สต็อกโฮล์ม ซินโดรมม (Stockholm Syndrome)

สต็อกโฮล์ม ซินโดรมม (Stockholm Syndrome)

           Stockholm Syndrome (สต็อกโฮล์ม ซินโดรม) เป็นอาการของคนที่ตกเป็นเชลยหรือตัวประกันเกิดมีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจคนที่เป็นคนร้ายหลังจากต้องใช้เวลาอยู่ด้วยกันระยะหนึ่ง และอาจจะลงเอยด้วยการแสดงอาการปกป้องคนร้ายหรือยอมเป็นพวกเดียวกันด้วยซ้ำ

อาการที่ว่านี้นักจิตวิทยาตั้งขึ้นตามคดีปล้นธนาคารที่เกิดขึ้นในกรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดนในปี 1973    หลังจากถูกตำรวจปิดล้อมอยู่หลายวันเจ้าหน้าที่และลูกค้าธนาคารซึ่งถูกจับเป็นตัวประกันเริ่มเห็นใจโจร   เมื่อตำรวจบุกเข้าไปตัวประกันพยายามปกป้องโจรด้วยซ้ำ   (เหตุการณ์ปล้นครั้งนั้นกลายเป็นพล็อตหนังเรื่อง “ปล้นกลางแดด” หรือ Dog Days Afternoon  ที่มีอัลปา ชีโน่เป็นดารานำ)

 

          นักจิตวิทยาวิเคราะห์ ว่า เป็นพฤติกรรม "สองดอกจิก แหม่มโพธิ์ดำ" หรือที่ทางธรรม เรียกว่า เห็นผิดเป็นชอบ   เกิดจากความใจอ่อน สงสารสัตว์โลกผู้ชะตาตกต่ำ ประกอบกับ ได้ใช้ชีวิตร่วมกับผู้ก่อการร้ายเป็นระยะเวลานาน กินข้าวหม้อเดียวกัน - นอนเตียงเดียวกัน มิได้ถูกข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย หรือ พูดจาประชด ถากถาง แม้แต่น้อย  จึงเกิดความสงสาร เห็นใจ หันมาเข้าข้างเค้าซะเลย

 

Wikipedia 
          กลุ่มอาการสต็อกโฮล์ม (อังกฤษ: Stockholm syndrome) เป็นคำอธิบายถึงอาการอย่างหนึ่งที่ตัวประกันเกิดความสัมพันธ์ทางใจกับผู้ลักพาตัวในระหว่างการถูกกักขัง ความสัมพันธ์ทางอารมณ์นี้เกิดขึ้นระหว่างผู้จับกับเชลยในช่วงเวลาที่ได้ใกล้ชิดกัน แต่นี่อาจถือได้ว่าไม่มีสัญญาณด้านอันตรายหรือเกิดความเสี่ยงอันตรายต่อเหยื่อ กลุ่มอาการสต็อกโฮล์มไม่อยู่ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดปกติทางจิต เนื่องจากขาดการวิจัยเชิงวิชาการ กลุ่มอาการนี่พบเห็นได้ยาก จากข้อมูลของระบบฐานข้อมูลการจับตัวประกัน ของสำนักงานสอบสวนกลาง และ Law Enforcement Bulletin ประเมินว่าพบการลักพาตัวประเภทนี้น้อยกว่า 5%

 

          คำนี้มีการใช้ครั้งแรกโดยสื่อมวลชนในปี ค.ศ.1973 เมื่อมีการจับตัวประกัน 4 คนระหว่างการปล้นธนาคาร ที่สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ตัวประกันได้ปกป้องผู้จับตัวพวกเขาหลังถูกปล่อยตัวและยังไม่ยอมเป็นพยานต่อศาลด้วย

 

สี่องค์ประกอบสำคัญที่แสดงคุณลักษณะของกลุ่มอาการสต็อกโฮล์ม คือ

  • ตัวประกันมีความรู้สึกที่ดีต่อผู้จับตัว
  • ไม่มีความสัมพันธ์ก่อนหน้านี้ระหว่างตัวประกันและผู้จับตัว
  • ตัวประกันไม่ให้ความช่วยเหลือต่อตำรวจและเจ้าหน้าที่รัฐบาล (เว้นแต่ผู้จับตัวจะถูกตำรวจบังคับ)
  • ตัวประกันเห็นถึงมนุษยธรรมในผู้จับตัว เพราะพวกเขาไม่ได้ถูกคุกคาม เพียงอยู่ในฐานะเป็นผู้บุกรุก

 

 

<