที่ข้อเท้าค่อยๆก้มหลังให้ศีรษะติดพื้น • ยืดขาหน้า นั่งชันเข่าขาข้างที่จะยืดเหยียดไปด้านหลังเข่าติดพื้น โน้มตัวไปด้านหน้าจนรู้สึกตึงบริเวณหน้าขาค้างไว้   ในการยืดแต่ละท่านับค้าง 10 วินาที ให้รู้สึกตึงทำท่าละ 10-15 ครั้ง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

สูงวัยแข็งแรงได้ด้วยการออกกำลังกาย อย่างไรจึงจะเหมาะสม

สูงวัยแข็งแรงได้ด้วยการออกกำลังกาย อย่างไรจึงจะเหมาะสม     ออกกำลังกายอย่างไรดี จึงจะเหมาะสม   หลักการทั่วไปได้แก่ 1.         ควรออกกำลังกายอย่างช้าๆ ควรมีช่วงพักในการออกกำลังกายบ้าง 2.         ไม่ควรออกกำลังกายที่หนักเกินไป 3.         จะหยุดพักเมื่อเหนื่อย ในรายที่ไม่ค่อยแข็งแรงดีอาจหยุดพัก หรือลดความเร็วจนหายเหนื่อยจึงเริ่มใหม่ 4.         ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 5.         จังหวะการออกกำลังกายไม่ควรเปลี่ยนแปลงกะทันหัน 6.         ถ้าต้องการทำเป็นหมู่คณะ ควรอยู่ในวัยเดียวกัน   ข้อควรระวังสำหรับผู้สูงอายุในระหว่างออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุข้อควรระวังที่จะต้องหยุดการออกกำลังกายได้แก่ 1.         เวียนศีรษะ ตามัว หูตึง กว่าปกติ 2.         หายใจหอบ หายใจไม่ทัน 3.         ลมออกหู 4.         ชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ คือ ประมาณ 120-130 ครั้ง/นาที   ข้อห้ามในการออกกำลังกายผู้สูงอายุ 1.         ไม่สบาย 2.         หลังจากฟื้นไข้มาใหม่ๆ 3.         ในสถานที่ร้อนจัด อบอ้าว 4.         หลังจากทานอาหารใหม่ๆ   การบริหารร่างกายในผู้สูงอายุท่านอน 1.         นอนหงายยกแขนขึ้น-ลง เหนือศีรษะและกางออกด้านข้าง 2.         นอนหงาย งอแขนแตะไหล่ เหยียดแขนออก 3.         มือขวายกแตะไหล่ซ้ายเหยียดศอกขึ้นตรงๆ และลง สลับข้างทำแบบเดียวกัน 4.         กระดกข้อมือขึ้น-ลง และกำ-แบมือเต็มที่ 5.         นอนหงายชันเข่า แขนวางข้างตัว หายใจเข้าเต็มที่ท้องป่อง หายใจออกช้าๆท้องแฟบ เป็นการบริหารปอด 6.         นอนหงายชันเข่า 2 ข้าง เหยียดเข่าซ้ายตรง และงอ เข่าเข้ามาอย่างเดิม เหยียดเข่าขวาตรง และงอเข่าเข้ามาอย่างเดิมทำสลับซ้าย-ขวา 7.         นอนหงายชันเข่า 2 ข้าง เหยียดเข่าขวายกขาขึ้นตรงๆ กลับมาในท่าเดิม เปลี่ยนเหยียดเข่าซ้ายยกขาตรงสลับกัน 8.         นอนหงายกางขาออกด้านข้าง สลับซ้าย-ขวา 9.         กระดกเท้าขึ้น-ลง 10.       หมุนเท้าเข้าด้านใน หมุนออกด้านนอก   ท่านั่ง 1.         ก้มศีรษะจรดคาง แล้วเงยหน้าขึ้นช้าๆ 2.         เอียงคอมาทางซ้าย ขวา และหมุนศีรษะไปทางซ้าย ขวา โดยไม่ต้องก้มหน้า 3.         นั่งตัวตรง มือท้าวสะเอวค่อยๆ เอนตัวลงด้านซ้ายจนเต็มที่สลับข้างขวา 4.         นั่งตัวตรง บิดเอวให้หันไปทางซ้าย สลับข้างขวา 5.         นั่งตัวตรง เหยียดเข่าซ้ายขึ้นตรงๆ พร้อมกระดกข้อเท้าเกร็งค้างไว้ 5 วินาที วางเท้าลง สลับเหยียดเข่าขวา   ท่ายืน 1.         ยืนเกาะขอบโต๊ะ หรือเก้าอี้ย่อตัวลงพร้อมแยกเข่า ออกจากกันหลังตรงแล้วยืดตัวขึ้น 2.         ยืนเกาะขอบโต๊ะหรือเก้าอี้ ก้าวขาซ้ายไปข้างหน้า งอเข่าซ้าย ขาขวาเหยียดตรง ค้างนับ 1-3 สลับข้าง            ท่าบริหารแต่ละท่า ควรทำวันละ 15-20 ครั้งก่อนถ้าไม่รู้สึกเหนื่อยให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆออกกำลังกายวันละครั้ง ตอนเช้าหลังตื่นนอนเพราะเป็นเวลาที่ร่างกายพักผ่อนเต็มที่แล้ว และอากาศในตอนเช้าก็สดชื่น แจ่มใส  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

มลภาวะจากฝุ่นละอองที่อาจทำร้ายคุณ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยง

ฝุ่นละอองนี่คือ PM2.5      PM2.5 คืออนุภาคขนาดเล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยน้อยกว่า 2.5 ไมโครเมตร แขวนลอยอยู่ในอากาศรวมกับไอน้ำ ควัน ก๊าซและมลพิษอื่นๆ ในบรรยากาศโดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์และออกไซด์ของไนโตรเจนเป็นที่รับรู้กันว่า PM2.5 เป็นฝุ่นอันตรายไม่ว่าจะมีองค์ประกอบทางเคมีใดก็ตาม เช่น ปรอท แคดเมียม อาร์เซนิกหรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHS) เป็นต้น องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงกำหนดอย่างเป็นทางการให้ PM2.5 จัดอยู่ในกลุ่ม1 ของสารก่อมะเร็งในปี พ.ศ. 2556      เนื่องจาก PM2.5 มีขนาดเล็ก แต่เมื่อแผ่รวมกันแล้วจะมีพื้นผิวรวมกันมากมหาศาล ทำให้มันสามารถนำพาสารต่างๆ ล่องลอยในบรรยากาศรอบตัวเราได้ในปริมาณสูง ทำให้เกิดเป็นหมอกควัน      โดยตัวมันเองและสารหลายชนิดที่อยู่บนผิวของมัน ถือเป็นมลพิษต่อสุขภาพของมนุษย์ ตามที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญและส่งสัญญาณเตือนภัยมานานแล้ว ปัญหาอนุภาคของฝุ่นละออง PM2.5 มีผลต่สุขภาพของมนุษย์อย่างไร      เนื่องจากขนาดที่เล็กของ PM2.5 ทำให้เมื่อมันถูกมนุษย์สูดผ่านรวมเข้าไปกับลมหายใจ สามารถผ่านลงไปได้ลึกจนถึงถุงลมที่เป็นส่วนปลายสุดของปอดเราได้ ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อหลอดลมฝอยและถุงลมในปอด ด้วยคุณสมบัติขนาดจิ๋วจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า บางส่วนของมันจึงเล็ดรอดผ่านผนังถุงลมแล้วซึมผ่านเส้นเลือดฝอยเข้าสู่กระแสโลหิต และกระจายตัวแทรกซึมไปทั่วร่างกายของเราได้ ความร้ายกาจของมันต่อปอดของเราเป็นผลจากการกระตุ้นให้เกิดสารอนุมูลอิสระ ลดระบบแอนตี้ออกซิแดนท์ รบกวนดุลแคลเซียมจนทำให้เกิดการอักเสบ และกระตุ้นยีนที่เกี่ยวข้องกับการหลั่งสารอักเสบซึ่งเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อของตัวเราเอง จนเกิดผลร้ายที่สำคัญ 3 ประการคือ     1. ระยะสั้น เกิดอาการฉับพลัน ทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจ ทำให้เกิดปัญหาของการอักเสบ และส่งผลให้ทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น โรคที่พบ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังเกิดอาการกำเริบ ทั้งโรคจมูกอักเสบ ภูมิแพ้ โรคหืด และโรคถุงลมโป่งพอง ไอ หอบหืด โรคผิวหนังอักเสบและโรคเยื้อบุตาอักเสบ      2. ทำให้คนที่มีโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดเรื้อรังเกิดอาการกำเริบ โดยเฉพาะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด          3.ระยะยาว เนื่องจากฝุ่นมีขนาดเล็ก ฝุ่นไม่ได้เข้าไปแค่ถุงลมอย่างเดียวยังสามารถผ่านถุงลมเข้าไปในหลอดเลือดแดงได้ เข้าไปในเส้นเลือดฝอยขนาดเล็กและมีผลทำให้เกิดการอักเสบในเส้นเลือดตามมา ซึ่งก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง อาจกลายเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังส่งผลให้การทำงานของปอดถดถอย จนอาจทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองได้แม้จะไม่สูบบุหรี่ก็ตาม และอาจมีส่วนทำให้เกิดมะเร็งปอดได้เพิ่มขึ้น และเพิ่มอัตราการตายและการเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลสูงขึ้น           กลุ่มเสี่ยงไหนบ้างที่ควรระวังมลภาวะจากฝุ่นละออง      1. เด็กเล็กเพราะปอดกำลังพัฒนาและร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่      2. ผู้สูงอายุเพราะอาจมีโรคปอดหรือหัวใจที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย.      3. หญิงตั้งครรภ์      4. ผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ โรคถุงลมโป่งพอง โรคหอบหืดเรื้อรัง และผู้ป่วยโรคหัวใจ เพราะฝุ่นละอองอาจกระตุ้นให้โรคกำเริบขึ้น      5. ผู้ที่ออกกำลังหรือทำงานกลางแจ้ง เช่น คนขายพวงมาลัย คนขับขี่มอเตอร์ไซค์ เพราะหายใจเร็วและแรงขึ้น      ล่าสุดหลายจังหวัดในประเทศไทยเจอปัญหาฝุ่นละอองในอากาศสูงเกินค่ามาตรฐาน ปัญหานี้เราควรดูแลตัวเองอย่างไร      1. ควรหลีกเลี่ยงไม่ไปทำกิจกรรมในพื้นที่มีฝุ่นหมอกควันปกคลุม งดออกกำลังกายในที่แจ้ง      2. ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมผ้าปิดจมูกหรือสวมหน้ากาก N-95   คำแนะนำในการลดปริมาณอนุภาคฝุ่นละออง PM2.5 ในบรรยากาศได้อย่างไร    เราสามารถร่วมไม้ร่วมมือควบคุมแหล่งกำเนิดได้โดย 1. ลดการใช้ยานพาหนะส่วนตัว ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ 2.ใช้เครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์มากที่สุด และมีเครื่องมือดักจับอนุภาคที่หลงเหลือไม่ให้กระจายตัวออกมา 3.ควบคุมกระบวนการก่อสร้างให้มีฝุ่นน้อยที่สุด รื้อถอนและทำลายสิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช้งานแล้วอย่างถูกวิธี  4.หลีกเลี่ยงการเผาป่าและเผาพื้นที่เพื่อเตรียมการทำเกษตรกรรม  ** ด้วยความปราถนาดีจากโรงพยาบาลวิภาวดี **  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

"ส้ม" 【ผลไม้วิตามินซีสูง】12 คุณประโยชน์ & สรรพคุณช่วยยับยั้ง ลดความเสี่ยงเยอะมาก

            ส้มเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวอมหวานสามารถนำมาทำเครื่องดื่มให้ความสดชื่นกับร่างกายได้ นอกจากนี้ส้มยังมีคุณค่าทางอาหารไม่น้อยและประโยชน์อีกหลากหลายอย่าง จึงสามารถบอกได้ว่าส้มเป็นผลไม้สารพัดประโยชน์ เรามาดูกันดีกว่า 12 ประโยชน์ของส้มนั้นมีอะไรบ้าง   1. ผลไม้แก้ท้องผูก            ส้มเป็นหนึ่งในผลไม้แก้ท้องผูกได้ เพราะมีใยอาหารสูง ช่วยในระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย โดยกินส้ม 1 ผลใหญ่ก็จะได้ใยอาหาร 2.0 กรัม  2. กระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกาย          ส้มมีวิตามินซีไม่น้อย จึงทำให้ส้มจัดเป็นผลไม้กระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกาย ช่วยป้องกันอาการป่วย ไปจนถึงอาการป่วยที่หนักหนาได้ เพราะเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดี เราก็จะป่วยยาก เชื้อโรคและไวรัสต่างๆ ก็มีโอกาสจู่โจมเราได้น้อยนั่นเอง 3. ปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด           น้ำตาลฟรุกโตสในเนื้อส้มมีส่วนช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่พุ่งสูงหลังจากกินส้มเข้าไป อีกทั้งไฟเบอร์ในส้มยังช่วยให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกทาง จึงจัดว่าส้มเป็นผลไม้ช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดอีกชนิดหนึ่ง        4. ช่วยลดความดันโลหิต           ส้มเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม และยังมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างต่ำ จึงช่วยในกระบวนการไหลเวียนโลหิตได้ดี ทำให้ร่างกายควบคุมความดันโลหิตได้อย่างสมดุล และยังช่วยลดความดันเลือดในคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงด้วยนะคะ 5. ลดคอเลสเตอรอลในเลือด           ในเนื้อส้มเองก็ไม่มีคอเลสเตอรอล ขณะที่วิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระที่มีในเนื้อส้มก็ยังมีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ โดยสารต้านอนุมูลอิสระจะเข้าไปปกป้องหลอดเลือดไม่ให้อนุมูลอิสระเข้ามาเกาะและก่อให้เกิดไขมันพอกพูนไปเรื่อย ๆ จนก่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจ เป็นต้น     6. บำรุงหัวใจ           โพแทสเซียมในส้มคือส่วนสำคัญที่ช่วยให้หัวใจทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ในส้มยังมีวิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ดีต่อการทำงานของหัวใจ ช่วยให้หัวใจเต้นในจังหวะปกติ และช่วยในการไหลเวียนของเลือดให้เป็นไปอย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น   7. ลดความเสี่ยงโรคนิ่วในไต           มีการศึกษาพบว่า น้ำส้ม มีส่วนช่วยลดการเกิดนิ่วในไต โดยโพแทสเซียมในส้มจะช่วยยับยั้งการเกิดนิ่วต่าง ๆ ในร่างกาย และช่วยให้นิ่วถูกขับถ่ายออกมาพร้อมของเสีย ลดความเสี่ยงโรคนิ่วในไตและนิ่วในอวัยวะอื่น ๆ ได้   8. ยับยั้งการเกิดแผลเปื่อย           การศึกษาในวารสาร American College of Nutrition พบว่า คนที่ร่างกายได้รับวิตามินซีสูงจะมีโอกาสเกิดแผลเปื่อยได้น้อยกว่าคนที่ร่างกายได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอต่อความต้องการ และส้มก็เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีมากถึง 89% ของปริมาณที่ร่างกายควรได้รับต่อวันเชียวนะคะ 9. ลดความเสี่ยงโรคสโตรก           อาการสโตรก (Stroke) เกิดจากการที่หลอดเลือดตีบ แตก ตัน ซึ่งการศึกษาจากมูลนิธิโรคหัวใจแห่งอเมริกา พบว่า การรับประทานผลไม้ประเภทซิตรัสอย่างส้มและเกรปฟรุตมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคสโตรกในผู้หญิงได้ถึง 19% เมื่อเทียบกับอาสาสมัครที่กินผลไม้ในกลุ่มซิตรัสน้อยกว่า   10. ป้องกันมะเร็ง           ในเนื้อส้มมีสารต้านอนุมูลอิสระประเภทฟลาโวนอยด์ค่อนข้างสูง ซึ่งเจ้าสารตัวนี้มีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ อีกทั้งเนื้อส้มที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ก็ยังจะช่วยขับเอาของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ออกมา จึงช่วยลดโอกาสเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกทาง           นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า สารซิตรัสในส้มสามารถต้านการเกิดมะเร็งช่องปาก มะเร็งผิวหนัง มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และมะเร็งกระเพาะอาหารได้ด้วย 11. ลดความเสี่ยงโรคจอประสาทตาเสื่อม           มีงานวิจัยที่เผยว่า เพียงกินส้มวันละผลก็ช่วยลดโอกาสเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ ส่วนรายละเอียดจะเป็นยังไง ลองอ่านกันเลย    12. ส้มช่วยบำรุงผิว           สารต้านอนุมูลอิสระผสานกับพลังแห่งวิตามินซีมีส่วนช่วยปกป้องเซลล์ผิวจากการถูกแสงแดดทำร้าย ปกป้องผิวจากมลพิษ ช่วยลดการเกิดริ้วรอย และช่วยบำรุงเซลล์ผิวให้แข็งแรง ทำให้ผิวดูกระชับตึงมากขึ้น เนื่องจากวิตามินซีเป็นสารตั้งต้นของคอลลาเจนนั่นเอง           ไม่เพียงแต่เนื้อส้มและน้ำส้มเท่านั้นที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของเรา แต่อย่างที่บอกไว้ในตอนแรกนะคะว่าส้มมีประโยชน์ไปยันเปลือกเลย                                           ข้อมูลจาก : www.kapook.com

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ไขมันในเลือดสูงหากมากกว่า 240 ม.ก. บวกกับความเสี่ยงของแต่ละคน อาจเกิดโรคร้ายตามมา

ไขมันในเลือดสูงหากมากกว่า 240 ม.ก. บวกกับความเสี่ยงของแต่ละคน อาจเกิดโรคร้ายตามมา      ไขมันในเลือดสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ          ไขมันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย ไขมันเป็นส่วนประกอบของเซลล์ โดยเฉพาะผนังเซลล์ทุกชนิด เซลล์สมอง และเป็นแหล่งพลังงานสำรองโดยเก็บไว้ในรูปเซลล์ไขมัน ไขมันที่สูงผิดปกติมีความเกี่ยวพันอย่างยิ่งกับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ   ไขมันในร่างกายได้มา 2 ทางคือไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นและไขมันที่ได้มาจากอาหาร         ไขมันที่ได้มาจากอาหารมี 2 ประเภทคือ ไขมันจากพืชและไขมันจากสัตว์         ไขมันจากสัตว์ ได้แก่ไขมันที่ได้จากอาหารจำพวก เนื้อสัตว์ มันสัตว์ หนังสัตว์ (หนังเป็ด หนังไก่)  ไขมันสัตว์ (มันหมู มันวัว) ไข่แดง สมองและเครื่องในสัตว์ ซึ่งมี “คอเลสเตอรอล”  เป็นส่วนประกอบสำคัญ         ไขมันที่ได้จากพืชประกอบด้วย “ไตรกลีเซอไรด์” เป็นส่วนใหญ่ ได้จากอาหารประเภท กะทิ แป้ง ขนมหวานที่มีน้ำตาลมาก  ไขมันกลุ่มนี้ ในปัจจุบันเชื่อว่ามีส่วนที่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเช่นกัน  แต่ความสำคัญน้อยกว่า คอเลสเตอรอล         อาหารไขมันต่างๆ ที่รับประทานเข้าไปไม่ว่าจะอยู่ในรูปใด เมื่อลงไปถึง ลำไส้เล็กจะถูกย่อยด้วยน้ำดี และน้ำย่อยจากตับอ่อน เป็นกรดไขมันและสารประกอบไขมันขนาดเล็กๆ จากนั้นถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็กเข้าสู่ร่างกาย เข้าสู่กระแสโลหิต และเข้าไปย่อยสลาย และสร้างขึ้นใหม่ที่ตับ        ในร่างกาย ไขมันต่างๆเหล่านี้จับตัวอยู่ในรูปสารประกอบต่างๆ คือ คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์  จับกับสารประกอบ ฟอสโฟไลปิด  เป็นไขมันไลโปโปรตีน 2-3 ประเภท คือชนิดความแน่นสูง  ชนิดความหนาแน่นปานกลาง  และชนิดความหนาแน่นต่ำ  ( HDL, IDL ,LDL)         ไขมันในเลือดที่เราทำการตรวจเลือดกันอยู่ ประมาณ 2/3 หรือ 60-70% มาจากไขมันที่เราสร้างขึ้น          ไขมันไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) เป็นไขมันที่ไม่ดี  เข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อของหลอดเลือด  ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็งตัว  ที่เรียกว่า  “Atherosclerosis” ไขมันไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำมีคอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบสำคัญ และถ้าในร่างกายมีไขมันชนิดนี้มาก เมื่อผนังของหลอดเลือดแดงที่มีแผลหรือผิดปกติ ไขมันชนิดนี้จะแทรกเข้าไปใต้ชั้นผิวในของหลอดเลือด  กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยา ดึงเอาเม็ดเลือดขาว  เซลล์กล้ามเนื้อเรียบ  ไฟบรินและสารอื่น ๆ ทำให้ผนังหลอดเลือดเกิดมีแผลเป็นหนา ตัวนูนขึ้น (Plaque) และถ้าเป็นซ้ำ ๆ กันและเกิดหลาย ๆ ตำแหน่งจะเกิดหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) ปริกริยานี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าทำให้หลอดเลือดตีบหรืออุดตันได้ โดยเฉพาะ ที่หลอดเลือดหัวใจ        ไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) เป็นไขมันที่ดี  ทำหน้าที่กำจัด คอเลสเตอรอลออก ไปจากเนื้อเยื่อและหลอดเลือดต่างๆ    เมื่อใดแพทย์จะรักษาท่าน        ถ้าท่านมีไขมันคอเลสเตอรอลสูง  เช่น  มากกว่า 240 มก.% หรือค่ารวมของคอเลสเตอรอลในไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ สูงมากกว่าปกติ แพทย์จะตรวจดูว่ามีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบร่วมด้วยหรือไม่ ถ้าท่านมีปัจจัยเสี่ยงได้แก่ มีโรคหลอดเลือดในที่อื่นๆ  สูบบุหรี่ เบาหวานความดันโลหิตสูง  มีประวัติ การเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจในครอบครัว หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน  สูงอายุ ถือว่าท่านมีอัตราเสี่ยงสูง ท่านหรือผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้รับการรักษาอย่างเต็มที่          ไขมันไตรกลีเซอไรด์มีความเกี่ยวพันกับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยกว่าไขมันคอเลสเตอรอล  แต่ถ้าสูงมากๆ ก็ต้องรักษา         ถ้าท่านเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอยุ่แล้ว ต้องรักษาทั้งไขมันคอเลสเตอรอลและไขมันไตรกลีเซอไรด์ที่สูง     วิธีการรักษา สำหรับไขมันในเลือดสูง เช่น คอเลสเตอรอลสูงมากกว่า 240 มก.% และไขมันไลโปโปรตีน ชนิด LDLสูงมากกว่า 160-180 มก.% รวมทั้งมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ 1. ผู้ป่วยจะต้องควบคุมอาหารเป็นเวลาประมาณ1-3 เดือน 2. หลัง 1-3 เดือน เจาะไขมันในเลือดซ้ำ ถ้าไขมันไม่ดี (ไขมันไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอล) ยังสูงอยู่ การใช้ยาลดไขมันในเลือดอาจจำเป็น ซึ่งปัจจุบันมียาลดไขมันในเลือดในท้องตลาดมีอยู่ 4 กลุ่ม  คือ ไฟบริกแอซิด สเตติน เรซิน และ ezetimibe  ยาในกลุ่มสเตตินมีผลการทดลองยืนยันชัดเจนว่าสามารถลดอัตราการเสีนชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ยาลดไขมันแต่ละกลุ่มมีที่ใช้ และ ข้อดีข้อเสียต่างกัน  ควรให้แพทย์เป็นผู้พิจารณา 3.พยายามให้ค่าไขมันคอเลสเตอรอลรวมต่ำกว่า 160 มก.% และ ไขมันไม่ดี (ไขมันไลโป โปรตีนคอเลสเตอรอล) ต่ำกว่า 130 มก.% หรือลดลง 30-50% จากค่าเดิม 4. การควบคุมอาหารและการใช้ยาต้องทำควบคู่กันตลอดไป   หลักการควบคุมอาหาร อาหารควรมีไขมันน้อยกว่า 30% มีคอเลสเตอรอลอยู่ระหว่าง 200-300 มก.%         ถ้าคอเลสเตอรอลสูง 1. หลีกเลี่ยงอาหารจำพวก ไข่แดง  ไขมันสัตว์ (มันหมู มันวัว) เครื่องในสัตว์ (ตับ ไต หัวใจ ปอด ลำใส้และสมอง) น้ำมันต่างๆ จากสัตว์  เนื้อสัตว์ที่มีสีแดง (เนื้อวัว เนื้อหมู) หนังเป็ดหนังไก่ ไข่แดง ปลาหมึกตัวใหญ่  หอยนางรม เป็นต้น 2. หลีกเลี่ยงอาหารทอด  ให้เปลี่ยนเป็น ปิ้ง ย่าง นึ่ง อบ ต้ม แทน 3. น้ำมันที่ใช้ปรุงอาหารให้ใช้พวกน้ำมันที่มีกรดไขม้นชนิดไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันถั่ว น้ำมัน ข้าว โพด  4. ผักสีเขียวรับประทานได้ไม่จำกัด 5. ลดน้ำหนัก  ถ้าไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง 1. หลีกเลี่ยงอาหารจำพวก กะทิ ขนมหวานที่มีน้ำตาล 2. ออกกำลังกาย จะ ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ลดลง 3. ลดดื่ม สุรา เบียร์ 4. ลดน้ำหนัก   สิ่งอื่นๆ ที่ท่านควรรู้ การเจาะเลือดหาระดับไขมันรวมในเลือด เพื่อตรวจค่าไขมันไตรกลีเซอไรด์ร่วมด้วย ควรงด อาหารอย่างน้อย 10-12 ชม.(ไม่ใช่ 6 ซม.) แต่น้ำเปล่าสามารถดื่มได้ แต่ถ้าต้องการตรวจเฉพาะ ไขมันไม่ดี (ไขมันไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอล) ไม่ต้องงดอาหาร  ยาลดไขมันในเลือดไม่ช่วยลดไขมันหน้าท้องไม่ช่วยลดน้ำหนักเพราะไขมันหน้าท้อง เป็นเซลล์ไขมันที่ร่างกายสะสม ซึ่งเป็นคนละตัวกับไขมันในเลือด ถ้าไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจแล้ว  ระดับไขมันคอเลสเตอรรอลที่ต่ำกว่า 240 มก.%   และไขมันไม่ดี (ไขมันไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอล) ต่ำกว่า 130 มก. % ก็ถือว่ายอมรับได้ น้ำมันปลามีฤทธิ์ในการลดไขมันไตรกลีเซอไรด์  และมีฤทธิ์ในการเพิ่มไขมันไลโปปรตีน ชนิด ความหนาแน่นสูง แต่ไม่ลดไขมันไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

วิตามินดี (Vitamin D) มีประโยชน์ ห้ามขาด ถ้าไม่อยากเป็นโรคเหล่านี้!

ทราบไหมว่า มีงานวิจัยศึกษาพบว่า คนไทยวัยทำงานถึงหนึ่งในสาม หรือประมาณร้อยละ 36.51 ขาดวิตามินดี ทั้งๆที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่เรียกได้ว่ามีแต่ฤดูร้อนน้อยกับฤดูร้อนมากเท่านั้น  เราได้วิตามินดีจากไหน? ร่างกายของเราจะได้รับวิตามินดี 2 ทางด้วยกันคือ  1. อาหาร ซึ่งในอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดี เช่น ปลาแซลมอน หรือปลาแมคคอแรลที่สุก ปลาทูน่ากระป๋อง และ ในต่างประเทศมีการเพิ่มเติมวิตามินดี ใส่ลงในนม น้ำส้ม โยเกิร์ต หรือแม้กระทั่งธัญพืชอาหารเช้าที่ใส่วิตามินดีเสริม 2. แสงแดด  ซึ่งการที่เราจะได้รับวิตามินดีจากแสงแดดนั้น จะต้องให้ผิวหนังสัมผัสกับแสงอาทิตย์เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาทีทุกวัน โดยใส่เสื้อแขนสั้น กางเกงขาสั้น และวิตามินดี 3 จะสังเคราะห์ในผิวหนังของเราจากรังสี UVB ซึ่งเป็นรังสีที่มีช่วงคลื่นสั้น ตกกระทบที่ผิวหนังชั้นนอกสุด หรือชั้นหนังกำพร้า ซึ่งเป็นผิวบริเวณที่สังเคราะห์วิตามินดี  แต่จากการที่เราวัยทำงานที่ทำงานกันอยู่ในตึก หรือพนักงานออฟฟิศ ตอนเช้าก่อนออกจากบ้าน ใส่เสื้อแขนยาว ทาครีมกันแดด หลีกเลี่ยงแสงแดดเพราะกลัวผิวคล้ำ ขับรถติดฟิล์มกรองแสงเพราะแสงแดดจ้า ตกเย็นออกกำลังกายในที่ร่ม เข้า Fitness ตามวิถีชีวิตคนเมืองกรุง อีกทั้งบางคนที่มีผิวสีคล้ำ ปัจจัยเหล่านี้เองทำให้เราไม่ได้รับวิตามินดีจากแสงแดด ประกอบกับอายุที่มากขึ้นการดูดซึมวิตามินดีจากอาหารก็ลดลงตามวัยด้วย และเมื่อปัจจัยเหล่านี้รวมกันร่างกายของเราจึงขาดวิตามินดีได้ หน้าที่หลักของวิตามินดี คือช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโต และเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน  แต่ในปัจจุบันเราทราบแล้วว่าวิตามินดีมีโครงสร้างคล้ายเสตีรอยด์ฮอร์โมน ( Serge Steroid) จึงถูกจัดเป็นฮอร์โมนประเภทหนึ่ง ร่วมกับอวัยวะต่าง ๆ ทั่งร่างกายทั้งในเซลล์สมอง บีต้าเซลล์ในตับอ่อนประกอบด้วย VDR ( Vitamin D Receptor ) ซึ่งมีผลต่อการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ทั้งร่างกาย เมื่อเราขาด Vitamin D หากเรามีวิตามินดีต่ำหรือขาดวิตามินดี เป็นระยะเวลานานจะส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย ทำให้เกิดโรคกระดูกน่วม (Osteomalacia)  โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets)  การขาดวิตามินดียังสัมพันธ์กับการเกิดโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เพิ่มความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม และอาจทำให้กระดูกหักได้  การขาดวิตามินดีมีผลต่อสุขภาพของเราด้านอื่นนอกเหนือจากเรื่องกระดูกของเรา เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscle weakness) ช่วยต้านโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon cancer) มะเร็งเต้านม (Breast cancer) มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer) กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย (Immune system) รวมถึงโรคเบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes)  โรคเอ็มเอส (MS – Multiple Sclerosis) และกลุ่มโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (Inflammatory Bowel Disease – IBD) โรคติดเชื้อ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน เราควรปฏิบัติตัวอย่างไร จากข้อมูลงานวิจัยเราจะเห็นได้ถึงประโยชน์ของวิตามินดีมากมายซึ่งไม่เพียงแต่เฉพาะในกระดูก แต่มีผลสำคัญในระบบอื่นๆด้วย ดังนั้น และเพื่อเป็นการป้องกันการขาดวิตามินดี เราจึงควรเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดีสูง ร่วมกับ.. ปรับวิถีการดำเนินชีวิต เช่น ออกสัมผัสแสงแดดยามเช้า นอกจากนั้น.. การรับประทานวิตามินดีในรูปแบบของวิตามินเสริม ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก โดยปริมาณของวิตามินดีที่แนะนำว่าควรได้รับต่อวัน (The Recommended Dietary Allowance – RDA) คือ 600 international units (IU) แต่ทั้งนี้ควรได้รับการตรวจหาระดับ VitaminD Level,Totel ก่อนเริ่มการรักษา    การรักษาควรทำอย่างไร เราควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวัดระดับวิตามินดีในเลือดก่อนทานวิตามินเสริม เนื่องจากหากเรารับประทานวิตามินดีในปริมาณมาก เกินความต้องการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ในปริมาณมากกว่า 20,000 IU ต่อวัน แทนที่จะเกิดประโยชน์ ก็อาจทำให้เกิดโทษและเป็นอันตรายต่อสุขภาพเราได้เช่นกัน   ด้วยความปรารถนาดีจากแผนกเวชศาสตร์ชะลอวัย รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เตรียมรับมือกับฮอร์โมนเมื่ออายุเยอะขึ้น

เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ปัญหาที่เห็นได้ชัดคือ เรื่องสุขภาพทางกายที่เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ที่เรียกว่าอาการของ “วัยทอง”  โดยเกิดขึ้นในหญิงและชายที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ฮอร์โมนเพศ หรือฮอร์โมนเอสโตรเจน จะลดลงเรื่อยๆ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วย   เมื่อระดับฮอร์โมนเพศลดลง เกิดอะไรขึ้น? โดยทั่วไปจะเกิดอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตัว รู้สึกร้อนวูบวาบตามร่างกาย เหงื่อออกและใจสั่น รวมถึงอาการทางจิตใจและสมอง เช่น ความจำลดลง สมาธิสั้น ตกใจ หงุดหงิดง่าย ตลอดจนเรื่องของอารมณ์ทางเพศที่ลดลงตามไปด้วย   ใช้ฮอร์โมนทดแทน จะดีหรือไม่? การใช้ฮอร์โมนทดแทน ขึ้นอยู่กับว่ามีอาการที่กระทบชีวิตประจำวันมากน้อยแค่ไหน เพราะอาการอารมณ์แปรปรวน เครียดง่าย นอนไม่หลับ หรือร้อนวูบวาบเป็นอาการที่กระทบต่อคุณภาพชีวิต ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการลดลงของฮอร์โมนเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดอาการรุนแรง ที่เกิดจากความเครียดจากครอบครัวและการงาน รวมถึงสภาพจิตใจดั้งเดิมของแต่ละคน ดังนั้นหากไม่ได้รับผลกระทบมาก ไม่จำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ก่อนหากต้องการใช้เพื่อความปลอดภัย   เสริมฮอร์โมนด้วยอาหาร ทั้งนี้ เราสามารถเสริมฮอร์โมนได้ด้วย อาหารที่มีส่วนประกอบตามธรรมชาติคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เรียกว่า ไฟโตเอสโตรเจน ได้แก่   1.ฟลาโวนอยด์ ในกลุ่มเบตาแคโรทีน ช่วยในการขจัดสารพิษในสมองและช่วยให้สมองได้รับออกซิเจนพบมากในผลไม้ที่มีสีต่างๆ เช่น แครอท ฟักทอง แคนตาลูป มะเขือเทศ มะละกอ ส้มและผักใบเขียว เช่น ตําลึง คะน้า บล็อคโคลี เป็นต้น   2. วิตามินบี ช่วยส่งเสริมระบบไหลเวียนเลือด การทํางานของฮอร์โมน ประสาท และส่งเสริมให้ระบบกล้ามเนื้อแข็งแรง โดยวิตามินบี 6 มีมากในจมูกขาวสาลี กล้วย ไก่ ปลา กะหล่ำดอก ส่วนวิตามินบี 12 มีมากในตับ เนื้อวัว เนื้อหมู ปลาเนื้อขาว ไข่ ธัญพืช นม   3. วิตามินซี ช่วยด้านการไหลเวียนโลหิต ทําให้เส้นเลือดมีความยืดหยุ่นและขยายตัวได้ดี และช่วยให้อสุจิแข็งแรง ไม่จับตัวเป็นกลุ่ม พบได้ในผักและผลไม้สดทุกชนิด   4. วิตามินอี ช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระ เสริมความแข็งแกร่งของเซลล์เนื้อเยื่อหัวใจและกล้ามเนื้อต่างๆ ป้องกันการเสื่อมชราของเนื้อเยื่อและสร้างฮอร์โมน สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย   5. แคลเซียม ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบประสาทเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางเพศและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอารมณ์ พบได้ในนม ผลิตภัณฑ์จากนมและถั่วเหลือง ผักใบเขียว เช่น คะน้า ตําลึง เป็นต้น   6. โครเมียม หากขาดโครเมียมจะทําให้ความต้องการทางเพศลดลง พบได้ในแอปเปิ้ล องุ่น ลูกเกด ผักใบเขียว เห็ด ถั่ว เป็นต้น   7. สังกะสี มีบทบาทสําคัญในการสร้างฮอร์โมนเพศชาย และการทํางานของต่อมลูกหมาก พบมากใน หอยนางรม เนื้อปู เมล็ดฟักทอง ถั่ว หัวหอม ไข่แดง เป็นต้น วิตามินและเกลือแรกต่างๆ ที่ได้แนะนำนั้นล้วนส่งผลดีต่อร่างกาย แต่ควรกินอย่างพอเหมาะของร่างกาย รวมถึงอย่าหลงเชื่อการรับประทานยาหรือสมุนไพรตามคำโฆษณา เพราะยาเหล่านี้อาจส่งผลเสียของร่างกาย โดยลูกหลานก็ต้องช่วยกันดูแลผู้สูงวัยอย่างใกล้ชิด โดยหากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์เป็นวิธีที่ดีที่สุดค่ะ        ด้วยความปรารถนาดีจากแผนกเวชศาสตร์ชะลอวัย รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

"ซิฟิลิส" โรคติดต่อที่ไม่ควรมองข้าม

เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema Pallidum การติดต่อจะเกิดขึ้นจากการสัมผัสระหว่างปาก อวัยวะเพศ หรือส่วนอื่นของร่างกายของผู้รับเชื้อกับแผลซิฟิลิสของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังอาจติดจากมารดาไปยังทารกได้ทั้งในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด ทำให้ทารกป่วยจากโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดได้ซึ่งรายละเอียดจะยังไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ ผู้ป่วยโรคซิฟิลิสอาจมีอาการและอาการแสดงได้หลากหลายขึ้นกับระยะของโรค ระยะแรก (Primary Stage Symptoms) ผู้ป่วยมักมีแผลริมแข็ง (chancre) อาจเป็นแผลเดียวหรือหลายแผล ไม่มีอาการเจ็บ ส่วนมากเกิดในตำแหน่งที่ผู้ป่วยมีเพศสัมพันธ์ เช่น อวัยวะเพศ ริมฝีปาก ช่องปาก ทวารหนัก ไส้ตรง แผลอาจคงอยู่ราว 3 ถึง 6 สัปดาห์แล้วหายเอง หากผู้ป่วยไมได้รับการักษาโรคจะดำเนินเข้าสู่ระยะที่สอง เนื่องจากแผลดังกล่าวไม่เจ็บและส่วนมากเกิดในที่ลับ ผู้ป่วยจึงอาจไม่ทันสังเกตเห็นก่อนที่แผลจะหายไป ระยะที่สอง (Secondary Stage Symptoms) ผู้ป่วยมักมีผื่นขึ้นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้ารวมถึงอาจมีผื่นขึ้นที่ส่วนอื่นของร่างกาย ผื่นมีสีแดงน้ำตาล ไม่คัน อาจมีแผลเจ็บในปากหรือในช่องคลอดได้ บางครั้งอาจเรียกว่า "ระยะออกดอก" ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่น เช่น ไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ผมร่วง อ่อนเพลีย ซึ่งอาการดังกล่าวอาจหายไปเอง หากผู้ป่วยไม่ได้รับการักษาโรคจะดำเนินเข้าสู่ระยะถัดไป ระยะแฝง (Latent Stage Symptoms) ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใด ๆ ได้นานหลายปี โรคซิฟิลิสในระยะนี้อาจตรวจพบได้จากการเจาะเลือดเท่านั้น ระยะที่สาม (Tertiary Stage Symptoms) ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะก่อนหน้านี้จะเข้าสู่ระยะที่สาม เชื้อโรคอาจทำลายหัวใจ สมอง ตา รวมถึงอวัยวะอย่างอื่น ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรง เช่น อาการขยับแขนขาได้ลำบาก อัมพาต อาการชา ตาบอด โรคหัวใจ หรือเสียชีวิตได้ บางครั้งโรคนี้จึงถูกเรียกว่าเป็นนักเลียนแบบผู้ยิ่งใหญ่ (The Great Imitator) เนื่องจากทำให้มีอาการได้หลากหลาย คล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ หลายโรค การวินิจฉัย                 การวินิจฉัยมักต้องอาศัยอาการและการตรวจเลือด ผู้ที่ควรจะได้รับการตรวจวินิจฉัย ได้แก่ ผู้ที่มีอาการแผลริมแข็งที่อวัยวะเพศหรือปาก ผู้ที่มีคู่นอนติดเชื้อซิฟิลิสหรือมีอาการของโรคซิฟิลิส และผู้ที่ตั้งครรภ์หรือวางแผนจะตั้งครรภ์ซึ่งในปัจจุบันการตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิสก็เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจฝากครรภ์ในประเทศไทย การป้องกัน วิธีการป้องกันโรคซิฟิลิสที่ดีที่สุดคือการไม่มีเพศสัมพันธ์หรือการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่ไม่มีเชื้อซิฟิลิสและไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น การสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งจะลดความเสี่ยงการติดเชื้ออย่างไรก็ตามถุงยางอนามัยสามารถป้องกันได้เฉพาะบริเวณที่ถุงยางอนามัยคลุมไว้เท่านั้น หากเป็นคู่รักใหม่ควรพาไปตรวจเลือดก่อนการมีเพศสัมพันธ์หรือแต่งงาน จากข้อมูลที่มีพบว่าการล้างอวัยวะเพศ การปัสสาวะ หรือการสวนล้างช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ การรักษา การรักษาสามารถทำได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี ยาที่แนะนำให้ใช้คือยา benzathine penicillin G โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 ครั้งในรายที่ติดเชื้อน้อยกว่า 1 ปี ในรายที่มีการติดเชื้อมานานอาจต้องฉีดยาหลายครั้ง ในกรณีที่แพ้ยา penicillin อาจใช้ doxycycline หรือ tetracycline แทนได้ กรณีผู้ป่วยซิฟิลิสเข้าระบบประสาทแนะนำให้ใช้ benzylpenicillin ชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือใช้ ceftriaxone แทน ระหว่างการรักษาผู้ป่วยอาจมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ (Jarisch–Herxheimer reaction) อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยรักษาจนหายแล้ว ควรมีการติดตามโดยการตรวจเลือดทุก ๆ 3 เดือน จนครบ 3 ปี และควรปฏิบัติคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด แจ้งคู่นอนปัจจุบันและคู่นอนในอดีตให้รับการตรวจและรักษาเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกระทั่งได้รับการรักษาให้หายขาดทั้งผู้ป่วยและคู่นอน เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำกันและกัน หลังผู้ป่วยหายขาดจากโรคแล้วผู้ป่วยก็ยังสามารถติดเชื้อใหม่ได้จากคู่นอนที่ไม่ได้รักษา หรือจากคู่นอนใหม่ที่มีเชื้อนี้ ด้วยความปรารถนาดีจากแผนกสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<