เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM)

คุณแม่จะต้องมีการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้ใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด ได้แก่ การควบคุมอาหารประเภทข้าวแป้งและน้ำตาลอย่างเข้มงวด แต่หากควบคุมไม่ได้จำเป็นที่จะต้องใช้ยาอินซูลินฉีด เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนใหญ่พบในการตั้งครรภ์ไตรมาสที่3 เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes, GDM) สามารถแบ่งออกเป็น2ระดับความรุนแรง คือ

                   Class A1 (glucose intolerance) พบได้ร้อยละ 90 ในหญิงตั้งครรภ์ รักษาด้วยการควบคุมอาหาร

                   Class A2 (Overt DM) หมายถึงมี fasting hyperglycemia คือระดับน้ำตาลมากกว่า 105 มก./ดล. รักษาด้วยการฉีดอินซูลิน

     หลักการควบคุมอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต

  • หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่มื้อเดียว โดยแบ่งเป็น 3 มื้อหลัก อาหารว่าง 3 มื้อ
  • รับประทานอาหารที่ให้พลังงานจากกลุ่มโปรตีน ไขมันชนิดดี หรือคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮมสวีท
  • เพิ่มอาหารจำพวกโปรตีน (เนื้อสัตว์) และผักให้มากขึ้น โดยเฉพาะผักจำพวกใบ เพราะมีใยอาหารและวิตามินมาก ส่วนนม ควรรับประทานเป็นนมจืด หรือนมพร่องมันเนย ควรงดหรือหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน เงาะ ลำไย ลิ้นจี่
  • รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินไป

                คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่ หลังคลอดบุตร ระดับน้ำตาลจะดีขึ้นเอง แต่อย่างไรก็ตามสตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ที่มีภาวะน้ำตาลจะดีขึ้นเอง แต่อย่างไรก็ตามสตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานในอนาคต สูงกว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ปกติ จึงควรดูแล และควบคุมอาหารอยู่สม่ำเสมอ ลดการรับประทาน ขนมหวาน เครื่องดื่มหวานต่างๆ แกงหวาน และควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทุกปี

ความเสี่ยงของทารกในครรภ์ที่คุณแม่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้

  • พิการแต่กำเนิดหรือแท้งบุตร (สำหรับคุณแม่เป็นเบาหวานก่อนตั้งครรภ์)
  • น้ำตาลในเลือดสูง
  • ระบบประสาทพัฒนาได้ไม่ดี

ความเสี่ยงของลูกน้อยหลังคลอด

  • ทารกมีขนาดตัวที่ใหญ่ น้ำหนักมากกว่า 4,500 กรัม
  • น้ำตาลในเลือดต่ำ
  • คลอดก่อนกำหนด
  • ปัญหาการหายใจ
  • มีโอกาสเป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวาน
<