โรคไตจากเบาหวาน
โรคไตจากเบาหวาน
ผู้ที่เป็นเบาหวานมานานหลายปี จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะต่าง ๆโดยเฉพาะหลอดเลือดทั่วร่างกายจะแข็ง และหนา ทำให้เลือดไป เลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง ถ้าควบคุมเบาหวานไม่ดี ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จะเกิดเร็วกว่าปกติ โดยเฉลี่ยโรคไตมักจะเกิดตามหลังโรคเบาหวานมากกว่า 10 ปี ขึ้นไป อ่านรายละเอียดต่อได้เลยค่ะ
โรคไตจากเบาหวาน
- ผู้ที่เป็นเบาหวานมานานหลายปี จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะต่าง ๆ
- โดยเฉพาะหลอดเลือดทั่วร่างกายจะแข็ง และหนา ทำให้เลือดไป เลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง
- ถ้าควบคุมเบาหวานไม่ดี ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จะเกิดเร็วกว่าปกติ
- โดยเฉลี่ยโรคไตมักจะเกิดตามหลังโรคเบาหวานมากกว่า 10 ปี ขึ้นไป
- ถ้าเริ่มมีอาการบวมตามแขน ขา ใบหน้า และลำตัว เป็นการบ่งชี้ว่าเริ่มมีความผิดปกติทางไต
- การตรวจพบโรคไตระยะเริ่มแรกในผู้ป่วยเบาหวาน คือความดันโลหิตสูง ไข่ขาวหรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ
- เมื่อไตเริ่มเสื่อมลง จะต้องเจาะเลือดเพื่อตรวจหน้าที่ไต โดยค่ายูเรียไนโตรเจน ( BUN ) และคริเอตินิน ( Creatinine ) จะสูงกว่าคนปกติ
ภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- อาการบวม
- ไตอักเสบจากการติดเชื้อ
- ไตวายฉับพลัน
- ไตวายเรื้อรัง
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไตในผู้ป่วยเบาหวาน
โรคไตพบประมาณ 30 – 35 % ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไต ได้แก่
- เพศชาย
- พันธุกรรม
- ระดับน้ำตาลสูง
- ความดันโลหิตสูง
- โปรตีนรั่วในปัสสาวะ
- การสูบบุหรี่
ทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไตจากเบาหวาน
- มีอาการซีด
- บวม
- ความดันโลหิตสูง
- อาการคันตามตัว
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- ระยะสุดท้ายจะอ่อนเพลีย คลื่นใส้ อาเจียน
อย่างไรก็ดี การเกิดโรคไตจากเบาหวาน มักมีสิ่งตรวจพบเพิ่มเติมจากผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจากสาเหตุอื่นซึ่งก็คือ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวาน ได้แก่
การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อป้องกันโรคไต
- ตรวดปัสสาวะ เพื่อหาโปรตีนทุกปี
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เท่ากับ หรือใกล้เคียงปกติ เท่าที่สามารถทำได้
- รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในเกณท์ปกติ
- หลีกเลี่ยงการใช้ยา หรือ สารที่เป็นอันตรายต่อไต เช่น ยาต้านการอักเสบระงับปวด สารทึบรังสี
- สำรวจ และให้การรักษาโรค หรือ ภาวะอื่นที่ทำให้ไตเสื่อมสมรรถภาพ เช่น การติดเชื้อทางปัสสาวะ
การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน และเป็นโรคไต
- ตรวดปัสสาวะและเลือด เพื่อดูหน้าที่ไตเป็นระยะๆ
- กินยาตามแพทย์สั่งติดต่อกันและพบแพทย์ตามนัด
- งดบุหรี่ และแอลกอฮอล์ ซึ่งมีผลต่อหลอดเลือด
- ถ้าต้องรับประทานยาแก้ปวด หรือ ยาอื่น ๆ ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ และเภสัชกร
- เมื่อมีอาการบวม ควรงดอาหารเค็ม รสจัด หมักดอง และอาหารกระป๋อง
- ควบคุมความดันโลหิตให้ปกติ หรือ ใกล้เคียงมากที่สุด กินยาสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาเองเพราะคิดว่าสบายดีแล้ว
- ระวังอาหารที่มี โคเลสเตอรอลสูง
- รับประทานผักและปลามากขึ้น
- ควรตรวจอวัยวะอื่น ๆ ด้วย เช่น ตา หัวใจ ปอด
- สำรวจผิวหนัง และเท้าให้สะอาด ไม่มีแผลเรื้อรัง
- ระหว่างการรักษาด้วยเครื่องไตเทียม ควรรับประทานเนื้อสัตว์ และอาหารเค็มให้น้อยที่สุด
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเคร่งครัด
ตัวอย่างอาหารไขมันสูงที่ควรระวัง
1. อาหารโคเลสเตอรอลสูง
- อาหารทะเล
- เนื้อ – หมู ติดมัน
- กุ้ง
- หอย
- ทุเรียน
- เนย
2. อาหารไตรกลีเซอร์ไรด์สูง
- อาหารจำพวกแป้ง
- ของหวาน
- ผลไม้รสหวาน
- เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์
ข้อเขียนโดย ศจ.พญ.ลีนา องอาจยุทธ สาขาวิชาวักกะวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นายกสมาคมโรคไต แห่งประเทศไทย