เมื่อหมอออร์โธ เป็นอัมพฤกษ์

              นพ.วีระยุทธ เชาว์ปรีชา ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ รพ.วิภาวดี ขอถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ตรง เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับผู้ที่ได้อ่านบทความนี้ ในการดูแลสุขภาพตัวเอง และป้องกันไม่ให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง พร้อมทั้งอยากให้กำลังใจสำหรับผู้ป่วยและญาติ ที่จะต่อสู้กับโรคอัมพฤกษ์อัมพาตที่เกิดขึ้นให้ดีที่สุด เช้าวันที่ 27 ม.ค. 2557 ผมตื่นขึ้นมาเพื่อที่จะลงจากเตียงรู้สึกมึนศีรษะ เดินเซ แขนและขาซ้ายขวาอ่อนแรง แต่ยังพอเดินเกาะฝาผนังไปเข้าห้องน้ำ อาบน้ำ  แปรงฟันได้ รู้สึกตัวเองแล้วว่าน่าจะมีปัญหาเรื่องหลอดเลือดสมองตีบตัน จึงรีบแต่งตัวให้ภรรยาขับรถพาไปโรงพยาบาล เมื่อถึงห้องฉุกเฉิน พยาบาลได้วัดสัญญาณชีพ ความดันสูง 190/100 มม. ปรอท มีไข้สูง 38.5 c  แพทย์ห้องฉุกเฉินสั่งตรวจคลื่นแม่เหล็กสมอง และติดต่ออายุรแพทย์สมองทันที ผมได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วนอนพักในห้องไอซียู ผมได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมแพทย์และพยาบาลอย่างดีที่สุด ผมมั่นใจว่าคงจะดีขึ้นในเวลาไม่กี่วัน เพราะยังเคลื่อนไหวมือแขนได้ดี ในวันต่อมาผมรู้สึกปวดชา แขน ขา ซีกขวามากขึ้นเหมือนมีอะไรมาทับ เริ่มอ่อนแรงมากขึ้นข้อเท้า นิ้วเท้าข้างขวาขยับไม่ได้ ผมเป็นอัมพฤกษ์ไปแล้ว! ผมเกิดคำถามกับตัวเอง ? ทำไมโรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นกับผม / ผมจะใช้ความรู้มารักษาตัวเองร่วมกับแพทย์ที่ดูแลใกล้ชิดได้อย่างไร เพื่อที่จะกลับมาทำงานได้คือ การเป็นแพทย์ผ่าตัดจุลศัลยกรรม และที่สำคัญคือกลับมาเล่นกอล์ฟได้อีกครั้ง จากวันที่ป่วยระยะเวลาผ่านไป 3 ปี ปัญหาที่ใหญ่มากในชีวิตก็กลายเป็นบทเรียน บททดสอบ อันทรงคุณค่า ผมสามารถกลับมาทำงานได้ปกติ ผ่าตัดจุลศัลยกรรมต่อนิ้วได้เป็นผลสำเร็จ และเริ่มกลับมาแข่งกอล์ฟได้ร่วมกับการแข่งขันเดินวิ่ง 3 – 5 กม. ซึ่งได้ลงแข่งขันมาแล้วทั้งหมด 5 ครั้ง

         ผมขอสรุปเรื่องที่เกิดขึ้นกับผมให้เป็นความรู้ดังนี้

         ปัจจัยเสียงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

        1.ปัจจัยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ -อายุมากกว่า 45 ปี -พันธุกรรม -มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ผ่าตัดลิ้นหัวใจ ผมมีปัจจัยเสี่ยงทั้งข้อ 1 และข้อ 2

       2.ปัจจัยที่สามารถเปลี่ยนแปลงควบคุมได้

           2.1น้ำหนักตัวมากเกิน คำนวณได้จากค่า Body mass Index (BMI) ค่า BMI ที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 21 – 25 โดยใช้ นน.ตัว (กก.) เช่น 80 = 28.34 ความสูง (เมตร) ยกกำลัง 2 1.68 x 1.68

         2.2อาหาร แต่เดิมชอบอาหารหวาน มัน เค็ม ปัจจุบันไม่ทานอาหารประเภทของทอดและงดอาหาร หวาน มัน เค็ม กินผัก ผลไม้ ปลา เป็นส่วนใหญ่ ไม่ทานอาหารเย็น กินผลไม้ เช่น ฝรั่ง แตงโม กล้วย แทน

         2.3การออกกำลังกาย ก่อนที่จะป่วยผมเล่นกอล์ฟสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง ปัจจุบันผมออกกำลังกายแบบแอโรปิค คือ ต่อเนื่อง 20 – 30 นาที สัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้ง ในปีแรกที่ยังเดินและทรงตัวไม่ได้ ก็ได้หัดเดินในน้ำออกกำลังกายแขนขาในน้ำ 1 ชม. 360 วันใน 1 ปี หลังจากที่เริ่มเดินได้ ว่ายน้ำได้ ฝึกเดินสายพาน 20 นาที ว่ายน้ำเฉลี่ย 20 รอบ (ประมาณ 400 เมตร) และได้เริ่มฝึกใช้มือหัดคัดลายมือทั้งภาษาไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น ทุกวันเป็นเวลา 3 เดือนเต็ม จนสามารถเขียนหนังสือได้แบบเดิม ฝึกทำกิจกรรม ทำงานบ้าน ล้างจาน เช็ดโต๊ะ ช่วยทำครัว จนทำได้คล่อง ภรรยาชอบมากให้ฝึกต่อเนื่องจนทุกวันนี้ หลังจากที่ป่วย 1 ปี

<