ข้อไหล่ติด
อาการ
มีอาการเจ็บ ปวด ตึง บริเวณบ่า และไหล่ร่วมกับมีอาการไหล่ยึดติด ทำให้ยกแขนข้างนั้นได้ไม่สุดช่วงการเคลื่อนไหวโดยเฉพาะในท่าหวีผมและปลดตะขอเสื้อด้านหลังหรือท่ามือไขว้หลัง
สาเหตุ
ข้อควรปฏิบัติ
การบริหารไหล่
ก่อนบริหารไหล่ ควรประคบร้อนก่อนประมาณ 15-20 นาที การบริหารควรเริ่มจากท่าเบาๆก่อน และค่อยเพิ่มปริมาณขึ้นทีละน้อยๆ
ท่าทางการบริหารไหล่
1.ท่าแกว่งแขน
ยืนก้มตัวไปข้างหน้า แขนข้างดีเท้าบนโต๊ะ ห้อยแขนข้างเจ็บให้ผ่อนคลาย ค่อยๆแกว่งแขน เป็นวงกลมตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกา ทำ 10 ครั้ง วันละ 2-3 รอบ
2.ท่าไต่ฝาผนัง
ยืนหันหน้าเข้าฝาผนัง หลังตรง แขนเหยียดตรง ค่อยๆไต่นิ้วตามผนัง เพิ่มความสูงไปเรื่อยๆจนรู้สึกตึงบริเวณไหล่ค้างไว้นับ 1-10 ทำ 10 ครั้ง วันละ 2-3 รอบ เสร็จแล้วเปลี่ยนท่าเป็นหันข้างแขนด้านเจ็บเข้าฝาผนังค่อยๆกางแขนไล่ขึ้นไปตามฝาผนัง
3.ท่าไขว้หลัง
ยืนตรง ใช้ผ้าเช็ดตัวพาดบ่า มือจับปลายผ้าทั้ง 2 ข้าง โดยแขนดีอยู่ข้างหน้า แขนเจ็บอยู่ด้านหลังค่อยๆใช้แขนข้างดี ดึงผ้าขึ้น-ลง ให้รู้สึกตึงเบาๆบริเวณไหล่ค้างไว้ นับ 1-10 วินาที ทำ 10 ครั้ง วันละ 2-3 รอบ
4.การบริหารด้วยกระบอง
1.ท่ายกแขน ขึ้น-ลง เหนือศีรษะ
2.ท่ายกขึ้นเหนือศีรษะด้านหน้า แล้ววางพาดบนบ่าด้านหลัง
3.ท่ายกไม้เอียงไปทางซ้าย-ขวา
4.ท่าไขว้หลัง ยกไม้ขึ้นลงสลับกันทุกท่า ทำให้รู้สึกตึงเบาๆบริเวณหัวไหล่ ทำท่าละ 10 ครั้ง วันละ 2-3 รอบ
5.ท่าชักรอก
ใช้เชือกคล้องลูกรอก หรือราวโลหะ ที่แขวนเหนือศีรษะโดยที่ปลายเชือกทั้ง 2 ข้าง ผูกติดกับห่วงใช้แขนดี ดึงเชือกขึ้น-ลงช้าๆจนรู้สึกตึงเบาๆบริเวณหัวไหล่ ทำท่าละ 10 ครั้ง วันละ 2-3 รอบ
6.ท่าโหนราว
ทำราวสูงในระดับ ที่ยกแขนเหยียดสุดในท่ายืน ใช้มือเกาะราวผ่อนคลายบริเวณหัวไหล่แล้วค่อยๆย่อตัวลง ให้รู้สึกตึงเบาๆบริเวณไหล่ค้างไว้ นับ 1-10 ทำวันละ 10 ครั้ง วันละ 2-3 รอบ
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved