เพื่อผิวสวยใส...ในช่วงหน้าร้อน

เพื่อผิวสวยใส...ในช่วงหน้าร้อน นพ.ธัญธรรศ  โสเจยยะ แพทย์ด้านผิวหนังและเลเซอร์ ศูนย์ผิวหนัง รพ.วิภาวดี          หลายคนแอบกังวลว่า หน้าร้อนทีไร  ผิวพรรณจะพังเพราะแสงแดด รังสีอัลตราไวโอเลตที่ส่องตรงมาจากดวงอาทิตย์ที่ตั้งฉากกับพื้นโลก ฝุ่น ควัน และสายลมร้อน ส่งผลให้ผิวแห้ง คล้ำ เหี่ยว ดูแก่กว่าวัย สบายใจได้ครับ ถ้ารู้สึกรับมือตามวิธีดังต่อไปนี้ 1.ทำความสะอาดผิวเป็นกิจวัตร เพราะเราต้องสัมผัสควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันบุหรี่ มลพิษต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องทำความสะอาดผิวทุกวัน สำหรับผิวหน้าควรใช้ผลิตภัณฑ์ สำหรับทำความสะอาดเครื่องสำอางโดยเฉพาะสามารถละลายคราบเครื่องสำอางตกค้างจากผิวได้ดี และควรอาบน้ำด้วยสบู่ ที่มีความเป็นกรดอ่อน ๆ เพื่อรักษาความชุ่มชื่นไว้อย่าอาบน้ำอุ่นจัด ๆ เพราะความร้อนจะทำลายเคลือบผิวธรรมชาติและพาเอาความชุ่มชื่นออกจากผิวเรา ทั้งนี้คุณต้องเบามือกับผิวมาก ๆ ทั้งผิวหน้าและผิวกาย ห้ามถูผิวแรง ๆ เด็ดขาด เวลาเช็ดตัวก็ซับเพียงเบา ๆ 2.หมั่นบำรุงผิว ทาครีมบำรุง ชโลมมอยส์เจอไรเซอร์อย่างเบามือให้ทั่วทุกครั้ง หลังจากอาบน้ำในตอนเช้าและก่อนนอน นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยต่อต้านริ้วรอยแห่งวัย และไม่จำเป็นจะต้องเป็นครีมยี่ห้อแพง ๆ เสมอไป ทาให้ทั่วในปริมาณที่พอเหมะและทำเป็นกิจวัตร โดยเฉพาะช่วงกลางคืนเป็นช่วงที่ผิวดูดซึมครีมบำรุงต่าง ๆ ได้ดีที่สุด 3.ปกป้องผิวจากแสงแดด ดูแลรักษา และบำรุงแทบตาย แต่สุดท้ายเอาผิวไปผึ่งแดดทุกวัน ๆ ก็หมดสภาพเพราะผิวที่เผชิญแสงอัลตราไวโอเลตบ่อย ๆ ไม่เพียงแต่เพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งผิวหนังเท่านั้น แต่มันยังมีผลต่อการไหลเวียนของโลหิตกับออกซิเจนที่จะไปหล่อเลี้ยงผิวด้วย ทำให้ผิวหยาบกร้าน มีริ้วรอยย่นลึก ฝ้า กระ และจุดด่างดำ ฉะนั้น ควรทาครีมกันแดดทุกวัน แต่ถ้าคุณไม่ชอบทาครีมหลายๆ อย่าง ก็เลือกใช้รองพื้นหรือมอยส์เจอไรเซอร์ ที่มีสารกันแดดผสมอย่างน้อย SPF15 ขึ้นไป 4.สูดอากาศบริสุทธิ์เสียบ้าง การได้ผ่อนคลายจากความเหนื่อยล้าประจำวัน ด้วยการออกไปเดินสูดอากาศภายนอกบ้าง ไม่เพียงแค่จะทำให้คุณผ่อนคลายสบายจิตขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้ผิวได้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นแถมไปอีกด้วย คุณทราบไหมว่า หากร่างกายมีระดับความวิตกกังวลสูงจากการทำงาน จะทำให้ระดับโปรตีนเพื่อต่อสู้กับอนุมูลอิสระที่ทำลายสุขภาพผิวของเรา และผลที่ได้รับก็คือ ผิวจะเริ่มแห้งหมอง เพราะขาดความชุ่มชื่นและนำไปสู่ผิวซีดเหลืองในที่สุด 5.กินผักผลไม้ การได้รับไฟเบอร์จากผักและผลไม้เป็นประจำ จะช่วยให้ขับถ่ายสารพิษออกจากระบบของร่างกายได้ดีขึ้น และยังทำให้ได้รับแร่ธาตุและวิตามินที่เพียงพอในการหล่อเลี้ยงผิวสวยของคุณด้วย สมาคมโภชนาการของออสเตรเลียแนะนำว่า ในมื้ออาหารของคุณก็ควรมีผักผลไม้เสิร์ฟเป็นประจำทุกวัน โดยควรประกอบไปด้วยผัก 5 ชนิด ผลไม้สดอีก 2 ชิ้น แต่หากคุณไม่นิยมการบริโภคผักผลไม้สดเอาซะจริง ๆ ก็ลองนำปั่นเป็นเครื่องดื่ม แล้วคุณจะติดใจ 6.ดื่มน้ำบริสุทธิ์ จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่เซลล์ผิวหนัง อีกทั้งยังเป็นตัวขนส่งโภชนาการที่ดีต่อสู่ผิว โดยผ่านระบบการย่อยและขับถ่ายของเสียออกจากไตด้วย ยิ่งเราดื่มน้ำน้อยลงเท่าไหรก็หมายถึงว่า มีสิ่งสกปรกคั่งค้างอยู่ในร่างกายเรามากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้แอลกอฮอล์และกาเฟอีนจะทำงานเหมือนเป็นขโมยดูดเอาน้ำออกจากผิว ดังนั้น หากคุณดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ ก็ควรดื่มน้ำให้มากที่สุดเพื่อคืนความชุ่มชื่นให้กับผิว 7.ลดการทำลายผิวลง ได้แก่ งดสูบบุหรี่ งดแอลกอฮอร์ ลดความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะสิ่งเหล่านี้จะเพิ่มการทำลายโดยเพิ่มอนุมูลอิสระ หรือ ลดตัวต้านอนุมูลอิสระของเรา 8.ออกกำลังกายกันเถอะ การวิ่งจ๊อกกิ้งในตอนเช้าทุก ๆ วัน จะช่วยให้ร่างกายมีเหงื่อ ขับถ่ายของเสียได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นสุขภาพให้สมบูรณ์ขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ในการช่วยผิวให้สวยในเพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้โลหิตสูบฉีดได้ดีขึ้น เพิ่มสมรรถภาพการนำเข้าของออกซิเจนให้กับร่างกายและนำโภชนาการไปสู่เซลล์ผิวได้ดีขึ้นด้วย ลองใช้ 8 วิธีนี้  สู้กับลมร้อนกันดูนะครับ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

8วิธีดูแลสุขภาพรับมือกับหน้าร้อน

 8 วิธีดูแลสุขภาพรับมือกับหน้าร้อน หน้าร้อนทีไร  เดี๋ยวปวดหัว  ปวดท้อง ท้องเสียบ้าง แล้วเราจะมีวิธีดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรงอย่างไรบ้าง ไม่ต้องมานั่งคิดให้ปวดหัวแล้ว เพราะว่าวันนี้ เรามี  8  วิธี ดูแลสุขภาพในฤดูร้อนมาฝากคุณ 1.ไม่ควรกินน้ำแข็ง หรือดื่มน้ำเย็นจัด ฤดูร้อน อากาศร้อน ต้องหาทางช่วยดับความร้อน เพื่อป้องกันความร้อน กระทบร่างกายมากเกินไป เป็นหลักการที่ถูกต้อง ซึ่งช่วยให้คุณเจ็บป่วยน้อยลง 2.ควรดื่มน้ำเยอะ ๆ เพราะหน้าร้อนจะสูญเสียเหงื่อมาก และควรดื่มน้ำเปล่าที่สุกแล้ว หรือเสริมปรุงแต่งด้วยน้ำตาล เกลือแร่ หรือสมุนไพรอื่น ๆ ก็สามารถรับประทานได้ 3.ไม่ควรนอนให้ลมหรือความเย็นโกรก ความร้อนจากแดดทำให้เสียเหงื่อ เสียพลัง เมื่อนอนหลับตากลมในขณะเหงื่อออก จะทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง ถ้าอุณหภูมิภายนอกยังสูงอยู่ แล้วเหงื่อไม่สามารถระบายออกมาได้ จะมีความร้อนสะสมอยู่ข้างใน ทำให้เวียนหัว รู้สึกหนักหัว ไม่สดชื่นแจ่มใส หรืออาจทำให้เป็นหวัดได้ 4.การนอนพักผ่อน ควรนอนหลับให้เพียงพอ               5.ควรเลือกทานอาหารอ่อน ๆ ตอนเช้า เช่น ข้าวต้ม เพราะในช่วงเช้า ยังไม่ควรทานอาหารที่หนัก ๆ แค่ทานผักผลไม้เยอะ ๆ และหลีกเลี่ยง อาหารทอด ๆ มัน ๆ แห้ง ๆ  6.ควรดูแลสุขภาพของเด็ก ๆ โดยเฉพาะเรื่องเสื้อผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย และการดำเนินชีวิต 7.สำหรับหญิงตั้งครรภ์  สิ่งที่ควรปฏิบัติในหน้าร้อน คือ ต้องสวมเสื้อผ้าที่มิดชิด เพื่อป้องกันการกระทบกับความเย็น อาหารที่กินต้องสะอาด ไม่ควรนอนบนสื่อที่เย็น อาหารที่กินต้องสะอาด ไม่ควรนอนบนสื่อที่เย็น และห่มผ้าคลุมกายเสมอ ระวังอย่าให้เป็นไข้หวัด ห้ามอาบน้ำร้อนจัด หรือเย็นจัด 8. บุคคล 3 ประเภทที่ต้องระวังให้มาก คือ คนสูงอายุ ผู้ที่มีระบบย่อยอาหารที่ไม่ดี คนที่มีม้ามพร่องผู้ที่มีลักษณะสามอย่าง ที่กล่าวมานั้น เมื่อได้รับความร้อนจากแสงแดด หรือถ้าดื่มน้ำเย็นมากเกินไป และเกิดความชื่นสะสมในร่างกาย อาจทำให้เกิดอาการ ท้องเสีย ติดเชื้อราง่าย ขี้หนาว ปวดตัว ตัวร้อน เป็นต้น แล้วฤดูร้อนจะเป็นฤดูกาลที่มีความสุข...ถ้าคุณดูแลสุขภาพ ด้วยความปรารถนาดีจาก รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือ Cystitis เกิดจากแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่อยู่ในลำไส้ของคนเรา โดยเชื้อชนิดนี้มันจะเข้าไปทางท่อปัสสาวะ ดังนั้น จึงมักพบผู้หญิงป่วยด้วยโรคนี้มากกว่าผู้ชายหลายเท่า             โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือ Cystitis  เกิดจากแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่อยู่ในลำไส้ของคนเรา โดยเชื้อชนิดนี้มันจะเข้าไปทางท่อปัสสาวะ ดังนั้น จึงมักพบผู้หญิงป่วยด้วยโรคนี้มากกว่าผู้ชายหลายเท่า นั่นเพราะท่าปัสสาวะของผู้หญิงสั้นและอยู่ใกล้ทวารหนัก ซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมากนั่นเองเพราะฉะนั้นแล้ว ผู้หญิงแทบทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยใดก็ตาม แต่จะพบมากเป็นพิเศษในกลุ่มหญิงมีครรภ์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) รวมทั้งผู้หญิงที่ชอบอั้นปัสสาวะนานๆ และผู้หญิงที่แต่งงานใหม่ เพราะการมีเพศสัมพันธ์จะทำให้เชื้อเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ นอกจากนี้ คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และต่อมลูกหมากโต ก็อาจมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบแทรกซ้อนด้วย อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ที่สังเกตได้คือ เป็นแบบปัสสาวะบ่อยๆ แสบ ขัด ปัสสาวะครั้งละไม่มาก รู้สึกถ่ายไม่สุด พอปวดปุ๊บจะต้องรีบ เข้าห้องน้ำเลย มิฉะนั้นอาจกลั้นไม่อยู่ รวมทั้งจะเจ็บมากตอน ปลายของปัสสาวะ บางรายมีเลือดออกมาด้วย สาเหตุ           มาจากการกลั้นปัสสาวะ ไม่ควรกลั้นปัสสาวะถ้าไม่จำเป็น เพราะเชื้อโรคในกระเพาะปัสสาวะจะเจริญพันธุ์ได้มากขึ้น อีกทั้งกระเพาะปัสสาวะที่เต็มไปด้วยปัสสาวะจะยืดตัว ทำให้ความสามารถในการขจัดเชื้อโรคของเยื่อบุผิวกระเพาะปัสสาวะลดน้อยลง จึงทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้ง่ายขึ้น และกรณีที่เป็นบ่อยๆ อาจมีความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ นิ่วร่วมด้วย การรักษา แพทย์จะให้ทานยาแก้ปวด และยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อ แต่ผู้ป่วยก็ต้องรู้จักดูแลตัวเองด้วย การดื่มน้ำมากๆ จะช่วยเร่งการขับเชื้อ(ดื่มน้ำมากๆ คือ ดื่มจนกว่าปัสสาวะจะใสเหมือนน้ำที่ดื่มเข้าไป) ที่สำคัญคือ อย่ากลั้นปัสสาวะ ส่วนการรับประทานอาหารนั้น ควรหลีกเลี่ยงอาหาร ที่จะทำให้กระเพาะปัสสาวะระคายเคือง เช่น กาแฟ หรือแอลกอฮอล์ ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการปัสสาวะในไต และกระตุ้นให้กระเพาะปัสสาวะเกิดการหดตัว กรณีที่เป็นบ่อยๆ อาจต้องวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น X-ray หรือส่องกล้อง (Cystoscope) เพื่อตรวจหาความผิดปกติ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ท้องผูก

 ท้องผูก         ท้องผูกเป็นปัญหาที่พบบ่อยในประชากรทั่วไป   โดยทั่วไปการขับถ่ายของคนส่วนใหญ่  จะมีการขับถ่ายตั้งแต่ 3 ครั้ง/วัน  จนถึง 3 ครั้ง/สัปดาห์  การถ่ายที่น้อยลงกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์  ก็จะถือว่ามีภาวะท้องผูกเกิดขึ้น  ดังนั้นการถ่ายแข็ง  ถ่ายลำบาก  ต้องใช้แรงเบ่งมาก  ใช้เวลาถ่ายนาน  อาจไม่เรียกว่าท้องผูกก็ได้  หากยังถ่ายได้ทุกวันหรือมากกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์                 ข้อมูลจากชมรมการเคลื่อนไหวลำไส้ (Thai Motility Club) ของสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย  พบภาวะนี้มีความชุกสูงถึงร้อยละ  2.5 สาเหตุของอาการท้องผูก         อาการที่ทราบสาเหตุ       1.   การอุดกั้นของทางเดินอาหาร  ได้แก่  มะเร็งลำไส้ใหญ่  ทวารหนังโป่งเข้าในอวัยวะข้างเคียง (Rectocele) รูทวารหนักตีบ (Anal stenosis)              ลำไส้ใหญ่ถูกกดเบียดจากอวัยวะข้างเคียง 2.   โรคทางระบบต่อมไร้ท่อหรือความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย  ได้แก่                                         โรคเบาหวาน     โรคไทรอยด์ทำงานต่ำ ภาวะโปแทสเซียมในเลือดต่ำ เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต (Pheochromocytoma) ต่อมใต้สมองทำงานต่ำ (Panhypopituitarism) โรคพอร์ฟัยเรีย (Porphyia)       พิษจากโลหะหนัก  เช่น ตะกั่ว  ปรอท  สารหนู 3.   ยาได้แก่ ยาแก้ท้องเสียบางชนิด  เช่น  loperamide ยาแก้ปวดบางชนิด เช่น morphine,  fentanyl ยากลุ่ม anticholinergic เช่น ยาลดบีบเกร็งลำไส้ ยาจิตเวชบางชนิด                      ยากันชักบางชนิด ยาเคลือบกระเพาะ ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม calcium channel blockers ยาบำรุงถ้ามีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ ยาขับปัสสาวะ ยารักษามะเร็งบางชนิด 4.    โรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โรคพาร์กินสัน การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง โรคทางระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic neuropathy) อาการท้องผูกที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด การทำงานของลำไส้ใหญ่ช้ากว่าปกติ ปัญหาของกล้ามเนื้อของอุ้งเชิงกราน การหาสาเหตุของอาการท้องผูก                 พิจารณาการเพิ่มเติมตามสมมติฐานของแต่ละโรค  อาจจะเป็นการตรวจเลือด  อุจจาระ  การตรวจทางรังสี  การส่องกล้อง  ตรวจลำไส้ใหญ่  การตรวจการทำงานของลำไส้ใหญ่(colonic function test)  ซึ่งประกอบด้วยการตรวจเพื่อดูการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ (colonic transit study) และการตาจดูการขับถ่าย (assessment for defecatory disorder)  โดยเฉพาะถ้าผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปี  มีอาการเตือน (alarm symptom) เช่น ถ่ายเป็นเลือก  ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือลำไส้อักเสบ  ชนิด Inflammatory bowel disease ซีด ตรวจพบเลือดแฝงในอุจจาระ  น้ำหนักลดชัดเจน  อาการเพิ่งเป็น  โดยไม่สามารถอธิบายจากสาเหตุอื่นได้  ควรส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่  เพื่อแยกสาเหตุจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ออกไป การรักษา 1.    ไม่ใช้ยา โดยการปรับอาหาร  พฤติกรรม  และการฝึกสุขนิสัยการขับถ่าย  ได้แก่ ·        ทานอาหารที่กากใยสูง  เช่น  ผัก  ผลไม้ ·        แนะนำดื่มน้ำอย่างน้อย 1.5 ลิตรต่อวัน ·        ออกกำลังกายทุกวัน ·        เมื่อรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ  ควรไปถ่ายทุกครั้ง ·        หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก ·        หลีกเลี่ยงการใช้ยาระบายต่อเนื่องยาวนาน          ·        ควรให้เวลากับการถ่ายอุจจาระให้เพียงพอ  ไม่ควรเร่งรีบ 2.    การใช้ยา  ซึ่งอาจเป็นยากิน  ยาเหน็บหรือยาสวนแล้วแต่สาเหตุหรือกลไกลของอาการท้องผูก 3.    การฉีด Botulinum toxin พบว่าอาจได้ประโยชน์ในผู้ป่วยที่กล้ามเนื้อหูรูดชั้นนอกตึงตัวเกิน 4.    การผ่าตัด  อาจพิจารณาในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา  ที่เป็นจาการทำงานของลำไส้ที่ช้ากว่าปกติ  กล้ามเนื้อหูรูดชั้นนอกตึงตัวเกิน  กายวิภาคของลำไส้ตรงและทวารผิดปกติ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพ

การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพ                ในปัจจุบัน ประชาชนมีความตื่นตัวในการตรวจสุขภาพมากขึ้น บางกรณีมีกฎหมายบังคับมีสวัสดิการให้พนักงานมีการตรวจสุขภาพในโอกาสต่างๆ เช่น การตรวจสุขภาพก่อนศึกษาต่อ ก่อนเข้าทำงานและการตรวจสุขภาพประจำปี เป็นต้น รวมทั้งมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ จัดโปรโมชั่น ให้ได้เห็นกันทั่วไป                                 ซึ่งก็มีอีกหลายคนไม่เข้าใจว่าทำไมต้องตรวจสุขภาพทั้งๆที่ดูแข็งแรง ตรวจแล้วได้อะไร บางคนกลัวและไม่กล้ากลัวเจอโรค เป้าหมายที่แท้จริงของคนตรวจสุขภาพนั้น ก็เพื่อนำผลการตรวจมาส่งเสริมสุขภาพอนามัย ให้เรามี ชีวิตยืนยาว ลดการเจ็บป่วยสร้างเสริม คุณภาพชีวิต และเพื่อการรักษากรณีเจอโรคในระยะแรกๆ                   หลายท่านเข้าใจผิดว่าการตรวจสุขภาพต้องมีการตรวจเลือด ตรวจ X-Ray เท่านั้นที่จำเป็น แต่การตรวจสุขภาพให้คลอบคลุมทุกด้าน เป็นสิ่งสิ่งที่จำเป็นไม่น้อยกว่าผลเลือด ผล X-ray ได้แก่ ประวัติความเสี่ยงต่างๆ เช่น ประวัติคนครอบครัวเป็นโรคอะไรบ้าง ประวัติการเจ็บป่วย การใช้ยา การรับวัคซีน การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย เป็นข้อมูลสำคัญที่ควรแจ้งกับแพทย์ เพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับผลตรวจอื่นๆ                   การตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะโรคบางอย่างเป็นภัยเงียบ ไม่แสดงอาการ ในระยะแรก เช่น เบาหวาน ความดันสูง มะเร็งระยะเริ่มแรกควรตรวจค้นหาความเสี่ยงเพื่อรู้ก่อนจึงสามารถรักษา หรือลดความรุนแรงของโรคได้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี                 นอกจากการตรวจสุขภาพแล้ว ในปัจจุบันมีโรคหลายโรคที่สามารถติดต่อได้โดยง่ายๆ และมีอันตรายถึงชีวิต ที่ไม่เกี่ยวกับการตรวจสุขภาพ จึงต้องมีการรับวัคซีนป้องกันโรค ก็เป็นสิ่งที่จำเป็น เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น   การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพ งดอาหารก่อนมารับการตรวจ 8-10 ชั่วโมง น้ำเปล่าและยาประจำตัว  สามารถรับประทานได้  ก่อนมาตรวจสุขภาพ หากสงสัยว่าตั้งครรภ์กรุณาแจ้งพยาบาลก่อนรับการตรวจ ไม่ควรสูบบุหรี่  ก่อนมารับการตรวจสุขภาพ เพราะจำทำให้ความดันโลหิตสูงเกินไปจากปกติของท่าน ควรพักผ่อนให้เพียงพอ  ก่อนมารับการตรวจสุขภาพ ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนมารับการตรวจสุขภาพ  24-48 ชั่วโมง หากรับประทานยาประจำ (รวมถึงอาหารเสริมบางชนิด)อยู่ควรแจ้งแพทย์ก่อนตรวจสุขภาพ เพราะยาและอาหารเสริมบางชนิดมีผลต่อการตรวจเลือด, ผลการตรวจปัสสาวะหรือผลการตรวจอุจจาระ ควรหลีกเลี่ยงงานเลี้ยง  ที่จำเป็นต้องรับประทานมื้อใหญ่ (Big Meal) ก่อนมาตรวจสุขภาพ  48-72 ชั่วโมง (2-3 วัน) หากมีการตรวจการได้ยิน  ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสเสียงดัง (ไม่เข้าไปใกล้เครื่องจักร  หรือดิสโก้เทค  หรือแหล่งของเสียงดังอื่น ๆ ที่มีเสียงดังเกิน 80 เดซิเบล)  อย่างน้อย 14 ชั่วโมงก่อนมารับการตรวจการได้ยิน ในกรณีที่ท่านมีการตรวจสมรรถภาพของการทำงานปอด                   - ท่านควรงดอาหารมื้อใหญ่อย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนตรวจ                   - ห้ามออกกำลังกายก่อนมาตรวจเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที                   - ควรสวมเสื้อผ้าหลวม ๆ สบาย ๆ และหากท่านได้ยาขยายหลอด  ควรหยุดยาขยายหลอดลมก่อนรับการตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด (ให้นำยาประจำตัวมาด้วยเพื่อใช้หลังตรวจเสร็จ)                    - ยาพ่นขยายหลอดลม งด 6-8 ชั่วโมง                   - ยากินขยายหลอดลม งด 12 ชั่วโมง                   - ยากินขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์ยาว งด 24 ชั่วโมง หมายเหตุ  : หากมีการนัดการตรวจกระเพาะอาหาร  ให้งดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดก่อนมาพบแพทย์อย่างน้อย 6 ชั่วโมง ควรพักผ่อนให้เพียงพอ (พักผ่อนไม่เพียงมีผลต่อความดันโลหิต) ผู้หญิงไม่ควรตรวจสุขภาพระหว่างมีประจำเดือน (มีผลต่อผลตรวจปัสสาวะ) ปรึกษาแพทย์ก่อนตรวจ เพื่อแจ้งข้อมูลสุขภาพ ประวัติต่างๆ ทำความเข้าใจกับ รายการตรวจหรือ Packaeg เพื่อการตรวจสุขภาพที่คุ้มค่าเหมาะสม                  สุดท้าย ทุกท่านได้รับผลการตรวจแล้วนำไปปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น การดูแลสุขภาพ การออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร การตรวจสุขภาพจะไม่มีประโยชน์อันใด  ถ้าท่านเพียงแต่เก็บพวกนั้นไว้ มาตรวจสุขภาพกันเถอะ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ความเชื่อที่ผิด 4 ประเด็นหลัก กับ โรคมะเร็ง

ความเชื่อที่ผิด 4 ประเด็นหลัก กับ โรคมะเร็ง รู้ทันมะเร็ง : 4 กุมภาพันธ์ วันมะเร็งโลก  โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สำหรับปี 2557 ได้กำหนดหัวข้อการรณรงค์เรื่องการทำลายความเชื่อที่ผิด 4 ประเด็นหลัก  ความเชื่อที่ผิดประเด็นที่ 1           เราไม่ควรพูดคุยกันเรื่องโรคมะเร็ง เพราะเป็นเรื่องที่น่าเศร้าหรือเป็นเรื่องที่น่าอาย ที่ต้องการปกปิดไว้ไม่ให้ใครรู้ แต่ความจริงคือการที่ได้พูดคุยกันเรื่องโรคมะเร็ง รวมไปถึงการให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคมะเร็งในสังคม จะช่วยให้ประชาชนเกิดความเข้าใจในการดูแลตนเองตั้งแต่การป้องกัน การตรวจคัดกรองค้นหามะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้น การเข้าสู่กระบวนการรักษาที่ถูกต้องและได้ผลการรักษาที่ดี และการที่ผู้ป่วยมีโอกาสพูดคุย จะสามารถระบายและสามารถปรึกษาผู้อื่นรวมถึงญาติพี่น้อง ซึ่งจะช่วยให้ความวิตกกังวลลดลง รวมถึงผู้ที่ดูแลผู้ป่วยก็จะมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลและให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง ความเชื่อที่ผิดประเด็นที่ 2            มะเร็งเป็นโรคที่ไม่มีสัญญาณเตือนใดๆ ซึ่งความจริงก็คือมะเร็งหลายชนิดมีอาการและอาการแสดงนำมาก่อน ที่ทั่วโลกต่างรณรงค์กันเรื่อง 7 สัญญาณอันตรายของโรคมะเร็งอันประกอบด้วย ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปร แผลที่ไม่รู้จักหาย ร่างกายมีก้อนตุ่ม กลุ้มใจเรื่องกลืนกินอาหาร ทวารทั้งหลายมีเลือดไหล ไฝหูดที่เปลี่ยนไป ไอและเสียงแหบเรื้อรัง ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะเป็นหรือไม่เป็นมะเร็งก็ได้ แต่ถ้าเป็นมะเร็งที่พึ่งเริ่มมีอาการ โอกาสที่จะรักษาหายขาดก็มีมาก ความเชื่อที่ผิดประเด็นที่ 3             เราไม่สามารถทำอะไรได้กับมะเร็ง เรียกว่ามะเร็งเป็นสิ่งที่เราจัดการอะไรไม่ได้เลย เป็นมะเร็งเพราะโชคชะตาฟ้าลิขิตเป็นเรื่องของเวรกรรม แต่แท้จริงแล้วเราสามารถป้องกันไม่ให้ตนเองเป็นมะเร็งหลายชนิดได้ ด้วยการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็ง การปฏิบัติตัวให้ห่างไกลจากโรคมะเร็ง โดยต้องร่วมมือกันในทุกภาคส่วน ตั้งแต่ในระดับบุคคล ระดับสังคมและนโยบายระดับประเทศ รวมถึงการออกกฎหมายควบคุมและดำเนินการอย่างจริงจัง ก็จะสามารถลดการเกิดมะเร็งในภาพรวมได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ความเชื่อที่ผิดประเด็นที่ 4            เราไม่มีสิทธิ์ได้รับการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งปัจจุบันผู้ป่วยทุกสิทธิ์การรักษาสามารถได้รับการรักษาโรคมะเร็งได้ทุกคนทั้ง 3 กองทุนคือ สิทธิ์ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือ 30 บาทรักษาทุกโรค สิทธิ์ประกันสังคม สิทธิ์กรมบัญชีกลาง เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปเสียเงินรักษาเอง หรือไปรักษาในแนวทางที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งหลายรายเสียโอกาสที่สำคัญที่จะหายขาดจากโรคเลยล่ะครับ...เชื่อผมสิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เส้นเลือด สมองตีบหมายถึงอะไร

               โรคเส้นเลือดสมองตีบ   อัมพฤกษ์อัมพาตเป็นอาการที่คนทั่วไปโดยเฉพาะผู้สูงอายุจะเกรงกลัวกันมาก ซึ่งอาการดังกล่าวหมายถึง การที่แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง และมักจะไม่ค่อยหาย     หรือหายแต่ไม่หายสนิทใช้เวลาฟื้นฟูสมรรถภาพค่อนข้างนาน มีความพิการหลงเหลืออยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย  สาเหตุของอาการดังกล่าวมีได้ หลายอย่าง       แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือ ประมาณ80-90% ก็คือ โรคหลอดเลือดสมอง ที่เหลือ ก็เป็นสาเหตุอื่นๆเช่น เนื้องอกในสมอง ฝีในสมองเป็นต้น  เส้นเลือด สมองตีบหมายถึงอะไร                 เส้นเลือดสมองตีบ เป็นโรคหนึ่งซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มใหญ่ที่เรียกว่า โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งประกอบ ไปด้วย 3 โรคหลักๆ ได้แก่ เส้นเลือดสมองตีบ แตก และ อุดตัน โดยที่เส้นเลือด สมองตีบเป็นแบบที่พบได้มากที่สุด(80-85%) เส้นเลือดที่ ตีบเกิดจากการหนาตัวของผนังหลอดเลือด รวมทั้งอาจมีเกล็ดเลือด หรือองค์ประกอบอื่นๆ ของเลือด มาสะสมตามผนังหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้เลือดไหลผ่านได้น้อยลง ถ้าเป็นมาก ก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอเพียง และเกิดความเสียหายต่อเซลสมองบริเวณนั้นๆ    มีอาการ อย่างไรได้บ้าง เนื่องจากสมองมี หลายส่วน แต่ละส่วนมีหน้าที่แตกต่างกันไป ดังนั้น อาการในผู้ป่วยแต่ละคน ขึ้นกับบริเวณของสมองที่มีเส้นเลือดตีบ อาการที่พบได้แก่ • แขนขาอ่อนแรง หรือชาซีกใดซีกหนึ่ง (บางกรณีอาจเป็น ทั้ง2ซีก) • ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด หรือสำลัก • พูดไม่ได้ หรือฟังไม่รู้เรื่อง (มีปัญหาด้านความเข้าใจภาษา) • เวียนศีรษะมาก เดินเซ แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน • มองไม่เห็นซีกใดซีกหนึ่ง โดยลักษณะสำคัญของอาการที่เกิดคือ เป็นค่อนข้างเร็ว กระทันหัน ภายในเวลาเป็นนาที หรืออาจเป็นหลังตื่นนอน โดยที่ก่อนเข้านอนยังปกติอยู่ ใครมี โอกาสเป็นบ้าง อายุที่ มากขึ้นถือเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้ที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่ปัจจัยเสี่ยงที่เราสามารถควบคุมได้ยังมีอีกหลายอย่าง ซึ่งถ้าเราคุมได้ดีก็จะสามารถลด มีอาการ อย่างไรได้บ้าง เนื่องจากสมองมี หลายส่วน แต่ละส่วนมีหน้าที่แตกต่างกันไป ดังนั้น อาการในผู้ป่วยแต่ละคน ขึ้นกับบริเวณของสมองที่มีเส้นเลือดตีบ อาการที่พบได้แก่ • แขนขาอ่อนแรง หรือชาซีกใดซีกหนึ่ง (บางกรณีอาจเป็น ทั้ง2ซีก) • ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด หรือสำลัก • พูดไม่ได้ หรือฟังไม่รู้เรื่อง (มีปัญหาด้านความเข้าใจภาษา) • เวียนศีรษะมาก เดินเซ แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน • มองไม่เห็นซีกใดซีกหนึ่ง              โดยลักษณะสำคัญของอาการที่เกิดคือ เป็นค่อนข้างเร็ว กระทันหัน ภายในเวลาเป็นนาที หรืออาจเป็นหลังตื่นนอน   โดยที่ก่อนเข้านอนยังปกติอยู่ ใครมี โอกาสเป็นบ้าง      อายุที่ มากขึ้นถือเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้ที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่ปัจจัยเสี่ยงที่เราสามารถควบคุมได้ยังมีอีกหลายอย่าง ซึ่งถ้าเราคุมได้ดีก็จะสามารถลดโอกาสการเกิดอัมพฤกษ์อัมพาตได้มากแม้จะ ไม่100% ก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวได้แก่ • ความดันโลหิตสูง • เบาหวาน • ไขมันในเลือดสูง • การสูบบุหรี่ • โรคหัวใจบางชนิด วินิจฉัย อย่างไร              อาศัยการซัก ประวัติ ตรวจร่างกายทั่วไปและการตรวจทางทางระบบประสาท และการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ในบางรายหากสงสัยว่าอาจเป็นอย่างอื่น แพทย์ที่ตรวจอาจให้ตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI) แทนการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การทำ CT scan ของสมอง จะช่วยให้แยกได้ระหว่างเส้นเลือดตีบหรือแตก ซึ่งการรักษาจะต่างกันไป   รักษาให้หายขาด ได้หรือไม่               ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่ รักษาอาการที่เกิดขึ้นได้โดยตรง แต่ผู้ป่วยแต่ละคนมีโอกาสที่จะดีขึ้นได้เอง โดยเน้นการทำกายภาพบำบัดเป็นหลัก ซึ่งแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไปในเรื่องของการฟื้นตัวว่าจะดีขึ้นได้ถึง ระดับใด โดยอาจพอบอกแนวโน้มได้คร่าวๆหลังเกิดอาการ2-4 สัปดาห์ แต่ก็ไม่ได้ทำนายได้ถูกต้องแน่นอนเสมอไป เป็นเพียงแนวโน้ม เช่น ถ้าผ่านไป2 สัปดาห์ อาการอ่อนแรงดีขึ้นมากพอสมควร ก็อาจบอกได้ว่ามีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้มาก บางรายทำกายภาพบำบัดไป3-6 เดือน ไม่ค่อยดีขึ้นเท่าที่ควร ก็อาจมีแนวโน้มว่าจะใช้เวลานานหรืออาจไม่ดีขึ้นกว่าเดิมมากนัก  ยาที่ใช้ รักษามีอะไรบ้าง                   ยาที่ใช้ในโรคนี้ ใช้เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ เนื่องจากถ้าเป็นครั้งหนึ่งแล้ว จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นซ้ำได้ ยาที่สำคัญคือยาป้องกันเส้นเลือดตีบ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆไป ไม่ควรซื้อทานเองเนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียงได้ ยาที่มีความสำคัญมากอีกกลุ่มหนึ่ง คือยาที่ใช้คุมปัจจัยเสี่ยงในรายที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ยาเบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น รวมทั้งการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องโดยเฉพาะการควบคุมอาหารที่ เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ถ้าคุมโรคเหล่านี้ได้ดี โอกาสเป็นเส้นเลือดสมองตีบก็จะน้อยลงไปมาก ควรงดสูบบุหรี่ เนื่องจากเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ และการเลิกขึ้นอยู่กับจิตใจเท่านั้น โดยแทบไม่ต้องใช้ยาใดๆ การทำ กายภาพบำบัด มีส่วนสำคัญที่สุดในการเพิ่มโอกาสที่ทำให้ส่วนที่อ่อนแรง กลับมามีแรงมากขึ้นได้ ส่วนยาที่ทาน จะเน้นไปที่การป้องกันการเกิดซ้ำของเส้นเลือดสมองตีบ ดังนั้น แม้ทานยาครบ แต่ไม่ค่อยทำกายภาพบำบัด ก็ไม่สามารถทำให้อาการดีขึ้นได้เท่าที่ควร  ยา บำรุงสมองช่วยได้หรือไม่              มีคนพูดถึงยาบำรุงสมอง แปะก๊วย อาหารเสริม ฯลฯ ว่าจะช่วยให้อัมพาตหายได้หรือไม่ รวมทั้งการรักษาในแนวอื่นๆอีกหลายรูปแบบ รวมทั้งยาฉีดบางชนิดที่ราคาแพง ซึ่งทุกอย่างดังกล่าว ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ทางการแพทย์ว่าได้ผล และการรักษาบางอย่างอาจเกิดผลเสียกับผู้ป่วยโดยไม่รู้ตัวได้ ถ้าไม่แน่ใจ จึงไม่ควรทานหรือฉีด             ยาหม้อ เป็นยาที่นิยมมากโดยเฉพาะในต่างจังหวัด ซึ่งนอกจากไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยแล้ว ยังอาจเกิดอันตรายได้หลายรูปแบบ แต่คนนิยมทาน เนื่องจากในยาหม้อ มีสารที่ทำให้ทานแล้วรู้สึกสบาย เหมือนจะดีขึ้น ซึ่งไม่ว่าเป็นโรคอะไรก็จะดีขึ้น แต่เป็นเพียงความรู้สึก และเป็นชั่วคราว ในระยะยาวไม่มีผล และสารนี้ทำให้เกิดอาการตามมาได้หลายอย่าง เช่น น้ำตาลในเลือดสูง โรคกระเพาะ ภูมิคุ้มกันต่ำ ติดเชื้อง่าย หน้าบวม ฯลฯ บางรายที่ทานนานๆ เมื่อหยุดทานก็จะเกิดอาการไม่สบายได้หลายรูปแบบ ยาหม้อจึงเป็นยาที่ไม่ควรทานโดยเด็ดขาด ทำไม บางคนหาหมอพระ หรือทานยาหม้อแล้วหายดี กลับมาเดินได้              อย่างที่กล่าวในตอนต้น คือโรคนี้เป็นโรคที่ในระยะแรกๆทำนายได้ยาก ว่าแต่ละคนจะดีขึ้นได้แค่ไหน หรือใช้เวลาเท่าใด บางรายอาจดีขึ้นเองโดยไม่ได้ทานยาอะไรเลยก็เป็นได้ บางรายทานยาทุกอย่าง ทำกายภาพบำบัดเต็มที่ ก็อาจไม่ค่อยดีขึ้นมากนักก็เป็นได้ ดังนั้นในรายที่ทานยาหม้อหรือรักษาแบบอื่นๆใดๆก็ตามแล้วดีขึ้น มักเกิดจากการที่คนนั้นจะดีขึ้นเองอยู่แล้ว แต่บังเอิญไปทานยาหม้อด้วย คนจึงเข้าใจว่าดีจากยาหม้อแล้วจึงนำไปบอกกันปากต่อปาก จึงกลายเป็นที่นิยมกันไป แต่ในรายที่ไม่ดีขึ้นหรือเกิดผลข้างเคียงจากยาหม้อ คนทั่วไปก็จะไม่ค่อยพูดถึง หรืออาจโทษว่า อาการที่แย่ลงเป็นจากตัวโรคเส้นเลือดสมองตีบเอง ทำไม แพทย์มักมีอคติ หรือปิดกั้นการรักษาแบบอื่นๆที่ไม่ใช่แผนปัจจุบัน                แพทย์ไม่ได้ปิดกั้นหรือมีอคติ ใดๆ เนื่องจากแพทย์ทุกคนทราบว่าในเมื่อขณะนี้ แผนปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายสนิทได้ทุกราย ญาติผู้ป่วยก็อยากลองพึ่งการรักษาทางอื่นดูบ้าง เผื่อว่าอาจได้ผล แพทย์ส่วนมากก็ให้ลองได้ แต่ต้องเป็นการรักษาหรือเป็นยาที่ไม่เกิดอันตรายใดๆกับผู้ ป่วย แต่การรักษาหลายอย่าง อาจเกิดอันตรายได้ เช่น ยาหม้อ การนวดโดยการเหยียบ การนอนในทรายดำ เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์จำเป็นต้องชี้แจง  นอกจากนี้ ยังมีอีกประเภทที่ต้องชี้แจง แม้อาจไม่มีอันตรายนัก แต่เกิดจากการหวังผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม โดยฉวยโอกาสบนความเดือดร้อนของผู้ป่วยและญาติ เช่น อาหารเสริม เตียงแม่เหล็ก วิตามินบางชนิด ยาฉีดแพงๆซึ่งอ้างว่ามาจากเมืองนอก เป็นต้น โดยการโฆษณาชวนเชื่อ เกินความจริง ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการเอาผิดทางกฏหมายกับคนกลุ่มนี้แล้ว   สามารถ ป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบได้หรือไม่                เนื่องจากเป็นโรคที่ถ้าเป็นแล้ว มักไม่หายสนิท เหลือความพิการอยู่บ้างไม่มากก็น้อย การป้องกันจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในรายที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น ควรควบคุมโรคเหล่านั้นให้ดี ไม่ขาดยา ตั้งใจควบคุมอาหาร จะลดโอกาสการเป็นอัมพาตลงได้มาก รวมทั้งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนเพียงพอ หลีกเลี่ยงของมึนเมา ควรตรวจเลือดเพื่อหาปัจจัย เสี่ยงทุกปี โดยเฉพาะถ้าอายุมากกว่า 30-35ปีขึ้นไป หรือมีประวัติคนในครอบครัวมีโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เพราะเราอาจมีโรคเหล่านั้นได้ เนื่องจากส่วนมากเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม  การดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้แล้ว   หลักสำคัญๆ ได้แก่ 1. ควบคุมปัจจัยเสี่ยงอย่าง เคร่งครัด ห้ามขาดยา พบแพทย์ตามนัด 2. ทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง โดยอาจทำเองที่บ้านได้หลังจากออกจากโรงพยาบาล 3. ให้กำลังใจผู้ป่วย เนื่องจากโรคนี้พบว่าผู้ป่วยมีโอกาสมากที่จะมีโรคซึมเศร้า หรือเครียดร่วมด้วย ซึ่งเกิดจากการที่เคยทำอะไรได้ แล้วมาทำไม่ได้ 4. ก่อนที่จะให้ผู้ป่วยกลับบ้าน  ในรายที่เดินไม่ได้ นอนอยู่กับเตียง ต้องพลิกตัว จับนั่งบ่อยๆ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ แผลกดทับ ทางเดินปัสสาวะอักเสบเป็นต้น ซึ่งแพทย์และพยาบาลจะสอนการดูแลเหล่านี้ รวมทั้งการให้อาหารทางสายยาง(ถ้าต้องใส่)                  ด้วยความปรารถนาดี จากโรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

กินเจให้สุขภาพดี

            กระทรวงสาธารณสุข แนะวิธีการกินเจเพื่อให้มีสุขภาพดี โดยยึดหลัก 3 ประการ คือ สะอาด ถูกหลักโภชนาการ และอาหารปลอดภัย เน้นให้ผู้บริโภครับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกผักผลไม้ที่มีความหลากหลาย หรือให้ครบ 5 สี พร้อมทั้งให้ความสำคัญด้านความสะอาดล้างผักและผลไม้ทุกครั้งก่อนนำมารับประทานเพื่อป้องกันสารเคมีตกค้างซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ย้ำผู้ประกอบการต้องปรุงอาหารให้ถูกหลักสุขาภิบาลเพื่อการสร้างสุขภาพที่ดี วันที่ 4 ต.ค. 56 ที่ ตลาดสามย่าน เขตปทุมวัน กทม. กรมอนามัยจัดรณรงค์ “สุขภาพดี เริ่มต้นที่นี่...กินเจมั่นใจ ผักปลอดสาร อาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ” เนื่องจากเทศกาลกินเจเป็นการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ได้กุศล ตลอดจนทำให้สุขภาพดี แต่สิ่งที่ผู้บริโภคควรคำนึงถึงความสำคัญคือ การเลือกกินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและปรุงประกอบที่สะอาดถูกสุขอนามัย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน แม้ต้องละเว้นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ซึ่งให้โปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่ประชาชนสามารถกินโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง เต้าหู้ และโปรตีนเกษตร เพื่อเป็นการทดแทนได้ หรือเลือกกินข้าวกล้องแทนข้าวขาว เพราะอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร               ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า การกินเจเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคจึงขอให้ประชาชนและผู้ประกอบการยึดหลัก 3 ประการ คือ                1) ความสะอาด ด้วยการดูแลความสะอาดตั้งแต่กระบวนการเตรียมวัตถุดิบ โดยเฉพาะการล้างผักและผลไม้เพื่อป้องกันสารเคมีและยาฆ่าแมลงตกค้างด้วยการลอกเปลือกด้านนอกออกล้างผ่านน้ำก๊อกที่ไหลนาน 2 นาที หรือแช่ในน้ำผสมเกลือ หรือน้ำผสมน้ำส้มสายชู ทิ้งไว้นาน 10-15 นาที หรือแช่ในน้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 กะละมัง หรือน้ำประมาณ 4 ลิตร จากนั้นนำมาผักและผลไม้มาล้างน้ำสะอาดอีก 2-3 ครั้ง เพื่อให้สารพิษที่ตกค้างออกให้หมดช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งโดยเฉพาะโรคมะเร็งเต้านม สำหรับผู้ประกอบการต้องปรุงอาหารให้สุก ไม่ใช้เขียงหรือมีดร่วมกันระหว่างอาหารสดและอาหารดิบ ไม่นำอาหารหรือสิ่งของมาแช่รวมกับน้ำแข็งสำหรับบริโภค ควรสวมถุงมือหรือใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหารทุกครั้ง ใส่ผ้ากันเปื้อนและหมวกคลุมผม รวมทั้งล้างมือก่อนปรุงอาหารและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง               2) ถูกหลักโภชนาการ คือ ปรุงอาหารด้วยการยำ ต้ม นึ่ง ลดอาหารประเภทผัด ทอด และอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด เลือกรับประทานผักและผลไม้หลากสีหรือให้ครบ 5 สี ได้แก่ สีขาว จากขิง เห็ด กะกล่ำดอก ผักกาดขาว กล้วย ลูกแพร์ ช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดการเกิดโรคหัวใจและมะเร็ง มีประโยชน์ต่อระบบหมุนเวียนโลหิตในร่างกาย สีม่วง-น้ำเงิน จากดอกอัญชัน กะหล่ำปลีสีม่วง มะเชือม่วง ชมพู่มะเหมี่ยว องุ่น ลูกหม่อน ลูกพรุน แอปเปิ้ลแดง แบล็คเบอรี่ บลูเบอรี่ ช่วยขจัดสารก่อมะเร็ง สีเขียวและเขียวอมเหลือง จากตำลึง คะน้า บล็อกโคลี่ ชะพลู บัวบก ตำลึง ตัว ผักขม ปวยเล้ง หน่อไม้ฝรั่ง ถั่วลันเตากะหล่ำปลี สีเขียว อโวคาโดและแอปเปิ้ลเขียว มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตา ขจัดกลิ่นตัว เพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและฟัน บำรุงตับ และกระตุ้นระบบของการของเสียในร่างกาย สีเหลือง-ส้ม จากข้าวโพด มะม่วง ส้ม แคนตาลูป เสาวรส แตงโมเหลือง แครอท ฟักทอง มะละกอ ช่วยบำรุงสายตา บำรุงหัวใจ ลดระดับคอเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือด ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง เพิ่มระดับภูมิคุ้มกัน และสีแดง จากแตงโม แอปเปิ้ลแดง องุ่นแดง มะเขือเทศ ทับทิม พริกแดง กระเจี๊ยบ บีทรูท และแคนเบอรี่ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดปริมาณไขมันตัวร้ายในเลือด ยับยั้งหรือป้องกันการเกิดมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก งดบริโภคผักที่มีกลิ่นฉุน 5 ชนิด ได้แก่ หัวหอม กระเทียม หลักเกียว กุยช่าย ใบยาสูบ             3) อาหารปลอดภัย คือ การเลือกซื้อวัตถุดิบจากแหล่งที่ได้มาตรฐานผ่านการรับรอง เช่น ตลาดสดของกรมอนามัย ร้านอาหารที่มีป้ายสัญลักษณ์ Clean Food Good Taste เครื่องปรุงรสที่มีสัญลักษณ์ อย.และมอก. กำกับทุกครั้ง ขอบคุณที่มา : -หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ  -สสส.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

Stroke Fast Track โรคหลอดเลือดสมองตีบ

Stroke Fast Track นายแพทย์อิทธิกร แซ่เล้า อายุรแพทย์ระบบประสาทวิทยา ประจำโรงพยาบาลวิภาวดีกล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองตีบ เกิดจากเส้นเลือดสมองที่ตีบตัน ทำให้เนื้อสมองขาดเลือด และเนื้อสมองก็จะเริ่มตาย โดยเริ่มต้นจากเนื้อสมองส่วนตรงกลางก่อน และค่อยๆเพิ่มขนาดของเนื้อสมองที่ตาย ออกมาสู่สมองส่วนอื่นๆ ทำให้เกิดอัมพฤกษ์หรืออัมพาต Stroke  Fast  Track      นายแพทย์อิทธิกร  แซ่เล้า  อายุรแพทย์ระบบประสาทวิทยา ประจำโรงพยาบาลวิภาวดีกล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองตีบ เกิดจากเส้นเลือดสมองที่ตีบตัน ทำให้เนื้อสมองขาดเลือด และเนื้อสมองก็จะเริ่มตาย โดยเริ่มต้นจากเนื้อสมองส่วนตรงกลางก่อน และค่อยๆเพิ่มขนาดของเนื้อสมองที่ตาย ออกมาสู่สมองส่วนอื่นๆ ทำให้เกิดอัมพฤกษ์หรืออัมพาต      ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ได้ค้นพบว่าภายในเวลา 4 ชั่วโมงครึ่ง หรือ 270 นาที  หลังจากผู้ป่วยเกิดอาการ  ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่สำคัญ ที่แพทย์จะใช้ในการวางแผน การรักษาโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดมาเลี้ยง (Cerebral  Infartion)  หรือ โรคหลอดเลือดสมองตีบ (Stroke) โดยการใช้ยาละลายลิ่มเลือด เรียกว่า Thrombolytic  Therapy       เวลา 4 ชั่วโมงครึ่ง หรือ 270 นาที  คือ นับตั้งแต่นาทีแรกที่ผู้ป่วยมีอาการ จนถึงเวลาที่แพทย์ฉีดยาละลายลิ่มเลือดเข้าทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วย หากผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลช้ากว่านี้ มักจะไม่สามารถทำการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวได้ เนื่องจากเนื้อสมองสามารถทนการขาดเลือดได้นานเพียง  270  นาที  หลังจากนั้นเนื้อสมองจะตาย และไม่ตอบสนองต่อการรักษา ด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือด  ในทางการแพทย์จึงเรียกแผนการรักษานี้ว่า “Stroke  Fast  Track  หรือ  ทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง  หรือ 270 นาทีชีวิต” อาการที่ผิดปกติและเป็นสัญญาณเตือนว่ามีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ  คือ 1...Symptoms and signs (ข้อใดข้อหนึ่ง)         - แขนขาอ่อนแรกครึ่งซีก (hemiparesis)       - แขนขาชาครึ่งซีก (hemisensory loss)       - แขนขาอ่อนแรงทั้ง 2 ข้าง       - พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง (slurred speech oret)       - มองเห็นภาพซ้อน (double vision  or dij)       - พูดไม่ออก ฟังไม่เข้าใจ (aphasia)       - ตามองเห็นภาพไม่ชัด (hemianopia , mor)       - เดินเซทรงตัวไม่อยู่ (ataxin)       - เวียนหัว บ้านหมุน 2…Time course  ข้อใดข้อหนึ่ง       - เป็นอย่างรวดเร็ว หรือ ทันทีทันใด       - เป็นหลังตื่นนอน สำหรับปัจจัยเสี่ยง ของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ คือ     - เพศ   ผู้ชายมีโอกาสเกิดขึ้นสูงกว่าผู้หญิง     - อายุ   อายุที่สูงขึ้น  ตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไป มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมอง   ซึ่งหมายถึง เมื่ออายุมากขึ้นโอกาสในการเกิดโรคก็ยิ่งมากขึ้น     -  ประวัติครอบครัว   ผู้ที่มีประวัติทางครอบครัว ญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่น้อง) ที่เป็นโรคนี้ ก็มีโอกาสเกิดโรคนี้     - โรคประจำตัว  ผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง  โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ     - ผู้ที่สูบบุหรี่     - ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ สาเหตุ       1.ไขมันเกาะผนังหลอดเลือด(Atherosclerosis)      2.ลิ่มเลือดหลุดลอยจากหัวใจ (Cardiac  emboli)      3.ผนังหลอดเลือดฉีกขาด (Arterial dissection)      4.อื่นๆ เช่น                - หลอดเลือดอักเสบ (Vasculitis)                - เลือดหนืดข้น (Hyperviscosity)                - เลือดแข็งตัวผิดปกติ (Hypercoagulability) ปัจจัยเสี่ยง   แบ่งเป็น ปัจจัยที่ป้องกันไม่ได้  ได้แก่ ·อายุ อายุที่สูงขึ้น โดยเฉพาะตั้งแต่ 45 ปี ขึ้นไปมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบได้มากขึ้น ·เพศ ผู้ชายมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย ประวัติครอบครัวผู้ที่มีโรคนี้โดยตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง)ที่เป็นโรคนี้ ก็มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากขึ้น ปัจจัยที่ป้องกันได้  ได้แก่ ·โรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจบางชนิด (โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะโรคลิ้นหัวใจผิดปกติ) ·สูบบุหรี่ ·ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ·ขาดการออกกำลังกาย         โรคหลอดเลือดสมองตีบสามารถป้องกันได้ โดยควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแต่หากเกิดอาการผิดปกติที่ต้องสงสัยโรคนี้จะต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อเข้าทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง หรือ 270 นาทีชีวิต (Stroke Fast Track) การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบ        สำหรับโรงพยาบาลวิภาวดี มีทีมแพทย์ พยาบาล และสหสาขาวิชาชีพที่พร้อมให้การรักษาโดยจะรีบคัดกรองอาการผิดปกติดังกล่าวของผู้ป่วยว่าใช่โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือไม่ เพื่อเข้าแผนการรักษา Stroke Fast Track ตามขั้นตอนการให้บริการทั้งหมด ตั้งแต่ท่านมาถึงโรงพยาบาลจนกระทั่งได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วประมาณ 60 นาที ซึ่งจะรวมการตรวจร่างกายทางระบบประสาท ตรวจเลือด และตรวจภาพสแกนคอมพิวเตอร์สมอง (CT brain) หากผู้ป่วยมีอาการในระยะเวลา 4 ชั่วโมงครึ่ง และไม่มีข้อห้ามของการให้ยา จะได้รับยาละลายลิ่มเลือด (Recombinant Tissue Plasminogen  Activator ; rtpa)ทางหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นการรักษามาตรฐานในปัจจุบันนี้ ทางศูนย์สมองและระบบประสาท(Neurology Center) ขอชี้แจงประโยชน์และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ ดังนี้ ประโยชน์ที่ได้รับ        จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยามีอาการดีขึ้น (มีความพิการเหลืออยู่เล็กน้อย หรือ หายเป็นปกติภายหลัง 3 เดือน) มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาถึง 30 % ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น         จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยามีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น เลือดออกในสมอง 6.4% เทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยา พบ 0.6% เลือดออกที่ร่างกายส่วนอื่นๆ การแพ้ยาแต่อย่างไรก็ตามการคัดเลือกสภาวะผู้ป่วยที่เหมาะสมจะสามารถช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้อีก การรักษาอื่นๆ         กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำแพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านเกล็ดเลือด(Antiplatelet) หรือ ยาป้องกันเลือดแข็งตัว (Anticoagulant) เพื่อป้องกันแทนร่วมกับการดูแลในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Unit) เพื่อดูแลภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและการไหลเวียนของเลือด ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ความดันโลหิตและสารเคมีที่สำคัญในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติและทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูผู้ป่วยต่อไป  โรคหลอดเลือดสมองตีบ สามารถป้องกันและลดโอกาสสียชีวิตได้ โดยการรักษาควบคุม      ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ เช่น ดูแลโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน ไม่สูบบุหรี่  ไม่ดื่มสุรา และถ้าเกิดอาการผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด “270 นาทีชีวิต   Stroke  fast  Track”         โรงพยาบาลวิภาวดี  มีทีมแพทย์ ทีมพยาบาลพร้อมให้การรักษา โดยจะรีบคัดกรอง อาการผิดปกติดังกล่าวของผู้ป่วย ว่าใช่โรคอัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ เพื่อเข้าแผนการรักษา   Stroke  fast  Track ตามขั้นตอนการให้บริการทั้งหมดตั้งแต่ท่านมาถึงโรงพยาบาล จนกระทั่งได้รับการรักษาใช้เวลาอย่างรวดเร็ว ประมาณ  60-90  นาที  แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลวิภาวดี 0-2561-1111 กด 1

