เทคโนโลยีการรักษา

การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

Ultrasound เป็นการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงโดยให้ทรานส์ดิวเซอร์ ส่งคลื่น ultrasound กระทบกับผิว ต่อมหรือเนื้อเยื่อที่มีคุณสมบัติต่างกัน จะเกิดการสะท้อนกระเจิงของคลื่น และคลื่นที่สะท้อน กระเจิงกลับเข้าสู่ทรานส์ดิวเซอร์ (echo) จะถูกบันทึก ขยายและปรับแต่งก่อนส่งไปแสดงผลทางจอภาพ (display) ติดตามรายละเอียดได้ดังนี้ค่ะ   การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง  (Ultrasound)       Ultrasound เป็นการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงโดยให้ทรานส์ดิวเซอร์ ส่งคลื่น ultrasound กระทบกับผิว ต่อมหรือเนื้อเยื่อที่มีคุณสมบัติต่างกัน จะเกิดการสะท้อนกระเจิงของคลื่น และคลื่นที่สะท้อน กระเจิงกลับเข้าสู่ทรานส์ดิวเซอร์ (echo) จะถูกบันทึก ขยายและปรับแต่งก่อนส่งไปแสดงผลทางจอภาพ (display) คลื่นเสียงความถี่สูงสามารถใช้ตรวจส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ ส่วนหัว ใช้ตรวจเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี เพื่อตรวจดูความผิดปกติในกระโหลกศีรษะ โดยตรวจผ่านกระหม่อมที่ยังไม่ปิด (open fontanelles)  ส่วนคอ ใช้ตรวจหาความผิดปกติและหารอยโรคของต่อมธัยรอยด์ , ต่อมน้ำลาย (salivary gland) , parotid gland , ก้อนในบริเวณคอ และใช้ตรวจเส้นเลือดแดง (carotid artery)  ส่วนอก ใช้ตรวจทรวงอก เพื่อดูน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (pleural fluid) หรือตรวจดูรอยโรค (lesions) ว่าเป็นเนื้อหรือน้ำติดกับผนังทรวงอก เช่น เนื้องอก ฯลฯ ช่องท้อง ใช้ตรวจดูความผิดปกติและหารอยโรคของอวัยวะภายในช่องท้องทั้งหมด (whole abdomen)    ส่วนอื่น ๆ  ใช้ตรวจเพื่อหาความผิดปกติและรอยโรคที่สงสัยในอวัยวะส่วนอื่น ๆ ที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissue) หรือ มีน้ำภายใน เช่น กล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจเต้านม ขา เส้นเลือดขนาดใหญ่และขนาดกลาง (Doppler) เพื่อดูความผิดปกติ ของเส้นเลือด , วัดความเร็วการไหลเวียนเส้นเลือด , ดูการอุดตันของเส้นเลือด ฯลฯ  การเตรียมตัวก่อนตรวจ ส่วนหัว สามารถตรวจได้ทันที โดยไม่ต้องเตรียมตัวก่อนตรวจ แต่ในเด็กบางรายอาจต้องให้ Sedation ตามคำสั่งแพทย์ ส่วนคอและส่วนอก สามารถตรวจได้ทันที ไม่ต้องเตรียมตัวก่อนการตรวจ ส่วนท้อง Upper Abdomen งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 - 8 ชั่วโมงก่อนการตรวจ ในเด็กให้งดอาหารหรือนม 1 มื้อ เพื่อให้อวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะถุงน้ำดี ชัดเจน Lower Abdomen ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร (เว้นแต่แพทย์สั่ง) ก่อนถึงเวลานัดตรวจ 3 ชั่วโมง ให้ดื่มน้ำเปล่า 4-5 แก้ว และกั้นปัสสาวะไว้จนกว่าจะตรวจเสร็จ (ขณะทำต้องปวดปัสสาวะเต็มที่) ซึ่งจะทำให้สามารถเห็นมดลูกและอวัยวะบริเวณท้องน้อยชัดเจน Whole Abdomen งดอาหาร 6-8 ชั่วโมงก่อนตรวจ แต่ก่อนถึงเวลานัดตรวจ 3 ชั่วโมง ให้ดื่มน้ำเปล่า 4-5 แก้ว หลังจากนั้นงดดื่ม และกั้นปัสสาวะไว้จนกว่าจะตรวจเสร็จ (ขณะทำต้องปวดปัสสาวะเต็มที่) ส่วนอื่น ๆ สามารถทำได้ทันที ไม่ต้องเตรียมตัวก่อนการตรวจ ข้อแนะนำ   ควรงดน้ำและอาหาร (N.P.O. = Nothing Per Oral) อย่างน้อย 6-8 ชม. ก่อนการตรวจ(สำหรับเด็กเล็ก ให้งดนมเพียง 4 ชม.)   เหตุที่ต้องงดน้ำ ก็เพราะว่าถ้าไม่มีอะไรถูกกลืนลงสู่หลอดอาหารแล้ว โอกาสที่อากาศจะผ่านสู่กระเพาะอาหารก็น้อยด้วย ซึ่งอากาศมีอิทธิพลต่อภาพอัลตราซาวนด์ ไม่ว่าจะมีอากาศอยู่ในส่วนใดของ Gastro-intestinal tract ก็ตาม ก็จะทำให้ขาดข้อมูลที่ต้องการบนภาพได้ และในกรณีที่ผู้ป่วยมี Bowel gas มาก วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ให้รอไปก่อน 2-3 ชม.   เหตุที่ต้องงดอาหาร เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาพลวงจากอาหารที่รับประทาน และอาหารที่มัน ๆ ยังทำให้ Gall bladder บีบตัวจนการตรวจ Gall bladder ทำได้ยาก    

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ระบบ PACS

PACS PACS ย่อมาจากคำว่า Picture Archiving and Communication System คือ ระบบที่ใช้ในการจัดเก็บรูปภาพ ทางการแพทย์( Medical Images) และรับ-ส่งข้อมูลภาพ ในรูปแบบ Digital โดย PACS ใช้การจัดการรับส่งข้อมูล ผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยการส่งภาพข้อมูลตามมาตรฐาน DICOM แผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลวิภาวดี ได้นำระบบ PACS มาใช้ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ.2549 ซึ่งการนำระบบ PACS มาใช้แทนระบบการถ่ายภาพที่ใช้ฟิล์มแบบเดิม ทำให้ลดขั้นตอนการทำงานลงเป็นอย่างมาก จึงทำให้สามารถให้บริการแก่ผู้มารับบริการได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น PACS    PACS ย่อมาจากคำว่า Picture Archiving and Communication System คือ ระบบที่ใช้ในการจัดเก็บรูปภาพ ทางการแพทย์( Medical Images) และรับ-ส่งข้อมูลภาพ ในรูปแบบ Digital โดย PACS ใช้การจัดการรับส่งข้อมูล ผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยการส่งภาพข้อมูลตามมาตรฐาน DICOM แผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลวิภาวดี ได้นำระบบ PACS มาใช้ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ.2549 ซึ่งการนำระบบ PACS มาใช้แทนระบบการถ่ายภาพที่ใช้ฟิล์มแบบเดิม ทำให้ลดขั้นตอนการทำงานลงเป็นอย่างมาก จึงทำให้สามารถให้บริการแก่ผู้มารับบริการได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น    ภาพแสดงการเปรียบเทียบการใช้ระบบฟิล์มเดิมและระบบ PACS    ระบบเดิมเริ่มจากเมื่อนักรังสีเทคนิคถ่ายภาพเอกซเรย์เสร็จ จะต้องผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม จัดทำซองฟิล์ม แล้วนำฟิล์มไปให้รังสีแพทย์รายงานผล แล้วจัดเก็บซองฟิล์มไว้ในห้องเก็บฟิล์ม เมื่อแพทย์ผู้ส่งตรวจขอดูฟิล์มและผลจะต้องทำการยืมฟิล์มจากแผนกรังสีวินิจฉัย ไปดูบนหอผู้ป่วยหรือที่แผนกผู้ป่วยนอก ซึ่งจะต้องใช้บุคลากรและเวลาในการจัดหาและจัดเก็บ ซึ่งในบางครั้งก็มีปัญหาในเรื่องการหาฟิล์มไม่พบ ทำให้ต้องใช้เวลาและแรงงานในกระบวนการ/ขั้นตอนที่ยุ่งยาก เมื่อแผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลวิภาวดี ได้นำระบบ PACS มาใช้ ทำให้สามารถลดขั้นตอนจากระบบเดิมได้อย่างมาก กล่าวคือ เมื่อนักรังสีถ่ายภาพเอกซเรย์โดยใช้ตัวรับภาพ(Imaging plate) แล้วนำตัวรับภาพมาสร้างภาพด้วยเครื่อง CR ก็จะได้เป็นภาพดิจิตอล แล้วส่งภาพไปที่ PACS server จากนั้นรังสีแพทย์ก็สามารถดูภาพและรายงานผลได้ทันทีที่ส่งภาพ รวมทั้งแพทย์ผู้ส่งตรวจก็สามารถเรียกดูภาพได้ทันที ซึ่งจะเห็นว่ามีความสะดวกและรวดเร็วอย่างมาก     ข้อดีของการนำระบบ PACS มาใช้ในโรงพยาบาล    1. ผลดีต่อกระบวนการรักษาพยาบาล       - ลดเวลาในการตรวจ และรอคอยผลการเอ็กซเรย์ เนื่องจากการล้างฟิล์ม และการค้นหาฟิล์มเก่า       - ได้รับการวินิจฉัยโรค และได้รับการรักษาพยาบาลเร็วขึ้น       - เนื่องจากสามารถเรียกข้อมูลเก่าที่เก็บไว้ในระบบได้ตลอด เวลาทำให้แพทย์ สามารถเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง ของโรคได้ตลอดเวลาซึ่งจะช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำ ยิ่งขึ้น และช่วยในการวางแผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง       - ลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ จะได้รับเนื่องจากการถ่ายฟิล์มซ้ำ ที่เกิดจากการตั้งค่าเทคนิค ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วย     2. ประหยัดทรัพยากรและ รักษาสิ่งแวดล้อม       - ลดอัตราการสูญเสียฟิล์มในการเอ็กซเรย์ซ้ำ เพราะระบบการถ่ายเอ็กซเรย์ที่เก็บภาพแบบ Digital ทำให้รังสีแพทย์ สามารถที่จะทำการปรับค่า ความสว่างของภาพได้       - ลดการสูญหายของฟิล์มเอ็กซเรย์ที่จะเกิดขึ้นในระบบเก่า        - ลดการทำลายสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการล้างฟิล์ม ( น้ำยาล้างฟิล์ม และ น้ำเสียจากเครื่องล้างฟิล์ม)       - ลดพื้นที่ในการจัดเก็บฟิล์มเอ็กซเรย์        - จะไม่มีการเสื่อมสภาพของภาพรังสี เพราะว่าข้อมูลภาพถ่ายทางรังสีจะถูกเก็บในรูปแบบ Digital

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การเอกซเรย์ฟันชนิดทั้งปาก (DENTAL PANORAMIC)

การเอกซเรย์ฟันชนิดทั้งปาก (DENTAL PANORAMIC) เป็นการตรวจทางรังสีของฟันและช่องปาก โดยการถ่ายภาพทางรังสีฟันครบทั้ง 32 ซี่ เพื่อดูความผิดปกติของฟันและช่องปาก การเอกซเรย์ฟันชนิดทั้งปาก (DENTAL PANORAMIC) เป็นการตรวจทางรังสีของฟันและช่องปาก โดยการถ่ายภาพทางรังสีฟันครบทั้ง 32 ซี่ เพื่อดูความผิดปกติของฟันและช่องปาก  PANORAMIC เป็นการถ่ายภาพทางรังสีของฟันในทางตรง โดยให้รังสีผ่านจากทางด้านซ้าย มาสู่ทางด้านขวา เพื่อดูความผิดปกติของเหงือกและฟัน  LATERAL CEPHALOGRAM  เป็นการถ่ายภาพทางรังสีของฟันในท่าด้านข้าง เพื่อดูความผิดปกติของเหงือกและฟัน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เอกซเรย์เต้านม (Mammogram)

เอกซเรย์เต้านม (Mammogram) เอกซเรย์เต้านม(Mammogram) ปัจจุบันโรคมะเร็งในสตรีสำหรับประเทศไทย พบว่ามะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปากมดลูก และมีแนวโน้มจะพบมากขึ้นทุกปี   เอกซเรย์เต้านม(Mammogram)     ปัจจุบันโรคมะเร็งในสตรีสำหรับประเทศไทย พบว่ามะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปากมดลูก และมีแนวโน้มจะพบมากขึ้นทุกปี  สาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านม  ยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่แน่นอน ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม(ที่ป้องกันไม่ได้)    -ผู้หญิง อายุมากกว่า 35 ปี    -เคยมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน    -มีประจำเดือนเร็ว , หมดประจำเดือนช้า    -มีมารดา พี่สาว น้องสาว ลูกสาวเป็นมะเร็งเต้านม    -ไม่มีบุตร หรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากว่า 30 ปี ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม(ที่ป้องกันได้)    -ถูกฉายรังสีที่หน้าอกบ่อยๆ    -ดื่มแอลกอฮอล์ ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 30 ปี    -ใช้ยาคุมกำเนิดนานกว่า 4 ปี ก่อนการตั้งครรภ์ครั้งแรก     -ออกกำลังกายน้อยทำให้ประจำเดือนมาเร็ว    -กินจุ ทำให้ประจำเดือนมาเร็ว    -รวมเวลาให้นมบุตรน้อยกว่า 3 เดือน วิธีการป้องกันมะเร็งเต้านม     -ไม่มีวิธีการป้องกันโดยตรง    -การตรวจให้พบตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยรักษาให้หายได้ เรียกว่าการคัดกรอง(Screening)  การตรวจคัดกรองสำหรับประชาชนทั่วไป    -อายุ 20-40 ปี ตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือน และตรวจเต้านมโดยแพทย์ทุก 3 ปี    -อายุ 40 ปี ขึ้นไป ตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน และตรวจเต้านมโดยแพทย์ทุกปี การตรวจคัดกรองสำหรับสตรีกลุ่มเสี่ยง -ตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือน และตรวจเต้านมโดยแพทย์ทุกปี -ถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมทุก 2 ปี การเตรียมตัวก่อนถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านม -งดเครื่องดื่มหรือยาที่มีสารคาเฟอีน เพราะจะไปกระตุ้นให้มีการขับน้ำออกมามาก -ห้ามใช้ยาระงับกลิ่นตัว แป้งทาตัว เพราะมีสารที่ทำให้เกิดการคั่งค้างของน้ำ เวลากดเต้านม จะรู้สึกเจ็บมาก และแป้งมีสารทึบรังสีเป็นฝุ่นเล็กๆ ทำให้ปรากฏเห็นบนภาพได้ อาจทำให้นึกว่าเป็น microcalcification ได้ การตรวจเต้านมด้วยอัลตร้าซาวด์ -ใช้ในการตรวจที่เอกซเรย์เต้านมแล้วเห็นก้อนไม่ชัดเจน -จะช่วยแยก solid กับ cystic mass โดยอัลตร้าซาวด์จะวินิจฉัย cystic mass ได้ชัดเจน -ข้อเสีย ไม่สามารถใช้เป็นการตรวจคัดกรอง เพราะไม่เห็น microcalcification (ตัวก่อมะเร็งซึ่งมีขนาดเล็กมากเป็นไมครอน)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<