โภชนบำบัดผู้ป่วยโรคอ้วน
การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันของประเทศไทยแตกต่างไปจากเดิมอย่างมาก เมื่อก่อนซื้อของในตลาด ปัจจุบันซื้ออาหารสำเร็จรูปจากร้านสะดวกซื้อปัญหาสุขภาพที่ตามมาจึงพบมากขึ้นได้แก่ ภาวะอ้วน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันสูง ปัญหาโรคอ้วนพบในหลายประเทศทั่วโลก จากรายงานขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า อัตราการเกิดโรคอ้วนเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าตัว หลังปีพ.ศ. 2518 ประชากรโลกอายุมากกว่า18 ปีขึ้นไป เป็นโรคอ้วนถึง 650 ล้านคน
จะเห็นได้ว่าการเกิดภาวะโรคอ้วนทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีแนวโน้มสูงขึ้น และยังพบว่าธุรกิจลดความอ้วนในไทยได้รับความนิยม เช่น คลินิกลดความอ้วน การโฆษณาต่างๆ การกินยาลดน้ำหนัก ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องเมื่อเราอ้วน เราควรที่จะจำกัดการรับประทานอาหารหรือลดการบริโภคอาหาร บวกกับการออกกำลังกาย หากไม่ตั้งใจจริง ขาดความอดทน ไม่ปฏิบัติต่อเนื่องก็จะไม่ประสบความสำเร็จ
คำว่า “อ้วน” มี 2 ความหมาย คือ น้ำหนักเกินหรือท้วม(Overweight) กับ โรคอ้วน(Obesity) โดยคำนวณจากค่าดัชชีมวลกาย (BMI) โรคอ้วน BMI > 30 กิโลกรัมตารางเมตร (เกณฑ์องค์การอนามัยโลก)
น้ำหนักเกินหรือท้วม หมายถึง ค่า BMI > 25 กิโลกรัมตารางเมตร
การคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index)
BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม)
ความสูง (เมตร)²
สาเหตุหลักของความอ้วน
1.พันธุกรรม
2.การทำงานผิดปกติของต่อมไร้ท่อ
3.พฤติกรรมการกิน
4.ขาดการออกกำลังกาย
5.สาเหตุอื่น เช่น สภาพแวดล้อม
การวัดเส้นรอบเอว
ผู้ชาย เส้นรอบเอวไม่ควรเกิน 36 นิ้ว (90 ซ.ม.)
ผู้หญิง เส้นรอบเอวไม่ควรเกิน 32 นิ้ว (80 ซ.ม.)
รูปร่างอ้วนมี 2 รูปแบบ คือ Apple Shape และ Pear Shape
รูปร่าง แอปเปิ้ลเชฟ จะมีไขมันบริเวณหน้าท้องมากกว่าสะโพก
รูปร่าง แพร์เชฟ จะมีช่วงไหล่ และเอวที่เล็กกว่าสะโพก
การลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหาร
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved