เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ บางคนอาจเป็นปีละหลายครั้ง (โดยเฉพาะในเด็กเล็ก และ เด็กที่เพิ่งเข้าโรเรียนในปีแรกๆ อาจเป็นเฉลี่ยประมาณ เดือนละครั้ง) ทำให้ต้องสูญเสียแรงงาน เวลาเรียน และสิ้นเปลืองเงินทองไปปีละมากๆ
ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อไว้รัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัด (เชื้อหวัด) มีอยู่เกือบ 200 ชนิด ส่วนใหญ่ 75-80% เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า Coryza Viruses ประกอบด้วย Rhino Viruses เป็นสำคัญ เชื้อชนิดอื่น ๆ มี Adenoviruses, Respiratory Syncytial Virus
ทำให้เกิดอาการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนต้น (ทำให้เยื่อจมูกบวมและแดง) มีการหลั่งของเมือกออกมาแม้ว่าจะเป็นโรคที่หายเองใน 1 สัปดาห์
โรคนี้สามารถติดต่อกันได้ง่ายโดยการอยู่ใกล้ชิดกัน จึงพบเป็นกันมากตามโรงเรียน โรงงาน และที่ ๆ มีคนอยู่รวมกลุ่มกันมาก ๆ เป็นโรคที่พบได้ตลอดทั้งปี มักจะพบมากในช่วงฤดูฝน ฤดูหนาว หรือในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ส่วนในฤดูร้อนจะพบน้อยลง
เกิดจากเชื้อหวัด ซึ่งเป็นไวรัส (virus) มีอยู่ร่วม 200 ชนิดด้วยกัน การเกิดโรคขึ้นในแต่ละครั้งจะเกิดจากเชื้อหวัดชนิดใหม่ หมุนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ เชื้อหวัดมีอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการไอ จาม หรือหายใจรดกัน
นอกจากนี้ เชื้อหวัด ยังอาจติดต่อโดยการสัมผัสมือกล่าวคือ เชื้อหวัด อาจติดที่มือของคน ๆ นั้น และเมื่อใช้นิ้วมือขยี้ตาหรือแคะจมูก เชื่อก็จะเข้าสูร่างกายของคน ๆ นั้นจนกลายเป็นไข้หวัดได้ ระยะฟักตัว (ระยะตั้งแต่ผู้ป่วยรับเชื้อเข้าไปนกระทั่งมีอาการเกิดขึ้น) 1-3 วัน
มีไข้ตัวร้อนเป็นพัก ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลี่ย ปวดหนักศีรษะเล็กน้อย ไอแห้ง หรือไอมีเสมหะ เล็กนอ้ย ลักษณะสีขาว บางครั้งอาจทำให้รู้สึกเจ็บแถวลิ้นปี่เวลาไอ
ในผู้ใหญ่อาจไม่มีไข้ มีเพียงคัดจมูก น้ำมูกใส ในเด็กมักจับไข้ขึ้นมาทันทีทันใด บางครั้งอาจมีไข้สูง และชัก ท้องเดิน หรือถ่ายเป็นมูกร่วมด้วย ถ้าเป็นอยู่เกิน 4 วัน อาจมีน้ำมูกข้นเหลือกหรือเขียวหรือไอมีเสลดเป็ฯสีเหลืองหรือเขียว จากการอักเสบซ้ำของเชื้อแบคทีเรีย และอาจมีอาการอื่น ๆ แทรกซ้อนตามมา ซึ่งจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ ร่วมด้วย
ที่พบบ่อยเกดจากกาอักเสบแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรีย (bacteria) ทำให้มีน้ำมูกหรือแสลดเป็นสีเหลือง หรือเขียว ถ้าลุกลามไปยังบริวเณใกล้เคียง อาจทำให้เป็นต่อมทอนซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ
ในเด็กเล็กอาจทำให้มีอาการลักจากไข้สูงท้องเดิน บางคนอาจมีเสียงแหบ เนื่องจากกล่องเสียงอักเสบ บางคนอาจมีอาการวิงเวียน เนื่องจากอวัยวะการทรงตัวภายในหูชั้นในอักเสบ ดังที่เรียกว่า หวัดลงหู ซึ่ง จะหายได้เองภายใน 3-5 วัน โรคแทรกซ้อนมักเกิดในผู้ป่วยที่ไม่ได้พักผ่อนตรากตรำงานหนัก ร่างกายอ่อนแอ (เช่น ขาดอาหาร) ในทารกหรือคนสูงอายุ
ไข้ น้ำมูก เยื่อจมูกบวม และ แดง คอแดงเล็กน้อย ในเด็กอาจพบต่อมทอนซิลโต แต่ไม่แดงมาก และ มีหนอง
โรคนี้มักจะระบาดฤดูหนาวเนื่องจากความชื้นต่ำและอากาศเย็น เราสามารถติดต่อจากน้ำลาย และเสมหะผู้ป่วยนอกจากนั้นมือที่เปื้อนเชื้อโรค ก็สามารถทำให้เกิดโรคได้โดยผ่านทางจมูกและตา
ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ก่อนเกิดอาการและ 1-2 วันหลังเกิดอาการ ผู้ที่มีโอกาสเป็นไข้หวัดได้ง่ายคือ เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี เด็กที่ขาดอาหาร เด็กที่เลี้ยงในสถานเลี้ยงเด็ก
เนื่องจากไขข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่ยาที่ใช้รักษาโดยเฉพาะ เพียงแต่ให้การรักษาไปตามอาการเท่านั้น ได้แก่
1. แนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ดังนี้
2. *ข้อแนะนำเหล่านี้สามารถใช้กับผู้ป่วยที่มีไข้จากสาเหตุอื่น ๆ ได้เช่นกัน ให้ยารักษาตามอาการ ดังนี้
3. ยาปฏิชีวนะไม่ จำเป็ฯต้องให้เพราะว่าไม่ได้เจอผลต่อการฆ่าเชื้อหวัดซึ่งเป็นเชื้อหวัดซึ่ง เป็นไวรัส(อาการที่สังเกตุได้คือมีน้ำมูกใส ๆ ) ยกเว้นในรายที่สงสัยว่ามีอาการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม เช่น มีน้ำมูกหรือเสลดข้นเหลืองหรือขียว คอแดงจัด หรือปวดหู ยาปฏิชีวนะ ให้เลือกใช้เพนวี แอมพิซิลลิน ในรายที่แพ้เพนิ่ซิลลิน ใหใช้อีริโทรมัยซิ่น แทน ควรให้นาน 7-10 วัน ส่วนขนาดที่ใช้ให้ดูในภาค 3
4. ถ้าไอมีเสลดเหนียว ให้งดยาแก้แพ้ และ ยาแก้ไอ ควรให้กินยาขับเสมหะ เช่น มิสต์สกิล แอมมอน และให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ ห้ามดื่มน้ำเย็น
5. ถ้ามีอาการหอบ หรือมีไข้สูงนานเกิน 7 วันควรแนะนำไปโรงพยาบาล โดยเร็ว อาจจะต้องเอกเรย์หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ
เป็นการยากที่จะป้องกันการติดเชื้อไข้หวัด และยังไม่มีวัคซีนป้องกันไข้หวัด ดังนี้การดูแลสุขภาพตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
นอกจากนี้ยังมีโรคติดเชื้ออื่น ๆ อีกหลายชนิด ที่ในระยะแรกอาจแสดงอาการคล้ายไข้หวัด ได้เช่น มีเลือดออก ไอกรน คอตีบ โปลิโอ ตับอักเสบ จากไวรัส ไข้รากสาดน้อย สอมงอักเสบ ไขสันหลังอักเสบ เป็นต้น จึงควรติดตามอดูอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด ถ้าพบว่ามีไข้นานเกิน 7 วัน หรือมีอาการผิดไปจากไข้หวัดธรรมดา ควรแนะนำให้ผู้ป่วยไปโรงพยาบาล อย่าซื้อหรือจ่ายยาชุดแก้หวัดที่ มีคลอแรมเฟนิคอล เตตราซัยครีน หรือเพร็ดนิโซโลน ผสมอยู่ด้วย หรือยาผงแก้เด็กตัวร้อนที่เข้าคลอแรมเฟนิคอล หรือเตตราซัยคลีน ให้ผู้ป่วยกิน นอกจากจะไม่จำเป็นแล้ว ยังเป็นอัตรายได้
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved