รู้จักมะเร็งปอด (Lung Cancer) ภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยอันดับต้นๆ

โรคมะเร็งในประเทศไทยที่มีอยู่หลากหลายชนิดนั้น มะเร็งปอดเป็นสาเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากมายในแต่ละปี  สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติระบุว่าในปี 2562 นั้นพบผู้ป่วยใหม่ จำนวนวันละ 47 คน หรือถ้าคิดเป็นปีอยู่ที่ 17,222 คน ต่อปี แบ่งเป็น

  • ชาย - 10,766 คน
  • หญิง - 6,456 คน

สาเหตุเกิดจาก

  1. ความสกปรกของอากาศ ภาวะอากาศเป็นพิษในเมืองใหญ่ๆ เช่น ควันดำจากท่อไอเสียรถยนต์ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เช่น นิเกิล สารกัมมันตรังสี
  2. การสูบบุหรี่จัดเป็นเวลานานๆ มีส่วนสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งปอดโดย 80% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมีประวัติสูบบุหรี่ 75 % ของผู้ป่วยเป็นผู้สูบบุหรี่จัด คือ สูบอย่างน้อยวันละ 20 มวนติดต่อกัน 20 ปีขึ้นไป หรืออย่างน้อยวันละ 10 มวน ติดต่อกัน 30 ปีขึ้นไป
  3. แผลเป็นในปอด เป็นผลจากการเป็นโรคเรื้อรังมานาน เช่น วัณโรคปอด ซึ่งอาจเป็นจุดก่อให้เกิดมะเร็ง

อาการ

  1. ไอแห้งๆ ไอนานกว่าธรรมดา
  2. ไอมีเสมหะ
  3. ไอเป็นเลือด แต่เลือดมักออกปนกับเสมหะ
  4. ปอดอักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก
  5. น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ซีด อ่อนเพลีย
  6. เสียงแหบ เพราะมะเร็งลุกลามไปยังประสาทบริเวณกล่องเสียง
  7. บวมที่หน้า คอ แขน และอกส่วนบน เนื่องจากมีเลือดดำคั่ง
  8. หายใจลำบากและหอบเหนื่อย เนื่องจากก้อนมะเร็งโตขึ้น ทำให้เนื้อที่ปอดสำหรับหายใจเหลือน้อยลง ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
  9. กลืนลำบาก เนื่องจากหลอดอาหารถูกกด
  10. เจ็บปวด เนื่องจากมะเร็งลุกลามแพร่กระจายไปในกระดูก ผนังอก ฯลฯ
  11. อัมพาต เนื่องจากมะเร็งแพร่กระจายไปยังสมองหรือไขสันหลัง

การวินิจฉัย

  1. ถ่ายภาพเอกซเรย์ปอด 
  2. ตรวจเสมหะที่ไอออกมา เพื่อหาเซลมะเร็ง ดังนั้นผู้ที่สูบบุหรี่ มีอาการไอเรื้อรัง และผู้ที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจตามวิธีดังกล่าวปีละครั้ง 

การรักษา

โดยทั่วไปหลักสำคัญในการรักษามะเร็ง คือ

  1. การผ่าตัด
  2. การรักษาโดยรังสี

การป้องกัน

เหตุส่งเสริม ให้เกิดโรคมะเร็งปอดมีหลายประการ สาเหตุบางอย่างอาจมีทางป้องกันได้ยาก แต่สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่สืบเนื่องจากการสูบบุหรี่นั้น เป็นสิ่งที่อาจป้องกันได้และการไม่สูบบุหรี่หรือเลิกบุหรี่

ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเป็นมะเร็งของปอดได้ จะช่วยให้มีสุขภาพสมบูรณ์ ปราศจากโรคที่มีสาเหตุจากบุหรี่ได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ แผนกอายุรกรรม รพ.วิภาวดี โทร.0-2561-1111 ต่อ 1221-2

<