สาเหตุการเกิดฝ้า เกิดจากกระบวนการสร้างสีของเซลล์เม็ดสี (Melanocyte) ที่ผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นรอยสีน้ำตาลบนผิวหนัง ปัจจัยที่ทำให้เกิด คือ รังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV) ที่อยู่ในแสงแดดฮอร์โมนและกรรมพันธุ์ เมื่อเม็ดสีดำ (Melanin) สะสมมากขึ้นเป็นเวลานาน ทำให้เห็นเป็นแผ่นหรือเป็นวงสีน้ำตาลชัดเจน บริเวณที่มักจะเกิดฝ้ามาก็คือ โหนกแก้ม สันจมูก หน้าผาก
สาเหตุหนึ่งของการเกิดฝ้า คือ การใช้ยาบางตัวเช่น hormone ยาคุมกำเนิด, พันธุกรรม, สารบางอย่าง สารกระตุ้นการอักเสบความร้อนและแสงแดด
การทายาหรือครีมกันแดดไม่สามารถป้องกันได้ 100% จึงอาจเป็นฝ้า กระ รอยเหี่ยวย่นหรือมะเร็งผิวหนังได้ ถ้าต้องอยู่กลางแสงแดดเป็นเวลานานๆ หรือบ่อยๆ
โอกาสการเกิดฝ้า ในผู้หญิงจะมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เซลล์เม็ดสีทำงานมากผิดปกติ ช่วงตั้งครรภ์หรือช่วงรับประทานยาคุมกำเนิด หรือการรับประทานฮอร์โมนช่วงวัยทอง
การรักษาและดูแลฝ้า
1. หลีกเหลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง ควรใช้ครีมกันแดดที่มี SPF ตั้งแต่ 30 PA+++ขึ้นไป และใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หมวก ร่ม แว่นตากันแดด เป็นต้น
2. การดูแลรักษาโดยใช้ยาที่มีประสิทธิภาพ ที่สามารถควบคุมการสร้าง Melanin หรือกินวิตามินกลุ่ม Anti-oxidant ที่ปราศจากสารปรอท และลดการสร้างเม็ดสีที่มีประสิทธิภาพ และยาที่ใช้ควรมีความปลอดภัยมีผลข้างเคียงน้อย ซึ่งการรักษาที่มีประสิทธิภาพทำให้ฝ้าจางลง 80-90% และมีการรักษาอื่นร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
1. AHA Treatment
2. การทำ Treatment lonto, Phono, Microdermabrasion
3. การรักษาด้วยเลเซอร์ ที่มีผลต่อการลดเม็ดสี (Pigmented Laser) เช่น Nd Yag, VPL/IPL เป็นต้น
ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญจากแพทย์ผิวหนังที่ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดและปราศจากผลข้างเคียงและปลอดภัย
กระ (Freckle)
จุดดำจากกระ (Freckles) และจุดดำจากกระลึก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันคือ
จุดดำจากกระ หรือเรียกว่า “ตกกระ”
ลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลที่อยู่ตื้นๆ พบมากในคนที่มีผิวขาว ตำแหน่งที่เกิดบ่อย คือบริเวณโหนกแก้มและสันจมูก อาจพบทั่วใบหน้า แขน คอ และหน้าอก หรือบริเวณนอกร่มผ้าก็อาจเป็นได้ สาเหตุของการตกกระมาจากการที่ผิวหนังบริเวณนั้นโดยแสงแดดเป็นเวลานาน
กระลึก (ปานโอตะและปานโอริ)
พบได้ประมาณ 20-30% ของชาวเอเชีย ไทย ญี่ปุ่น แตกต่างจากการตกกระ คือ เป็นจุดสีออกเทาดำขอบเขตไม่ชัดเจนและมีความแตกต่างจากฝ้าตรงที่ฝ้าจะมีลักษณะเป็นแผ่น ตำแหน่งที่พบบ่อยคือโหนกแก้ม ดั้งจมูก ปานโอตะจะแตกต่างจากปานโอริตรงที่ปานโอตะนอกจากจะเกิดที่ผิวหนังปกติแล้วยังสามารถเกิดที่บริเวณเยื่อบุของร่างกายได้ เช่นบริเวณเยื่อบุตาขาวหรือเพดานปาก
สาเหตุการเกิดกระเนื้อ กระลึก (ป่านโอตะและปานโอริ)
ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่ชัดเจน เป็นอาการที่เกิดได้เองตามธรรมชาติ และค่อยๆแสดงอาการชัดเจนขึ้นเมื่อเป็นผู้ใหญ่ สามารถพบได้ตั้งแต่เกิด หรือพบตอนเป็นผู้ใหญ่
วิธีการรักษา
การรักษา จุดดำจากกระ “ตกกระ”
1. การใช้ยากลุ่ม Whitening โดยที่กลไกออกฤทธิ์หลายประเภท เช่น การกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนังใหม่ หรือออกฤทธิ์ลดการสร้างสีผิว ทำให้ผิวขาวขึ้น การกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนังใหม่
2. การใช้น้ำยากรดเข้มข้นแต้ม บริเวณที่ตกกระ ทำให้เป็นสะเก็ดแล้วหลุดลอกออก ต้องอาศัยความชำนาญจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแผลเป็น
3. การทำ Treatment ต่างๆ ที่ใช้การส่งผ่านตัวยาลงไปในผิวหนังได้ลึกกว่าปกติ ซึ่งทำให้กระจางลง
4. การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ ที่มีผลต่อเม็ดสี (Pigmented Laser) เช่น Ruby Laser กลุ่ม Nd Yag Laser และ IPL ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญจากแพทย์เฉพาะทางผิวหนัง เพื่อเลือกชนิดของเลเซอร์และตั้งพลังงานในการรักษาที่เหมาะสมให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดและปราศจากผลข้างเคียง ซึ่งหลังจากการทำการรักษาด้วยเลเซอร์ กระจะตกสะเก็ดและหลุดออกภายใน 1 สัปดาห์
การรักษา (ปานโอตะและปานโอริ)
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการรักษาโดยเลเซอร์ที่ใช้เฉพาะกับเม็ดสี ได้แก่ ruby laser หรือและ Q-Switched Nd-YAG laser ซึ่งการที่จะเลือกใช้เลเซอร์ชนิดใดต้องอาศัยความรู้และความชำนาญจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนัง (Dermatologist) โดยทั่วไปการทำเลเซอร์แต่ละครั้งจะทำให้ดีขึ้น 20-30% และต้องรักษาหลายครั้งโดยแต่ละครั้งห่างกันเฉลี่ย 1-3 เดือน
ข้อแนะนำ
• เมื่อมีจุดด่างดำบนใบหน้า ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางผิวหนัง (Dermatologist) เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาได้อย่างถูกวิธีได้ประสิทธิผลสูงสุด
“สิ่งที่สำคัญที่สุด ในการป้องกันและรักษาคือการหลีกเลี่ยงแสงแดดให้มากที่สุด”
ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์ผิวหนังและเลเซอร์
รพ.วิภาวดี โทร. 0-2561-1111 กด 1
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved