การควบคุมอาหารกับโรคเบาหวาน
จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ปัจจุบันคนไทยอายุมากกว่า 35 ปี ป่วยเป็นโรคเบาหวานมากถึง 2.4 ล้านคน โดยมากกว่าครึ่งไม่ทราบว่าเป็นโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่ที่ไปพบแพทย์เพราะมีอาการอย่างอื่น เช่น แผลติดเชื้อ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เป็นต้น
โดยอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานแบ่งง่ายๆ เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. อาหารที่ “ไม่ควร” รับประทาน
น้ำตาลทุกชนิดเช่น น้ำตาลอ้อย น้ำตาลปิ๊บ น้ำตาลก้อน น้ำผึ้ง เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสม ขนมหวานต่างๆ
ผลิตภัณฑ์นม ได้แก่ นมข้นหวาน นมปรุงแต่งรสหวาน โยเกิร์ตปรุงแต่งรส นมเปรี้ยว
ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้ตากแห้ง เช่น กล้วยตาก ลูกเกต อินทผลัม รวมถึงผลไม้กระป๋อง
อาหารปรุงแต่งด้วยไขมันอิ่มตัว เช่นไขมันสัตว์ ไส้กรอก หมูสามชั้น น้ำมันมะพร้าว แกงกะทิ เนยเทียม ครีม
2. อาหารที่รับประทานได้แต่ต้อง “จำกัดปริมาณ”
อาหารประเภทข้าว แป้ง เช่น ขนมปัง เผือก มัน ฟักทอง อาหารเหล่านี้มีคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่าน้ำตาล และมีโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร โดยอาหารจำพวกแป้งจะถูกย่อยเป็นน้ำตาล และเป็นแหล่งพลังงานที่จำเป็นต่อร่างกาย ผู้ที่เป็นเบาหวานควรรับประทานให้เหมาะสมกับแรงงานและกิจกรรมที่ทำ การรับประทานข้าวน้อยเกินไปอาจเกิดผลเสียทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้ การเลือกรับประทานข้าวควรเลือกเป็น ข้าวกล้อง หรือ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เพราะมีใยอาหารสูง
ผลไม้ ผลไม้แต่ละชนิดจะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตแตกต่างกัน ยิ่งรสหวานมากยิ่งมีน้ำตาลสูง เช่น ทุเรียน มะขามหวาน ลำไย องุ่น เงาะ มะม่วงสุก ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทานผลไม้ที่ไม่หวาน ในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน เช่น รับประทานวันละ 3 มื้อ มื้อละ7-8 ชิ้นพอดีคำ
3. อาหารที่รับประทานได้ “ไม่จำกัดปริมาณ”
ผักก้าน ผักใบ ผักใบเขียวทุกชนิด ควรรับประทานทุกวัน ทุกมื้ออาหาร รับประทานให้หลากหลายสี อาหารเหล่านี้แคลอรี่ต่ำ และมีใยอาหารสูง ทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง อีกทั้งใยอาหารยังช่วยดูดซับน้ำตาลไม่ให้เข้าสู่กระแสเลือดเร็วเกินไป ทำให้ร่างกายดึงน้ำตาลไปใช้ได้อย่างพอดี ได้แก่ ผักกาดขาว คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ตำลึง บวบ ฟัก แตงกวา น้ำเต้า ถั่วฝักยาว ถั่วงอก เป็นต้น จะรับประทานในรูปผักสดหรืผักต้มก็ได้ แต่ไม่แนะนำในรูปน้ำผักปั่น โดยเฉพาะผักปั่นแยกกากทำให้เราไม่ได้รับใยอาหารเท่าที่ควร
องค์การอนามัยโลกกำหนดให้บริโภคผักผลไม้อย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน หรือเทียบเท่ากับปริมาณ 4-6 ทัพพี ถ้าเป็นผักลวกสุกต้องเพิ่มขึ้น 2 เท่า งานวิจัยพบว่าการกินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจร้อยละ 33 และโรคมะเร็งร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับคนที่กินผัก ผลไม้ ไม่ถึงเกณฑ์
ผู้ที่เป็นเบาหวานควรรับประทานอาหารอย่างไร?