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เมื่อลูกเป็นโรคหอบหืด

           เมื่อลูกเป็นโรคหอบหืด โดย ผศ.พญ.อาภัสสร วัฒนาศรมศิริ กุมารแพทย์โรคระบบหายใจ รพ.วิภาวดี ทราบได้อย่างไรว่าลูกมีอาการหอบหืด ลูกจะหายใจเร็วและแรงกว่าปกติ อาจได้ยินเสียงหวีดขณะหายใจ หน้าอกบุ๋ม และอาจเห็นปีกจมูกบาน เด็กที่พูดได้จะบอกว่าเหนื่อย แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ถ้าเป็นมากลูกจะเหนื่อยจนไม่มีแรงพูด อาจพบว่าริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำได้ ทราบได้อย่างไรว่าลูกมีอาการหอบหืด            ลูกจะหายใจเร็วและแรงกว่าปกติ อาจได้ยินเสียงหวีดขณะหายใจ หน้าอกบุ๋ม และอาจเห็นปีกจมูกบาน เด็กที่พูดได้จะบอกว่าเหนื่อย แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ถ้าเป็นมากลูกจะเหนื่อยจนไม่มีแรงพูด อาจพบว่าริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำได้ หอบและหอบหืดต่างกันอย่างไร หอบอาจเกิดจากโรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวม หรือสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหลอดลม ส่วนหอบหืดเกิดจากหลอดลมที่ตีบตัวลง เมื่อได้รับสารกระตุ้น อาจจะเกิดขึ้นรวดเร็ว และเป็น ๆ หาย ๆ โดยดีขึ้นทันทีเมื่อได้รับยาขยายหลอดลม แต่ในเด็กเล็กอาจเริ่มต้นจากอาการไอ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน เมื่อมีอาการมากขึ้นจึงจะหอบชัดเจน ทำไมลูกจึงป่วยเป็นหอบหืด           มักเป็นกรรมพันธุ์ร่วมกบการขาดการป้องกัน และสัมผัสกับสารที่กระตุ้นให้เกิดอาการบ่อย ๆ เช่น สารที่เกี่ยวข้องกับภูมิแพ้ ที่พบมากในเด็กไทย คือ ตัวไรฝุ่น ซึ่งอยู่ตามหมอน, ผ้านวม, ที่นอน, รังแค และน้ำลายที่อยู่ตามขนของสัตว์เลี้ยง, ละอองเกสร และแมลงสาบ เป็นต้น จากปัจจัยที่ไม่เกี่ยวกับภูมิแพ้ เช่น การออกกำลังกาย, การติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ และควันบุหรี่ เป็นต้น การรักษาเมื่อลูกมีอาการหอบ            คุณพ่อ คุณแม่ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าหอบที่ลูกเป็นอยู่เกิดจากหอบหืดใช่หรือไม่ ถ้าเป็นหอบหืด แพทย์จะรักษาโดยการให้ยาขยายหลอดลม บางรายต้องให้ออกซิเจนด้วย อาการของลูกจะค่อย ๆ ดีขึ้น รวมทั้งแพทย์จะต้องตรวจหาโรคอื่นที่อาจเป็นร่วมมาในคราวเดียวกัน จากนั้นแพทย์จะแนะนำยาที่ต้องนำไปใช้ที่บ้าน ซึ่งมีทั้งยากิน และยาสูดเข้าทางปาก รวมทั้งการปฏิบัติตัวที่บ้านเมื่อลูกหอบคราวหน้า และควรพาลูกมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ลูกจะมีชีวิตเหมือนเด็กปกติคนอื่น ๆ ได้หรือไม่ ต้องระวังอย่างไรบ้าง              เด็กที่เป็นหอบหืดก็เหมือนเด็กปกติทั่วไป แต่ต้องระวังตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หลีกเลี่ยงสารที่แพ้หรือสารที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น การระวังตัวไรในฝุ่นทำได้โดย ไม่ควรมีตุ๊กตามีขนหมอนนุ่น และของที่เก็บฝุ่นในห้องนอน ซักผ้าปูที่นอนในน้ำอุ่นประมาณ 60 องศาเซลเซียส นานครึ่งชั่วโมง สัปดาห์ละครั้ง หรือใช้ผ้าคลุมเตียงชนิดพิเศษที่สามารถป้องกันตัวไรฝุ่น เปิดห้องนอนให้โล่ง แสงแดดส่องถึง และอากาศ่ถายเทในเวลากลางวัน หมั่นนำผ้านวม หมอน ออกตากแดด หลีกเลี่ยงการปูพรม ถ้าจำเป้นก็ต้องดูดฝุ่นบ่อย ๆ ผู้ใหญ่ควรเลิกหรือสูบบุหรี่นอกบ้าน สุนัขและแมวควรเลี้ยงไว้นอกบ้าน หรืออย่างน้อยไม่ควรให้อยู่ในห้องนอนของลูก หลีกเลี่ยงที่แออัดมีควันและเลี่ยงจากเด็กที่ป่วยมีอาการไอจาม ในบางรายแพทย์จะให้ใช้เครื่องวัดการทำงานของปอดอย่างง่าย ๆ เพื่อใช้เป็นตัวบอกว่าลูกเริ่มจะมีอาการหอบ และจะได้ให้ยาทันท่วงที   เวลาลูกหอบอยู่ที่บ้านควรทำอย่างไร             ให้ลูกนอนพัก อยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้ดี ใช้ยาขยายหลอดลมที่คุณหมอให้พกประจำตัวอย่างถูกวิธี ไม่ต้องตกใจจนเกินไป ถ้ายังหอบให้ใช้ยาซ้ำได้อีกทุก 15 นาทีต่อมาไม่เกิน 3 ครั้ง แล้วรีบไปพบแพทย์ใกล้ที่สุด เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป พาลูกไปออกกำลังกายจะได้ไหม  ช่วงที่ไม่มีอาการสามารถพาลูกไปออกกำลังได้ โดยเริ่มจากการออกกำลังกายน้อย ๆ พยายามอย่าหักโหมทันที ในบางรายอาจจำเป็นต้องสูดยาขยายหลอดลมก่อน และไม่ออกกำลังกายจนเหนื่อยมากเกินไป กีฬาที่เหมาะสม คือว่ายน้ำในเวลาที่อากาศอบอุ่น สำหรับการออกกำลังกายในสภาพแวดล้อมที่อากาศแห้งและเย็นเกินไปจะทำให้ลูกหอบได้   ป้องกันไม่ให้ลูกเป็นหอบหืดได้หรือไม่             การให้ลูกกินนมแม่อย่างน้อย 4 เดือน จะทำให้มีภูมิคุ้มกันโรคติดเชื้อที่จะทำให้เกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจได้ พยายามหลีกเลี่ยงจากเด็กอื่นที่ป่วยมีอาการไอหรือจาม เลี่ยงจากฝุ่น ควันบุหรี่ สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ และรีบพาไปพบแพทย์เมื่อมีอาการหอบ เพื่อที่จะได้รับการรักษา และทราบวิธีปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ให้หอบซ้ำอีก             เมื่อลูกเป็นหอบแล้วต้องใช้ยานาน ๆ จะมีผลเสียหรือไม่ปัจจุบันแพทย์พยายามให้ยาขยายหลอดลมในรูปพ่น ซึ่งจะเข้าสู่ปอดโดยตรงออกฤทธิ์เร็วและยาที่ใช้จะมีปริมาณน้อยกว่าการให้ยาโดยการรับประทานมาก จึงไม่ต้องกังวลกับผลตกค้างจากยา ส่วนยากลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งใช้ในการป้องกันนั้น ถ้าใช้ในขนาดและวิธีที่เหมาะสมภายใต้การดูแลของแพทย์ก็จะไม่เป็นอันตราย     โดย ผศ.พญ.อาภัสสร  วัฒนาศรมศิริ   กุมารแพทย์โรคระบบหายใจ รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<