โรคแบคทีเรียกินเนื้อคนหรือโรคเนื้อเน่า

โรคแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือโรคเนื้อเน่า Necrotizing Fasciitis เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่เนื้อเยื้อใต้ผิวหนัง อาทิ ไขมันใต้ผิวหนัง ผังผืดและกล้ามเนื้อ จะมีความรุนแรงมาก อันตรายถึงชีวิต Necrotizing Fasciitis โรคแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือโรคเนื้อเน่า Necrotizing Fasciitis เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่เนื้อเยื้อใต้ผิวหนัง อาทิ ไขมันใต้ผิวหนัง ผังผืดและกล้ามเนื้อ จะมีความรุนแรงมาก อันตรายถึงชีวิต หากรักษาไม่ทัน เพราะเชื้อจะทำลายเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้อที่มักพบบ่อยที่แขนขา บริเวณฝีเย็บ และลำตัว มักมีประวัติได้รับอุบัติเหตุ ไปเที่ยวทะเล ถูกก้างปลาตำ เชื้อที่เป็นสาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Streptococcus เมื่อเชื้อเข้าสู่เนื้อเยื่อ โดยผ่านทางแผลที่ผิวหนัง เชื้อจะเจริญอย่างรวดเร็วและหลั่งสารพิษ (Toxin) ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายเนื้อเยื่อ มีผลทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นไม่พอทำให้กล้ามเนื้อตาย และเชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือดและลามไปทั่วร่างกาย อาการของโรค ไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน เหงือออก เป็นลม ช๊อกหมดหมดสติ อาการของโรคแบ่งตามระยะเวลาที่เกิดโรค อาการของโรควันที่ 1-2 มีอาการปวดบริเวณที่เกิดโรค บวม และแดง ลักษณะจะคล้ายกับผิวหนังอักเสบหรือไฟลามทุ่ง แต่โรคเนื้อเน่าเกิดในชั้นลึกกว่านั้นซึ่งมองไม่เห็น อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้นซึ่งไม่สอดคล้องกับอาการทางผิวหนังที่ตรวจพบ ไม่ตอบสนองต่อยาปฎิชีวนะ ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัวหัวใจเต้นเร็ว มีลักษณะอาการขาดน้ำ อาการของโรควันที่ 2-4  พบว่าบริเวณที่บวมจะกว้างกว่าบริเวณผิวหนังที่แดง มีผื่นผุพองซึ่งบ่งบอกว่าผิวหนังขาดเลือด และมีเลือดออก ผิวมีสีออกคล้ำเนื่องจากผิวหนังเริ่มตาย เมื่อกดผิวจะพบว่าแข็งไม่สามารถคลำขอบของกล้ามเนื้อได้ อาจจะคลำได้กรอบแกรบใต้ผิวหนัง เนื่องจากเกิดแก๊สใต้ผิวหนัง อาการของโรควันที่ 4-5 จะมีความดันโลหิตต่ำ และมีภาวะโลหิตเป็นพิษ ผู้ป่วยจะไม่ค่อยรู้สึกตัว อาการแทรกซ้อน อัตราเสียชีวิตจะสูง เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ การติดเชื้ออาจจะทำให้เส้นประสาท กล้ามเนื้อและหลอดเลือดถูกทำลาย อาจจะต้องตัดอวัยวะทิ้ง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเนื้อเน่าได้แก่ ผิวหนังมีแผลจากแมลงกัดต่อย อุบัติเหตุถูกของมีคมตำหรือบาด แผลผ่าตัด มีโรคประจำตัว เช่น ติดสุรา ติดยาเสพติด โรคตับ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง วัณโรค อาจเกิดหลังจากป่วยเป็นโรคไข้สุกใส มีการใช้ยา Steroid การรักษา มาพบแพทย์โดยด่วนเพื่อวินิจฉัยให้เร็ว และผ่าตัดเอาเนื้อที่ตายหรือเนื้อที่ติดเชื้อออกให้มากที่สุด ผ่าตัดเพื่อระบายเอาหนองออก และตัดเนื้อเยื่อที่ตาย หากติดเชื้อรุนแรงอาจจำเป็นต้องตัดอวัยวะนั้นออก การป้องกันโรค การดูแลแผล การดูแลแผลจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคเนื้อเน่า เมื่อเกิดแผล รีบทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดทันที ทำความสาดแผลทุกวัน และใช้อุปกรณ์ทำแผลที่สะอาด ระหว่างที่มีแผลควรหลีกเลี่ยงการใช้สระน้ำ และอ่างอาบน้ำร่วมกัน ล้างมือทุกครั้งก่อนแหละหลังสัมผัสแผล บริเวณที่ติดเชื้อได้ง่าย โรคเนื้อเน่าเกิดกับส่วนใดๆของร่างกายก็ได้ แต่พบบ่อยที่แขน / ขา บริเวณฝีเย็บและลำตัว มักจะมีประวัติได้รับอุบัติเหตุ ไปเที่ยวทะเลถูกก้างปลาตำ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ความรู้เรื่องไขมันในเส้นเลือด

โคเลสเตอรอล (CHOLESTEROL) เป็นไขมันชนิดหนึ่ง ร่างกายได้รับจากสารอาหารที่เรารับประทานและจากการสังเคราะห์ขึ้นของตับและลำไส้ อาหารที่มีโคเลสโตรอลสูง  ได้แก่ ไข่แดง หอยนางรม สมอง   ปลาหมึก     กุ้ง และเครื่องในสัตว์ ถ้าโคเลสเตอรอลในเลือดสูง จะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดเส้นเลือดแข็งตัว และตีบตัน ไตรกลีเซอไรด์(TRIGLYCERIDE)  เป็นไขมันชนิดหนึ่ง เกิดจากอาหารที่เรารับประทาน     และจากการสร้างขึ้นเองในร่างกาย  อาหารที่มีไตรกลีเซอไรด์ได้แก่ น้ำมันจากสัตว์ชนิดต่างๆ ไขมันไตรกลีเซอไรด์มีประโยชน์ให้พลังงาน ช่วยดูดซึมวิตามิน เอ ดี อี เค ทำให้อาหารนุ่ม รสชาติดี ผู้มีไตรกลีเซอไรด์สูงมากๆ จะทำให้ตับอ่อนอักเสบและมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้มาก เอส  ดี  แอล (HIGH DENSITY LIPOPROTEIN) เป็นไขมันความหนาแน่นสูง มีหน้าที่ จับไขมันโคเรสเตอรอลออกไปทำลายที่ตับ ดังนั้นการมีไขมัน HDL สูง จะทำให้โอกาสเป็นโรคหลอดเลือดลดลง ซึ่งการทำให้ HDL สูงนั้น ต้องออกกำลังกาย และจากการทานยาลดไขมันบางชนิด แอล ดี แอล (LOW DENSITY LIPOPROTEIN) เป็นไขมันตัวร้าย ที่มาจากไขมันสัตว์ เป็นตัวการให้เกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด LDL ควรต่ำ ยิ่งต่ำยิ่งดี อันตรายที่เกิดขึ้นจากภาวะไขมันในเลือดสูง ไขมันส่วนเกินจะไปตกตะกอนตามผนังของเส้นเลือด ทำให้ผนังเส้นเลือดหนา และแข็ง จะทำให้ตีบตันได้ง่าย ถ้าเป็นที่เส้นเลือดหัวใจทำให้เกิดหัวใจขาดเลือด ถ้าเป็นที่เส้นเลือดที่เลี้ยงสมอง ทำให้เส้นเลือดตีบตันเกิดอัมพาต เส้นเลือดไปเลี้ยงบริเวณขาไม่พอ ทำให้เวลาเดินแล้วปวดน่อง ตับอ่อนอักเสบ ระดับไขมันที่พึงประสงค์ CHOLESTEROL   ควรต่ำกว่า   200  มก./ดล. TRIGLYCERIDE   ควรต่ำกว่า   200  มก./ดล. HDL                 ควรมากกว่า 35   มก./ดล. LDL                 ควรต่ำกว่า   100  มก./ดล. การปฏิบัติตน เพื่อควบคุมไขมันในเลือด ควบคุมอาหาร อาหารที่ควรลดลง ได้แก่ อาหารที่มีไขมันสูง ไข่แดง เครื่องในสัตว์ อาหารทอด อาหารทะเล หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง เป็นต้น เครื่องดื่ม จำพวกเบียร์ แอลกอฮอล์ ขนมหวาน แป้ง น้ำตาล จะสะสมเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้ ควบคุมน้ำหนักตัว อย่าให้อ้วนเกินไป ออกกำลังกายสม่ำเสมอพอควร จะช่วยเผาผลาญไขมันได้ ควรตรวจเลือด วัดระดับไขมัน อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้งในคนปกติ แต่ถ้าสูงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์                            

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การเตรียมตัวก่อนรับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ไม่ใช่ว่า จะไปฉีดกันได้เฉยๆ ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ต้องแจ้งให้ทางโรงพยาบาลทราบรายละเอียดดังต่อไปนี้ด้วย ในบ้านที่พักอาศัยอยู่ มีเด็กเล็กพักอาศัยอยู่หรือมีผู้สูงอายุอยู่ด้วยหรือไม่ ท่านมีโรคประจำตัวอะไรหรือไม่ การใช้ยาปัจจุบัน มียาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดหรือยาที่มีผลกดภูมิคุ้มกันหรือไม่ แพ้ ไข่/ไก่ หรือไม่ ตั้งครรภ์ อยู่หรือไม่ รายละเอียดของผลข้างเคียงและข้อห้ามต่างๆ 1. ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการฉีดวัคซีนนี้ คือ อาจมีผลดังนี้ อาการเฉพาะที่ เช่น แดง บวม ปวด ตุ่มนูน มีไข้ รู้สึกไม่สบายตัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อและข้อและอาการอื่น ๆ (มักเป็นในผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนนี้มาก่อน) อาจเริ่มมีอาการภายใน 6-12 ชม. อาจเป็นนานประมาณ 1-2 วัน โดยไม่ต้องรับการรักษา ลมพิษ หอบหืด และ Systemic anaphylaxis จากการแพ้โปรตีนของไข่ ซึ่งพบได้น้อยมาก 2. ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง ห้ามใช้วัคซีนนี้ในผู้ที่มีประวัติการแพ้โปรตีนจากไข่ โปรตีนจากไก่ เลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปหากมีไข้หรือเป็นโรคเฉียบพลัน เลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปในผู้ที่เจ็บป่วยจาก Neurologic Disorders ไม่ให้วัคซีนนี้ในผู้ที่มีประวัติ Guillain Barre Syndrome (GBS) การให้วัคซีนในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องในการสร้างแอนติบอดี้ ไม่ว่าสาเหตุใด จากกรรมพันธุ์ หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง  หรือกำลังได้รับการรักษาด้วยสารกดภูมิคุ้มกัน อาจทำให้ไม่ได้ Antibody response อย่างที่คาดหวัง การให้วัคซีนไม่สามารถป้องกันได้ 100% เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของไวรัสทุกปี ด้วยความปรารถนาดี จาก โรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

