การตรวจการได้ยิน

การตรวจการได้ยิน ( Hearing Test )   คุณมีปัญหาเหล่านี้หรือไม่ ??   -           ไม่ค่อยเข้าใจคำพูดเวลาคนพูดคุยกัน -           ต้องเปิด TV หรือ วิทยุหรือเพลงเสียงดัง -           ต้องถามซ้ำ เช่น ฮะ อะไรนะ ? / พูดอีกครั้งได้ไหม ? -           ฟังโทรศัพท์ไม่ค่อยได้ยิน -           ได้ยินเสียงดังวี๊ดๆในหู -           ต้องพูดเสียงดังขึ้น -           ฟังลำบากเมื่ออยู่ในที่จอแจ -           ฟังเสียงสูงๆไม่ค่อยชัด เช่น เสียงเด็ด เสียงผู้หญิง   หากคุณมีปัญหาดังกล่าว เป็นไปได้ว่าอาจมีปัญหาด้านการได้ยิน การตรวจการได้ยินคืออะไร ?   การตรวจระดับการได้ยิน เป็นการตรวจการทำงานของหู และระบบโสตประสาทเพื่อหาระดับการได้ยิน โดยปกติจะทำการทดสอบหาระดับการได้ยินผ่านสองทาง คือ การนำเสียงผ่านอากาศ และการนำเสียงผ่านกระดูก โดยตรวจในห้องเก็บเสียงโดยเฉพาะ •          การนำเสียงผ่านอากาศจะทดสอบโดยการครอบหูฟัง  •          การนำเสียงผ่านกระดูกจะทดสอบโดยการวางตัวปล่อยเสียงที่กระดูกกกหู  อาการที่ควรได้รับการตรวจการได้ยิน -           หูอื้อ -           มีเสียงดังในหู -           เวียนศีรษะ/ เวียนศีรษะบ้านหมุน -           การได้ยินลดลง -           ปวดหู -           มีน้ำไหลจากหู -           ฟังเสียงพูดไม่ค่อยชัด -           ทำงานสัมผัสเสียงดัง   เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจ   -           Audiometer  : ตรวจหาพยาธิสภาของระบบการได้ยิน -           Tympanometer : ตรวจการทำงานของหูชั้นกลาง -           Otoacoustic emissions (OAEs) : ตรวจวัดเสียงสะท้อนกลับจากเซลล์ขนในหูชั้นใน มักตรวจ screen ในทารกแรกเกิด ประเภทของการสูญเสียการได้ยิน -           การนำเสียงบกพร่อง : พยาธิสภาพที่ผิดปกตออยู่ในหูชั้นกลาง -           เส้นประสาทการรับฟังเสียงบกพร่อง : พยาธิสภาพที่ผิดปกตออยู่ในหูชั้นใน -           การรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม : พยาธิสภาพที่ผิดปกตออยู่ในหูชั้นกลางร่วมกับหูชั้นใน   ทดสอบกันไหมการได้ยินคุณอยู่ระดับไหน   ระดับการได้ยิน   ระดับความสามารถในการได้ยิน ปกติ      0 - 25 dB          ไม่มีความลำบากในการรับฟังเสียงพูด หูตึงเล็กน้อย      26 - 40 dB        ไม่ได้ยินเสียงพูดเบาๆ หูตึงปานกลาง    41 - 55 dB        เข้าใจคำพูดระดับความดังปกติในระยะ 3 -5 ฟุต หูตึงมาก            56 - 70 dB        ต้องพูดเสียงดังจึงจะเข้าใจ และมีความลำบากในการรับฟังขณะอยู่ในที่จอแจ หูตึงรุนแรง         71 - 90 dB        อาจได้ยินเสียงตะโกนในระยะ1ฟุต แต่ไม่เข้าใจ หูหนวก  91+ ขึ้นไป         ไม่ได้ยินแม้ได้ยินเสียงดังมากๆ   40-60 dB คือระดับเสียงคำพูดปกติ   การรักษาและการป้องกัน -           ยา -           ผ่าตัด -           ใส่เครื่องช่วยฟัง -           ใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงดังหากทำงานสัมผัสเสียงดัง เช่น Ear Plug/ Ear muff -           หลีกเลี่ยงการสัมผัสเสียงดังเป็นเวลานานๆ ** เมื่อใดที่ประสบปัญหาการได้ยิน เมื่อนั้นต้องประสบปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน  อย่าให้หูของเราต้องเสื่อมก่อนวัยอันควร ควรตรวจการได้ยินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง **            ด้วยความปรารถนาดี ศูนย์ ตา หู คอ จมูก รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การส่องกล้องลำไล้ใหญ่ ทางเดินอาหารส่วนล่าง (Colonoscopy)

การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง (Colonoscopy) เป็นการส่องกล้องเพื่อดูความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ตั้งแต่ทวารหนักจนถึงลำไส้ใหญ่   ส่วนต้น(Caecum) ไส้ติ่ง(Appendix) และบริเวณลำไส้เล็กส่วนปลาย(Terminal lleum) ซึ่งเป็นหัตถการที่มีความปลอดภัยสูงโดยใช้เวลาในการตรวจไม่นาน(สำหรับในกรณีที่ไม่มีการตัดเนื้องอก) ถ้าผู้ป่วยอายุน้อยและไม่มีโรคประจำตัวก็สามารถตรวจโดยไม่ต้องนอน รพ. แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาแทรกซ้อน ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ โรคตับและโรคไต จำเป็นต้องรับผู้ป่วยไว้ในรพ.เพื่อให้การดูแลอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในระหว่าง หรือหลังการตรวจรักษาได้ ข้อบ่งชี้ของการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ การถ่ายอุจจาระผิดปกติไปจากเดิม(Abnormal Bowel Habit) เช่น ท้องผูกมากขึ้น มีท้องเสียสลับท้องผูก ถ่ายอุจจาระมีเลือดหรือมูกปน หรือท้องเสียบ่อยๆ ถ่ายอุจจาระไม่สุด ปวดท้องด้านล่าง ปวดเบ่งอยากถ่าย หรือปวดเป็นๆหายๆ มีการตรวจพบความผิดปกติในภาพถ่ายรังสีของลำไส้ใหญ่(Abnormal Barium enema) มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ อุจจาระมีลักษณะปกติ แต่ตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบมีเลือดปน (ผล Occult blood test ได้ผลเป็นบวก) การเตรียมตัวของผู้ป่วยและขั้นตอนการตรวจ ผู้ป่วยควรงดยา Aspirin หรือยาที่มีธาตุเหล็กประกอบอย่างน้อย 7 วันก่อนตรวจ เพื่อให้ลำไส้ของผู้ป่วยสะอาด ปราศจากอุจจาระที่ผิวของลำไส้ใหญ่ จึงต้องมีการเตรียมผู้ป่วยเพื่อการส่องกล้อง ดังนี้ สามวันก่อนตรวจให้รับประทานอาหารที่มีกากน้อย เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ปลา ข้าว ขนมปังสีขาว เนย นม น้ำผึ้ง ชา กาแฟ “ห้ามรับประทานอาหารที่มีกากมาก” เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง หนึ่งวันก่อนตรวจ ให้รับประทานอาหารเหลวใสทุกมื้ออาหาร และดื่มน้ำมากๆ(อาหารเหลวใส คือ น้ำผลไม้ต่างๆที่ไม่มีกาก น้ำชาไม่ใส่นม กาแฟดำ น้ำซุปใสที่ไม่มีกากอาหาร และน้ำหวาน) การให้ยาระบายเพื่อให้ลำไส้ไม่มีอุจจาระ(ตามแพทย์สั่ง) ในตอนเย็นหรือก่อนนอนหรือเช้าวันตรวจมารับประทานที่รพ. โดยที่ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร รพ.วิภาวดี ได้จัดเตรียมห้องสำหรับผู้รับการตรวจโดยเฉพาะ(แยกห้องชาย/หญิง) การดูแลหลังการตรวจ งดน้ำและงดอาหารประมาณหนึ่งชั่วโมง จนกว่าอาการทั่วไปหรือจนกว่าจะรู้สึกตัวเป็นปกติ ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องอืด แน่น เนื่องจากลมที่แพทย์ใส่เข้าไปในลำไส้ ซึ่งจะหายไปในเวลาไม่นาน อาจมีความรู้สึกปวดท้องอยากถ่าย อาจมีเลือดออกปนอุจจาระเล็กน้อยในสองวันแรก (กรณีตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ) การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง เป็นหัตถการที่ปลอดภัยสูง โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนคือ ลำไส้ทะลุ หรือฉีกขาด ซึ่งต้องผ่าตัดซ่อมแซมมีน้อยมาก เลือดที่ออกจากการตัดชิ้นเนื้อหรือติ่งเนื้อลำไส้ มักหยุดได้เอง หากผู้ป่วยมีอาการปวดท้องเฉียบพลัน มีไข้ หรือเลือดออกจากทางทวารหนักมากกว่าครึ่งถ้วยกาแฟ ควรติดต่อแพทย์โดยด่วน   ด้วยความปรารถนาดี ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

7 วิธีกินแบบชะลอวัยเพื่อ หุ่นสวย ผิวใส สุขภาพดี

7 วิธีกินแบบชะลอวัยเพื่อ หุ่นสวย ผิวใส สุขภาพดี   1. กินครบ 3 มื้อ ห้ามอดมื้อเช้า  ควรเบามื้อเที่ยง  และเลี่ยงหนักในมื้อเย็น     2. กินให้ครบ 5 หมู่ โปรตีนสีขาวจากไข่/ปลา คาร์บอไฮเดรตเชิงซ้อนจากข้าวกล้อง ธัญพืช ไขมันดีจากพืช เช่น ถั่ว งา อโวคโด ลดไขมันจาดสัตว์ กินวิตามินและเกลือแร่จากผักหลากสี และผลไม้ที่ไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง แอปเปิลเขียว    3.  กินให้หลากหลาย สลับหมุนเวียนกันไป การกินอาหารชนิดเดิมซ้ำบ่อย ๆ เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร และการได้รับสารปนเปื้อนชนิดเดิมเพิ่มมากขึ้น     4.  กินผักผลไม้สดตามฤดูกาล ช่วยลดความเสี่ยงจากปริมาณสารพิษและสารเคมีที่ใช้เพาะปลูก และล้างผัก-ผลไม้ให้สะอาดก่อนกิน กินผักและผลไม้แบบออร์กานิคได้ยิ่งดี     5. เลือกกินอาหารที่อายุสั้น คืออาหารปรุ่งสดใหม่  ไม่ผ่านการแปรรูป ไม่สารกันบูด และลด-ละ-เลี่ยงอาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารแช่แข็ง อาหารสะดวกซื้อ แล้วคนกินจะอายุยืน    6. กินน้อยแก่ช้า กินมากแก่เร็ว ควรกินช้า ๆ แค่พออิ่ม เคี้ยวให้ละเอียด ช่วยลดภาระการทำงานของร่างกาย ลดการเกิดอนุมูลอิสระที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญ หรืออาจทำ IF ( Intermitent-Fasting) สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ช่วยกระตุ้น Growth Hormone เพื่อฟื้นฟูความอ่อนเยาว์    7. จิบน้ำบ่อย ๆ ตลอดวันให้ได้ 2-3 ลิตร เพื่อบำรุงผิวพรรณและสมอง อย่าปล่อยให้กระหายน้ำแล้วดื่มน้ำทีละเยอะ ๆ  เลี่ยงดื่มน้ำที่ใช้กระบวนการ RO – reverse osmosis เพราะเสี่ยงต่อการเสียแร่ธาตุในร่างกายและกระดูกได้       ด้วยความปรารถนาดี แผนกเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลวิภาวดี 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

อยู่อย่างสุขใจเมื่อเข้าวัยทอง (ผู้หญิง) เตรียมรับมือกับวัยทองได้ไม่ยากหากเข้าใจ

วัยทอง (Menopause) คืออะไร? วัยทองเป็นวัยหนึ่งของชีวิตซึ่งเริ่มด้วยวัยทารก  วัยเด็ก  วัยรุ่น  วัยกลางคน  วัยทอง  วัยรุ่นเป็นวัยเริ่มต้นที่รังไข่สร้างฮอร์โมนออกมาทำให้มีประจำเดือน ส่วนวัยทองรังไขจะทำงานน้อยลงทำให้สร้างฮอร์โมน (Estrogen, Progesterone) ออกมาน้อยลง ทำให้บางท่านอาจมีประจำเดือนน้อยลง บางท่านจะมีประจำเดือนห่างออกไปจนถึงหมดประจำเดือนไปเลย  ฮอร์โมนนี้จะช่วยในการมีประจำเดือนการตั้งครรภ์ ความแข็งแรงของกระดูก ลดระดับ Cholesterol วัยทองจะเริ่มเมื่อไร หญิงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป สามารถเกิดวัยทองได้ โดยเฉลี่ยคืออายุ 50 ปี ผู้ที่สูบบุหรี่จะเกิดวัยทองได้เร็วกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ผู้ที่ตัดรังไข่ก็สามารถเกิดวัยทองได้ทันทีหลังตัดรังไข่ อาการเตือนของวัยทองมีอะไรบ้าง ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เช่น มาเร็ว  มาช้า  มามาก  มาน้อย ร้อนวูบวาบตามตัว ผู้ป่วยจะมีร้อนโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย  แก้ม  คอ  หลังจะแดง  หลังจากนั้นจะตามด้วยเหงื่อออกและหนาวสั่นในเวลากลางคืน  อาการนี้จะเป็นนาน 1-5 นาที ปัญหาเกี่ยวกับช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ  เนื่องจากระดับ Estrogen ลดลงทำให้เยื่อบุช่องคลอดแห้งและบางลง ผู้ป่วยจะมีอาการแสบร้อนในช่องคลอด  ปวดขณะร่วมเพศ  และมีการติดเชื้อในช่องคลอดบ่อยขึ้น  นอกจากนั้น  ยังมีเรื่องกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ปัสสาวะเล็ดเวลาจากหรือไอ ปัญหาเรื่องการนอน  นอนหลับยาก  ตื่นเร็ว  อาจจะตื่นกลางคืนและเหงื่อออกมาก  ผู้ป่วยจะบ่นเรื่องเหนื่อย ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ผันผวนโกรธง่าย ไม่ค่อยมีสมาธิ การเปลี่ยนแปลงทางรูปร่าง เอวจะเริ่มหายไป ไขมันที่เคยเกาะบริเวณขาจะเปลี่ยนไปเกาะบริเวณเอว  กล้ามเนื้อลดลงมีไขมันเพิ่ม ผิวหนังเริ่มเหี่ยว ปัญหาอื่น เช่น ปวดศีรษะ  ความจำลดลง  ปวดตามตัว วัยทองของโรค เมื่อเข้าสู่วัยทองจะมีโรคหลายโรคเกิดมากในวัยนี้  ได้แก่  โรคหัวใจ  โรคกระดูกพรุน  มะเร็งเต้านม  แต่ไม่มีใครสามารถที่จะคาดเดาว่าเป็นใครจะเป็นโรคดังกล่าว  แต่เราจะพิจารณาจากปัจจัยเสี่ยงว่า  วัยทองคนใดมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคอะไร  ดังนั้นท่านที่อยู่ในวัยทองท่านจะต้องรู้สิ่งต่อไปนี้เพื่อการตัดสินใจรับฮอร์โมนทดแทน รายละเอียดเกี่ยวกับโรคหัวใจ  โรคกระดูกพรุน  โรคมะเร็งเต้านม ปัจจัยเสี่ยงของแต่ละโรค ผลของฮอร์โมนทดแทนต่อภาวะดังกล่าว โรคที่มักจะเกิดกับวัยทอง ผู้ป่วยจะเกิดโรคกระดูกพรุนได้เร็ว ผู้ป่วยวัยทองจะมีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ  และโรคหลอดเลือดสมองเพิ่ม ผู้ป่วยควรควบคุมปัจจัยเสี่ยง มะเร็งเต้านม การปฏิบัติตัวเมื่อเข้าสู่วัยทอง ให้รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ลดไขมัน ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ  เลิกบุหรี่  และแอลกอฮอล์ ใช้สารหล่อลื่นก่อนร่วมเพศ ตรวจมะเร็งเต้านม  มะเร็งปากมดลูก ทุกปี การรักษาโรคที่มากับวัยทองโดยไม่ใช้ฮอร์โมน ก่อนการให้ฮอร์โมนทดแทน  จะต้องประเมินความรุนแรงของโรคที่พบร่วมกับวัยทอง  เช่น อาการร้อนวูบวาบตามตัว  กระดูกโปร่งบาง และต้องมาเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจาการให้ฮอร์โมน  เช่น มะเร็ง  โรคหัวใจและหลอดเลือด   และจะต้องพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่  ในการรักษาภาวะเหล่านี้ ถ้าหากท่านมีอาการร้อนวูบวาบตามตัว(วัยทอง)  ควรปฏิบัติตัวดังนี้ เมื่อเริ่มเกิดอาการ้อนให้ไปอยู่ที่เย็น ๆ  ให้นอนในห้องที่เย็น ให้ดื่มน้ำเย็นเมื่อเริ่มรู้สึกร้อน หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ด ๆ และร้อน หลีกเลี่ยงสุรา หลีกเลี่ยงความเครียด  เมื่อเวลาเครียดให้หายใจเข้าออกยาว ๆ ช้าและใจเย็น ๆ ถ้าหนาวให้ใส่เสื้อหลายชั้น  และหากร้อนก็สามารถถอดทีละชั้น แพทย์บางท่านแนะนำให้ใช้วิตามินอี  ซึ่งจะลดอาการได้ร้อยละ 40 และยาลดอาการซึ่งเศร้ากลุ่ม  SSRI เช่น Prozac Zoloft อาหารซึ่งมีถั่วเหลืองจะช่วยลดอาการร้อนตามตัว อาการช่องคลอดแห้ง เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะบ่อย  ควรปฏิบัติตัวดังนี้ เนื่องจากเนื้อเยื่อของช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะจะฝ่อทำให้เกิดอาการดังกล่าว  และหากมีข้อห้ามในการรับประทานฮอร์โมนทดแทน  หรือผู้ป่วยไม่อยากจะรับความเสี่ยงจากการให้ฮอร์โมน  ก็สามารถใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดทาช่องคลอดได้  โดยระดับยาในเลือดจะมีน้อยกว่าชนิดรับประทาน  1 ใน 4  แต่จะให้ผลดีต่อช่องคลอดมากกว่าชนิดรับประทาน 4 เท่า  ในการใช้ยาครั้งแรกให้ทาทุกวัน  หลังจากนั้นให้ทาอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง  หรือแล้วแต่การปรับของผู้ป่วย นอกจากนั้น  บางคนอาจจะใช้ยาที่เพิ่มความชุ่มชื่นแก่ช่องคลอดแต่ไม่ทำให้เนื้อเยื่อหนาตัว อาการนอนไม่หลับและอารมณ์แปรปรวน  ควรปฏิบัติตัวดังนี้ หลีกเลี่ยงความเครียด ออกกำลังกาย งดการดื่มกาแฟที่ทำให้นอนหลับยากขึ้น  ใช้ยาลดอาการซึมเศร้ากลุ่ม SSRI  ซึ่งจะไปเปลี่ยนแปลงระดับ Serotonin  ในสมองทำให้ลดอาการซึมเศร้า การให้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ป่วยวัยทอง ก่อนการให้ฮอรโมนทดแทนจะต้องประเมินความรุนแรงของโรคที่พบร่วมกับวัยทองเช่นอาการร้อนตามตัว กระดูกโปร่งบางและต้องมาเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากการให้ฮอร์โมน เช่นมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และจะต้องพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นอีก หรือไม่ในการรักษาภาวะเหล่านั้นผู้ป่วยบางคนเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทองแพทย์จะให้ยาคุมกำเนิดรับประทานซึ่งมีผลดีหลายประการ เช่นทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ลดอาการร้อนตามตัว ลดอัตราการเกิดมะเร็งรังไข่ ข้อเสียคือไม่ทราบว่าหมดประจำเดือนหรือยัง ถ้าสงสัยก็ให้หยุดยาคุมกำเนิด 4-5 เดือนแล้วดูว่าประจำเดือนมาหรือไม่ เมื่อเข้าสู่วัยทองจริงแพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนที่มีส่วนประกอบของ estrogen  และ progesteroneผลดีของการให้คือ ลดอาการ ป้องกันกระดูกพรุน และป้องกันโรคหัวใจ แต่ต้องระวังโรคแทรกซ้อนคือ โรคตับอักเสบ ไขมัน triglyceride สูง โรคมะเร็งเต้านม Phytoestrogen พืชหลายชนิด เช่น ธัญพืช ผัก ถั่วต่าง ถั่วเหลือง จะมีสารซึ่งออกฤทธิ์คล้าย estrogen แต่ยังไม่แนะนำให้ใช้รักษาเนื่องจากยังไม่มีรายงานเรื่องประสิทธิภาพ และผลข้างเคียง ด้วยความปรารถนาดี ศูนย์สูตินรีเวช รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การทานอาหารที่มีปริมาณไขมันชนิดอิ่มตัวมากเกินไปมีความเสี่ยง

โคเลสเตอรอลสูง   โคเลสเตอรรอลมาจากไหน - 1 ใน 3 ได้รับมาจากอาหาร ไขมันจากอาหารที่กินเข้าไปจะถูย่อยและส่งไปที่ตับแล้วส่งต่อไปทั่วร่างกาย   - 2 ใน 3 ร่างกายสร้างขึ้นเองที่ตับของเรา ตับจะสร้างโคเลสเตอรรอลที่ร่างกายต้องการเพื่อช่วยขนส่งไขมันไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย   ภัยร้ายจากโคเลสเตอรรอล   -หลอดเลือดแดงปกติ -เริ่มมีโคเลสเตอรรอลจับที่ผนังหลอดเลือดด้านใน -ไขมันสะสมมากขึ้นจนเริ่มก่อตัวเป็นคราบจนอาจเกิดหัวใจวายเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง -โคเลสเตอรรอลจับตัวเป็นคราบที่ใหญ่ขึ้นจนกระทั่วหลอดเลือดแดงอาจถูกปิดกั้นทั้งหมด ก่อให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันเฉียบพลันและเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน โคเลสเตอรรอลและไตรกลีเซอไรด์ ก่อให้เกิดคราบไขมัน (Plaque) -สมอง   เกิดหลอดเลือดสมองตีบเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต -หัวใจ   หลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน -ไต       หลอดเลือดไตอุดตัน เกิดไตวาย -ขา       เลือดไปเลี้ยงขาไม่สะดวก เกิดอาการปวดขาเวลาเดิน   อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง   ได้แก่ อาหารไขมันสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันชนิดอิ่มตัวและโคเลสเตอรรอล - เนื้อสัตว์ที่ติดมัน เบคอน ไส้กรอก - ตับ สมองสัตว์ เครื่องในสัตว์ - ไข่แดง (กินเฉพาะไข่ขาวได้) - หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง ไข่ปลา - ชีส ครีม เนย - เค้ก คุกกี้ โดนัท - อาหารทอด และอาหารที่ปรุงจากน้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ   ปริมาณโคเลสเตอรรอล ในอาหารบางชนิด   อาหารส่วนที่กินได้ 100 กรัม                     ปริมาณโคเลสเตอรรอล(มิลลิกรัม)           ไก่, อก(ไม่ติดมัน                                       63          เป็ด, เนื้อ                                                  82          วัว, เนื้อ                                                    65          ปลากะพงขาว                                           69          ปลาทูน่า                                                   51          กุ้งกุลาดำ                                                175          ปลาหมึกกล้วย, ตัว                                   251          ไข่ไก่, ทั้งฟอง                                           508          ซึ่โครงหมู                                                 105          เนื้อปู                                                       145                                                       *ที่มา: กองโภชนาการ กรมอนามัย   คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีโคเลสเตอรรอลสูง   -  ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม -  ลดเครื่องดื่มแอลกอฮล์ -  งดสูบบุหรี่ -  หากมีความดันโลหิตสูงและเบาหวาน พยายามควบคุมโรคให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่สุด -  ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดิน เต้นแอโรบิค วิ่ง (ครั้งละ 30-60 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง) -  ตรวจระดับโคเลสเตอรอลอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานยาควบคุมระดับโคเลสเตอรรอลตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ไข้หวัดใหญ่ไม่ใช่เรื่องใหญ่ หากป้องกันให้ถูกวิธี

เชื่อว่าคุณเองก็สัมผัสได้ถึงสภาพอากาศอันแปรปรวนตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงตอนนี้ ที่เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝน เดี๋ยวหนาว ทำเอาแต่งตัวตามฤดูกาลกันไม่ถูกเลยทีเดียว แต่ที่น่าหนักใจไปมากกว่าการจะเลือกสเวตเตอร์ตัวไหนมาสวมดี ก็คือ อาการเจ็บป่วยที่หลายคนถูกอุณหภูมิโลกที่เปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดเล่นงาน เป็นหวัดธรรมดายังพอรับไหว แต่เป็นไข้หวัดใหญ่ขึ้นมานี่สิ เรื่องใหญ่แน่ๆ โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว แต่ละปีจะมีการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ ทำให้เกิดความรุนแรงมากหรือน้อย แต่ไข้หวัดใหญ่จะรุนแรงมากในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังหรือภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ  จนอาจถึงขั้นเสียชีวิต ทำให้ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล ต้องลาหยุดงาน และประสิทธิภาพการทำงานลดลง โรคไข้หวัดใหญ่จะก่อให้เกิดความรุนแรงมากกว่าไข้หวัดธรรมดา ดังนี้ ไข้หวัดไหญ่ VS ไข้หวัดธรรมดา อาการไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ ไข้ พบได้บ่อยในเด็ก ผู้ใหญ่อาจมีไข้ต่ำ ๆ มีไข้สูงเฉียบพลัน 38-40 ċ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่ค่อยพบถ้ามีก็น้อย ๆ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและปวดหลัง อ่อนเพลีย ไม่ค่อยพบ เป็นมากและอาจเป็นนานถึงสัปดาห์ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเดิน มีน้อยและเป็นระยะสั้น ๆ พบได้ในเด็ก คัดจมูกน้ำมูกไหล ไม่ค่อยพบ พบบ่อย ในระยะหลัง ๆ เจ็บคอ พบบ่อยในระยะเริ่มแรก - เชื้อ เชื้อไวรัสในทางเดินหายใจตัวอื่น ๆ Influenza Virus  แต่อย่าเพิ่งหวาดกลัวจนถึงขั้นพารานอยด์ เพราะไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้ โดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization - WHO) และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำให้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงทุกรายควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล กลุ่มเสี่ยง คำถามต่อมาคือ แล้วใครล่ะ คือผู้ที่เข้าข่ายเป็น ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ที่จะเป็นโรคไข้หวัดใหญ่  ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงนั้นมีตั้งแต่บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย ไปจนถึงผู้ที่มีโรคเรื้อรัง อย่างปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังให้เคมีบำบัด ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ธาลัสซีเมีย ภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ นอกจากนี้ กลุ่มเสี่ยงโรคไข้หวัดใหญ่ ยังรวมถึง บุคคลที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป หญิงมีครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป ผู้ที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัมขึ้นไป ผู้พิการทางสมองช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ในบรรดาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงทั้งหมดที่ว่ามา ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหัวใจและโรคเบาหวานนั้นต้องป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นพิเศษ เพราะการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการกำเริบของโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยทันทีที่ร่างกายติดเชื้อจะเกิดการกระตุ้น การเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ทำให้เกิดกระบวนการแข็งตัวของเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดอุดตัน นำไปสู่การเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในที่สุด โดยเฉพาะในฤดูกาลที่โรคไข้หวัดใหญ่กำลังระบาด มักพบว่า 4 ใน 10 ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute MI) มีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่นำมาก่อนในเวลาไม่นาน นอกจากนี้ ยังพบว่าอัตราการนอนโรงพยาบาลและการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้น การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จึงช่วยลดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่นั้น ยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงมากกว่าคนปกติ โดยพบว่าอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่เป็นโรคเบาหวานถึง 6 เท่า และมีโอกาสเสียชีวิตจากการติดเชื้อในช่วงระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5 การระบาด ไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการระบาดทั่วภูมิภาค บางปีถ้ารุนแรงจะระบาดทั่วโลก เนื่องจากอากาศเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงมีไวรัสไข้หวัดใหญ่ก่อให้เกิดโรค ในสัตว์ก็แพร่สู่มนุษย์ทำให้เกิดโรคได้สำหรับประเทศไทย โรคไข้หวัดใหญ่มีการระบาดมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ช่วง พฤษภาคม-ตุลาคม และ มกราคม – กุมภาพันธ์ การติดต่อ เชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ จะสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง โดยการหายใจ ได้รับน้ำมูกหรือเสมหะของผู้ป่วยโดยเชื้อจะผ่านเข้าทางเยื่อบุตา จมูกและปาก และจากการได้สัมผัสสิ่งที่ปนเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ช้อน แก้วน้ำ หรือการจูบ รวมถึงการที่มือไปสัมผัสเชื้อแล้วขยี้ตา หรือ เอาเข้าปาก เป็นต้น อาการแทรกซ้อน ส่วนมากอาการจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ภาวะแทรกซ้อนจะเกิดขึ้นเป็นส่วนน้อย ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หูชั้นในอักเสบ หลอดลมอักเสบ ภาวะที่สำคัญคือปอดอักเสบ ซึ่งมักจะเกิดกับจากแบคทีเรีย พวก นิวโมค็อกคัส หรือ  สเตฟฟิโลค็อกคัส ภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ที่ร้ายแรงมักจะเกิดในเด็ก ผู้สูงอายุ การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ให้นอนพักผ่อนมาก ๆ และไม่ควรออกกำลังกาย ดื่มน้ำ น้ำผลไม้ หรืออาจะดื่มน้ำเกลือแร่ร่วมด้วย แต่ไม่ควรดื่มน้ำเปล่าอย่างเดียว เพราะจะทำให้ขาดเกลือแร่ได้ รักษาโรคไข้หวัดใหญ่จะรักษาตามอาการเหมือนไข้หวัด คือ ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำ เช็ดตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน ให้ยาแก้ปวด Paracetamol ผู้ใหญ่ครั้ง 1 เม็ด (500 มิลลิกรัม) วันละ 2-3 ครั้ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ถ้ามีอาการหอบหรือสงสัยปอดอักเสบ ควรส่งโรงพยาบาลโดยด่วน วัคซีน การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จึงช่วยลดอัตราการเข้าโรงพยาบาลของผู้ป่วยเบาหวานได้ถึงร้อยละ 79 รวมถึงการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ยังลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้เช่นกัน สำหรับผู้ที่สนใจเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่นั้น ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิด 3 สายพันธุ์ และชนิด 4 สายพันธุ์ โดยวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์ สามารถครอบคลุมเชื้อไวรัสสายพันธุ์ B ได้มากกว่า กล่าวคือ ครอบคลุมเชื้อไวรัสสายพันธุ์ A ทั้ง H1N1 และ H3N2 และสายพันธุ์ B ทั้งตระกูล Victoria และ Yamagata จึงยิ่งเพิ่มความสามารถในป้องกันเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่มีการระบาด ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้ดีขึ้น11 หากคุณหรือคนในครอบครัวอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อกันไว้ดีกว่าแก้

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาวะตัวเหลืองในทารกรักษาได้

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด พบได้ 50% โดยค่าสารเหลืองที่เราเห็นที่ผิวเด็กวัดได้จากการตรวจค่า บิลิรูบิน ในเลือดซึ่งเกิดจากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงในเด็ก ค่าบิลิรูบิน นี้จะถูกกำจัดโดยตับ และขับออกทางลำไส้ ผ่านทางอุจจาระของทารก สาเหตุหลักแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม  กลุ่มแรกคือภาวะตัวเหลืองแบบปกติ(Physiologic jaundice) จะไม่มีอันตราย ส่วนอีกกลุ่มคือภาวะตัวเหลืองแบบไม่ปกติ (Pathologic jaundice)เป็นอันตราย ทราบสาเหตุชัดเจน เกิดจากสาเหตุดังนี้ 1. มีการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงที่เพิ่มขึ้น 2. การที่ตับทำงานผิดปกติ 3. การที่ทารกได้กินนมมารดา สาเหตุสุดท้ายนี้กลไกไม่ได้ชัดเจนว่าเกิดจากอะไร วิธีการรักษา  ถ้ากลุ่มปกติ ทารกอายุ 7-10 วัน ค่าเหลืองจะค่อยๆลดลงเอง ส่วนในกลุ่มอันตราย ต้องรักษา โดยมีเกณฑ์การรักษาตาม (American academy of Pediatric ) ซึ่งมี 2 หลักในการรักษาคือ 1. ถ้าค่าเหลืองไม่สูงมากเราจะส่องไฟ จะทำให้ค่าเหลืองลดลง 2. ถ้าระดับค่าเหลืองสูงมาก หรือรักษาโดยการส่องไฟแล้วไม่ลด จะต้องทำการรักษาโดยเปลี่ยนถ่ายเลือด          มีคำกล่าวว่าให้พาทารกออกแดดก็จะดีขึ้น เรื่องนี้คุณหมอบอกว่าก็ช่วยได้บ้าง แต่ที่จริงความเข้มแสงของแสงแดดกับความเข้มแสงของไฟที่เราใช้รักษานั้นคนละความเข้มแสงกัน และระยะเวลาในการส่องไฟแตกต่างกัน ฉะนั้น จะช่วยรักษาได้ 100% เลยก็คงมิใช่          วิธีสังเกต คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตจากสีผิวลูกบริเวณใบหน้า,ลำตัวและขา ถ้าสังเกตว่าผิวลูกเหลืองมาถึงลำตัวแล้วควรพากลับมาโรงพยาบาลเพื่อเจาะเลือดรักษา           คุณแม่บางท่านกังวลว่าจะต้องหยุดให้นมช่วงส่องไฟหรือไม่ คุณหมอแนะนำว่า คุณแม่สามารถหยุดให้นมจากอกเมื่อมีค่าเหลืองสูงถึงค่าที่กำหนดเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง จนค่าเหลืองลดลงเป็นปกติก็กลับมาทานนมแม่ได้ คุณแม่ไม่ต้องกังวล และถ้าค่าเหลืองลดลงแล้ว ทารกจะไม่กลับมาเป็นภาวะตัวเหลืองอีก                                                   สอบถามเพิ่มเติมได้ที่                                              แผนกกุมารเวช รพ.วิภาวดี                                           โทร 02-561-1111 ต่อ 4220, 4221

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

อย่าเฉย…เมื่อชา เพราะอาการชา อาจเป็นจุดเริ่มต้นของสัญญาณอันตราย

อย่าเฉย…เมื่อชา เพราะอาการชา อาจเป็นจุดเริ่มต้นของสัญญาณอันตราย            “ชาตามปลายมือปลายเท้า”  หลายคนเคยเกิดอาการนี้ บางคนมีอาการเพียงชั่วครู่ บางคนมีอาการนานกว่านี้ แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร ทำให้เกิดความรำคาญได้ ในระยะแรกๆ มักไม่รบกวนชีวิตมากเท่ากับอาการปวด แต่ก็เป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของระบบประสาท ดังนั้นจึงควรหาสาเหตุและวิธีการแก้ไขอาการ ก่อนที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงอย่างอื่นตามมา      อาการชาเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาท รับความรู้สึก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะที่นิ้ว มือ แขน เท้าหรือขา เป็นอาการที่มีความรู้สึกเจ็บ ปวด ร้อน หรือเย็นน้อยกว่าปกติหรือไม่มีความรู้สึกเลย บางคนอาจรู้สึกซ่าๆ ที่ปลายมือปลายเท้าหรือบริเวณอื่นหรือมีอาการเหมือนมีอะไรยุบยิบๆ ตามปลายมือปลายเท้า แล้วก็หายไปหรือเป็นตลอด ซึ่งอาการชาจะเกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทส่งความรู้สึกของบริเวณที่เป็น  ทำงานบกพร่องไปแล้วอย่างน้อย50% โดยถ้าเส้นประสาทส่งความรู้สึกทำงานบกพร่องไปอย่างช้าๆ อาจไม่รู้สึกถึงความผิดปกติและมักตรวจพบได้ยาก แต่ถ้าเกิดการบกพร่องไปอย่างรวดเร็วจะเกิดอาการที่ชัดเจน      อาการมือเท้าชาสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาจเกิดจากการนั่งหรือยืนในท่าเดิมเป็นเวลานาน ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่ทั่วถึง หรืออาจมีสาเหตุจากโรคบางโรค เช่น โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท งูสวัด เบาหวาน ปวดศีรษะไมเกรน ลมชัก หลอดเลือดสมอง เป็นต้น นอกจากนี้การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอก็อาจเป็นสาเหตุของความเสียหายของเส้นประสาทได้เช่นกัน โดยเฉพาะการขาดวิตามินB ต่างๆ เพราะวิตามิน B เหล่านั้นมีความจำเป็นต่อเส้นประสาทที่มีสภาพสมบูรณ์ หากรู้สึกเหน็บชาหรือมีอาการปวดเสียวบริเวณมือหรือเท้า นั่นอาจแสดงว่าเส้นประสาทได้รับการบำรุงไม่เพียงพอ      การบรรเทาอาการจากโรคเส้นประสาทมีได้หลายวิธี   เริ่มแรกควรรับประทานอาหารที่ให้มีปริมาณวิตามิน B ที่เพียงพอ ซึ่ง วิตามิน B1 B6 และ B12 เป็นวิตามินที่มีส่วนสำคัญต่อการบำรุงรักษาเส้นประสาท เราสามารถรับวิตามินเหล่านี้ได้จากอาหารหลายชนิด วิตามิน B1 พบได้ในธัญพืช ข้าวไม่ขัดสี สารสกัดจากยีสต์ และผลิตภัณฑ์จากถั่ว วิตามิน B6 พบได้ในอาหารจำพวกปลาทูน่า ผักโขม หรือผักตระกูลปวยเล้งและกล้วย ส่วนวิตามิน B12 ได้จากไข่ เนื้อสัตว์ อาหารทะเลประเภทกุ้ง ปู และผลิตภัณฑ์นม        วิตามิน B1 หรือไทอามีน (Thiamine) ทำหน้าที่สร้างชั้นที่ปกป้องเส้นประสาทขณะที่มีการรับส่งกระแสประสาทผ่านระบบสังเคราะห์สารสื่อประสาท การขาดไทอามีนจึงทำให้เกิดการทำลายเส้นประสาท สร้างความเจ็บปวดให้แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมากและรบกวนกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาท นอกจากนี้อาจส่งผลต่อระบบเมแทบอลิซึม ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติและลดการเผาผลาญกลูโคส ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ควบคุม และทำให้เกิดโรคเส้นประสาทในที่สุด สัญญาณเตือนว่ามีอาการขาดวิตามินบี 1 เช่น รู้สึกเหนื่อยง่าย เริ่มเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน สมองมึนงง ความคิดสับสนวกวนจากการเสื่อมสภาพของระบบประสาทหากขาดรุนแรงก็อาจจะทำให้เกิดอาการทางการเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน เหน็บชา (beriberi) เป็นต้น          วิตามิน B6 หรือไพริด็อกซีน (Pyridoxine) มีส่วนช่วยในการขนส่งกลูโคสในร่างกาย การขาดวิตามินนี้ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ โดยระดับน้ำตาลในเลือดอาจทำลายระบบประสาท ทำให้เกิดโรคเส้นประสาทได้ การขาดวิตามิน B6 เป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดโรคปลายประสาทอักเสบในผู้ป่วยเบาหวาน         วิตามิน B12 หรือ โคบาลามิน (Cobalamin) มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบประสาท โดยส่งเสริมให้เกิดการสร้างและเจริญเติบโตของเซลล์ประสาท เมื่อขาดวิตามิน B12 เป็นเวลานาน เนื้อเยื่อที่ห่อหุ้มและป้องกันเส้นประสาทเกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดโรคเส้นประสาทขึ้น        วิตามิน B ทั้งหมดเป็นวิตามินละลายน้ำ วิตามินที่เกินจำเป็นซึ่งร่างกายไม่ได้ใช้ก็จะถูกขับออกทางเหงื่อ หรือปัสสาวะ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับวิตามินอย่างเพียงพอ ถ้าอาหารมีปริมาณวิตามินไม่เพียงพอ อาจจะรับประทานอาหารเสริมเพื่อให้ได้รับวิตามิน B1 B6 B12 ให้เพียงพอต่อการบำรุงเส้นประสาท        การเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเลิกสูบบุหรี่ การลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และออกกำลังกายสม่ำเสมอมีส่วนช่วยได้ แม้แต่เพียงการปรับเปลี่ยนง่ายๆ เช่น การสวมรองเท้าที่สบายและเหมาะสม หลีกเลี่ยงการนั่งเป็นเวลานาน และการแก้ไขท่าทางในชีวิตประจำวันก็ช่วยป้องกันการทำลายของประสาทได้ หากมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวานการควบคุมน้ำตาลในเลือดเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคข้อเข่าเสื่อม อาการ ปัจจัยเสี่ยง วิธีรักษา ต้องผ่าไหม?

โรคข้อเข่าเสื่อม หรือ osteoarthritis เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อน (cartilage) เยื่อหุ้มข้อ (joint capsule) กับ น้ำไขข้อ (synovial fluid) ซึ่งมีหน้าที่ป้องกันการเสียดสีเมื่องอหรือเหยียดหัวเข่า และช่วยหล่อลื่นข้อต่อต่างๆให้เคลื่อนไหวได้ง่าย หากมีการสึกหรอของกระดูกอ่อนที่หัวเข่าจะทำให้เกิดการเสียดสีระหว่างกระดูกขาบนและล่างเมื่องอหรือเหยียดหัวเข่ามากขึ้นจนเกิดการอักเสบของข้อได้ อย่างไรก็ดี โรคข้อเข่าเสื่อมไม่ใช่ “โรคผู้สูงอายุ” ตามที่หลายคนเข้าใจ เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคได้ด้วย อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม ระยะแรก ปวดข้อเรื้อรัง โดยเฉพาะเวลาที่ขยับตัวหรือลงน้ำหนักที่ขา ซึ่งผู้ป่วยอาจรู้สึกดีขึ้นเมื่อได้พักแต่จะกลับมาปวดอีก มีอาการบวมที่ข้อ ขยับข้อลำบาก มีความฝืดหรือรู้สึกไม่คล่องตัวเหมือนก่อน เวลาขยับขา ข้อมีเสียงดัง ระยะรุนแรง ปวดข้อแบบรุนแรงจนไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ ข้อเข่าบวมและผิดรูปหรือโก่ง อาการปวดในหัวเข่ากระจายไปยังส่วนอื่นของขา ปัจจัยเสี่ยงของโรค อายุ  ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมจากการสึกหรอของข้อตามอายุ โรคอ้วน ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวมากเกินไป ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุเกี่ยวกับข้อเข่า แต่ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง สตรี ฮอร์โมนเอสโตรเจนในสตรี เป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคทางกระดูกมากกว่าบุรุษ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับข้อและกระดูกอ่อน เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ และ เก๊าท์ การป้องกัน ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม เพราะข้อเข่าเป็นข้อที่รับน้ำหนัก ยิ่งน้ำหนักตัวมากเท่าไร ข้อเข่าก็รับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น หลีกเลี่ยงการใช้ข้อเข่าที่ไม่ถูกต้อง ( เช่น นั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ หรือนั่งยอง ๆ ) หลีกเลี่ยงการใช้ข้อเข่ามากเกินไป เช่น การยืนนาน ๆ การขึ้น-ลงบันได  การยกของหนัก  เสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าให้แข็งแรงเพราะกล้ามเนื้อเป็นส่วนสำคัญในการแบ่งเบาภาระต่าง ๆ ของข้อเข่า  แต่หากออกกำลังหนักเกินไป โดยเฉพาะกีฬาที่มีการกระแทกของข้อที่รับน้ำหนัก เช่น วิ่ง  กระโดด ก็จะสร้างภาระให้กับกระดูกอ่อนผิวข้อได้ ดังนั้นการออกกำลัง ชนิดที่ข้อไม่รับแรงกระแทกมาก จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าแข็งแรง เช่น การเล่นเวท (สร้างกล้ามเนื้อขา เข่า และต้นขา) การว่ายน้ำ (เดินในน้ำ) การขี่จักรยาน เมื่อมีความผิดปกติในเข่าต้องรักษาให้ถูกต้อง เช่น โรคเก๊าท์  โรครูมาตอยด์ หรือถ้าได้รับอุบัติเหตุในเข่า เช่น หมอนรองกระดูกฉีกขาด เส้นเอ็นขาด  หรือกระดูกหักต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องจนเข่าปกติ แนวทางการรักษา โรคข้อเข่าเสื่อมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้ป่วยสามารถประคับประคองและรักษาตามอาการดังต่อไปนี้ได้ ทานยาแก้ปวด หรือยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เมื่อมีอาการปวด ในผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วน การลดน้ำหนักจะช่วยลดแรงกดดันในข้อหัวเข่าได้ ออกกำลังกายหรือทำกายภาพบำบัดเพื่อช่วยลดความเจ็บปวดและเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่า เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อลดแรงกระแทกในข้อเข่า เช่น เลี่ยงการนั่งไขว่ห้างหรือขัดสมาธิ การฉีดยาสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดในกลุ่มผู้ป่วยข้อเข้าเสื่อมระยะแรกได้ แต่ไม่ควรฉีดมากกว่า 4 ครั้งต่อปี ในกรณีภาวะข้อเข่าเสื่อมรุนแรงและผิดรูป ผู้ป่วยสามารถเลือกวิธีผ่าตัดเปลี่ยนหัวเข่า (knee replacement)  ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนข้อบางส่วน (unicompartmental knee replacement) หรือเปลี่ยนทั้งข้อ (total knee replacement) ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค โดยการผ่าตัดจะใช้วัสดุมาตรฐานทางการแพทย์เช่นโลหะ หรือ พลาสติคมาช่วยเสริมส่วนข้อต่อที่สึกหรอได้ ซึ่งข้อเข่าเทียมเหล่านี้จะมีอายุการใช้งานที่ต่างกันไป การผ่าตัดข้อเข่าสมัยนี้ผู้ป่วยจะฟื้นตัวได้เร็วเพราะแผลมีขนาดเล็กและเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าแบบเก่า การผ่าตัดจะใช้เวลาแค่ 2 ชั่วโมง และพักฟื้นแค่ 1 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามแพทย์จะทำการตรวจร่างกายของผู้ป่วยอย่างละเอียดก่อนทำการผ่าตัด เพื่อความปลอดภัยและความแม่นยำในการระงับการปวดระหว่างผ่าตัด ในรายที่ข้อเข่าเสื่อมมากและไม่หายด้วยวิธีการอื่น ผมแนะนำให้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ซึ่งผมใช้วิธีการรักษาเทคนิคใหม่ แผลผ่าตัดเล็ก ตัดกล้ามเนื้อเพียงเล็กน้อย เลือกใช้ข้อเข่าเทียมที่มีมาตรฐานสูงจากอเมริกาและเย็บแผลผ่าตัดอย่างปราณีตไม่ต้องตัดไหม แผลไม่ชอกช้ำ ดังนั้นผู้ป่วยจะฟื้นตัวเร็ว สามารถเดินได้หลังผ่าตัดเร็วขึ้น แผลสวยและลดการเกิดโรคแทรกซ้อน ผู้ป่วยก็สามารถมีชีวิตประจำวันที่ปกติ สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้ สุขภาพกายและจิตใจดีขึ้น แล้วท่านก็จะเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพดี แพทย์ นพ.ทวีเกียรติ รัศมีสุนทรางกูล แผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ต้อหิน - รู้เท่าทันกันตาบอด (ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม)

โรคต้อหินคือโรคที่เกิดจากการถูกทำลายของเส้นประสาทตา เนื่องจากมีแรงดันในลูกตาสูง ซึ่งเส้นประสาทตานี้จะเชื่อมต่อระหว่างตาไปยังสมอง ทำให้การมองเห็นค่อยๆลดลง และบอดในที่สุด แรงดันตาที่สูงมากขึ้น เกิดจากการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตามากขึ้น และมีการระบายน้ำออกจากทางเดินระบายน้ำลดลง โดยค่าปกติของความดันตาอยู่ที่ 5-21 มิลลิเมตรปรอท หากพบว่าความดันตามีค่ามากกว่า 21 มิลลิเมตรปรอท ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นต้อหินได้ ในระยะเริ่มแรก ลานสายตาจะถูกทำลายจากด้านข้างก่อน ผู้ป่วยอาจเริ่มมีการเดินชนสิ่งของดัานข้าง ผู้ป่วยที่ไม่สังเกตจึงไม่รู้สึกถึงความผิดปกติ เพราะการมองตรงกลางยังเห็นดีอยู่ จนระยะท้าย ลานสายตาโดนทำลายจนแคบเข้ามาเรื่อยๆ การมองเห็นภาพตรงกลางเริ่มลดลง ระยะนี้ผู้ป่วยจึงจะมาพบแพทย์ ซึ่งเป็นระยะท้ายของโรคแล้ว สิ่งที่น่ากลัวคือ การมองเห็นที่เสียไปแล้ว ไม่สามารถทำให้กลับมาดีเหมือนเดิมได้ ทำให้ตาบอดถาวร การรักษาจึงเพื่อไม่ให้ลานสายตาและการมองเห็นที่ยังดีอยู่แย่ลงไปอีก ชนิดของโรคต้อหิน ต้อหินมีหลายชนิด โดยแบ่งเป็นชนิดหลักๆ ได้ 2 ชนิด คือ ต้อหินมุมเปิดและต้อหินมุมปิด 1. ต้อหินมุมเปิด หมายถึง มุมระหว่างกระจกตาและม่านตาของคนไข้เป็นปกติ แต่ช่องทางที่น้ำในลูกตาไหลเวียนออกมีปัญหาไหลเวียนได้ไม่ดี น้ำจึงคั่งที่ช่องหน้าลูกตา ทำให้ความดันในลูกตาสูง  2. ต้อหินมุมปิด หมายถึง มุมระหว่างกระจกตาและม่านตาของคนไข้แคบกว่าปกติ ทำให้ไปขัดขวางช่องทางที่น้ำในลูกตาไหลเวียนออก น้ำในลูกตาจึงไม่สามารถไหลเวียนออกได้ ทำให้คนไข้มีความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการของโรค ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นจะไม่มีอาการผิดปกติ  หากมีอาการตามัวหรือการมองเห็นแคบลง แสดงว่าโรคอยู่ในระยะรุนแรงแล้ว ผู้ป่วยต้อหินมักจะไม่มีอาการปวดตา ยกเว้น ผู้ป่วยโรคต้อหินมุมปิดเฉียบพลันที่มีความดันลูกตาสูงขึ้นแบบฉับพลัน การวินิจฉัยโรค จักษุแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยโรคต้อหิน โดยจำเป็นต้องอาศัยการตรวจตาและตรวจการมองเห็น การตรวจตาโดยจักษุแพทย์ การตรวจด้วยอุปกรณ์พิเศษ เช่น เครื่องสแกนขั้วประสาทตา การตรวจตาด้วยเครื่องตรวจตา slit-lamp microscopy การตรวจลานสายตา การตรวจลักษณะของขั้วประสาทตา การตรวจวัดความดันภายในลูกตา ใครบ้างที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หากคุณมีความเสี่ยงดังต่อไปนี้ 1 ข้อ หรือมากกว่าคุณควรปรึกษาจักษุแพทย์ อายุมากกว่า 40 ปี  เชื้อชาติ คนเชื้อชาติแอฟริกันอเมริกันจะพบต้อหินสูงกว่าคนผิวขาวถึง 6-8 เท่า ส่วนคนเชื้อชาติเอเชียจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินมุมปิดมากกว่าชนชาติอื่น มีประวัติในครอบครัวเป็นต้อหิน สายตายาวหรือสั้นมาก กระจกตาบาง เคยเกิดอุบัติเหตุที่ตามาก่อน มีการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ประวัติของการไหลเวียนเลือดที่ผิดปกติ เช่น ไมเกรน เบาหวาน ควานดันโลหิตสูง เลือดจาง หรือภาวะช็อก ตรวจพบความดันตาสูง การใช้ยาสเตียรอยด์   โดยบุคคลที่มีความเสี่ยงสมควรได้รับการตรวจตาเป็นประจำ งดการซื้อยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยมาใช้เอง เมื่อมีอาการผิดปกติทางตาควรรีบมาพบแพทย์  การรักษาต้อหินและการป้องกันภาวะตาบอด เนื่องจากโรคต้อหินเส้นประสาทตาจะถูกทำลายอย่างถาวร การรักษาจึงเป็นการประคับประคองเพื่อให้ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้นและเพื่อคงการมองเห็นที่มีอยู่ให้นานที่สุด ทั้งนี้การรักษาจะขึ้นกับชนิดและระยะของโรค  หากคุณเป็นต้อหิน สิ่งสำคัญ คือ การควบคุมความดันตาให้อยู่ในระดับปกติ และหยุดการทำลายของเส้นประสาทตา การควบคุมความดันตา ทำได้โดย: 1. การใช้ยาหยอดตา เป็นวิธีขั้นพื้นฐานและได้ผลที่ดี ซึ่งยาหยอดเหล่านี้จะออกฤทธิ์ลดการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาหรือช่วยให้การไหลเวียนออกของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาดีขึ้น จึงลดความดันตาให้อยู่ในระดับเหมาะสมไม่เกิดการทำลายของเส้นประสาทตา การรักษาด้วยยาจำเป็นต้องหยอดยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง และแพทย์จะนัดติดตามอาการเป็นระยะๆ เพื่อประเมินผลการรักษา การดำเนินโรค และผลข้างเคียงจากยา 2. การใช้เลเซอร์ ทำในบางกรณี ทั้งนี้อาจต้องมีการใช้ยาหยอดตาร่วมด้วย โดยประเภทของเลเซอร์ที่ใช้จะขึ้นกับชนิดของต้อหินและระยะของโรค Selective laser trabeculoplasty (SLT) เป็นการรักษาต้อหินมุมเปิด ใช้ในกรณีที่รักษาด้วยยาหยอดตาแล้วได้ผลไม่ดีนัก หรือรักษาด้วยยาหยอดตาไม่ได้ เช่น ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ หรือมีอการแพ้ยาหยอดตา และมักเลือกใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ Laser peripheral iridotomy (LPI) เป็นการรักษาต้อหินมุมปิด Laser cyclophotocoagulation มักใช้ในกรณีที่การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล เป็นการทำลายเซลล์มีหน้าที่สร้างน้ำในลูกตา ทำให้น้ำในลูกตาสร้างน้อยลง  3. การผ่าตัด  ใช้รักษาผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ไม่สามารถควบคุมความดันตาได้ rabeculectomy เป็นการผ่าตัดทำทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ให้น้ำออกมานอกลูกตามากขึ้น เป็นผลให้ความดันตาลดลง Aqueous shunt surgery ทำในกรณีที่การผ่าตัดวิธีแรกไม่ได้ผล เป็นการทำการผ่าตัดด้วยการใส่เครื่องมือที่เป็นท่อระบายเพื่อลดความดันตา สิ่งที่สำคัญที่ควรทราบ: การใช้ยาหยอดตาไม่ได้ทำให้การมองเห็นหรือความรู้สึกในการรักษาดีขึ้น แต่จะช่วยป้องกันไม่ให้การมองเห็นแย่ลง การใช้ยาหยอดทุกวันอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ การประเมินผลการรักษา จำเป็นต้องมีการตรวจตามการนัดหมายของแพทย์ เพื่อดูผลของการรักษา กรณีฉุกเฉิน!! ต้อหินอาจเกิดขึ้นได้เฉียบพลัน ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ ให้รีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน  มองไม่เห็นอย่างฉับพลันในตาข้างใดข้างหนึ่ง การมองเห็นมัวลงคล้ายเป็นหมอก  เวลามองมีแสงแฟลชหรือจุดดำ เวลามองดวงไฟจะเห็นรัศมีเป็นสีรุ้ง มีอาการปวดตา หรือปวดหัวข้างเดียวกับที่ตามัว มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน สัญญาณเบื้องต้นของโรคต้อหินนั้น จริงๆ แล้ว คนไข้โรคต้อหินส่วนใหญ่จะไม่มีอาการในระยะแรก เพราะคนไข้ 70-80% เป็นประเภทต้อหินเรื้อรัง คนไข้กลุ่มนี้จะมีความดันลูกตาเพิ่มขึ้นทีละน้อย ทำให้เกิดความเคยชินกับความดันลูกตาที่ค่อยๆเพิ่มสูงขึ้น จึงไม่เกิดอาการปวดรุนแรง แต่ว่าคนไข้มีอาการจะเริ่มตามัวลงอย่างช้าๆ โดยที่การสูญเสียการมองเห็นจะเริ่มมาจากด้านข้าง ทำให้ลานสายตาค่อยๆแคบลง จนกระทั่งมัวบริเวณตรงกลางที่มอง คนไข้ถึงจะรู้สึกตัวว่าการมองเห็นลดลง จึงมาหาหมอ ซึ่งเป็นระยะท้ายของโรคแล้ว  ดังนั้น โรคต้อหินมุมเปิดเรื้อรังจึงไม่มีอาการในระยะแรกของโรค ยกเว้นถ้าเป็นต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน จึงจะมีอาการปวดตารุนแรง ดังนั้นถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการก็ควรมาตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะคนไข้กลุ่มเสี่ยง ระยะเวลาสำหรับคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มผู้สูงมากกว่า 40 ปี อายุควรตรวจเป็นประจำทุกปี และไม่ควรซื้อยามาหยอดเอง ควรใช้ยาในความดูแลของแพทย์ ได้เพียงแค่ให้การมองเห็นที่มีอยู่ทรงตัวไม่ให้แย่ลง เพราะฉะนั้นควรตรวจพบในระยะแรกมีความสำคัญ เพื่อการรักษาที่ดี และป้องกันตาบอดให้ได้มากที่สุด แพทย์ พญ.ฤทัยรัตน์ วินิจฉัย ศูนย์จักษุและเลสิคสาขาต้อหิน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<