อาการไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนต้นอักเสบ เป็นการติดเชื้อที่พบได้บ่อย ซึ่งบางครั้งอาจจะอาการน้อย หายได้เอง หรืออาจจะมีอาการรุนแรงมาก มีภาวะแทรกซ้อนของการอักเสบ ของปอด หรือของหัวใจ ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
การออกกำลังกายช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน หรือไม่ ? การออกกำลังกายปานกลาง สม่ำเสมอ เช่น เดิน เล่นกอล์ฟ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการติดเชื้อ ช่วยลดความดันโลหิต ลดน้ำหนักตัว ช่วยสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรงขึ้น การทำงานของระบบไหลเวียน ระบบหายใจดีขึ้น การออกกำลังกายหนักเกิน เช่น วิ่งมาราทอน ปั่นจักรยานทางไกล ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพิ่มขึ้นในระยะแรก แต่หลังจากนั้นปริมาณเม็ดเลือดขาวในร่างกายลดน้อยลงทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดน้อยลง เป็นเวลาหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน ซึ่งระยะนี้ เรียกว่า Open window ทำให้มีโอกาสติดเชื้อสูงขึ้น
Strength of immune defense
กราฟรูปตัวเจ : แสดงความสัมพันธ์ ของการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนลดน้อยลงในผู้ที่ออกกำลังกายปานกลาง แต่เพิ่มขึ้นในผู้ที่ออกกำลังกายหนักเกิน เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกาย
ในระยะไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีการระบาดของไข้หวัด 2009 และที่มีอาการคล้ายกัน ที่เป็นไข้หวัดตามฤดูกาลค่อนข้างสูงแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปหลายสิบประเทศทั่วโลก การป้องกันที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง คือ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่การออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม หรือขณะมีไข้สูง นอกจากมีผลกระทบต่อการเล่นกีฬา เช่น เสียหลักล้ม บาดเจ็บได้ง่าย อาจมีภาวะแทรกซ้อนต่อการกระจายเชื้อโรคไปที่ปอด หรือหัวใจ ทำให้อันตรายถึงชีวิตได้
แนวทางปฏิบัติสำหรับนักกอล์ฟ
การเล่นกอล์ฟ เดิน 8 หลุม เป็นระยะทางเฉลี่ย 6 – 7 กม. เป็นการออกกำลังกายที่ดีมาก ช่วยสร้างภูมิคุ้นกันเพิ่มขึ้น มีโอกาสติดเชื้อจากทางเดินหายใจน้อยลง และในสนามกอล์ฟเป็นพื้นที่เปิดกว้าง อากาศถ่ายเทได้ดี ปริมาณเชื้อโรคที่จะกระจายไปในอากาศน้อยลงมาก
ถ้าเริ่มมีไข้ มีอาการไอ เจ็บคอ มีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
ควรพักรักษา 1 – 3 วัน
1. ไข้สูง 38 องศา ควรพัก จนกว่าอาการจะดีขึ้น
2. มีอาการทั่วไป เช่น น้ำมูกไหล ไอ จาม ปวดเมื่อยตามตัว
อาการที่ควรพบแพทย์
1. มีไข้สูง อาการรุนแรง ควรพบแพทย์
2. อาการเจ็บคอมาก ควรพบแพทย์ อาการเกิดจากการติดเชื้อโรค ที่ต้องกินยารักษา 7 – 10 วัน ป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่อการอักเสบของหัวใจ
3. มีอาการอ่อนเพลียมาก
4. มีอาการท้องเสีย อาเจียน
5. มีอาการเหนื่อย หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
โดยสรุป
1. ถ้ามีอาการ สูงกว่าคอขึ้นไป เช่น น้ำมูกไหล จาม เจ็บคอ อาการดีขึ้นภายใน 1 – 3 วัน เล่นกอล์ฟได้
2. มีอาการ ต่ำกว่าคอลงมา ร่วมด้วย เช่น ปวดเมื่อยตามตัวมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หายใจเหนื่อย หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ อาจจะเป็นโรคที่รุ่นแรง ห้ามเล่นกอล์ฟ
Reference: B.K. PEDERSEN: Exercise and infection Diseases, Text book of Sport Medicine by Blackwell Publishing 2003
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved