กระ ฝ้า (Melasma)

กระ ฝ้า  (Melasma)

 

          สาเหตุการเกิดฝ้า เกิดจากกระบวนการสร้างสีของเซลล์เม็ดสี (Melanocyte) ที่ผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นรอยสีน้ำตาลบนผิวหนัง ปัจจัยที่ทำให้เกิด คือ รังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV) ที่อยู่ในแสงแดดฮอร์โมนและกรรมพันธุ์ เมื่อเม็ดสีดำ (Melanin) สะสมมากขึ้นเป็นเวลานาน ทำให้เห็นเป็นแผ่นหรือเป็นวงสีน้ำตาลชัดเจน บริเวณที่มักจะเกิดฝ้ามาก็คือ โหนกแก้ม สันจมูก หน้าผาก

          สาเหตุหนึ่งของการเกิดฝ้า คือ การใช้ยาบางตัวเช่น hormone ยาคุมกำเนิด, พันธุกรรม, สารบางอย่าง สารกระตุ้นการอักเสบความร้อนและแสงแดด

          การทายาหรือครีมกันแดดไม่สามารถป้องกันได้ 100% จึงอาจเป็นฝ้า กระ รอยเหี่ยวย่นหรือมะเร็งผิวหนังได้ ถ้าต้องอยู่กลางแสงแดดเป็นเวลานานๆ หรือบ่อยๆ

         โอกาสการเกิดฝ้า ในผู้หญิงจะมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เซลล์เม็ดสีทำงานมากผิดปกติ ช่วงตั้งครรภ์หรือช่วงรับประทานยาคุมกำเนิด หรือการรับประทานฮอร์โมนช่วงวัยทอง

การรักษาและดูแลฝ้า
1. หลีกเหลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง ควรใช้ครีมกันแดดที่มี SPF ตั้งแต่ 30 PA+++ขึ้นไป และใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หมวก ร่ม แว่นตากันแดด เป็นต้น
2. การดูแลรักษาโดยใช้ยาที่มีประสิทธิภาพ ที่สามารถควบคุมการสร้าง Melanin หรือกินวิตามินกลุ่ม Anti-oxidant ที่ปราศจากสารปรอท และลดการสร้างเม็ดสีที่มีประสิทธิภาพ และยาที่ใช้ควรมีความปลอดภัยมีผลข้างเคียงน้อย ซึ่งการรักษาที่มีประสิทธิภาพทำให้ฝ้าจางลง 80-90% และมีการรักษาอื่นร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
1. AHA Treatment
2. การทำ Treatment lonto, Phono, Microdermabrasion
3. การรักษาด้วยเลเซอร์ ที่มีผลต่อการลดเม็ดสี (Pigmented Laser) เช่น Nd Yag, VPL/IPL เป็นต้น

          ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญจากแพทย์ผิวหนังที่ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดและปราศจากผลข้างเคียงและปลอดภัย

 

กระ (Freckle)

          จุดดำจากกระ (Freckles) และจุดดำจากกระลึก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันคือ


จุดดำจากกระ หรือเรียกว่า “ตกกระ” 

           ลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลที่อยู่ตื้นๆ พบมากในคนที่มีผิวขาว ตำแหน่งที่เกิดบ่อย คือบริเวณโหนกแก้มและสันจมูก อาจพบทั่วใบหน้า แขน คอ และหน้าอก หรือบริเวณนอกร่มผ้าก็อาจเป็นได้ สาเหตุของการตกกระมาจากการที่ผิวหนังบริเวณนั้นโดยแสงแดดเป็นเวลานาน


กระลึก (ปานโอตะและปานโอริ) 

            พบได้ประมาณ 20-30% ของชาวเอเชีย ไทย ญี่ปุ่น แตกต่างจากการตกกระ คือ เป็นจุดสีออกเทาดำขอบเขตไม่ชัดเจนและมีความแตกต่างจากฝ้าตรงที่ฝ้าจะมีลักษณะเป็นแผ่น ตำแหน่งที่พบบ่อยคือโหนกแก้ม ดั้งจมูก ปานโอตะจะแตกต่างจากปานโอริตรงที่ปานโอตะนอกจากจะเกิดที่ผิวหนังปกติแล้วยังสามารถเกิดที่บริเวณเยื่อบุของร่างกายได้ เช่นบริเวณเยื่อบุตาขาวหรือเพดานปาก
สาเหตุการเกิดกระเนื้อ กระลึก (ป่านโอตะและปานโอริ)
 ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่ชัดเจน เป็นอาการที่เกิดได้เองตามธรรมชาติ และค่อยๆแสดงอาการชัดเจนขึ้นเมื่อเป็นผู้ใหญ่ สามารถพบได้ตั้งแต่เกิด หรือพบตอนเป็นผู้ใหญ่


วิธีการรักษา
          การรักษา จุดดำจากกระ “ตกกระ”


1. การใช้ยากลุ่ม Whitening โดยที่กลไกออกฤทธิ์หลายประเภท เช่น การกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนังใหม่ หรือออกฤทธิ์ลดการสร้างสีผิว ทำให้ผิวขาวขึ้น การกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนังใหม่
2. การใช้น้ำยากรดเข้มข้นแต้ม บริเวณที่ตกกระ ทำให้เป็นสะเก็ดแล้วหลุดลอกออก ต้องอาศัยความชำนาญจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแผลเป็น
3. การทำ Treatment ต่างๆ ที่ใช้การส่งผ่านตัวยาลงไปในผิวหนังได้ลึกกว่าปกติ ซึ่งทำให้กระจางลง
4. การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ ที่มีผลต่อเม็ดสี (Pigmented Laser) เช่น Ruby Laser กลุ่ม Nd Yag Laser และ IPL ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญจากแพทย์เฉพาะทางผิวหนัง เพื่อเลือกชนิดของเลเซอร์และตั้งพลังงานในการรักษาที่เหมาะสมให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดและปราศจากผลข้างเคียง ซึ่งหลังจากการทำการรักษาด้วยเลเซอร์ กระจะตกสะเก็ดและหลุดออกภายใน 1 สัปดาห์

 

การรักษา (ปานโอตะและปานโอริ)
           ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการรักษาโดยเลเซอร์ที่ใช้เฉพาะกับเม็ดสี ได้แก่ ruby laser หรือและ Q-Switched Nd-YAG laser ซึ่งการที่จะเลือกใช้เลเซอร์ชนิดใดต้องอาศัยความรู้และความชำนาญจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนัง (Dermatologist) โดยทั่วไปการทำเลเซอร์แต่ละครั้งจะทำให้ดีขึ้น 20-30% และต้องรักษาหลายครั้งโดยแต่ละครั้งห่างกันเฉลี่ย 1-3 เดือน
ข้อแนะนำ
• เมื่อมีจุดด่างดำบนใบหน้า ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางผิวหนัง (Dermatologist) เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาได้อย่างถูกวิธีได้ประสิทธิผลสูงสุด
            “สิ่งที่สำคัญที่สุด   ในการป้องกันและรักษาคือการหลีกเลี่ยงแสงแดดให้มากที่สุด”

 

                           ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์ผิวหนังและเลเซอร์                       
                                 รพ.วิภาวดี โทร. 0-2561-1111 กด 1 

 

<