ภาวะโลหิตจาง

  • โลหิตจาง (Anemia) คือภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
  • ภาวะโลหิตจางเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แบ่งเป็น 3 ปัจจัยหลัก คือการสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง การสูญเสียเม็ดเลือดแดงอย่างฉับพลัน และการที่เม็ดเลือดแดงถูกทำลายเร็วกว่าปกติ
  • ผู้ที่มีภาวะโลหิตจางจะมีอาการเวียนศีรษะ อ่อนเพลียง่าย หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว มือเท้าเย็น และผิวซีด ตัวเหลือง หากไม่รับการรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้หัวใจวายได้
  • โลหิตจางป้องกันได้ โดยการกินอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 และกรดโฟเลต รวมถึงดื่มน้ำให้เพียงพอ และหมั่นตรวจสุขภาพ

โลหิตจางเป็นภาวะที่หลายคนมองข้าม แต่รู้หรือไม่ว่าหากปล่อยไว้นาน อาจกลายเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิตและนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้

ซึ่งในบทความนี้จะพาไปรู้จักกับโรคโลหิตจางให้มากขึ้น ทั้งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ อาการที่แสดงและแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เพื่อการดูแลสุขภาพของตนเองและลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคโลหิตจางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โลหิตจาง (Anemia) คืออะไร

โลหิตจาง (Anemia) คือภาวะที่ร่างกายมีเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ ทำให้ไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การขาดสารอาหารบางชนิด การสูญเสียเลือดเรื้อรัง หรือเป็นโรคบางชนิด

อาการของโรคโลหิตจางอาจแตกต่างกันไปตามสาเหตุแต่โดยทั่วไปจะมีอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หายใจลำบาก ตัวซีดหรือตัวเหลือง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น หัวใจวาย หมดสติ หรือเสียชีวิตได้

สาเหตุโลหิตจาง เกิดจากอะไร

สาเหตุโลหิตจาง เกิดจากอะไร

โรคโลหิตจางเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 สาเหตุหลักๆ ได้แก่

ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง

มักเกิดจากการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น ธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 และกรดโฟเลต หรืออาจเกิดจากโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น ไตวายเรื้อรัง โรคตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคในไขกระดูก เป็นต้น รวมไปถึงการตั้งครรภ์ โดยผู้ที่ตั้งครรภ์จะมีปริมาาณน้ำเหลืองในเลือดมากกว่าปกติ ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้

สูญเสียเม็ดเลือดแดงในกระแสเลือดแบบฉับพลัน

โลหิตจางสามารถเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุที่ทำให้เสียเลือดเฉียบพลัน เช่น การผ่าตัด การคลอดบุตร การตกเลือด หรือประสบอุบัติเหตุที่มีบาดแผลเลือดออกมาก รวมไปถึงการเสียเลือดเรื้อรัง อย่างการมีแผลในกระเพาะอาหาร เป็นโรคริดสีดวงทวาร มีประจำเดือนมามากผิดปกติ เป็นต้น

เม็ดเลือดแดงถูกทำลายเร็วกว่าปกติ

ในผู้ที่มีโรคเลือดทางพันธุกรรมหรือมีการติดเชื้อ ร่างกายจะมีการทำลายเม็ดเลือดแดงเร็วกว่าปกติ เช่น โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) โรคเม็ดเลือดแดงแตกจากกลไกทางภูมิคุ้มกัน (Autoimmune Hemolytic Anemia) โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle cell anemia: SCD) หรือการติดเชื้อโปรโตซัวในกลุ่มพลาสโมเดียม (Plasmodium spp.) ที่เป็นสาเหตุของการเป็นโรคไข้มาลาเรีย เป็นต้น

สังเกตอาการโลหิตจาง

ผู้ที่เป็นโรคโลหิตจางจะมีอาการมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดโรค โดยผู้ที่มีภาวะโลหิตจางในระยะแรก อาจไม่แสดงอาการออกมา แต่จะค่อยๆ เพิ่มระดับความรุนแรงของอาการจนสังเกตได้

อีกทั้งผู้ที่มีภาวะโลหิตจางโดยมีสาเหตุจากการเป็นโรคบางชนิดนั้น ร่างกายจะแสดงอาการของโรคชนิดนั้นแทน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะโลหิตจางอยู่ จนกว่าจะได้รับการตรวจความสมบูรณ์ของเลือด ภาวะโลหิตจางจึงเป็นภัยเงียบที่หลายคนอาจไม่รู้ตัว ทั้งนี้ผู้ที่เป็นโรคโลหิตจางจะมีสัญญาณอาการบ่งบอกดังต่อไปนี้

  • เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • เวียนศีรษะ หน้ามืด
  • หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น
  • หายใจลำบาก ไม่สามารถหายใจเข้าลึกๆ ได้
  • มือเท้าเย็นบ่อยๆ เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงส่วนมือและส่วนเท้าไม่เพียงพอ
  • ผิวซีด ตัวเหลือง ตาเหลือง

กลุ่มเสี่ยงโลหิตจางมีใครบ้าง

กลุ่มเสี่ยงโลหิตจางมีใครบ้าง

กลุ่มเสี่ยงที่จะมีภาวะโลหิตจาง ได้แก่

  • ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่มีการสูญเสียเลือดจากประจำเดือน อาจทำให้ระดับธาตุเหล็กลดลง
  • หญิงตั้งครรภ์ผู้ที่ตั้งครรภ์จะมีปริมาณน้ำเหลืองในเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้
  • ผู้สูงอายุเป็นช่วงวัยที่การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายลดลง เช่น การดูดซึมสารอาหารลดลง ไขกระดูกทำงานน้อยลง ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเช่น โรคไตเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคตับ และโรคแพ้ภูมิตัวเอง ซึ่งส่งผลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง

ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะโลหิตจาง

หากมีภาวะโลหิตจางเพียงเล็กน้อย อาจไม่แสดงอาการใดๆ แต่หากมีโลหิตจางมากและไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เนื่องจากออกซิเจนที่หล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือด ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวายจนเสียชีวิตได้

วินิจฉัยภาวะโลหิตจางโดยแพทย์

แพทย์จะวินิจฉัยภาวะโลหิตจางโดยเริ่มจากการซักประวัติสุขภาพและโรคประจำตัวของผู้เข้ารับการตรวจ รวมถึงประวัติสุขภาพของคนในครอบครัว จากนั้นจะทำการตรวจร่างกายและตรวจเลือดเพื่อประเมินค่าฮีโมโกลบิน

โดยค่ามาตรฐานในผู้ชายไม่ควรต่ำกว่า 13 กรัม/เดซิลิตร และในผู้หญิงไม่ควรต่ำกว่า 12 กรัม/เดซิลิตร จากนั้นทำการวินิจฉัยภาวะโลหิตจางด้วยวิธีการ ดังนี้

  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC)เป็นการตรวจที่ช่วยวิเคราะห์ปริมาณ ขนาด และรูปร่างของเม็ดเลือดแดง รวมถึงวัดระดับฮีโมโกลบิน ฮีมาโตคริต (Hct%) และประเมินเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด รวมถึงระดับวิตามินบี 12 และโฟเลต
  • การตรวจสเมียร์เลือด (Peripheral Blood Smear)เป็นการตรวจโดยนำตัวอย่างเลือดมาหยดลงบนสไลด์และย้อมสี เพื่อตรวจสอบลักษณะของเม็ดเลือดแดง รวมถึงประเมินปริมาณฮีโมโกลบิน
  • การเจาะตรวจไขกระดูก (Bone Marrow Aspiration or Biopsy)ช่วยตรวจสอบเซลล์และองค์ประกอบต่างๆ เพื่อวินิจฉัยโรคโลหิตวิทยาซับซ้อน เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคไขกระดูกฝ่อ หรือภาวะโลหิตจางที่ไม่ทราบสาเหตุ

แนวทางการรักษาภาวะโลหิตจาง

แนวทางการรักษาภาวะโลหิตจาง

การรักษาภาวะโลหิตจางขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความรุนแรงของแต่ละบุคคล โดยแพทย์จะวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม โดยแนวทางการรักษาภาวะโลหิตจางสามารถทำได้ ดังนี้

  • โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กมักให้รับประทานธาตุเหล็กเสริมเพื่อเพิ่มปริมาณฮีโมโกลบิน หากภาวะโลหิตจางเกิดจากการเสียเลือด เช่น ภาวะตกเลือดจากอุบัติเหตุหรือเลือดออกภายใน อาจต้องใช้วิธีผ่าตัดเพื่อห้ามเลือด
  • โลหิตจางจากการขาดวิตามินผู้ที่ขาดวิตามินบี 12 หรือโฟเลต อาจให้รับวิตามินเสริม เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถผลิตเม็ดเลือดแดงได้อย่างเหมาะสม
  • โลหิตจางจากโรคเรื้อรังเน้นไปที่การควบคุมโรคเรื้อรังที่เป็นต้นเหตุ เช่น ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง แพทย์อาจให้ฮอร์โมนอีริโทรโพอิติน (Erythropoietin) เพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง
  • โลหิตจางจากโรคของไขกระดูกการรักษาขึ้นอยู่กับชนิดของโรคและระดับความรุนแรง อาจมีการใช้ยา การทำเคมีบำบัด การฉายรังสี ปลูกถ่ายไขกระดูกหรือสเต็มเซลล์
  • โลหิตจางจากการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงหากเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง แพทย์อาจใช้ยากดภูมิคุ้มกันเพื่อลดการทำลาย พร้อมทั้งเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • โลหิตจางจากโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวเน้นที่การบรรเทาอาการ เช่น การให้ออกซิเจน การให้ของเหลวทางหลอดเลือดดำเพื่อลดอาการปวด การใช้ยาบรรเทาปวด รวมถึงการให้กรดโฟลิกและยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
  • โลหิตจางจากโรคธาลัสซีเมียในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจรักษาโดยการถ่ายเลือดเป็นประจำ การให้ยาขับธาตุเหล็ก การผ่าตัดม้าม หรือการปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งเป็นการรักษาที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยบางรายหายขาดจากโรคได้

การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง

ภาวะโลหิตจางสามารถป้องกันได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงอย่างเพียงพอ โดยมีแนวทางการดูแลตัวเองดังนี้

  • รับประทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 และกรดโฟเลต เช่น ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง ผักใบเขียวเข้ม ถั่ว และธัญพืช โดยเฉพาะในผู้ที่ตั้งครรภ์
  • รับประทานวิตามินเสริม โดยปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว

การรักษาภาวะโลหิตจางที่โรงพยาบาลวิภาวดี

การรักษาภาวะโลหิตจางที่โรงพยาบาลวิภาวดี

โรงพยาบาลวิภาวดีใส่ใจในสุขภาพคนไทย โดยให้บริการด้านสุขภาพที่ได้มาตรฐาน พร้อมตรวจวินิจฉัย ให้คำปรึกษา และรักษาโรคโลหิตจางโดยทีมแพทย์เฉพาะทางมากประสบการณ์ นอกจากนี้ ยังมีโปรโมชั่นพิเศษเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายอีกด้วย

  • โรงพยาบาลได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ISO 9001:2008 และ Hospital Accreditation (HA)
  • ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางครบวงจร รองรับการรักษาโรคหลากหลายประเภท
  • แพทย์เฉพาะทางชำนาญการ พร้อมให้การดูแลอย่างมืออาชีพ
  • ใช้อุปกรณ์และนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ทันสมัยและปลอดภัย
  • รองรับผู้ป่วยฉุกเฉิน พร้อมสิทธิประโยชน์จากประกันสุขภาพที่หลากหลาย
  • ห้องพักผู้ป่วยสะอาด สงบ บรรยากาศเหมาะสำหรับการพักฟื้น

เข้ารับการตรวจและรักษาภาวะโลหิตจางได้ที่โรงพยาบาลวิภาวดี ที่อยู่ 51/3 ถ.งามวงศ์วาน จตุจักร กรุงเทพฯ หรือโทรเพื่อนัดหมายก่อนเข้ารับการรักษาได้ที่เบอร์ 02-561-1111 หรือ 02-058-1111 และสำหรับตัวแทนประกันชีวิต สามารถติดต่อผ่าน LINE: @vibhainsurance

สรุป

โลหิตจางเป็นภาวะที่ร่างกายมีเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากสาเหตุที่หลากหลาย ทั้งการขาดสารอาหาร การป่วยเป็นโรคบางชนิด การตั้งครรภ์ และการเสียเลือดฉับพลัน เป็นต้น ผู้ป่วยภาวะนี้มักจะมีอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ มือเท้าเย็น ผิวซีด หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา อาจทำให้หัวใจทำงานหนักจนหัวใจวายและเสียชีวิตได้

ควรดูแลตนเองด้วยการทานอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 และกรดโฟเลต ดื่มน้ำให้เพียงพอ และหมั่นตรวจสุขภาพที่สถานพยาบาลที่น่าเชื่อถือ อย่างโรงพยาบาลวิภาวดีที่พร้อมบริการทั้งด้านคุณภาพการรักษาและความประทับใจ ให้ห่างไกลจากโรคโลหิตจาง และเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้ใช้บริการ

FAQ

เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับภาวะโลหิตจางได้ดียิ่งขึ้น เราได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อย พร้อมคำตอบเพื่อให้คลายความสงสัยแล้ว

มีภาวะโลหิตจางห้ามกินอะไร

หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ไปขัดขวางการดูดซึมของสารอาหาร เช่น นม ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในระหว่างมื้ออาหาร หรือหลังกินอาหาร รวมถึงผักใบเขียวที่มีรสฝาดบางชนิด เช่น กระถิน ขี้เหล็ก ขมิ้นชัน เป็นต้น

มีภาวะโลหิตจาง ควรเลือกกินอย่างไร

รับประทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก เช่น ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง อาหารทะเล ผักใบเขียวเข้ม ถั่ว และธัญพืช รวมไปถึงอาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี 12 และกรดโฟเลต เช่น ไข่ เนื้อวัว เนื้อปลา ผักผลไม้สด และข้าวกล้อง เป็นต้น

ภาวะโลหิตจางในเด็ก ต้องมีกี่เปอร์เซ็นต์

สำหรับเด็กที่ตรวจพบว่ามีระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่า 11 กรัมต่อเดซิลิตร หรือค่าฮีมาโตคริตต่ำกว่า 33% มีแนวโน้มว่าจะเป็นภาวะโลหิตจางได้

โลหิตจางอันตรายมากไหม

หากไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้ เนื่องจากภาวะโลหิตจางจะมีออกซิเจนหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ หัวใจจึงทำงานหนักมากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นกลุ่มโรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจขาดเลือด อาจนำไปสู่หัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้

มีเม็ดเลือดขาวน้อย เกิดจากอะไร

เม็ดเลือดขาวต่ำเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งความผิดปกติของไขกระดูก การป่วยเป็นโรคบางชนิด เช่น โรคมะเร็ง หรือการติดเชื้อไวรัสอย่างรุนแรง ทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานหนัก ปริมาณเม็ดเลือดขาวจึงลดลงอย่างรวดเร็ว

“ภูมิใจที่ได้ดูแลคุณ”

สอบถามรายละเอียดและนัดหมายล่วงหน้าที่

02-561-1111

02-058-1111


ทีมแพทย์ภาวะโลหิตจาง