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรเรียนรู้ชนิดและปริมาณของอาหารที่รับประทาน และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ประกอบด้วยข้าวหรืออาหารแป้งอื่น ๆ เนื้อสัตว์ไม่ติดทัน ไข่ น้ำนมพร่องมันเนย ผักทั้งสีเขียวและสีเหลือง ผลไม้ที่หวานน้อยในปริมาณที่แนะนำ สำหรับไขมันควรเลือกน้ำมันพืช จำพวกน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำ น้ำมันถั่วลิสง ในการผัดแทนการทอดเลี่ยงการใช้ไขมันอิ่มตัวเป็นประจำ เช่น น้ำมันหมู กะทิ เนย ฯลฯ
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานมิได้แตกต่างไปจากอาหารที่รับประทานกันในครอบครัว เพียงแต่ผู้เป็นโรคเบาหวานต้องคำนึงถึงปริมาณอาหารแต่ละชนิดที่ได้รับโดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาล แป้งและไขมัน ซึ่งจะมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือด
ปริมาณข้าวหรือแป้งชนิดอื่นที่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมิได้แตกต่างไปจากอาหารที่รับประทานกันในครอบครัว เพียงแต่ผู้เป็นโรคเบาหวานต้องคำนึงถึงปริมาณอาหารแต่ละชนิดที่ได้รับโดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาล แป้งและไขมัน ซึ่งจะมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือด
ปริมาณข้าวหรือแป้งชนิดอื่นที่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้รับ เช่น ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ควรเหมาะกับน้ำหนักตัว และแรงงานที่ใช้ เช่น หญิงที่น้ำหนักตัวปกติและทำงานเบารับประทานข้าวได้มื้อละ 2 – 3 ทัพพีเล็ก ชายที่ไม่อ้วนทำงานเบาถึงปานกลาง รับประทานข้าวได้มื้อละ 3 – 4 ทัพพีเล็ก
ข้าว 1 ทัพพีเล็ก = ขนมปังปอน 1 แผ่น
หรือ = ก๋วยเตี๋ยว 1 ทัพพี
= ขนมจีน 1 ทัพพี
*ทัพพีเล็ก หมายถึง ทัพพีในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ตักพูนพอควร ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรใช้แนวทางการเลือกอาหารที่แนะนำไว้ และก่อนรับประทาน
อาหารควรสำรวจรายการอาหารก่อน ถ้าเป็นอาหารบุพเฟ่ซึ่งมีอาหารหลากหลายควรดูให้ทั่ว และวางแผนการรับประทานอาหารในมื้อนั้นควรตักข้าวในปริมาณที่เคยรับประทาน ถ้าต้องการรับประทานทั้งข้าวและขนมปัง หรือแป้งชนิดอื่นด้วย ควรลดปริมาณแต่ละอย่างลง เลือกกับข้าวที่มีไขมันน้อยและมีผักมาก เช่น ต้ม ย่าง ยำ และผัด เนื้อสัตว์ตัดส่วนที่ติดมันและหนังออก เลี่ยงน้ำจิ้มที่มีรสหวาน หรือจิ้มแต่น้อย
ผู้เป็นโรคเบาหวานอาจรับประทานขนมได้บ้างเป็นครั้งคราว แต่ควรเลือกขนมที่หวานน้อย และต้องวางแผนลดข้าว อาหารที่มีไขมัน รวมทั้งงดผลไม้ในมื้อนั้นด้วย ทั้งนี้เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
เช่น ถ้ารับประทานเค้ก 1 ชิ้นเล็ก (ขนาด 1 x 1 นิ้ว) หรือถ้าขนมที่มีน้ำเชื่อม เช่น ซาหริ่ม ทับทิมกรอบ ให้ตักเพียงครึ่งถ้วย และลดข้าวลงประมาณ 1 ทัพพี จากที่เคยรับประทานไม่ควรงดข้าวและรับประทานแต่ขนมเพราะจะทำให้ไม่สามารถควบคุมรับน้ำตาลในเลือดได้และไม่ควรรับประทานขนมที่หวานจัดมาก
เช่น ขนมเชื่อม ทองหยิบ ทองหยอด สังขยา การรับประทานขนมหวานนี้ ผู้เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานแต่น้อย พอคลายความ อยากเท่านั้น และไม่ควรทำบ่อย อาจทำในขณะที่ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเท่านั้น สำหรับเครื่องดื่ม ควรเลือกน้ำเปล่าหรือโซดาแทนน้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หากจะดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ควรดื่มหลังจากรับประทานอาหารไปแล้ว
และดื่มแต่เพียงเล็กน้อย เช่น เบียร์หรือไวน์ ไม่เกิน 2 แก้ว ถ้าเป็นวิสกี้เจือจาง (45 มิลลิลิตร) ไม่เกิน 2 แก้ว สำหรับผู้ที่ยังติดรสหวาน อาจใช้น้ำตาลเทียม ซึ่งให้รสหวาน แต่ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลใน เลือดเพิ่ม
การนับคาร์บหรือคาร์โบไฮเครต
คาร์โบไฮเครตเป็นอาหารที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบหลักซึ่งเมื่อรับประทานแล้วจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในเลือด พบได้ในอาหาร 4 ประเภทหลัก
ได้แก่ ข้าวแป้ง ผลไม้ นม/โยเกิร์ต ในขณะที่ผักและเนื้อสัตว์ มีน้อย จึงไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลมากนัก
อาหาร 1 คาร์บ คือ อาหารที่มีคาร์โบเดรต ประมาณ 15 กรัม เช่น ข้าวสวย 1 ทัพพี , ข้าวเหนียว 1/2 ทัพพี , ขนมปัง1แผ่น , แอปเปิ้ล 1 ลูก , นมสด 240 ml , น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
ปริมาณเฉลี่ยที่ควรรับประทาน สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ชาย ไม่เกิน 5 คาร์บ ต่อมื้อ
ผู้หญิงไม่เกิน 4 คาร์บ ต่อมื้อ
* หมายเหตุ : ปริมาณข้างต้นเป็นเพียงปริมาณเฉลี่ยเท่านั้น ผู้ป่วยแต่ละรายมีความต้องการคาร์โบไฮเดรตไม่เท่ากัน จึงควรปรึกษานักกำหนดอาหารหรือนักโภชนาการ ถึงปริมาณเหมาะสมอีกครั้ง
การแลกเปลี่ยนคาร์บ หมายถึง อาหารที่คาร์โบไฮเดรต เท่ากับสารอาหารแลกเปลี่ยนกันได้
การคำนวณหาความต้องการคาร์โบไฮเดรตในแต่ละวัน
(ความต้องการพลังงานใน1วัน) ×50÷100= ______กิโลแคลอรี่ = กิโลแคลอรี่÷4=_______กรัมต่อวัน
(คาร์โบไฮเดรต1กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่)
(สัดส่วนของการกระจายพลังงาน CHO50% Prot30% Fat20%)
* ผู้ป่วยสามารถดูตารางแสดงคุณค่าอาหารในหมวดอาหารแลกเปลี่ยนได้
โปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่
การคำนวณหาโปรตีนสำหรับบุคคลทั่วไป อยู่ที่ 0.8-1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น น้ำหนัก 50 กิโลกรัม×0.8 กรัม = 40 กรัมต่อวัน เนื้อสัตว์1ส่วนจะมีโปรตีนอยู่ 7 กรัม
*ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่นปลา , เนื้อสัตว์ , อกไก่ ไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี่
การคำนวณหาความต้องการไขมันในแต่ละวัน
(ความต้องการพลังงานใน1วัน)×30÷100=_______ Kcal.
กิโลแคลอรี่÷9=_______กรัมต่อวัน
น้ำมัน1ช้อนโต๊ะ มีไขมัน 15 กรัม ให้พลังงาน 135 Kcal.
* ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทานไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำมันมะกอก , น้ำมันรำข้าว , น้ำมันถั่วเหลือง
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved