โรคผอม (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์)

โรคผอม (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์)

                การที่ผู้ป่วยมีค่า Body Mass Index (BMI) ต่ำกว่า < 18.5 กิโลกรัม/ตารางเมตร แต่ถ้าเป็นโรคผอมจะนับตั้งแต่ BMI<17.0 กิโลกรัม/ตารางเมตร

                สาเหตุเกิดจากร่างกายสูญเสียพลังงาน หรือใช้พลังงานไปมากกว่าที่ร่างกายได้รับ ก็จะทำให้น้ำหนักตัวลดลงหรือมีน้ำหนักตัวน้อยผิดปกติ หรือได้รับพลังงานและสารอาหารไม่เพียงพอ เช่น ความยากจน เบื่ออาหาร ไม่เบื่ออาหารแต่กลัวอ้วน จึงล้วงคอเพื่อให้อาเจียน เรียกโรคนี้ว่าบูลิเมีย เนอร์โวซา (bulimia nervosa) เกิดค่านิยมผิดๆยิ่งผอมยิ่งสวย จิตเวชที่ไม่ทานอาหารเลยพบมากในกลุ่มนางแบบและวัยรุ่น ที่มักคิดว่าตัวเองอ้วน โรคทางกายที่ได้รับสารอาหารน้อยกว่าปกติ เช่น มีปัญหาทางช่องปากและฟัน มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร ทำให้การย่อยการดูดซึมผิดปกติ

                กลุ่มที่ใช้พลังงานมากกว่าปกติได้แก่

    • โรคไทรอยด์เป็นพิษ
    • ออกกำลังกายอย่างหนัก
    • รับประทานยาบางชนิดหรือการใช้สารเสพติด เช่น ยาบ้า
    • โรคที่สูญเสียน้ำจนทำให้น้ำหนักลดลวดเร็ว
    • เบาหวาน น้ำตาลในเลือดมากทำให้ปัสสาวะบ่อย
    • โรคที่มีแคลเซียมในร่างกายสูงปกติ เช่นมะเร็งบางชนิด

                อันตรายของโรคผอม หากเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และกระดูกพรุน ตาโปน ถ้าเป็นโรคมะเร็ง หากไม่ได้รับการรักษาจะเกิดการลุกลามจนรักษาไม่ได้ ถ้าเป็นการล้วงคออาเจียน หลังรับประทานอาหาร น้ำย่อยในกระเพาะมีกรด ทำให้เกิดแผลในกระพุ้งแก้ม ฟันผุ เสียวฟังได้ง่าย

                แนวทางการรักษาในโภชนบำบัด

                กรณีเป็นโรคกลัวอ้วน จำเป็นต้องได้รับการรักษาปรับความเข้าใจของผู้ป่วยและญาติ ให้ความรู้ด้านสารอาหารและโภชนาการ อาจจะใช้ยาช่วยภาวะทางจิตเวช

                กรณีกินเยอะ แต่ไม่อ้วน ไม่แนะนำให้กินอาหารหวานจัด มันจัด เค็มจัด หรืออาหารที่มีไขมันสูง เพื่อให้ได้แคลอรี่มาก เพราะจะทำให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูงได้ หรือมีพุงแทนที่จะมีกล้ามเนื้อเป็นอาหารเพิ่มโปรตีน เสริมสร้างกล้ามเนื้อ เช่นนม ไข่ ถั่ว ธัญพืช ออกกำลังกาย เช่น ยกเวท โยคะ เพิ่มการรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่มีประโยชน์ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรเบอรี่ การเพิ่มน้ำหนักควรเพิ่มพลังงานจากเดิม วันละ 500 Kcal/วัน โดยอาจจะเพิ่มมื้ออาหาร อย่าลืมว่าอาหารที่เพิ่มควรจะเป็นโปรตีน หรือข้าว แป้ง ธัญพืชขัดสีน้อยแทน ขนมหวานหรืออาหารมันๆ

               - เพิ่มโปรตีนเป็น 1.5-2.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1  กิโลกรัม

               - คาร์โบไฮเดรตและไขมัน เพิ่มขึ้นวันละ300-500 แคลอรี่ต่อวัน จะทำให้น้ำหนักค่อยๆ เพิ่มขึ้น

               - นม เป็นแหล่งโปรตีนควรดื่มพร้อมมื้ออาหาร ประมาณ 1-2 แก้ว หรือดื่มหลังออกกำลังกาย

               - ไข่ ควรรับประทานทุกวัน วันละ1ฟอง ถ้ามีปัญหาไขมันในเลือดสูง ควรจำกัดการกินไข่แดง ไม่เกิน3ฟอง ต่อสัปดาห์ หรือรับประทานไข่ขาวแทน

               - ข้าวสวย1ส่วน=1ทัพพี น้ำหนัก55กรัม ให้พลังงาน80กิโลแคลอรี่ ถ้าเป็นข้าวเหนียว1ส่วน หนักประมาณ35กรัม ให้พลังงาน80กิโลแคลอรี่ ข้าวยังมีโปรตีน แต่มีปริมาณที่น้อย

               - พืชตระกูลถั่ว เป็นอีกทางเลือกเพราะให้พลังงานสูง ถั่วอัลมอนด์1กำมือ ประกอบด้วยโปรตีน 7กรัม และไขมันชนิดดี 18กรัม สามารถรับประทานเป็นของว่าง แต่ต้องจำกัดปริมาณ

               - เนื้อแดง ช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ประกอบด้วยกรดอะมิโน การรับประทานเนื้อแดงติดมันจะให้พลังงานมากกว่าเนื้อแดงไร้มัน

               - เวย์โปรตีน เป็นแหล่งโปรตีนที่ได้รับความนิยมในหมู่นักกล้าม เพิ่มกล้ามเนื้อ ควรรับประทานก่อนหรือหลังออกกำลังกาย หรือคนที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ควรรับประทานเวย์โปรตีนเพิ่ม

               - ขนมปังโฮลเกรน อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ทำจากธัญพืชไม่ขัดสี กินคู่กับโปรตีนช่วยเพิ่มน้ำหนักได้ดี

               - อะโวคาโด อุดมไปด้วยไขมันชนิดดี อะโควาโด 1 ลูกให้พลังงาน 332 กิโลแคลอรี มีวิตามินและเกลือแร่

                นอกจากการเพิ่มอาหารแล้ว ควรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่อาจส่งผลดีต่อการเพิ่มน้ำหนักได้ ดังนี้

    • ออกกำลังกาย ทำให้เพิ่มกล้ามเนื้อที่พอเหมาะ ทำให้อยากอาหารมากขึ้น เน้นโปรตีนและข้าวแป้ง
    • พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
    • แบ่งมื้ออาหารออกเป็นวันละ 5-6 มื้อ ไม่ควรดื่มน้ำก่อนรับประทานอาหาร
    • ลดการกินเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มชูกำลัง เพราะจะทำให้อยากอาหารลดลง
    • งดการสูบบุหรี่ คนที่สูบบุรีมีแนวโน้มทำให้อยากอาหารลดลงมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่
<