การป้องกันอันตรายจากรังสี

การป้องกันอันตรายจากรังสี           ในปัจจุบันนี้ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เข้ามามี บทบาทต่อชีวิตประจำวันและการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน แต่ในแง่หนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลยคือ ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีอย่างแท้จริง ทำให้การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ ขาดการควบคุมดูแลให้ถูกต้องและเหมาะสม จึงเป็นผลให้เกิดอันตรายได้ เช่นเดียวกันกับการนำเอาสารกัมมันตรังสีมาใช้ก็เช่นกันเพราะสารกัมมันตรังสีนั้นมีประโยชน์มากมาย แต่โทษที่อาจเกิดขึ้นจากรังสีนั้นก็มีมากและหลายระดับทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณ ชนิดและระยะเวลาที่ได้รับรังสี เช่น ถ้าได้รับรังสีปริมาณสูงแบบเฉียบพลันอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หรือการรับรังสีที่อวัยวะสืบพันธ์แล้วทำให้เป็นหมัน ก็ยังไม่น่ากลัวเท่ากับการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลให้ลูกหลานที่เกิดมาผิดปกติ            ดังนั้น เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานทางด้านรังสีจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันอันตรายจากรังสีเป็นอย่างดี จึงจะสามารถใช้ประโยชน์จากรังสีได้อย่างคุ้มค่าและปลอดภัยที่สุด  ที่มาของรังสี สารกัมมันตรังสี คือสารที่สลายตัวปลดปล่อยรังสีออกมา รังสี คืออนุภาคหรือคลื่นที่ปลดปล่อยออกมาจากอะตอมของกัมมันตรังสี สารกัมมันตรังสี จำแนกตามลักษณะการเกิดได้จาก 2 แหล่ง คือ    1. จากธรรมชาติ โดยสารกัมมันตรังสีจากธรรมชาติ เช่น ยูเรเนียม 235 , ยูเรเนียม 238,คาร์บอน 14 ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดของโลก     2. จากมนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเอง เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู (Nuclear reactor) หรือในเครื่องเร่งอนุภาค เช่น เครื่องเร่งอนุภาคนิวตรอน (Neutron generator) และซิลโครตรอน( Cyclotron generator) เป็นต้น สารกัมมันตรังสีที่ได้จากการผลิต เช่น โคบอลต์ 60, ไอโอดีน 131 , ซีเซียม 137, นิวตรอน สารกัมมันตรังสีทั้ง 2 กลุ่ม จะให้รังสีออกมา ได้แก่ รังสีแอลฟ่า , รังสีเบต้า , รังสีแกมมา นิวตรอน นอกจากนี้รังสีที่เป็นที่รู้จักกันดีและใช้กันอย่างกว้างขวางมีประโยชน์มากมาย ได้แก่ รังสีเอกซ์(X-ray) ซึ่งเกิดจากเครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์ ซึ่งใช้ระบบไฟฟ้าแรงสูงเร่งให้อิเลกตรอนวิ่งด้วยความเร็วสูงเข้าชนเป้าที่ทำด้วยโลหะหนักและเกิดเป็นรังสีขึ้น มีความสามารถทะลุทะลวงผ่านวัตถุต่าง ๆ ได้มากบ้าง น้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของวัตถุนั้น ๆ  ประโยชน์ของรังสี            รังสีที่กล่าวมาข้างต้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางการแพทย์ อุตสาหกรรม การเกษตรและงานวิจัยต่าง ๆ ดังนี้  รังสีแอลฟ่า ใช้เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์สายล่อฟ้า (Am-241 , Ra-226) ,อุปกรณ์กำจัดฝุ่นละอองในผลิตภัณฑ์ (Po-210) , เป็นส่วน ประกอบของอุปกรณ์ตรวจสอบควันไฟ (Am-241)  รังสีเบต้า ใช้รักษาโรคต้อเนื้อ (Sr-90) , สารพรายน้ำ (H-3) , สารสะท้อนแสง/เรืองแสง (Pm-147) , ใช้ระงับอาการปวดของมะเร็งที่ลามไปกระดูก(Sm-153)  รังสีแกมมา ใช้รักษาโรคมะเร็ง (Co-60) , การฆ่าเชื้อโรคในเวชภัณฑ์ (Co-60) ,การวินิจฉัยโรคและรักษาโรคต่อมไทรอยด์ (Co-60)(I-125 , I-131) , ตรวจสอบการทำงานของไต (I-131) , การตรวจสอบการทำงานของตับ/ทางเดินน้ำดี/ กล้ามเนื้อหัวใจ (Tc-99m) , ศึกษาการไหลเวียนของเลือดที่ปอด/สมอง (Tc-99m)  รังสีเอกซ์ ใช้ในการถ่ายภาพอวัยวะต่าง ๆ , ตรวจจับวัตถุแปลกปลอม และสารกัมมันตรังสีที่มีบทบาทสำคัญตัวหนึ่งที่จะกล่าวถึงก็คือ โคบอลต์-60 ซึ่งเมื่อกุมภาพันธ์ 2543 ที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดกรณีตัวอย่างที่ทำให้เราได้เห็นโทษมหันต์ของรังสีที่เราไม่ควรมองข้ามเลย โคบอลต์-60 (Co-60) เป็นสารกัมมันตรังสีชนิดหนึ่งที่ไม่มีอยู่ในธรรมชาติ เกิดขึ้นได้จาการนำโคบอลต์-59 ซึ่งเป็นโลหะในธรรมชาติอาบอนุภาคนิวตรอน ในเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูเกิดเป็นโคบอลต์-60 ซึ่งมีค่าครึ่งชีวิต 5.26 ปี และสลายตัวให้รังสีแกมมาและเบต้า แต่รังสีที่นำมาใช้ประโยชน์มาก คือ รังสีแกมมา ซึ่งใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้     1. ทางการเกษตร        1.1 การปรับปรุงพันธุ์พืช (Mutation Breeding) เช่น พันธุ์ข้าว กข 6 , กข 10 , กข 15 , ถั่วเหลืองพันธ์ดอยคำ , กล้วยหอมทอง KU1       1.2 การกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยการทำหมัน (Sterile Insect technique) เช่น กำจัดแมลงวันผลไม้บนดอยอ่างขาง จ.เชียงใหม่        1.3 การถนอมอาหาร (Food Preservation) โดยศูนย์ฉายรังสีอาหารและผลิตผลการเกษตรของสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้ให้บริการ ดังนี้           ก. ยับยั้งการงอก : มันฝรั่ง , หอมใหญ่ , กระเทียม , ขิง           ข. ชะลอการสุก : มะม่วง , มะละกอ           ค. ชะลอการบาน : เห็ด           ง. ทำลายพยาธิ : เนื้อหมู , แหนม           จ. ลดแบคทีเรียและเชื้อรา : ปลาสด ,เนื้อสด , กุ้งแช่แข็ง , เครื่องเทศ           ฉ. ควบคุมแมลง : ข้าว,ถั่วเขียว ,ผลไม้แห้ง ,ปลาแห้ง ,มะขามหวาน  ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ผ่านการฉายรังสีมาแล้วนั้นจะไม่มีรังสีตกค้างอยู่เลย ทั้งนี้เนื่องจากรังสีแกมมาที่นำมาใช้ จะไม่แตกตัวและไม่ทำให้ตัวกลางกลายเป็นรังสีแต่อย่างใด ดังนั้นอาหารที่ผ่านการฉายรังสี จึงปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค     2. ทางอุตสาหกรรม ในประเทศไทยมีโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 165 แห่ง ทีนำสารกัมมันตรังสี โคบอลต์-60 มาใช้ ดังนี้       2.1 การวัดระดับ เช่น โรงงานทอผ้า , โรงงานพลาสติก       2.2 การวัดความหนา เช่น โรงงานโลหะ       2.3 การวัดความหนาแน่น เช่น โรงงานพลาสติก , โรงงานกระเบื้อง       2.4 การสำรวจหลุมเจาะ เพื่อเสาะหาแหล่งแร่       2.5 การฉายรังสีเวชภัณฑ์ เช่น เข็มฉีดยา , ถุงมือ , มีดผ่าตัด และยารักษาโรค    3. ทางการแพทย์  ในประเทศไทยมีสถาบันทางการแพทย์และโรงพยาบาลทีมีเครื่องโคบอลต์-60 อยู่ 39 เครื่อง ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและในการตรวจต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว  การจัดเก็บต้นกำเนิดรังสี         ในทางปฏิบัติคนทั่วไปมักไม่ได้รับรังสีมากเกินไปจนเป็นอันตรายเพราะเนื่องจากในการปฏิบัติงานทางรังสีนั้นจำเป็นต้องใช้วัสดุมาหุ้มหรือกั้น เช่น คอนกรีต , โลหะหรือตะกั่ว เพื่อกำบังรังสีในทิศทางที่ไม่ได้ใช้งาน หรือในการเก็บรักษา เพื่อทำให้อัตราของรังสีลดลง และป้องกันการรั่วไหลของรังสี สารกัมมันตรังสี โคบอลต์-60 ที่ใช้อยู่ทั่วไปเป็นแบบปิดผนึก (Sealed Source) เมื่อนำมาใช้ในทางการแพทย์ต้นกำเนิดรังสีจะอยู่ในวัสดุกำบังรังสี เช่น ยูเรเนียม , ตะกั่ว เวลาใช้งานต้นกำเนิดรังสีจะถูกเคลื่อนออกมาทางช่องฉายรังสีด้วยระบบลม (Pneumatic) รังสีจะถูกฉายไปยังอวัยวะเป้าหมาย          สำหรับในทางอุตสาหกรรมหรือการถ่ายภาพด้วยรังสี สารกัมมันตรังสีจะบรรจุอยู่ในโปรเจคเตอร์ ตัวต้นกำเนิดรังสีจะถูกขับเคลื่อนไปยังจุดที่ต้องการ ด้วยอุปกรณ์ควบคุมระยะไกลเพื่อฉายรังสี หน่วยวัดปริมาณรังสี ปริมาณรังสีมีหน่วยวัดเป็น เกร์ย ( Gray ), แรด( Rad ), ซีเวิร์ต ( Sievert ), แรม( Rem) โดย ปริมาณรังสี 1 เกร์ย = 1 ซีเวิร์ต = 100 แรด และ 1 แรด = 1 แรม  อันตรายหรือโทษจากรังสี          จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่ารังสี คือ อนุภาคหรือคลื่นที่ปลดปล่อยออกมาจากอะตอมจึงไม่มีสี กลิ่น หรือสิ่งที่ทำให้สังเกตเห็นได้ ทำให้ผู้ที่ได้รับไม่ทราบว่าตนเองได้รับรังสี ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องวัดรังสีที่ได้รับจากภายนอก มีประจำติดตัวไว้ทั้งนี้เพื่อวัดรังสีที่ได้รับว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด และในการตรวจวินิจฉัย รักษาผู้ป่วยด้วยรังสีเอกซ์ ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี จะได้รับรังสีได้ ดังนี้ - จากลำแสงเอกซเรย์จากหลอดเอกซเรย์โดยตรง - จากรังสีที่รั่ว ( leakage ) จากหลอด - จากรังสีกระเจิง ( scatter radiation ) ที่ไปกระทบผู้ป่วยนอกจากนี้สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับรังสีเพิ่มขึ้นเกินความจำเป็น ประกอบด้วย - การส่งตรวจทางรังสีโดยไม่จำเป็น - การถ่ายภาพรังสีซ้ำ - ใช้เทคนิคการถ่ายภาพที่ไม่เหมาะสม - เจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจ หรือไม่ตระหนักถึงหลักการป้องกันอันตรายจากรังสีและองค์ประกอบต่างๆ ที่สามารถลดปริมาณรังสีได้     การเกิดอันตรายจากรังสีต่อมนุษย์ อาจแบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ        1. การได้รับรังสีจากแหล่งกำเนิดรังสีจากภายนอก ( External exposure ) ความรุนแรงของการบาดเจ็บ ขึ้นอยู่กับความแรงของแหล่งกำเนิดและระยะเวลาที่ได้รับรังสี แต่ตัวผู้ที่ได้รับอันตรายไม่ได้สารกัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกาย จึงไม่มีการแผ่รังสีไปทำอันตรายผู้อื่น       2. การได้รับสารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย ( Internal exposure ) มักพบในกรณีมีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีที่เป็นก๊าซ ของเหลว หรือฝุ่นละอองจากแหล่งเก็บสารกัมมันตรังสี หรือที่เก็บกากสารกัมมันตรังสีจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เช่น ที่เชอร์โนบิล ประเทศรัสเซีย การระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ประทศญี่ปุ่น การกระจายของสารกัมมันตรังสีจะฟุ้งไปในอากาศ น้ำ มนุษย์อาจได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย ทางการหายใจฝุ่นละอองของรังสีเข้าไป , กินของที่เปรอะเปื้อนเข้าไป หรือการกิน, การฝั่งสารกัมมันตรังสีเพื่อการรักษา สารกัมมันตรังสีที่อยู่ในร่างกายจะแผ่รังสีออกมา ทำอันตรายต่อร่างกายเป็นระยะเวลานาน จนกว่าจะถูกกำจัดออกไปจากร่างกายจนหมด และยังสามารถแผ่รังสีไปทำอันตรายคนที่อยู่ใกล้เคียงได้ การได้รับรังสีอาจมีผลต่อร่างกายได้เป็น 2 แบบ คือ           1. เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีอาการป่วยทางรังสี ( Acute หรือ Deterministic Effect) เมื่อได้รับรังสีเป็นปริมาณมาก( สูงกว่า 10 แรด ในครั้งเดียว ) ทำให้เซลล์จำนวนมากบาดเจ็บ เสียหาย หรือตาย จะมีผลให้อวัยวะต่าง ๆที่ได้รับรังสี ไม่สามารถทำหน้าที่ของตนได้ อวัยวะสำคัญของร่างกายที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อได้รับรังสี คือ              • ไขกระดูก เป็นอวัยวะที่ไวที่สุดและเปลี่ยนแปลงให้เห็นเร็วที่สุด เพราะเป็นอวัยวะที่มีการสร้างใหม่อยู่ตลอดเวลา              • ทางเดินอาหาร นับเป็นอวัยวะที่มีความไวต่อรังสีรองลงมาจากไขกระดูก              • ผิวหนัง ซึ่งจะพบได้ตั้งแต่ไม่มีแผล แต่รู้สึกแสบร้อน ผิวดำคล้ำ เหมือนตากแดด หรือได้รับปริมาณมาก ผิวหนังจะค่อย ๆ แดงขึ้น ต่อมาพองออกเป็นถุงน้ำใส เมื่อถุงน้ำแตกออกจะเห็นเป็นเนื้อแดงเหมือนถูกไฟไหม้              • อวัยวะสืบพันธ์              • ระบบสมองและประสาทส่วนกลาง เนื่องจากเซลล์ของระบบประสาทค่อนข้างดื้อต่อรังสี ทำให้การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองถูกทำลายมากกว่าเกิดการตายของเซลล์สมอง              • ปอด     อาการของผู้ป่วยที่ได้รับรังสี จะแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ        ระยะที่ 1 ( Initial Syndrome) เกิดตั้งแต่เริ่มได้รับรังสีหรือหลังได้รับเป็นชั่วโมง จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเสีย มีไข้ มีอาการทางผิวหนัง อาการต่าง ๆ เหล่านี้อาจนานหลายวัน        ระยะที่ 2 (Remission phase) เป็นช่วงที่อาการของระยะที่ 1 หายไป        ระยะที่ 3 (Established acute radiation Syndrome) จะมีอาการและตรวจพบเนื่องจากอวัยวะนั้น ๆ ถูกทำลาย คือ           • ไขกระดูก : เม็ดเลือดขาวค่อย ๆ ต่ำลง ทำให้ภูมิต้านทานลดลง เกิดการติดเชื้อได้ง่าย , เกล็ดเลือดลดลงทำให้มีเลือดออกง่ายและหยุดยาก           • ทางเดินอาหาร : คลื่นไส้ , อาเจียน , ท้องเสีย           • ระบบประสาทส่วนกลางและสมอง : สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อของร่างกาย , หายใจลำบาก ซึ่งถ้ามีอาการของระบบนี้ ผู้ป่วยจะเสียชีวิต 100 % • อาการทางปอด : เนื้อปอดบวม มักจะเป็นสาเหตุการตายของผู้ป่วยในสัปดาห์ที่ 3 – 4 และถ้าได้รับรังสีตลอดทั่วร่างกาย (Whole Body Exposure) จะทำให้เกิดอาการดังนี้              1. ได้รับรังสี 3 – 5 เกรย์ ไขกระดูกไม่มีการสร้างเม็ดเลือดอาจเสียชีวิตถึง 50 % โดยอาจเสียชีวิตภายใน 30 – 60 วัน              2. ได้รับรังสี 5 – 15 เกรย์ มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาจเสียชีวิตภายใน 10 –20 วัน              3. ได้รับรังสีมากกว่า 15 เกรย์ มีผลต่อระบบประสาท อาจทำให้เสียชีวิตภายใน 1–5 วัน        2. มีผลระยะยาว ( Delayed หรือ Stochastic Effect) การที่ร่างกายได้รับรังสีปริมาณน้อย ๆ ถ้าเซลล์ตายร่างกายจะไม่เกิดอาการผิดปกติใด ๆ ถ้าเซลล์ไม่ตายก็อาจเกิดความผิดปกติของเซลล์นั้น ๆผลกระทบที่เกิดขึ้นภายหลังจากได้รับรังสี คือ การเป็นโรคมะเร็งและผลกระทบต่อพันธุกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับรังสี และความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งนั้นเกี่ยวข้องกับลักษณะการได้รับรังสีและปริมาณของรังสี ส่วนผลกระทบต่อพันธุกรรมของมนุษย์นั้น สรุปได้ดังนี้           (1) การก่อกลายพันธุ์ (Mutation) ที่เกิดจากรังสีมักจะเป็นอันตราย           (2) ปริมาณรังสีใด ๆ ก็ตาม (ถึงแม้จะปริมาณน้อย) ก็มีบทบาททำให้เกิดความเสี่ยงทางพันธุกรรมในเซลล์สืบพันธุ์           (3) ความถี่ของการกลายพันธุ์ที่เกิดจากรังสี เป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณรังสี           (4) ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากรังสีขึ้นกับอัตราการได้รับรังสีและระยะเวลาที่ได้รับรังสี           (5) ลักษณะกลายพันธุ์ที่เกิดจากรังสีส่วนใหญ่ จะเป็นลักษณะด้อย ดังนั้นจะยังไม่มีการแสดงออกในหลายชั่วคน ทำให้มีประเด็นที่จะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เมื่อกล่าวถึงอันตรายจากรังสี คือ              - ผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์และทารกในครรภ์ อาจทำให้เป็นหมัน หรือส่งผลถึงทารก ทำให้แท้ง , มีความพิการแต่กำเนิดและมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ตาราง แสดงผลกระทบของรังสีต่อการเป็นหมัน ตาราง แสดงผลกระทบของรังสีต่อทารกในครรภ์ ผลผลต่อการเกิดมะเร็ง ซึ่งต้องได้รับรังสีปริมาณมากในครั้งเดียว หรือหลาย ๆ ครั้ง ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน โดยจะแสดงผลเมื่อระยะเวลาผ่านไปหลายปี  ตารางแสดงผลกระทบจากรังสีต่อร่างกาย โดย International Commission on Radiological Protection (ICRP) ซึ่งเป็นองค์การสากลในการป้องกันอันตรายจากรังสี ได้รวบรวมผลกระทบจากรังสีต่อร่างกายไว้ดังนี้  ตาราง แสดง ปริมาณรังสีที่จำกัดให้ประชาชนทั่วไปและผู้ปฏิบัติงานทางรังสีได้รับ ต่อปีตามเกณฑ์ ของ ICRP หมายเหตุ มิลลิซีเวิร์ตเป็นหน่วยวัดปริมาณรังสีที่ร่างกายได้รับ และโดยปกติใน 1 ปี แต่ละคนจะได้รับรังสีจากธรรมชาติประมาณ 2.23 มิลลิซีเวิร์ต ดังนี้ การป้องกันอันตรายจากรังสี สำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ควรปฏิบัติดังนี้     1. ใช้เวลาปฏิบัติงานให้สั้นที่สุด เนื่องจากปริมาณรังสีที่ได้รับนั้นจะขึ้นกับเวลาของการได้รับรังสี และควรหลีกเลี่ยงการได้รับรังสีโดยไม่จำเป็น     2. รักษาระยะทางให้ห่างจากต้นกำเนิดรังสีให้มากที่สุด การอยู่ห่างเท่ากับเป็นการอาศัยอากาศ เป็นกำแพงกำบังรังสีได้ ถ้าอยู่ที่ห่างจากเดิม 2 เท่า ปริมาณรังสีจะลดลงเหลือ 1 ใน 4     3. จัดให้มีเครื่องกำบังรังสี ให้เหมาะสมตามคุณสมบัติของรังสีแต่ละชนิด ได้แก่        - รังสีแอลฟ่าสามารถกั้นได้ด้วยแผ่นกระดาษแข็ง        - รังสีเบต้าสามารถกั้นได้ด้วยวัสดุที่มีเลขมวลต่ำ เช่น แผ่นพลาสติกหนาๆ        - รังสีแกมม่าหรือรังสีเอกซ์สามารถกั้นได้ด้วยวัสดุที่มีเลขมวลสูง เช่น ตะกั่ว , เหล็ก        - รังสีนิวตรอน สามารถกั้นได้ด้วย คอนกรีต , ขี้ผึ้ง หรือพาราฟิน     4. การจำกัดขอบเขตของลำรังสีจะมีประโยชน์มากในการป้องกันการได้รับรังสีมากเกินความจำเป็น นั้นคือการเปิดขนาดของขอบเขตของลำรังสีตามขนาดของอวัยวะที่ต้องการตรวจ ที่ทำให้ได้รับรังสีน้อยที่สุดและภาพออกมากชัดเจน    5.ขณะถ่ายภาพรังสี เจ้าหน้าที่จะต้องมีฉากกั้นรังสีทุกครั้ง และไม่ยื่นส่วนใดออกมานอกฉาก โดยไม่จำเป็น     6. ถ้ามีความจำเป็นต้องจับตัวผู้ป่วยขณะถ่ายภาพรังสี ควรให้ญาติหรือผู้อื่นที่ไม่ได้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีเป็นผู้จับ และต้องสวมเสื้อและใส่ถุงมือกั้นรังสีทุกครั้ง     7. สภาพเครื่องมือ เครื่องใช้เกี่ยวกับรังสี ต้องได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและใช้งานได้ตลอดเวลา     8. ควรติดเครื่องมือวัดรังสีไว้ติดตัวตลอดเวลาขณะปฏิบัติงาน เพื่อตรวจสอบปริมาณ รังสีที่เราได้รับ     9. ผู้ปฏิบัติงานทางรังสีควรระมัดระวังการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสี เข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะเป็นทางการหายใจ การกิน หรือการสัมผัสทางผิวหนังหรือแผล     10. สารกัมมันตรังสีควรมีป้ายบอกชัดเจน ทั้งในเรื่องของ ชนิด ประเภท วันที่ ความแรงของสารกัมมันตรังสี  สำหรับประชาชนทั่วไป     1. ไม่ควรเข้าใกล้บริเวณที่มีสารกัมมันตรังสี หรือในบริเวณที่มีการปฏิบัติงานทางรังสี ซึ่งโดยทั่วไปจะมีป้ายเตือนเป็นรูปใบพัดสามแฉกติดอยู่     2. สตรีมีครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการตรวจหรือการรักษาที่ต้องใช้รังสี แต่หากมีความจำเป็น ควรปรึกษาแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด     3. หลีกเลี่ยงการถ่ายเอกซเรย์หลายครั้ง หรือถ่ายซ้ำโดยไม่จำเป็น     4. สำหรับผู้ป่วยเด็กที่จำเป็นต้องถ่ายเอกซเรย์ ควรมีเครื่องกำบังรังสีให้กับผู้ป่วย โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะสืบพันธ์     5. ห้ามสตรีมีครรภ์และเด็ก เข้าเยี่ยมผู้ป่วยที่ได้รับการฝังหรือสอดใส่สารกัมมันตรังสี     6. ผู้ป่วยที่ได้รับการฝังหรือสอดใส่สารกัมมันตรังสี ไม่ควรกลับบ้าน ก่อนได้รับความยินยอมจากแพทย์     เครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคล คือ อุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูล ปริมาณรังสีจากภายนอกร่างกายที่บุคคลนั้นได้รับ เพื่อใช้ในการประเมินระดับอันตรายจากการได้รับรังสี มีด้วยกัน 3 ชนิด คือ       1. Pocket dosimeter : ใช้กับผู้ที่ต้องเข้าไปในบริเวณที่มีรังสีค่อนข้างสูงในระยะเวลาสั้นๆ เมื่อออกจากบริเวณนั้นก็อ่านค่าปริมาณรังสีที่ได้รับได้ทันที        2. Film Badge : เป็นฟิล์มที่อยู่ในตลับ วัดได้ทั้งรังสีเอกซ์ , รังสีแกมม่า , เบต้าและนิวตรอน วัดปริมาณรังสีในช่วงกว้างและสามารถแยกได้ว่า ได้รับจากรังสีชนิดใดเป็นปริมาณเท่าไหร่ ส่วนด้านนอกของกระดาษห่อฟิล์ม จะมีชื่อ วันที่ที่เริ่มใช้และเลขประจำตัวของผู้ใช้พิมพ์ไว้        3. TLD ( Thermolumine scene dosimeter ) : มีหลายชนิด ช่วงของการใช้งานต่างกัน สามารถวัดปริมาณรังสีที่น้อยกว่าและมีความแน่นอนกว่าฟิล์ม นอกจากนี้แล้วยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่มีราคาแพงกว่าฟิล์มและเก็บข้อมูลถาวรอย่างฟิล์มไม่ได้  ข้อควรระวังในการใช้เครื่องวัดรังสีประจำตัว    1. ห้ามยืมหรือแลกเปลี่ยนกันใช้งาน     2. ระวังไม่ให้เปียกน้ำ หรือได้รับความชื้น หรือแตกหัก เสียหาย     3. ระวังไม่ให้อยู่ใกล้ความร้อน หรือที่ที่ได้รับแสงแดดโดยตรง เช่น ในรถยนต์     4. ใช้เครื่องวัดรังสีให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์     5. ส่งคืนเมื่อครบกำหนด เพื่อการประเมินผลการรับรังสี ( ฟิล์มและ TLD นำมาประเมิน ทุก 1-3 เดือน )  ที่มา รุ่งทิพย์ อุดมวิเศษสันต์ หน่วยรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การเอกซเรย์ฟันชนิดทั้งปาก (DENTAL PANORAMIC)

  การเอกซเรย์ฟันชนิดทั้งปาก (DENTAL PANORAMIC)              เป็นการตรวจทางรังสีของฟันและช่องปาก โดยการถ่ายภาพทางรังสีฟันครบทั้ง 32 ซี่ เพื่อดูความผิดปกติของฟันและช่องปาก  PANORAMIC            เป็นการถ่ายภาพทางรังสีของฟันในทางตรง โดยให้รังสีผ่านจากทางด้านซ้าย มาสู่ทางด้านขวา เพื่อดูความผิดปกติของเหงือกและฟัน  LATERAL CEPHALOGRAM             เป็นการถ่ายภาพทางรังสีของฟันในท่าด้านข้าง เพื่อดูความผิดปกติของเหงือกและฟัน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ตรวจพิเศษทางรังสี (Special X-ray)

ตรวจพิเศษทางรังสี (Special X-ray)              แผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลวิภาวดี มีการให้บริการตรวจพิเศษทางรังสีวิทยา มีหลากหลายเพื่อให้การตรวจวินิจฉัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น IVP ,Barium Swallowing , UGI ,Long GI ,BE ,HSG เป็นต้น ซึ่งจะอธิบายในรายละเอียดดังต่อไปนี้    1.การตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ(Intra-Venous Pyelography: IVP )                เป็นการตรวจพิเศษทางรังสีวิทยาของระบบทางเดินปัสสาวะ โดยการตรวจดูการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะเช่น ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ อีกทั้งยังดูความผิดปกติจากการอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่ว โดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าทางเส้นเลือดดำ พร้อมกับการถ่ายภาพรังสีเป็นระยะจนเสร็จ ข้อปฏิบัติในการเตรียมตัวก่อนตรวจ       1.ให้รับประทานอาหารอ่อน(เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม) ในมื้อเย็นของวันก่อนส่งตรวจ       2.ก่อนวันตรวจให้รับประทานยาระบาย เวลา 20.00 น.( Castor Oil 30 cc , Dulcolax 2 เม็ด)       3.ให้งดน้ำ งดอาหาร ก่อนตรวจ 4-6 ชั่วโมง        4.ถ้ามีฟิล์มเก่าหรือฟิล์มจากโรงพยาบาลอื่นให้นำมาด้วยทุกครั้ง ขั้นตอนการตรวจ ก่อนตรวจ    1.ผู้ป่วยปฏิบัติตามใบนัดตรวจทุกประการ    2.ผู้ป่วยที่มีประวัติการแพ้อาหารทะเล/โรคภูมิแพ้/หอบหืด ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนที่จะรับการตรวจ    3.เจ้าหน้าที่จะให้ผู้ป่วยเซ็นใบยินยอมรับการตรวจด้วยการฉีดสารทึบรังสี  เริ่มตรวจ    1.เจ้าหน้าที่จะให้เปลี่ยนชุดของโรงพยาบาล และปัสสาวะทิ้งเพื่อเตรียมรับการตรวจและถ่ายภาพรังสีในท่านอนก่อน 1 ภาพ     2.พยาบาลจะฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในเส้นเลือดดำ    3.ในระหว่างการฉีดสารทึบรังสี ผู้ป่วยอาจรู้สึกร้อนวูบวาบที่ตัว ขมที่ลำคอ ให้ผู้ป่วยหายใจเข้า-ออกลึกๆ อย่าพึ่งกลืนน้ำลาย อาการดังกล่าวจะค่อยทุเลาลงในเวลา 5-10 นาที     4.หลังจากฉีดสารทึบรังสีเสร็จ ห้ามผู้ป่วยปัสสาวะ จนกว่าเจ้าหน้าที่จะบอก    5.เจ้าหน้าที่จะถ่ายภาพรังสีเป็นระยะตามลำดับขั้นตอนการตรวจ และจะรอให้ผู้ป่วยปวดปัสสาวะเต็มที่(เจ้าหน้าที่อาจจะให้ดื่มน้ำ เพื่อช่วยให้ปวดปัสสาวะได้เร็วขึ้น) จึงจะถ่ายภาพรังสีอีก 1 ภาพ    6.เจ้าหน้าที่จะให้ผู้ป่วยปัสสาวะออกให้หมด และถ่ายภาพรังสีอีก 1 ภาพ หลังการตรวจ    1.ให้ผู้ป่วยเปลี่ยนชุด โดยให้ทิ้งชุดที่ใช้แล้วลงในตะกร้า    2.หลังตรวจผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำ ทานอาหารได้ตามปกติ     3.ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ สารทึบรังสีที่ฉีดเข้าไปจะไม่ตกค้างหรือถูกดูดซึมไว้ในร่างกาย จะถูกขับออกทางปัสสาวะ    2.การตรวจหลอดอาหาร (Barium Swallowing)              เป็นการตรวจทางรังสีของหลอดอาหาร โดยการดื่มสารทึบรังสี เช่น แป้งแบเรี่ยม (Barium sulphate) ประกอบการถ่ายภาพเอกซเรย์ เพื่อดูความผิดปกติของหลอดอาหารที่เป็นสาเหตุของการกลืนอาหารติดขัด การเตรียมตัวก่อนตรวจ     • ถ้ามีฟิล์มเก่า วันนัดตรวจให้นำฟิล์มเก่ามาพร้อมกับผู้ป่วย ให้ไปก่อนเวลานัด 10-15 นาที เพื่อให้เจ้าหน้าที่เตรียมผู้ป่วยก่อนรังสีแพทย์เข้าห้องตรวจ และควรมีญาติมาด้วย  ขั้นตอนการตรวจ     1. ผู้ป่วยนอนคว่ำบนเตียงเอกซเรย์ อมแป้งแบเรี่ยมไว้ในปาก แล้วกลืนแป้งแบเรี่ยมตามที่รังสีแพทย์บอก ขณะที่รังสีแพทย์ทำการถ่ายภาพเอกซเรย์ผู้ป่วยจะต้องให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนท่าตามคำบอกของรังสีแพทย์หรือเจ้าหน้าที่     2. เมื่อเอกซเรย์ครบทุกส่วนแล้วรังสีแพทย์จะนำฟิล์มไปดู เพื่อให้แน่ใจว่าฟิล์มเอกซเรย์ครบถ้วนแล้วหรือยัง และต้องการถ่ายเพิ่มในส่วนที่สงสัยอีกหรือไม่ ถ้ารังสีแพทย์ตรวจสอบฟิล์มเสร็จแล้วถือเป็นการเสร็จสิ้นการตรวจ     3.การตรวจกระเพาะอาหาร (Upper GI Study / Barium meal)              เป็นการตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนต้น เช่น หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น โดยการกลืนสารทึบรังสีที่มีลักษณะคล้ายแป้ง เพื่อตรวจดูความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ประกอบกับการถ่ายภาพรังสี ข้อปฏิบัติในการเตรียมตัวก่อนตรวจ    1. งดน้ำและอาหารก่อนตรวจ 4-6 ชั่วโมง    2. ถ้ามีฟิล์มเก่าหรือฟิล์มจากโรงพยาบาลอื่นให้นำมาด้วยทุกครั้ง ขั้นตอนการตรวจ ก่อนตรวจ    1. ผู้ป่วยปฏิบัติตามใบนัดตรวจทุกประการ เริ่มตรวจ    1. เจ้าหน้าที่จะให้เปลี่ยนชุดของโรงพยาบาล     2. รังสีแพทย์จะให้ผู้ป่วยอมและกลืนสารทึบรังสี ประมาณ 100 cc    3. บางครั้งจะให้ผู้ป่วยกินอีโน เพื่อให้สารทึบรังสีเคลือบกระเพาะอาหารได้ดีขึ้น    4. รังสีแพทย์จะพลิกตัวผู้ป่วยไป-มา ขณะทำการตรวจ เพื่อให้ได้ภาพรังสีตามต้องการ ดังนั้นผู้ป่วยควรให้ความร่วมมือ    5. ในการถ่ายภาพรังสี รังสีแพทย์จะบอกให้กลั้นใจ ให้ผู้ป่วยหยุดหายใจและกลั้นใจทันที เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด  หลังการตรวจ    1.ให้ผู้ป่วยเปลี่ยนชุด โดยให้ทิ้งชุดที่ใช้แล้วลงในตะกร้า    2.หลังตรวจผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำ ทานอาหารได้ตามปกติ     3.สารทึบรังสีที่ผู้ป่วยกลืนเข้าไปในระหว่างการตรวจจะถูกขับถ่ายออกมาตามการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ในเวลา 1-2 วัน จะไม่ถูกดูดซึมหรือตกค้างอยู่ในร่างกาย และผู้ป่วยควรดื่มน้ำมากๆ       4.การตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก (Long GI / GI follow through)            เป็นการตรวจทางรังสีของลำไส้เล็ก เพื่อดูความผิดปกติและพยาธิสภาพที่เกิดขึ้น วิธีทำคือให้ดื่มสารทึบรังสี (แป้งแบเรี่ยม) ประกอบการถ่ายภาพเอกซเรย์  การตรวจลำไส้เล็กจะถ่ายภาพเอกซเรย์เป็นระยะ ๆ คือ 15 นาที, 30 นาที, 45 นาที, 1 ชั่วโมง, 1 ชั่วโมง 30 นาที, 2 ชั่วโมง เป็นต้น ภายหลังจากการดื่มแป้งแบเรี่ยม 2 แก้ว เพื่อเป็นการถ่ายให้เห็นส่วนต่าง ๆ ของลำไส้เล็ก และจะเสร็จสิ้นต่อเมื่อแป้งแบเรี่ยมได้ไหลเข้าสู่ Caecum ของลำไส้ใหญ่  การเตรียมตัวก่อนตรวจ  • งดน้ำ อาหารและยา ก่อนเวลานัดตรวจ 6-8 ชั่วโมง  • ถ้ามีฟิล์มเก่า วันนัดตรวจให้นำฟิล์มเก่ามาพร้อมกับผู้ป่วย ให้ไปก่อนเวลานัด 10-15 นาที เพื่อให้เจ้าหน้าที่เตรียมผู้ป่วยก่อนรังสีแพทย์เข้าห้องตรวจ และควรมีญาติมาด้วย  ขั้นตอนการตรวจ     1. ผู้ป่วยนอนคว่ำบนเตียงเอกซเรย์ อมแป้งแบเรี่ยมไว้ในปาก แล้วกลืนแป้งแบเรี่ยมตามที่รังสีแพทย์บอก (ประมาณ 300 cc / 1 แก้ว) และอาจต้องดื่มสารที่ทำให้เกิด air เช่น ENO ร่วมด้วย รังสีแพทย์จะทำการถ่ายเอกซเรย์กระเพาะอาหารโดยให้ผู้ป่วยเอียงตัวไปมา เพื่อดูกระเพาะอาหารให้ครบทุกส่วน ขณะที่รังสีแพทย์ทำการถ่ายภาพเอกซเรย์ผู้ป่วยจะต้องให้ความร่วมมือ ในการเปลี่ยนท่าตามคำบอกของรังสีแพทย์หรือเจ้าหน้าที่     2. ผู้ป่วยจะต้องดื่มแป้งแบเรี่ยมเพิ่มอีก 1แก้ว แล้วนั่งรอเพื่อเอกซเรย์ตามระยะเวลา จนกว่าจะเสร็จสิ้นการตรวจคือ แป้งแบเรี่ยมได้ไหลเข้าสู่ Caecum ของลำไส้ใหญ่     5.การตรวจลำไส้ใหญ่ (Barium Enema)            เป็นการตรวจดูพยาธิสภาพ และความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ โดยการสวนสารทึบรังสีเข้าทางทวารหนักประกอบกับการถ่ายภาพรังสี ข้อปฏิบัติในการเตรียมตัวก่อนตรวจ    1.ให้รับประทานอาหารอ่อน(เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม) และงดผัก ผลไม้ 2 วัน ก่อนถึงวันตรวจ    2.ให้รับประทานยาระบาย เวลา 20.00 น.( Castor Oil 30 cc , Dulcolax 2 เม็ด) เป็นเวลา 2 วันก่อนตรวจ    3.หลังเที่ยงคืนของวันก่อนตรวจ ให้งดน้ำและอาหารทุกชนิด(กรณีเด็กเล็กให้งดนมก่อนตรวจ 4 ชั่วโมง)     4.ถ้ามีฟิล์มเก่าหรือฟิล์มจากโรงพยาบาลอื่นให้นำมาด้วยทุกครั้ง ก่อนตรวจ    1.ผู้ป่วยปฏิบัติตามใบนัดตรวจทุกประการ    2.เจ้าหน้าที่จะให้เปลี่ยนชุดของโรงพยาบาล     3.เจ้าหน้าที่จะถ่ายภาพรังสี 1 ภาพ เพื่อตรวจดูว่าในลำไส้ใหญ่ของผู้ป่วยมีกากอาหารอยู่หรือไม่ ถ้าหากมีเจ้าหน้าที่จะให้ผู้ป่วยสวนอุจจาระออกให้หมดจึงจะเริ่มตรวจต่อไป เริ่มตรวจ    1.เจ้าหน้าที่จะใช้หัวสวนชนิดเป่าลม สวนเข้าในทวารหนักของท่านและจะบีบลมเข้าไปในหัวสวนเพื่อป้องกันไม่ให้สารทึบรังสีไหลย้อนกลับมา     2.เมื่อเริ่มตรวจเจ้าหน้าที่จะเริ่มปล่อยสารทึบรังสีเข้าไปในลำไส้ใหญ่และรังสีแพทย์จะถ่ายภาพรังสีตามส่วนต่างๆที่ต้องการ     3.ระหว่างการตรวจผู้ป่วยจะมีอาการแน่นท้องเนื่องจากการบีบสารทึบรังสีและลมเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ ผู้ป่วยอาจรู้สึกคล้ายๆปวดอุจจาระ ให้ผู้ป่วยกลั้นไว้ก่อน พยายามหายใจเข้า-ออกลึกๆทางปาก อาการปวดท้องจะค่อยทุเลาลง    4.ในระหว่างการตรวจรังสีแพทย์จะบอกให้ผู้ป่วยพลิกตัวและกลั้นใจนิ่งเพื่อถ่ายภาพรังสี ให้ผู้ป่วยทำตาม    5.เมื่อได้ภาพรังสีครบตามต้องการ เจ้าหน้าที่จะให้ผู้ป่วยไปถ่ายอุจจาระในห้องน้ำ และกลับมาถ่ายภาพรังสีอีก 1 ภาพ  หลังการตรวจ    1.ให้ผู้ป่วยเปลี่ยนชุด โดยให้ทิ้งชุดที่ใช้แล้วลงในตะกร้า    2.หลังตรวจผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำ ทานอาหารได้ตามปกติ     3.สารทึบรังสีที่สวนเข้าไปในระหว่างการตรวจจะถูกขับถ่ายออกมาตามการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ในเวลา 1-2 วัน จะไม่ถูกดูดซึมหรือตกค้างอยู่ในร่างกาย และผู้ป่วยควรดื่มน้ำมากๆ     6.การตรวจท่อนำไข่และโพรงมดลูก (Hysterosalpingography : HSG)             เป็นการตรวจทางรังสีของท่อนำไข่ (Uterine tubes) และโพรงมดลูก (Uterus) เพื่อดูความผิดปกติหรือมีการอุดตันของท่อนำไข่หรือไม่ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ไม่มีลูก โดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในโพรงมดลูก ประกอบกับการถ่ายภาพทางรังสี  สาเหตุของการส่งตรวจ     o หาสาเหตุของการมีบุตรยาก ,เป็นหมัน (infertility)     o ผู้ที่เคยมีบุตรแล้ว แต่ไม่มีอีก โดยไม่ได้คุมกำเนิด     o หาสาเหตุของหนอง หรือมีน้ำในท่อนำไข่ หรือ ก้อนเนื้องอก     o ตรวจดูในผู้ที่มีสาเหตุของการแท้งบุตร บ่อยๆ     o การท้องนอกมดลูก  การเตรียมตัวตรวจ     -คนไข้ต้องมั่นใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์     -ควรตรวจหลังจากมีประจำเดือนวันแรก 10 วัน 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

สารทึบรังสี (Contrast Media) คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

สารทึบรังสี (Contrast Media) คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร สารทึบรังสี (Contrast Media)         หมายถึง สารที่ใช้ในการตรวจทางรังสีวิทยา เพื่อให้เกิดความแตกต่างในการดูดกลืนรังสีระหว่างอวัยวะที่ต้องการตรวจกับอวัยวะหรือโครงสร้างอื่นที่อยู่ใกล้เคียง เป็นผลให้เห็นอวัยวะที่ต้องการตรวจได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งสามารถนำเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การรับประทาน , การสวนเข้าทางทวารหนัก และฉีดเข้าหลอดเลือด หรือเข้าช่องโพรงของร่างกาย (จามรี, 2538 : ชรินทร์, 2542 : สมเกียรติ, 2538)            สารทึบรังสีชนิดฉีดเข้าหลอดเลือด เป็นสารที่มีความจำเป็นในการแยกความแตกต่างของอวัยวะที่ต้องการตรวจกับอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ภาพจากการตรวจทางรังสีมีความชัดเจนมากขึ้น ดังนั้นสารทึบรังสีจึงเข้ามามีบทบาทในการตรวจทางรังสีหลายชนิด ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ( CT ), การตรวจดูการทำงานของไต (Intravenous pyelography ), การถ่ายภาพรังสีหลอดเลือด ( Angiography / Venography ), การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI ) แต่เนื่องจากสารทึบรังสีอาจทำให้เกิดการแพ้หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อร่างกายจนถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งนับว่าเป็นการตรวจที่มีความเสี่ยงสูง และจากการศึกษาของ Katayama และคณะซึ่งได้รายงานไว้ใน Radiology 1990 พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับสารทึบรังสีชนิดแตกตัว ทั้งหมด 169,284 ราย มีปฏิกิริยาแพ้ 12.66 % และผู้ป่วยที่ได้รับสารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัว ทั้งหมด 168,363 ราย มีปฏิกิริยาแพ้ 3.13 % สำหรับการป้องกันความเสี่ยงจากการใช้สารทึบรังสีนั้นสามารถทำได้ทุกระยะ คือ ตั้งแต่ก่อน ขณะ และหลังการฉีดสารทึบรังสี หากพยาบาลและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสารทึบรังสีเป็นอย่างดีแล้วผู้ป่วยก็จะได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ และปลอดภัย  ประเภทของสารทึบรังสี          แบ่งได้หลายแบบตามสมบัติของสาร ได้แก่    แบ่งตามความทึบรังสี ( จามรี, 2538 : ชรินทร์, 2542)  1.1 สารทึบรังสีที่ทึบรังสีน้อยกว่าเนื้อเยื่อ ( Negative contrast media ) เป็นสารที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ จึงมีความทึบรังสีหรือทึบแสงน้อยกว่าเนื้อเยื่อของร่างกาย สารเหล่านี้จะทำให้เกิดเป็นเงาทึบในภาพรังสี ได้แก่ อากาศ , ออกซิเจน , คาร์บอนไดออกไซด์ , ไนตรัสออกไซด์ ซึ่งปัจจุบันอากาศ ออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ยังมีใช้กันอยู่ เนื่องจากหาได้ง่าย การดูด ซึมไม่เร็วจนเกินไป หากทำให้บริสุทธิ์ 100 เปอร์เซนต์ได้ และมีอันตรายน้อย ส่วนไนตรัสออกไซด์นั้น ราคาแพง ดูดซึมเร็วมาก จึงยังใช้กันไม่มาก    1.2 .สารทึบรังสีที่ทึบรังสีมากกว่าเนื้อเยื่อ ( Positive contrast media ) สารเหล่านี้เป็นสารที่มีน้ำหนักโมเลกุลมากกว่าเนื้อเยื่อของร่างกายทำให้เกิดเป็นเงาจางหรือขาวบนภาพรังสี ซึ่งในปัจจุบันสารทึบรังสีแทบทั้งหมดเป็นชนิดนี้    แบ่งตามสมบัติการละลาย (สมเกียรติ, 2538)  2.1 สารทึบรังสีที่ละลายน้ำ ได้แก่ สารทึบรังสีแทบทุกชนิดในปัจจุบัน  2.2 สารทึบรังสีที่ละลายในไขมัน ได้แก่ ริพิโอดอล (Lipiodol ®) 2.3 สารทึบรังสีที่แขวนลอยในน้ำ ได้แก่ แบเรี่ยมซัลเฟต (Barium sulphate)    แบ่งตามการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย  3.1 สารทึบรังสีที่ดูดซึมได้ ได้แก่ สารทึบรังสีแทบทุกชนิดในปัจจุบัน  3.2 สารทึบรังสีที่ไม่ดูดซึม ได้แก่ แบเรี่ยมซัลเฟต (Barium sulphate)    แบ่งตามลักษณะการขับถ่าย เมื่อดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้ว  4.1 ขับถ่ายออกทางไต สารทึบรังสีแทบทุกชนิดที่ดูดซึมได้ จะขับถ่ายออกทางไต มากกว่าร้อยละ 90  4.2 ขับถ่ายออกทางตับ ออกมาในรูปของอุจจาระ ซึ่งในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้แล้ว 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เอกซเรย์เต้านม (Mammogram)

ปัจจุบันโรคมะเร็งในสตรีสำหรับประเทศไทย พบว่ามะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปากมดลูก และมีแนวโน้มจะพบมากขึ้นทุกปี  สาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่แน่นอน การตรวจให้พบตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยรักษาให้หายได้ เรียกว่าการคัดกรอง (Screening)  การตรวจคัดกรองสำหรับประชาชนทั่วไป อายุ 20-40 ปี ตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือน และตรวจเต้านมโดยแพทย์ทุก 3 ปี อายุ 40 ปี ขึ้นไป ตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน และตรวจเต้านมโดยแพทย์ทุกปี การตรวจคัดกรองสำหรับสตรีกลุ่มเสี่ยง ตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือน และตรวจเต้านมโดยแพทย์ทุกปี ถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมทุก 2 ปี การเตรียมตัวก่อนถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านม งดเครื่องดื่มหรือยาที่มีสารคาเฟอีน เพราะจะไปกระตุ้นให้มีการขับน้ำออกมามาก ห้ามใช้ยาระงับกลิ่นตัว แป้งทาตัว เพราะมีสารที่ทำให้เกิดการคั่งค้างของน้ำ เวลากดเต้านม จะรู้สึกเจ็บมาก และแป้งมีสารทึบรังสีเป็นฝุ่นเล็กๆ ทำให้ปรากฏเห็นบนภาพได้ อาจทำให้นึกว่าเป็น microcalcification ได้ การตรวจเต้านมด้วยอัลตร้าซาวด์ ใช้ในการตรวจที่เอกซเรย์เต้านมแล้วเห็นก้อนไม่ชัดเจน จะช่วยแยก solid กับ cystic mass โดยอัลตร้าซาวด์จะวินิจฉัย cystic mass ได้ชัดเจน ข้อเสีย ไม่สามารถใช้เป็นการตรวจคัดกรอง เพราะไม่เห็น microcalcification (ตัวก่อมะเร็งซึ่งมีขนาดเล็กมากเป็นไมครอน) บทความแนะนำ ผู้ชายก็มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เอกซเรย์ทั่วไป (General X-ray)

เอกซเรย์ทั่วไป (General X-ray) เป็นการตรวจเอกซเรย์ที่ทุกท่านคุ้นเคยกันดี เช่น เอกซเรย์ปอด เอกซเรย์กระดูกแขน,ขา เอกซเรย์กระดูกสันหลัง เอกซเรย์ศีรษะ  เป็นต้น ซึ่งจะใช้ในการวินิจฉัยเบื้องต้นว่าบริเวณที่ต้องการถ่ายเอกซเรย์มีความผิดปกติหรือไม่ ปัจจุบันแผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลวิภาวดี มีเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป ให้บริการจำนวน 3 เครื่อง สามารถให้บริการแก่ผู้รับบริการจำนวนมาก และรวดเร็วมากขึ้น เพราะใช้ตัวรับภาพแบบดิจิตอล (Image plate) รวมทั้งยังใช้ระบบ PACS ทำให้สามารถส่งภาพและเรียกดูภาพเอกซเรย์ได้ด้วยความรวดเร็ว

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ระบบ PACS

ระบบ PACS PACS        PACS ย่อมาจากคำว่า Picture Archiving and Communication System คือ ระบบที่ใช้ในการจัดเก็บรูปภาพ ทางการแพทย์( Medical Images) และรับ-ส่งข้อมูลภาพ ในรูปแบบ Digital โดย PACS ใช้การจัดการรับส่งข้อมูล ผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยการส่งภาพข้อมูลตามมาตรฐาน DICOM แผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลวิภาวดี ได้นำระบบ PACS มาใช้ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ.2549 ซึ่งการนำระบบ PACS มาใช้แทนระบบการถ่ายภาพที่ใช้ฟิล์มแบบเดิม ทำให้ลดขั้นตอนการทำงานลงเป็นอย่างมาก จึงทำให้สามารถให้บริการแก่ผู้มารับบริการได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ภาพแสดงการเปรียบเทียบการใช้ระบบฟิล์มเดิมและระบบ PACS       ระบบเดิมเริ่มจากเมื่อนักรังสีเทคนิคถ่ายภาพเอกซเรย์เสร็จ จะต้องผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม จัดทำซองฟิล์ม แล้วนำฟิล์มไปให้รังสีแพทย์รายงานผล แล้วจัดเก็บซองฟิล์มไว้ในห้องเก็บฟิล์ม เมื่อแพทย์ผู้ส่งตรวจขอดูฟิล์มและผลจะต้องทำการยืมฟิล์มจากแผนกรังสีวินิจฉัย ไปดูบนหอผู้ป่วยหรือที่แผนกผู้ป่วยนอก ซึ่งจะต้องใช้บุคลากรและเวลาในการจัดหาและจัดเก็บ ซึ่งในบางครั้งก็มีปัญหาในเรื่องการหาฟิล์มไม่พบ ทำให้ต้องใช้เวลาและแรงงานในกระบวนการ/ขั้นตอนที่ยุ่งยาก เมื่อแผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลวิภาวดี ได้นำระบบ PACS มาใช้ ทำให้สามารถลดขั้นตอนจากระบบเดิมได้อย่างมาก กล่าวคือ เมื่อนักรังสีถ่ายภาพเอกซเรย์โดยใช้ตัวรับภาพ(Imaging plate) แล้วนำตัวรับภาพมาสร้างภาพด้วยเครื่อง CR ก็จะได้เป็นภาพดิจิตอล แล้วส่งภาพไปที่ PACS server จากนั้นรังสีแพทย์ก็สามารถดูภาพและรายงานผลได้ทันทีที่ส่งภาพ รวมทั้งแพทย์ผู้ส่งตรวจก็สามารถเรียกดูภาพได้ทันที ซึ่งจะเห็นว่ามีความสะดวกและรวดเร็วอย่างมาก     ข้อดีของการนำระบบ PACS มาใช้ในโรงพยาบาล    1. ผลดีต่อกระบวนการรักษาพยาบาล       - ลดเวลาในการตรวจ และรอคอยผลการเอกซเรย์ เนื่องจากการล้างฟิล์ม และการค้นหาฟิล์มเก่า       - ได้รับการวินิจฉัยโรค และได้รับการรักษาพยาบาลเร็วขึ้น       - เนื่องจากสามารถเรียกข้อมูลเก่าที่เก็บไว้ในระบบได้ตลอด เวลาทำให้แพทย์ สามารถเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง ของโรคได้ตลอดเวลาซึ่งจะช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำ ยิ่งขึ้น และช่วยในการวางแผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง       - ลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ จะได้รับเนื่องจากการถ่ายฟิล์มซ้ำ ที่เกิดจากการตั้งค่าเทคนิค ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วย     2. ประหยัดทรัพยากรและ รักษาสิ่งแวดล้อม       - ลดอัตราการสูญเสียฟิล์มในการเอกซเรย์ซ้ำ เพราะระบบการถ่ายเอกซเรย์ที่เก็บภาพแบบ Digital ทำให้รังสีแพทย์ สามารถที่จะทำการปรับค่า ความสว่างของภาพได้       - ลดการสูญหายของฟิล์มเอกซเรย์ที่จะเกิดขึ้นในระบบเก่า        - ลดการทำลายสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการล้างฟิล์ม ( น้ำยาล้างฟิล์ม และ น้ำเสียจากเครื่องล้างฟิล์ม)       - ลดพื้นที่ในการจัดเก็บฟิล์มเอกซเรย์        - จะไม่มีการเสื่อมสภาพของภาพรังสี เพราะว่าข้อมูลภาพถ่ายทางรังสีจะถูกเก็บในรูปแบบ Digital

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

IC NEW คุณสมบัติในการทำลายเชื้อของแอลกอฮอล์

IC NEW คุณสมบัติในการทำลายเชื้อของแอลกอฮอล์           แอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิดเป็นของเหลว ไม่มีสี ระเหยได้ที่อุณหภูมิห้อง ไม่มีฤทธิ์ตกค้างแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ในการทำลายเชื้อแบคทีเรีย เชื้อวัณโรค เชื้อรา และเชื้อไวรัส แต่ไม่สามารถทำลายสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียได้ แอลกอฮอล์จัดเป็นเพียงน้ำยาทำลายเชื้อระดับกลางประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อของแอลกอฮอล์จะลดลงมาก หากมีความเข้มข้นต่ำลงแอลกอฮอล์จะมีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อได้ดีเมื่อมีความเข้มข้นประมาณ 70-90% โดยปริมาตร ความเข้มข้นที่เหมาะสมของ ethyl alcohol ซึ่งสามารถทำลายเชื้อของแอลกอฮอล์ ทั้ง 2 ชนิดแตกต่างกัน ถ้าเป็น Ethyl Alcohol จะทำลายเชื้อไวรัสได้ดีกว่า ส่วน Isopropyl alcohol ไม่สามารถทำลาย Hydrophilic virus ซึ่งได้แก่ echovirus และ coxsackie virus ได้            ทำลายเชื้อไวรัสตับอักเสบบี CDC แนะนำให้แช่เครื่องมือใช้ 70% ethyl alcohol นาน 15 นาทีสำหรับเชื้อเอชไอวี ใช้เวลาประมาณ 1 นาที สำหรับเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราใช้เวลาอย่างน้อย 10 นาทีกว่าทำลายเชื้อวัณโรคและเชื้อไวรัสอื่นๆ ใช้เวลาอย่างน้อย 10 นาที(แต่เราไม่ทราบว่าผู้ป่วยรายใด เชื้อโรคอะไรบ้าง ไม่สามารถตรวจได้หมด) แอลกอฮอล์เป็นน้ำยาทำลายเชื้อที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ทำลายเชื้อได้เร็ว ราคาถูก ใช้ในการทำลายเชื้อบนปรอทวัดไข้ทางปากและทางทวารหนัก            แอลกอฮอล์ทำให้ผิวแห้งแตก แอลกอฮอล์ระเหยได้ง่ายฤทธิ์ในการทำลายเชื้อจะลดน้อยลง หากความเข้มข้นต่ำลงในการใช้และเก็บรักษาแอลกอฮอล์จึงจะต้องระมัดระวัง แอลกอฮอล์จะเสื่อมประสิทธิภาพเมื่อผสมกับอินทรีย์ ดังนั้นต้องล้างทำความสะอาดเครื่องให้หมดจดก่อนเช็ดให้แห้งก่อนทำลายเชื้อด้วยแอลกอฮอล์           เมื่อต้องแช่เครื่องมือให้เครื่องมือสัมผัสแอลกอฮอล์ให้นานขึ้น จะต้องแช่เครื่องมือลงแอลกอฮอล์จะทำให้สารที่ยึดเลนส์กับอุปกรณ์ละลายแอลกอฮอล์ทำให้อุปกรณ์ที่มีเลนส์ได้เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้สารที่ยึดเลนส์กับอุปกรณ์ละลาย แอลกอฮอล์ทำให้อุปกรณ์ที่ทำด้วยยางหรือพลาสติกบวมและแข็ง           แอลกอฮอล์มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะ หากต้องใช้กับโลหะควรเติม 0.2% โซเดียมไนโตรลงในแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ติดไฟง่าย จึงควรเก็บในภาชนะปิดมิดชิดและเก็บภาชนะนั้นไว้ในที่เย็น อากาศถ่ายเทได้สะดวก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

10 ผลไม้ไทยมีสารต้านมะเร็ง

กรมอนามัยวิจัย 10 ผลไม้ไทย มีสารต้านมะเร็งสูง นางนัทยา จงใจเทศ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการทำวิจัย “องค์ความรู้เรื่องปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในผลไม้ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ (วิตามินซี วิตามินอี และ เบต้าแคโรทีน) ในผลไม้ ที่ทำการศึกษาในผลไม้ 83 ชนิด พบว่า ผลไม้ 10 อันดับแรกที่มีเบต้าแคโรทีนสูง คือ มะม่วงน้ำดอกไม้สุก มะเขือเทศราชินี มะละกอสุก กล้วยไข่ มะม่วงยายกล่ำ มะปรางหวาน แคนตาลูปเนื้อเหลือง มะยงชิด มะม่วงเขียวเสวยสุก สับปะรดภูเก็ต ผลไม้ทั้งหมดนี้มีสีเหลืองและสีเหลืองเข้ม ส่วนผลไม้ที่ไม่มีเบต้าแคโรทีนเลย คือ แก้วมังกร มะขามเทศ มังคุด ลิ้นจี่ และสาลี่ ส่วน 10 อันดับแรกของผลไม้ ที่มีวิตามินซีสูง คือ ฝรั่งกลมสาลี่ ฝรั่งไร้เม็ด มะขามป้อม มะขามเทศ เงาะโรงเรียน ลูกพลับ สตรอเบอร์รี่ มะละกอสุก ส้มโอขาว แตงกวา และพุทราแอปเปิล การศึกษานี้พบผลไม้ที่มีวิตามินอีสูง 10 อันดับแรก คือ ขนุนหนัง มะขามเทศ มะม่วงเขียวเสวยดิบ มะเขือเทศราชินี มะม่วงเขียวเสวยสุก มะม่วงน้ำดอกไม้สุก มะม่วงยายกล่ำ แก้วมังกรเนื้อสีชมพู สตอเบอร์รี่ และกล้วยไข่ ผลไม้ที่มีเบต้าแคโรทีน วิตามินซี และวิตามินอีน้อยทั้ง 3 ตัว คือ สาลี่ องุ่น และแอปเปิล ส่วนผลไม้ที่มีสารทั้ง 3 ตัว ค่อนข้างสูงคือ มะเขือเทศราชินี ทั้งนี้ เบต้าแคโรทีน วิตามินซีและอี เป็นกลุ่มของอาหารสารที่ช่วยกำจัด อนุมูลอิสระ ที่ก่อให้ร่างกายเกิดการอักเสบ ทำลายเนื้อเยื่อ เกิดต้อกระจกในผู้สูงอายุ โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย(Thalassemia)

โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย(Thalassemia)           โรคโลหิตจาง หรือที่เรียกว่าโรคซีดนั้น มีโอกาสพบได้บ่อยในเด็กไทย ไม่ว่าจะช่วงวัยเด็กทารก เด็กวัยเตาะแตะ เด็กวัยเรียนหรือเด็กวัยรุ่นการที่จะวินิจฉัยโรคโลหิตจาง ทำโดยการตรวจเลือด และพบว่าเด็กผู้นั้นมีจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อยกว่า หรือมีปริมาณฮีโมโกลบิน (ซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบหลักในเม็ดเลือดแดง) ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานในเด็กอายุนั้น ๆ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในเด็กไทย คือภาวะขาดสารอาหารที่จำเป็นหรือขาดธาตุเหล็ก ซึ่งการดูแลเลี้ยงเด็กที่ถูกต้อง ให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ทานยาบำรุงเลือดที่เหมาะสม ขจัดสาเหตุที่ทำให้เด็กเสียเลือดเรื้อรัง เช่น โรคพยาธิ สามารถรักษาโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กให้หายได้          อย่างไรก็ตาม โรคโลหิตจางที่เป็นปัญหาสำคัญและพบได้บ่อยในคนไทย ไม่ว่าเด็กหรือ ผู้ใหญ่คือ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย (Thalassemia and Hemoglobinopathies) ซึ่งเป็นโรค ทางกรรมพันธุ์ โรคนี้สามารถถ่ายทอดได้จากบิดามารดาที่เป็นพาหะ (หรือมีภาวะแฝง) มาสู่บุตร ทำให้บุตรป่วยได้โดยที่บิดามารดาไม่จำเป็นต้องมีอาการผิดปกติเลย ประเทศไทยเรามีประชาชนที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียต่าง ๆ รวมกันประมาณ 20-30 % ของประชากรทั้งหมด และคู่สมรสที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียประเภทเดียวกัน เมื่อให้กำเนิดบุตรแต่ละคนจะมีโอกาสป่วยเป็นโรค ธาลัสซีเมียได้ 25 % หรือ 1 ใน 4 โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่สำคัญในประเทศไทย           โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียมีหลายประเภท ที่สำคัญในเมืองไทยคือ กลุ่มแอลฟ่าธาลัสซีเมียและกลุ่มเบต้าธาลัสซีเมีย (Alpha – and Beta – Thalassemia diseases) กลุ่มแอลฟ่าธาลัสซีเมียนั้น ถ้าเป็นแบบรุนแรง (Hemoglobin Bart hydrops fetalis) จะทำให้เด็กตาย คลอดหรือเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาได้ ถ้าเป็นแบบรุนแรงปานกลาง (Hemoglobin H disease)            ผู้ป่วยเด็กจะมีอาการซีดเรื้อรัง ตับม้ามโต ต้องได้รับเลือดทดแทนเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะเวลาที่มีไข้หรือเจ็บป่วยไม่สบาย เด็กจะซีดลงเร็วมาก เนื่องจากเม็ดเลือดแดงจะแตกทำลายเร็วขึ้นอย่างมาก สำหรับกลุ่มเบต้าธาลัสซีเมีย แบบที่มีอาการรุนแรงคือ โฮโมซัยกัสเบต้าธาลัสซีเมีย (Homozygous Beta Thalassemia) ผู้ป่วยเด็กจะเริ่มมีอาการซีดมากตั้งแต่อายุ 6 เดือน เป็นต้นไป ตัวเหลือง ท้องป่อง ตับโต ม้ามโตมาก ร่างกายเจริญเติบโตช้า ตัวเตี้ยแคระแกรน โครงสร้างใบหน้าเปลี่ยนแปลงผิดปกติ (Thalassemia facies) มีโรคเจ็บป่วยอื่นแทรกซ้อนง่าย ในรายที่เป็นรุนแรงผู้ป่วยต้องได้รับเลือดทดแทนอย่างสม่ำเสมอทุก 2-4 สัปดาห์ จึงจะดำรงชีวิตอยู่ได้ มิฉะนั้นสุขภาพจะทรุดโทรมอย่างมาก ซีดมากจนหัวใจวายและมีอายุสั้น การรักษาโรคธาลัสซีเมีย           การปลูกถ่ายเซลต้นกำเนิดเม็ดเลือด เป็นหนทางเดียวที่จะรักษาโรคธาลัสซีเมียให้หายขาดได้ โดยได้รับจากพี่น้องหรือผู้บริจาคทีมี HLA ตรงกัน ส่วนการรักษาประคับประครองตามอาการอื่น ๆ ได้แก่ การให้เลือดทดแทนอย่างสม่ำเสมอตลอดไป ร่วมกับการให้ยาขับเหล็กอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้ป่วยจะมีภาวะธาตุเหล็กที่มากเกินไป จะเป็นอันตรายต่อตับ ตับอ่อน ต่อมไร้ท่อ และหัวใจ นอกจากนี้ผู้ป่วยควรได้รับประทานยาบำรุงเม็ดเลือดโฟลิค (Folic acid) ทุกวันไปตลอดชีวิต ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงและหลีกเลี่ยงยาบำรุงที่มีธาตุเหล็ก ผู้ป่วยบางรายมีม้ามโตมากหรือมีอาการซีดลงเร็วมาก จนต้องให้เลือดบ่อยขึ้น แพทย์อาจจะต้องพิจารณาผ่าตัดม้ามออกเมื่อผู้ป่วยมีอายุเกิน 5 ปีแล้ว วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อช่วยยืดอายุผู้ป่วยให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้             โรคโลหิตจางในเด็กไทย ยังมีโรคอื่น ๆ ที่พบได้อีกหลายโรคซึ่งกุมารแพทย์ผู้ชำนาญทางโลหิตวิทยา สามารถให้ความรู้และคำปรึกษาแนะนำกับท่านได้   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<