อาการปวดศีรษะเป็นอาการป่วยที่พบในรายงานแพทย์มากที่สุด น้อยมากที่พบว่า อาการปวดศีรษะส่อเค้าถึงการเป็นโรคร้ายแรงบางอย่าง
ปวดศีรษะอาการเป็นๆหายๆ
การปวดศีรษะประเภทต่างๆ
เราสามารถแบ่งลักษณะอาการปวดศีรษะปฐมภูมิออกได้เป็น 3 ประเภท แต่หลายคนอาจปวดศีรษะหลายๆ ประเภทพร้อมกันได้
การปวดศีรษะเหตุจากความเครียด
การปวดศีรษะไมเกรน
การปวดศีรษะเฉพาะที่
มีอาการปวดบริเวณรอบดวงตาข้างใดข้างหนึ่งตลอด มักจะเกิดเป็นช่วงๆ และเป็นช่วงเวลาเดียวกันเสมอในแต่ละวัน
ทฤษฎีปวดศีรษะแนวใหม่
นักวิจัยกำลังมุ่งความสนใจไปที่วิถีของเส้นประสาทไทรเจมินัล และสารเคมีในสมองชื่อ ซีโรโตนิน ที่พวกเขาคิดว่าเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง การปวดศีรษะอาจเป็นผลมาจากการเสียสมดุลของสารเคมีในสมอง กล่าวคือ เมื่อปวดศีรษะระดับซีโรโตนินในสมองจะลดต่ำลง ทำให้เกิดการกระตุ้นผ่านเส้นประสาทไทรเจมินัลไปยังหลอดเลือดที่เยื่อหุ้มสมองด้านนอก ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัวจนบวมและอักเสบ เมื่อสมองรับสัญญาณ “เจ็บปวด” ผลก็คือ อาการ “ปวดศีรษะ”นั่นเอง
การดูแลรักษาตนเอง
อาการปวดศีรษะเหตุความเครียดเป็นครั้งคราวอันดับแรก ลองใช้วิธีนวดประคบด้วยความร้อนหรือความเย็นอาบน้ำอุ่นพักผ่อน หรือใช้วิธีผ่อนคลาย ถ้ายังไม่ได้ผลให้กินแอสไพริน (สำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น) หรือ อะเซตามิโนเฟน หรือไอบูโปรเฟน การออกกำลังกายเบาๆ ปริมาณต่ำอาจทำให้อาการปวดศีรษะดีขึ้น ประคบด้วยความร้อนหรือความเย็น
อาการปวดศีรษะซ้ำซาก
บันทึกการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยระบุรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
หากมี ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเร้าให้มากที่สุด และอาจต้องปรับวิถีการใช้ชีวิตบางอย่าง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกาย พอสมควร
อาการปวดศีรษะไมเกรนโดยเฉพาะ
คนที่ปวดศีรษะไมเกรน ถ้ารีบรักษาจะหายเร็ว กินยาแก้ปวดเช่น อะเซตามิโนฟน ไอบูโปรแฟน หรือแอสไพริน (สำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น) ตามขนาดที่แพทย์แนะนำ บางคนอาจบำบัดด้วยการนอนในห้องมืด หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอิน (กาแฟหรือโคล่า)
พบแพทย์
ถ้าใช้วิธีการดูแลรักษาตนเอง 1-2 วัน และอาการปวดยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ แพทย์จะตรวจวินิจฉัยได้ว่า เป็นอาการปวดศีรษะชนิดใด มีสาเหตุจากอะไร และจะพยายามตัดต้นเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป ผู้ป่วยอาจต้องตรวจร่างกายเพิ่มเติม แพทย์จะสั่งยาแก้ปวดขนาดใดขนาดหนึ่งให้ เพื่อระงับอาการปวดชนิดที่แพทย์วินิจฉัยได้ซึ่งยาระงับอาการปวดแต่ละชนิด จะมีสรรพคุณระงับอาการปวดศีรษะบางอย่างโดยเฉพาะ ซึ่งไม่เหมือนกัน
สำหรับผู้ที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนขั้นรุนแรง แพทย์อาจสั่งซูมาทริปแทนยาตัวอื่นๆ ให้ผู้ป่วยซูมาทริปแทนจะทำหน้าที่เหมือนซีโรโตนิน สารเคมีในสมองชนิดหนึ่งถ้าเป็นไมเกรนบ่อยๆแพทย์อาจจ่ายยาป้องกันให้กินทุกวัน
ข้อควรระวัง
ไม่อยากปวดศีรษะ
การกิน การดื่ม หรือการทำกิจกรรมบางอย่าง มีส่วนทำให้คุณปวดศีรษะหรือเปล่า คนที่ไม่อยากปวดศีรษะควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเร้า เหล่านี้ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละคน ที่พบบ่อยคือ
การดูแลเด็ก
เด็กโตและผู้ใหญ่มักปวดศีรษะซ้ำซาก แต่น้อยมากที่จะส่อเค้าถึงโรคร้ายแรงบางอย่าง การปวดศีรษะอาจสัมพันธ์กับโรคติดเชื้อไวรัสหลายชนิด แต่ถ้าเด็กปวดศีรษะบ่อยๆ ทั้งที่สุขภาพปกติ ควรปรึกษาแพทย์ เด็กบางคนอาจปวดศีรษะไมเกรนหรือมีแนวโน้มปวดศีรษะไมเกรน ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมาก่อน อาการคือ เด็กมักจะอาเจียน ตาสู้แสงไม่ได้และอยากนอนตลอดเวลา แต่จะดีขึ้นเองภายใน 2 - 3ชั่วโมง เด็กอาจจะปวดศีรษะเพราะความเครียดที่โรงเรียนมีปัญหากับเพื่อนหรือครอบครัว หรือเป็นผลจากการใช้ยาบางชนิดโดยเฉพาะยาแก้คัดจมูก
ถ้าคิดว่าเป็นการปวดศีรษะเหตุความเครียด ให้ลองวิธีบำบัดโดยไม่ใช้ยา แต่ถ้าเป็นบ่อยๆ คุณต้องช่วยเด็กบันทึกอาการปวดศีรษะเป็นประจำวันทุกวัน อาจต้องให้กินอะเซตามิโนเฟน หรือไอบูโปรเฟนบ้าง แต่ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป้นเวลานาน เพราะยาอาจปกปิดสาเหตุอาการของดรคที่แท้จริง
ถ้าเด็กปวดศีรษะอยู่นานไม่ยอมหาย หรือปวดทันทีทันใด โดยไม่มีเหตุผลสมควรหรือปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ควรปรึกษาแพทย์ รวมถึงกรณีปวดศีรษะเพราะติดเชื้อ ปวดฟัน เจ็บคอจากการติดเชื้อสเตปโตตอคคัสหรือเชื้ออื่นๆ ด้วย และที่สำคัญควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย ถ้าบุคคลในครอบครัวเคยมีประวัติปวดศีรษะไมเกรนมาก่อน เพื่อให้ตรวจวินิจฉัยง่ายขึ้น
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved