โรคปริทันต์หรือโรคเหงือกอักเสบ (รำมะนาด)

โรคปริทันต์หรือโรคเหงือกอักเสบ(รำมะนาด)

         จะมีเลือดออกขณะแปรงฟัน เหงือกบวมแดง มีกลิ่นปาก เหงือกร่น มีหนองออกจากร่องเหงือก ฟันโยก ฟันเคลื่อนห่างออกจากกัน สาเหตุของโรคเกิดจากหินปูนหรือน้ำลายซึ่งก็คือ แผ่นคราบจุลินทรีย์ที่แข็งตัว เนื่องจากมาตุแคลเซียมจากน้ำลายเข้าไปตกตะกอน แผ่นคราบจุลินทรีย์มีลักษณะเป็นคราบสีขาวขุ่นนิ่ม ที่ประกอบด้วยเชื้อโรคติดอยู่บนตัวฟัน ขบวนการเกิดคราบจุลินทรีย์ เริ่มต้นหลังจากที่แปรงฟันแล้ว เพียง 2-3 นาทีโดยจะมีเมือกใสของน้ำลาย มาเกาะที่ตัวฟัน จากนั้นเชื้อโรคที่มีอยู่ในปาก จะมาเกาะทับถมกันเข้าเกิดเป็นคราบจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด โรคฟันผุและโรคปริทันต์ เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป คราบจุลินทรีย์นี้ จะใช้น้ำตาลจากอาหารสร้างกรดและสารพิษ โดยกรดจะทำลายเคลือบฟัน ทำให้ฟันผุ สารพิษจะทำให้เหงือกอักเสบ เกิดเป็นโรคปริทันต์

        โดยหินปูนที่โผล่พ้นขอบเหงือกจะมองเห็นได้ แต่ส่วนที่อยู่ใต้เหงือกจะมองไม่เห็น หินปูนหรือคราบจุลินทรีย์ ที่ยึดติดอยู่บนหินปูนใต้เหงือก ไม่สามารถกำจัดออกได้ โดยวิธีการทำความสะอาดฟันด้วยตัวเอง ต้องอาศัยทันตแพทย์ช่วยกำจัดหินปูนให้ทันตแพทย์จะขูดหินปูนออก ทั้งเหนือเหงือกและใต้เหงือก ทำรากฟันให้ปราศจากสารพิษใดๆ เพื่อให้เหงือกยึดแน่น รอบตัวฟันเหมือนเดิม

คำแนะนำสำหรับการขูดหินปูน

1. ผู้ป่วยควรมารับบริการขูดหินปูนอย่างน้อยปีละ 2ครั้ง และรับการตรวจฝันอย่างละเอียด

2. ภายหลังขูดหินปูนเสร็จใหม่ๆ อาจมีเลือดออกตามขอบเหงือกแต่เลือดจะค่อยๆ หยุดไหลไปเอง การบ้วนน้ำบ่อยๆ จะทำให้เลือดหยุดไหลได้ช้าลง

3. หลังจากขูดหินปูดในระยะ 1-2 สัปดาห์แรก อาจมีอาการระบมของเหงือกและเสียวฟันตามมาได้ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร้อนหรือเย็นจัด ให้ผู้ป่วยแปรงฟันอย่างระมัดระวังให้สะอาดและอาการเหล่านั้นจะค่อยๆหายไป

<