Up Date คำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการรับวัคซีนโควิด 19 เป็นเข็ม 3 - เข็ม 4

Up Date คำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการรับวัคซีนโควิด 19 เป็นเข็ม 3 - เข็ม 4 โดยสามารถดูตามความเหมาะสมของแต่ละท่าน และควรเว้นระยะห่างตามคำแนะนำ เพื่อประสิทธิภาพของวัคซีน ข้อมูล ณ วันที่ 21 มีนาคม2565 ที่มา กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ลดน้ำหนัก แบบ New Normal

ลดน้ำหนัก แบบ New Normal ทุกๆคนเคยควบคุมอาหารมาทุกรูปแบบแล้ว แต่น้ำหนักก็ยังไม่ลงใช่หรือไม่? จ้างเทรนเนอร์เสียเงินไปเท่าไร รูปร่างก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจใช่หรือไม่ ? หรือเคยสังเกตความผิดปกติทั้งทางร่างกายและจิตใจไหม เมื่อน้ำหนักเพิ่มขึ้นทุกๆ1กิโลกรัม?   ลดน้ำหนักมาทุกวิธีแล้ว แต่ยังไม่ได้ผล เพราะวิธีที่ทำอาจไม่ตรงจุดก็เป็นได้ จะดีกว่าไหมถ้ารพ.วิภาวดี ตอบโจทย์การลดน้ำหนักในทุกสไตล์ของมนุษย์ในยุค New Normal มีตัวช่วยลดน้ำหนัก เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า ช่วยทำให้อิ่มได้นานขึ้น  โดยไม่ต้องผ่าตัด   สารนี้มีลักษณะคล้ายกับฮอร์โมนที่มีอยู่แล้วในร่างกายที่ชื่อว่า GLP-1 ซึ่งหลั่งออกมาจากลำไส้หลังรับประทานอาหาร ออกฤทธิ์ โดยการจับกับตัวรับในสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมความอยากอาหารของคุณ แล้วส่งผลทำให้คุณรู้สึกอิ่มและหิวน้อยลง ซึ่งช่วยให้คุณรับประทานอาหารน้อยลง และลดน้ำหนักของคุณได้  ที่สำคัญองค์การอาหารและยาทั้งในและต่างประเทศได้ให้การรับรองถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แผนกอายุรกรรม(เบาหวานและต่อมไร้ท่อ) โทร.02-5611111 ต่อ 1230

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ปลายประสาทอักเสบ

ปลายประสาทอักเสบ         เกิดจากประสาทส่วนปลายเสื่อม ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการขาดอาหาร (เช่น โรคเหน็บชา โรคพิษสุราเรื้อรัง) เบาหวาน จากพิษของยา (เช่น ไอเอ็นเอช) พิษของสารเคมี (เช่น ยาฆ่าแมลง ตะกั่ว สารหนู) โรคติดเชื้อ (เช่น โรคเรื้อน คอตีบ โปลิโอ เอดส์) เอสแอลอี มะเร็ง (เช่น มะเร็งปอด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ๆ เนื้องอกที่กดทับเส้นประสาท ภาวะบีบรัดเส้นประสาท (เช่น) เส้นประสาทมือถูกพังผืดรัดแน่น) หรือการได้รับบาดเจ็บของเส้นประสาท โรคปลายประสาทอักเสบ พบได้ในคนที่มีอายุเฉลี่ย 30 ปีขึ้นไป และกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากขึ้น ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน ทำงานหนักพักผ่อนน้อย ดื่มสุราหรือแอลกอฮอลล์เป็นประจำ สูบบุหรี่ รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ร่างกายขาดวิตามินบางชนิด เช่น บี 1 บี 6 และ บี 12 รับประทานยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงต่อเส้นประสาท ลักษณะของอาการผิดปกติที่พบ เมื่อมีการอักเสบของเส้นประสาท ต่างๆ เส้นประสาทคู่ที่ 7    ถ้าเกิดการอักเสบ ทำให้เกิดอาการใบหน้าเบี้ยว ใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก ส่วนหนึ่งของอาการนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ในช่วงที่ร่างกายทำงานหนัก พักผ่อนน้อย เส้นประสาทคู่ที่ 8    ถ้าเกิดการอักเสบ จะทำให้สูญเสียการทรงตัว เกิดอาการบ้านหมุน ตามมา บางรายได้ยินเสียงแว่วในหู หรือมีอาการหูดับ เส้นประสาทคู่ที่ 3, 4 หรือ 6    ถ้าเกิดการอักเสบ มักจะพบในกลุ่มคนที่เป็นเบาหวาน อาการที่พบบ่อย คือ เห็นภาพซ้อนแนวใดแนวหนึ่ง เส้นประสาทคู่ที่ 5    หากเกิดการอักเสบ จะมีอาการปวดเสียว ปวดแปร๊บๆ บนใบหน้า ลักษณะอาการคล้ายถูกไฟฟ้าช็อต มักเกิดอาการด้านใดด้านหนึ่งของใบหน้า            หากมีอาการของการรับความรู้สึกน้อย (ชา) หรือมากกว่าปกติ (เจ็บ) มีอาการอ่อนแรง หรือมีปัญหาการทรงตัวลำบาก ควรพบแพทย์เพื่อรับการประเมินและตรวจวินิจฉัย   การรักษาปลายประสาทอักเสบ แพทย์จะประเมินวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และตำแหน่งของปลายประสาทอักเสบ ซึ่งมุ่งเน้นการฟื้นฟูเส้นประสาทให้กลับมาทำงานได้ปกติ การรักษาทั่วไป อาบน้ำอุ่น ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดอาการชา และความเจ็บปวดได้ ควบคุมน้ำหนัก และระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองได้ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ช่วยป้องกันการขาดวิตามิน ลดการสูบบุหรี่ ลดการดื่มแอลกอฮอล์ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การบำบัด การกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า กายภาพบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อ การผ่าตัด การใช้ยา ให้ยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ ทายาและนวดเบา ๆ ฉีดยา ภาวะแทรกซ้อนของปลายประสาทอักเสบ            ความเสียหายของเส้นประสาทที่ส่งผลให้เกิดปลายประสาทอักเสบ อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น แผลที่เท้า การติดเชื้อจนทำให้เกิดเนื้อตาย และยังส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของหัวใจ รวมทั้งการไหลเวียนของระบบโลหิต หากคุณเสี่ยงต่อการเกิดโรคปลายประสาทอักเสบ ควรรับการตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ เมื่อพบอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที สามารถลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเส้นประสาททำให้มีโอกาสหายเป็นปกติได้มากขึ้นอีกด้วย   ข้อมูลอ้างอิง : https://w1.med.cmu.ac.th/ortho/images/News59/Aj_Kanit/entrapment%20nueropathy.pdf รศ.นพ. คณิตศ์ สนั่นพานิช  การกดทับเส้นประสาท (entrapment neuropathy) 10.14456/clmj.2018.27 - Chula Med J Vol. 62 No. 6 November-December 2018  ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข https://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=109133 https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1235

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 “ปอดอักเสบ” สาเหตุ อาการ และอันตรายต่อสุขภาพที่ควรรู้

“ปอดอักเสบ” สาเหตุ อาการ และอันตรายต่อสุขภาพที่ควรรู้          ปอดอักเสบ หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า “ปอดบวม” เป็นการอักเสบของเนื้อปอดซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ โดยเชื้อโรคที่เข้าสู่ปอด ทำให้เกิดการอักเสบของถุงลมปอดและเนื้อเยื่อโดยรอบ การรับเชื้อสามารถเกิดได้หลายวิธี เช่น การไอ จาม หรือหายใจรดกัน การสำลัก การแพร่กระจายของเชื้อตามกระแสโลหิต เป็นต้น พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ในวัยเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำ บางรายการติดเชื้ออาจรุนแรงและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้   สาเหตุของปอดอักเสบ       เกิดได้จาก 2 สาเหตุ ได้แก่ - การติดเชื้อ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด การติดเชื้อชนิดใดขึ้นกับ กลุ่มอายุ อาชีพ โรคประจำตัว ภาวะภูมิคุ้มกัน ประวัติการเดินทางต่างประเทศ การสูบบุหรี่ และสภาพแวดล้อม เช่น เชื้อไวรัส ได้แก่ เชื้อ Respiratory Syncytial Virus (RSV), เชื้อไข้หวัดใหญ่ (Influenza), เชื้อโคโรนา (Corona)  เชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ เชื้อ Streptococcus Pneumoniae, เชื้อ Haemophilus Influenzae, เชื้อ Atypical bacteria และเชื้อราซึ่งพบน้อย - ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น สารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น ควัน สารเคมีที่ระเหยได้ นอกจากนี้ การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด และยาที่ใช้ควบคุมการเต้นของหัวใจบางชนิด เป็นต้น อาการของปอดอักเสบ ได้แก่ - มีไข้ เหงื่อออก หนาวสั่น ระยะเฉียบพลัน - ไอมีเสมหะ - หายใจเร็ว หายใจหอบ เหนื่อย - เจ็บหน้าอกขณะหายใจหรือไอ - คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย - ผู้สูงอายุอาจมีอาการซึม ความรู้สึกสับสน อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ - เด็กเล็กอาจมีอาการท้องอืด อาเจียน ซึม ไม่ดูดนมหรือน้ำ - อาการจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ อายุ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย การวินิจฉัยปอดอักเสบ          แพทย์จะวินิจฉัยปอดอักเสบโดยอาศัยอาการทางคลินิก การตรวจร่างกาย และภาพถ่ายรังสีทรวงอก การตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและแยกเชื้อที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ การตรวจนับเม็ดเลือดขาวในเลือด การเพาะเชื้อเลือด การตรวจย้อมเสมหะและส่งเสมหะเพาะเชื้อ การตรวจ biomarkers ได้แก่ procalcitonin และ       C-Reactive Protein (CRP) ที่ช่วยบ่งชี้เชื้อก่อโรคและความรุนแรงของการติดเชื้อ ส่วนการตรวจ polymerase chain reaction (PCR) for respiratory viruses และ atypical pathogens จากเสมหะ และการตรวจ pneumococcal antigen และ legionella antigen จากปัสสาวะ อาจพิจารณา ในที่ที่สามารถส่งตรวจได้ เป็นต้น ตรวจวัดออกซิเจนในเลือดเพื่อประเมินความรุนแรงของโรค การรักษาปอดอักเสบจากการติดเชื้อ ประกอบด้วย - การรักษาจำเพาะ โดยการให้ยาปฏิชีวนะอย่างรวดเร็วและเหมาะสม โดยพิจารณาจากอายุ โรคประจำตัว ภาวะภูมิคุ้มกัน ประวัติการเดินทางต่างประเทศ และสภาพแวดล้อม และประวัติการได้รับยาปฏิชีวนะมาก่อนภายใน 3 เดือน รวมถึงประวัติที่อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อดื้อยา    - การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ สำหรับผู้ป่วยปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส และเชื้ออื่นๆ ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาให้ยาลดไข้ ยาละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ให้ออกซิเจน และทำกายภาพบำบัดทรวงอก - การรักษาภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ เกิดฝีในปอด หรือเกิดภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอดที่จำเป็นต้องเจาะหรือดูดออก ในรายที่อาการรุนแรงมากอาจเกิดภาวะหายใจล้มเหลวซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต จำเป็นต้องใส่ท่อเข้าหลอดลมร่วมกับเครื่องช่วยหายใจ และดูแลอย่างใกล้ชิดในหอผู้ป่วยวิกฤต   การป้องกันปอดอักเสบ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้        ฉีดวัคซีนป้องกันโรค แพทย์แนะนำให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ วัยเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำหรือมีโรคประจำตัวบางอย่าง การฉีดวัคซีนที่ให้ผลในการลดอัตราการเกิดโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ ได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (Flu vaccine) และวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ (Pneumococcal vaccine) สำหรับป้องกันการติดเชื้อ Streptococcus pneumonia หรือที่เรียกกันว่าเชื้อนิวโมคอคคัส โดยวัคซีนนี้ มี 2 ชนิด คือ 1. ชนิดคอนจูเกต ป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสได้ 13 ชนิด (PCV 13) 2. ชนิดโพลีแซคคาไรด์ ป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสได้ 23 ชนิด (PPSV 23) เป็นต้น โปรแกรมในการฉีดวัคซีนควรอยู่ใต้คำแนะนำของแพทย์   การปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นปอดอักเสบ - หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือสถานที่ที่มีมลภาวะเป็นพิษ เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรืออากาศที่หนาวเย็น เป็นต้น - ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา - ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ เป็นต้น - เมื่อเป็นหวัด หรือไข้หวัดใหญ่อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรรักษาแต่เนิ่นๆ - การดูแลสุขอนามัยส่วนตัว เช่น หมั่นล้างมือเป็นประจำ ใช้ช้อนกลาง และการใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกนอกบ้าน - รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ    

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

อาหารเพิ่มน้ำนมมารดาหลังคลอด

อาหารเพิ่มน้ำนมมารดาหลังคลอด                   หัวใจสำคัญของคุณแม่หลังคลอด ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในแต่ละวันได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพราะถ้าคุณแม่กินอาหารเพียงพอ สุขภาพแข็งแรง ไม่เครียด น้ำนมจะเพียงพอสำหรับลูกน้อย โดยเฉพาะควรเลือกรับประทานผัก 5 ชนิด เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนม ได้แก่ หัวปลี มีธาตุเหล็กมากช่วยบำรุงน้ำนมได้ดี เมนูแนะนำ แกงเลียง ยำหัวปลี ทอดมันหัวปลี ต้มข่าไก่ใส่หัวปลี หัวปลีชุบแป้งทอด ต้มหัวปลีจิ้มน้ำพริก หรือปลาผัดพริกไทยดำ ขิง ช่วยขับเหงื่อขับลม ไล่ความเย็น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร ซึ่งแม่หลังคลอดยังมีน้ำคาวปลาอยู่ การกินขิงทำให้ร่างกายอบอุ่น ได้แก่ มันต้มขิง ปลาผัดขิง ดื่มน้ำขิงอุ่นๆ แทนน้ำเปล่า เต้าฮวยน้ำขิง ใบกะเพรา มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงธาตุ เพิ่มน้ำนม ได้แก่ กะเพราหมู  ปลา ไก่ ไม่เผ็ด ต้มจืดใบกะเพราหมูสับ ฟักทอง อุดมไปด้วยวิตามินเอ ฟอสฟอรัส และเบต้าแคโรทีน ได้แก่ แกงเลียง ฟักทองนึง ผัดฟักทองใส่ไข่ ฟักทองแกงบวด กุยช่าย ทั้งต้นและใบ ช่วยบำรุงน้ำนม ได้แก่ กินร่วมกับผัดไทย กุยช่ายทอด ผัดกุยช่ายใส่ตับ กุยช่ายผัดกุ้ง                 นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก การให้อาหารอื่นก่อนวัยอันควร เป็นการให้สิ่งที่แปลกปลอม เพราะร่างกายทารกไม่สามารถย่อยได้ อาจทำให้เด็กท้องอืด หรือเด็กมีอาการแพ้ได้ คุณแม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน โดยไม่กินอย่างอื่นเลย แม้แต่น้ำ การให้นมลูก คุณแม่ควรอุ้มลูกไว้ในอ้อมกอด เป็นเสมือนการสร้างความสัมพันธ์สายใยรักที่ดีกับลูกด้วย ลูกได้รับภูมิคุ้มกัน อีกทั้งช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ สำหรับคุณแม่ที่อยากกลับมาหุ่นดีและกระชับ ขอย้ำว่ายังไม่ต้องลดปริมาณอาหารพลังงานสำหรับคุณแม่ให้นมบุตรประมาณ 2,500 Kcal/day เพิ่มขึ้นมากกว่าตอนตั้งครรภ์ เพราะลูกยังกินนมแม่อยู่ จึงควรรับประทานอาหารที่เหมาะสม คุณแม่หลังคลอดบุตรควรเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารหมักดองต่างๆ ควรงดการดื่มน้ำเย็น น้ำอัดลมต่างๆ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ในช่วงการระบาดของCOVID-19 ปกป้องปอดเต็มที่แล้วหรือยัง ? #ลืมอะไรไปหรือเปล่า ?

 ลืมอะไรก็ลืมได้…แต่จะลืมฉีดวัคซีนป้องกัน “โรคปอดอักเสบ” ไม่ได้!!!!  เพราะวัคซีนป้องกัน “โรคปอดอักเสบ” เป็นอีกหนึ่งวัคซีนสำคัญ ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 (1) โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงเป็น “โรคปอดอักเสบ” จากเชื้อนิวโมคอคคัส - เสี่ยงด้วยอายุ : เป็นผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป (2) - เสี่ยงด้วยโรคประจำตัว (3)  : เป็นผู้มีโรคประจำตัวดังต่อไปนี้ โรคหอบหืด, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ. โรคตับ, โรคไต, โรคปอด, โรคมะเร็ง เป็นต้น - เสี่ยงด้วยพฤติกรรม (3) : เป็นผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ สูบบุหรี่ หรือมีโรคพิษสุราเรื้อรัง โดยผู้ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส มักมีอาการ (4)  ปวดหัว, เจ็บคอ, ไข้สูง, หนาวสั่น, หอบ, หายใจลำบาก, ไอมีเสมหะ และสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ผ่านการไอ และจาม ความรุนแรงของ “โรคปอดอักเสบ” จากเชื้อนิวโมคอคคัส ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลนานถึง 12 วัน อาจต้องมีการใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือพักฟื้นในห้อง ICU มากถึง 10 วัน (5) โดยผู้ป่วยสูงอายุ มีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือด และมีโอกาสเสียชีวิตถึง 23% (6)  เสี่ยงทำไม? ในเมื่อป้องกันได้ด้วยวัคซีน วิธีป้องกัน “โรคปอดอักเสบ” จากเชื้อนิวโมคอคคัส คือ การล้างมือให้สะอาด, สวมหน้ากากอนามัย, หลีกเลี่ยงชุมชนแออัด  และที่สำคัญ! ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับวัคซีนชนิดคอนจูเกต 13 สายพันธุ์ เว้นระยะห่าง1 ปี แล้วฉีดวัคซีนชนิดโพลีแซคคาไรด์ (7) ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง มีคำแนะนำการฉีดวัคซีนที่อาจแตกต่างจากคนทั่วไป ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมก่อนรับวัคซีน ในช่วงการระบาดของCOVID-19 ปกป้องปอดเต็มที่แล้วหรือยัง ? #ลืมอะไรไปหรือเปล่า ? COVID-19 ไม่ได้เป็นสาเหตุเดียวที่ทำให้เกิดปอดอักเสบ สาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดปอดอักเสบในผู้ใหญ่ได้บ่อยได้แก่ เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส(1)  เชื้อชนิดนี้อาศัยอยู่ในโพรงจมูกและลำคออยู่แล้ว(2) เมื่อร่างกายอ่อนแอหรือมีการติดเชื้อไวรัส จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้เชื้อนิวโมคอคคัสนี้แพร่กระจายไปที่ปอด ทำให้เกิดปอดอักเสบ(3)     เราจึงพบการติดเชื้อนิวโมคอคคัสร่วมกับโควิด-19 และ ไข้หวัดใหญ่ได้(4,5) #องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัสและวัคซีนไข้หวัดใหญ่  เช่นเดียวกับวัคซีนโควิด-19 ในช่วงวิกฤต COVID-19 (6) คำแนะนำการฉีดวัคซีน สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติ (7) - วัคซีนปอดอักเสบ: ฉีดวัคซีนชนิดคอนจูเกต 13 สายพันธุ์ก่อน เว้นระยะห่าง1 ปี แล้วฉีดวัคซีนชนิดโพลีแซคคาไรด์ - วัคซีนไข้หวัดใหญ่: ฉีดปีละ 1 เข็ม - วัคซีนปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดในวันเดียวกันได้ (8) ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง มีคำแนะนำการฉีดวัคซีนที่อาจแตกต่างจากคนทั่วไป ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมก่อนรับวัคซีน หากมีนัดฉีดวัคซีนโควิด-19 เร็วๆนี้ จะสามารถฉีดวัคซีนปอดอักเสบหรือไข้หวัดใหญ่ได้หรือไม่    - ได้ ควรฉีดวัคซีนปอดอักเสบหรือไข้หวัดใหญ่ก่อนวันนัดวัคซีนโควิดอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ (9) หากฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้ว จะสามารถฉีดวัคซีนปอดอักเสบหรือไข้หวัดใหญ่ได้หรือไม่ - ได้ สามารถฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้ห่างจากวัคซีนโควิด 2-4 สัปดาห์ (9) ลดความสับสน! ลดการแพร่กระจายเชื้อ! สร้างภูมิคุ้มกันให้ครบถ้วน ในช่วงวิกฤติโควิด-19 2 เชื้อร้ายคล้ายโควิด ที่ไม่ควรมองข้าม #ฉันติดยังนะ ทั้งเชื้อนิวโมคอคคัสและไข้หวัดใหญ่ ก็ทำให้เรามีอาการไข้ ไอ หอบ หายใจลำบาก และรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบได้เช่นเดียวกับโควิด-19  อีกทั้งกลุ่มเสี่ยงสูงในการติดเชื้อยังเป็นกลุ่มเดียวกันคือ -ผู้สูงอายุ -ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคปอด โรคมะเร็ง อย่าให้คนที่เรารักต้องเสี่ยงกับโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส, COVID-19, ไข้หวัดใหญ่ ติดเชื้อร่วมกันได้จริงหรือ? ยกการ์ดด้วยวัคซีนปอดบวม ป้องกันติดเชื้อร่วมโควิด19 เชื้อนิวโมคอคคัสที่เป็นสาเหตุหลักของปอดบวมหรือปอดอักเสบ (1) มีโอกาสติดเชื้อร่วมกับ COVID-19 และ ไข้หวัดใหญ่ได้ในช่วงวิกฤติ COVID-19 นี้ โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส รุนแรงหรือไม่? โควิดทำให้เกิดปอดอักเสบรุนแรง นิวโมคอคคัสก็เช่นกัน โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส พบได้บ่อยในผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว (1) ผู้ป่วยมักมีอาการ ไข้ ไอ หอบ หายใจลำบาก เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาตัวที่บ้านเหมือนไข้หวัดทั่วไป จำเป็นต้องนอนรักษาตัวในรพ.นานเป็นสัปดาห์ อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือนอนห้อง ICU บางรายมีการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วย ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตสูง      

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โภชนบำบัดอาหารผู้ป่วยโรคมะเร็ง และผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด

อาหารเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง การรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารเพียงพอเหมาะสมก่อน ระหว่าง และหลังการรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้นและมีความรู้สึกดีขึ้น มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรค เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับโภชนาการที่เหมาะสม ผู้ป่วยจะต้องรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีสารอาหารที่ร่างกายต้องการ เช่น วิตามิน แร่ธาตุ โปรตีน คาร์โบไอเดรต ไขมันและน้ำ อย่างเพียงพอ  สำหรับผู้ป่วยมะเร็งผลข้างเคียงของอาการรักษาอาจจะทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาการเหล่านั้นคือ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูกแสบปาก กลืนลำบาก และเจ็บปากเมื่อกลืนอาหาร ยารักษามะเร็งอาจมีผลลดความอยากอาหารลง สิ่งเหล่านำไปสู่ปัญหาทางโภชนาการ (ขาดสารอาหาร) ทำให้ผู้ป่วยอ่อนแอ เหนื่อยง่าย ภุมิต้านทานลดลงและติดเชื้อง่าย ไม่สามารถทนต่อการบำบัดได้ ท่านทราบหรือไม่ว่าผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากเสียชีวิตจากการขาดอาหาร มากกว่าการลุกลามของโรค ทำไมผู้ป่วยมะเร็งจึงขาดสารอาหาร ร่างกายต้องการพลังงานมากขึ้น เซลล์มะเร็งจะสร้างสารเคมีบางอย่างมำให้เผาผลาญอาหารได้โดยเร็ว รับประทานอาหารได้น้อยในขณะที่ร่างกายต้องการอาหารเพื่อนำไปสร้างพลังงานเพิ่มขึ้น แต่ผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากจะเบื่ออาหาร เมื่อเซลล์มะเร็งแพร่กระจาย การเบื่ออาหารจึงเป็นสาเหตุทำให้ขาดสารอาหารได้ง่ายขึ้น ทำอย่างไรจะทำให้รับ ประทานอาหารได้มากขึ้นได้ ไม่รับประทานอาหารบางชนิด  ปัญหาการที่ไม่รับประทานอาหารหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะเข้าใจว่าเป็นอาหารแสลงต่อโรคมะเร็ง ยังเป็นอีกปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งขาดสารอาหาร ผู้ป่วยที่รักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดมักมีปัญหาเม็ดเลือดขาวต่ำเป็นบางช่วง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ ควรระวังความสะอาดของอาหาร ได้แก่ ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ ก่อนรับประทานอาหาร และการหยิบอาหารสดบางประเภท เช่น เนื้อสัตว์ ปลาดิบ ไข่สด ต้องล้างมือ ทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องใช้ในการปรุงประกอบอาหาร ล้างผัก ผลไม้ให้สะอาด อาหารที่ปรุงสุกแล้วเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ การรับประทานอาหารนอกบ้านควรดูแลความสะอาดเป็นพิเศษ เช่น สลัดผัก อาหารยำ น้ำแข็ง น้ำดื่มไม่สะอาด อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด ผู้ป่วยมะเร็งที่สามารถกินอาหารได้พอสมควร ควรกินตามแนวทางการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพดีของคนไทย ดังนี้ กินอาหารในครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกาย หมั่นดูแลน้ำหนักตัวเองให้อยู่ในมาตรฐาน ไม่ผอมเกินไป กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้ง เลือกรับประทาน ข้าวกล้อง+ข้าวไร้เบอรี่+ข้าวแดง จะได้คุณค่าและใยอาหารมากกว่า กินผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำกินให้หลากสี ผักสีเขียวเข้ม เช่น ตำลึง ผักโขม บล็อคโคลี่ จะสร้างภูมิคุ้มกันโรค และต้านมะเร็งได้ การกินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ เป็นประจำ ปลาเป็นโปรตีนคุณภาพดี ย่อยง่าย ไขมันต่ำ ควรกินบ่อย การกินไข่ถ้าไม่มีปัญหาไขมันในเลือดสูงรับประทานได้วันละ1ฟอง แต่ถ้าเป็นไขมันในเลือดสูงควรกินเฉพาะไข่ขาว เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ลดการรับประทานเนื้อแดง และหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูปที่มีการเติมสารกันบูด เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน กุนเชียง แหนม เพราะมีการวิจัยพบว่ามีส่วนกระตุ้นเซลล์มะเร็ง การดื่มนมเพื่อบำรุงร่างกาย ผู้ป่วยควรดื่มนมสดหรือนมพร่องมันเนยวันละ1-2แก้ว กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร เช่น กินอาหารทอด ผัก แต่พอควร หลีกเลี่ยงอาหารทอดจากน้ำมันปาล์มหรือน้ำมันทอดซ้ำ อาหารปิ้ง ย่าง(ไม่ดำไหม้เกรียม) เลือกอาหารประเภทต้มนึ่ง แกงที่ไม่ใส่กะทิ เช่น แกงส้ม ต้มยำ แกงจืด หลีกเลี่ยงการกินอาหารหวานจัด เค็มจัด เพราะถ้ากินหวานจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน กินเค็มจะเสี่ยงเป็นโรคไต โรคความดันโลหิตสูง กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน เพราะอาหารที่ไม่ปรุงสุก และปนเปื้อนเชื้อโรค และสารเคมีต่างๆ เช่น สารบอแรกซ์ สารกันรา สีย้อมผ้า สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน และยาหฆ่าแมลง ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ และเป็นผลเสียต่อโรคมะเร็ง งดหรือลด เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ มีส่วนทำให้เกิดโรคร้ายมากมาย **ในผู้ป่วยมะเร็งมีปัญหาเฉพาะด้านที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ปกติ ควรปรับการรับประทานอาหารตามอาการที่ปรากฎ เบื่ออาหาร เลือกอาหารที่ผู้ป่วยพอรับประทานได้ กลิ่น รสไม่จัด เช่นขนมปังกรอบ กินเป็นอาหารว่าง กินทีละน้อย แต่กินบ่อย คลื่นไส้ ให้กินอาหารก่อนให้ยาเคมีบำบัด เลี่ยงอาหารที่มันเยิ้ม มีกลิ่นฉุน รับประทานอาหารแห้งประเภทแครกเกอร์ ขนมปังกรอบ อาหารที่เสิร์ฟไม่ปรุงรส ให้มีรสหวานตามธรรมชาติ ไม่ใส่เครื่องเทศ อาเจียน จัดอาหารเหลวใสทุก 10-15 นาที หลังจากอาเจียน เช่น น้ำซุปใส น้ำหวาน น้ำผลไม้ ยกหัวให้สูงเพื่อเอนหลัง หรือการใช้ยาลดการอาเจียน อิ่มเร็ว ให้เครื่องดื่มที่มีความเข้มข้นดื่มระหว่างมื้อ เช่น เสริมนมทางการแพทย์ เลี่ยงการกิน อาหารมันๆ  ของทอด  เนื่องจากย่อยยาก กินอาหารเป็นมื้อเล็กๆหลายมื้อ การรับรสเปลี่ยน กลั้วคอหรือลิ้นก่อนรับประทานอาหาร ใช้น้ำมะนาวช่วย เมื่อลิ้นขม บางครั้งอาจจะทานเป็นอาหาร ปากแห้ง รับประทานอาหารอ่อนที่มีน้ำมาก เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ก๋วยเตี๋ยวน้ำ อมลูกอม ไอศครีม รับประทานอาหารหวานจัด จิบน้ำบ่อยๆ มีแผลในช่องปาก เจ็บปากและลิ้น ไม่รับประทานอาหารที่เป็นกรดหรือเปรี้ยว เครื่องเทศ เผ็ดร้อน อาหารเค็ม อาหารหยาบแข็ง ระวังเลือดออกในช่องปาก ให้อาหารที่เคี้ยวกลืนง่าย ได้แก่ ข้าวต้ม โจ๊กผสมผัก กล้วยสุก แตงโม วุ้น พุดดิ้ง ไข่ลวก  ข้าวโอ๊ต เสิร์ฟอาหารต้องไม่ร้อนหรืออุณหภูมิห้อง ท้องเสีย แนะนำดื่มน้ำให้เพียงพอ เสริมเครื่องดื่มเกลือแร่ งดการดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมประมาณ1สัปดาห์ หรือจนกว่าหยุดถ่าย งดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำอัดลม ท้องผูก แนะนำให้รับประทานใยอาหาร 25-35กรัมต่อวัน เช่น กินผัก ผลไม้ ธัญพืชเมล็ดมากๆ ดื่มน้ำ8-10แก้ว หรือน้ำลูกพรุน น้ำผลไม้อุ่นๆ เดินและออกกำลังกาย หรือปรึกษาแพทย์ อาหารที่มีใยอาหารสูง ได้แก่ ถั่วแดง ธัญพืชไม่ขัดสี ซีเรียล ข้าวโพด ผักสด ผลไม้ หน่อไม้ฝรั่ง คื่นช่าย ถั่วลันเตา มะเขือ อาหารสุกสะอาด ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวต่ำมาจากหลายสาเหตุ เช่น การฉายแสง เคมีบำบัด และจากตัวโรค ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ควรรับประทานอาหารปรุงสุกทันที เก็บรักษาอุณหภูมิเหมาะสม ปรุงเนื้อสัตว์ให้สุกสะอาด ระวังเชื้อราจากผลไม้ ล้างมือบ่อยๆ ป้องกันการแพร่เชื้อ น้ำลายเหนียว ทำให้ฟันผุง่าย ให้อาหารที่มีน้ำปกติ เครื่องดื่มที่มีกรดซิตริก น้ำผลไม้ปั่น เลี่ยงการรับประทานขนมปัง นม เจลาติน แอลกอฮอล์ ดูแลสุขภาพช่องปากสม่ำเสมอ น้ำหนักลด เพิ่มแคลอรี่และโปรตีนในอาหาร รับประทานไขมันดีต่อสุขภาพ เพิ่มอาหารทางการแพทย์ อ่อนเพลีย ให้อาหารอ่อนๆ เคี้ยวน้อยที่สุด พักผ่อนให้เพียงพอ หรือให้อาหารทางสายให้อาหาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<