การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)

การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง

Electroencephalogram (EEG)

การตรวจคลื่นไฟฟ้า Electroencephalogram (EEG) วิธีการตรวจที่แพทย์มักจะใช้ประกอบกับการซักประวัติและการตรวจร่างกาย เพื่อวินิจฉัยโรคลมชัก และจำแนกชนิดของการชักเพื่อให้การรักษาที่ถูกต้อง คลื่นไฟฟ้าสมองสามารถบันทึกโดยใช้ขั้วไฟฟ้า (Electrode) รับสัญญาณไฟฟ้าที่ผิวหนังศีรษะ สัญญาณไฟฟ้านี้เกิดขึ้นจากผลรวมของศักย์ไฟฟ้าของกลุ่มเซลล์ประสาทของสมองที่มีอยู่มากมายในสมองภายใต้ขั้วไฟฟ้า (Electrode) นั้นผลการตรวจจะปรากฏเป็นกราฟ บนแถบกระดาษหรือในจอภาพ หลังจากได้รับสัญญาณไฟฟ้าผ่านเครื่องตรวจซึ่งได้ทำการขยายสัญญาณไฟฟ้าให้มากขึ้นเป็นหลายร้อยเท่า 

ข้อบ่งชี้ในการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง

1. ผู้ป่วยที่สงสัยภาวะชัก เช่นหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการเกร็งกระตุกตามกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ หรือเวียนศีรษะโดยไม่ทราบสาเหตุ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงฉับพลัน อาการทางจิตที่ไม่ทราบสาเหตุ
2. เพื่อวินิจฉัยโรคลมชักและเพื่อช่วยแยกชนิดของโรคลมชัก เช่น โรคชักเหม่อลอยในเด็ก absence Seizure โรคชักทั้งตัว Generalize epilepsy,Pseudo epilepsy
3. เพื่อวินิจฉัยโรคบางชนิดเช่นภาวะ Hepatic Encephalopathy,โรควัวบ้า Brain tumor
4. เพื่อช่วยวางแผนการรักษาภาวะ Status epilepticus โดยการทำ EEG monitoring
5. เพื่อช่วยในการเลือกยากันชักที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
6. เพื่อช่วยวางแผนในการหยุดยากันชักในผู้ป่วยโรคลมชัก
7. เพื่อวางแผนในการผ่าตัดในผู้ป่วยลมชักที่ดิ้อต่อยา(Refractory epilepsy) โดยการทำ Video EEG monitoring
8. เพื่อช่วยวินิจฉัยและวางแผนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติที่เกี่ยวกับการนอน (Sleep Disorder) เช่น  Obstructive Sleep apnea, Narcolepsy โดยการทำ Polysomnogram
9. เพื่อช่วยในการยืนยันภาวะสมองตาย (Brain Death)

<