พูดถึงมะเร็งกระเพาะอาหาร อาจมาด้วยอาการที่คล้ายเป็นโรคกระเพาะ ซึ่งมีความสำคัญต้องวินิจฉัยโรคให้เร็วการรักษาจึงจะได้ผลดี จะพบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป เป็นส่วนใหญ่ และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ในประเทศไทยการส่องกล้องตรวจผู้ป่วยที่มาด้วยอาการโรคกระเพาะอาหารพบว่า มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะ ประมาณร้อยละ 2 อาการของโรคกระเพาะอาหารได้แก่ อาการปวดท้อง แน่นท้องหรือท้องอืด โดยจะมีอาการบริเวณลิ้นปี่ถึงสะดือ อิ่มเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หากมีอาการดังกล่าว ควรจะไปพบแพทย์ เพื่อจะได้รับการประเมินหาสาเหตุที่แน่นอนชัดเจนต่อไป
อาการก็จะคล้าย โรคกระเพาะ คือ ปวดท้องจุกลิ้นปี่ก่อนอาหาร บางทีก็หลังอาหาร แต่อาการจะเป็นนานไม่หาย กินยา ดีขึ้นแต่เดี๋ยวก็ เป็นอีก ถ้าเป็นมาก จะมีเลือดออกในกระเพาะ ถ่ายอุจจาระดำ หรือ อาเจียนเป็นเลือด อาจมาด้วยคลำก้อนได้จากหน้าท้อง ระยะหลังๆ รักษาไม่หายขาดดังนั้น ถ้าเป็นโรคกระเพาะแล้ว รักษา ไม่หาย ต้องไป พบแพทย์ ส่องกล้องดูเลย
ของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้แก่ ความผิดปกติทางพันธุกรรม การติดเชื้อเฮริโคแบกเตอร์ ไพลอริในกระเพาะอาหาร ความผิดปกติของเยื่อบุกระเพาะอาหาร การสูบบุหรี่ การดื่มสุราจำนวนมาก ส่วนประกอบในอาหารซึ่งมีสารบางชนิดในเนื้อสัตว์หมัก เช่น ไส้กรอก แหนม ปลาร้าหรือเนื้อย่าง อาหารที่มีเกลือมาก หรืออาหารที่มีปริมาณของวิตามินซีน้อย อาจจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้
มะเร็งกระเพาะอาหาร จะใช้การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและตัดชิ้นเนื้อ ไปตรวจเป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูง การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร จะใช้วิธีการผ่าตัด เป็นวิธีที่อาจจะทำให้โรคหายได้ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในระยะที่ 1 นอกจากนี้ การผ่าตัดจะช่วยบรรเทาอาการแก่ผู้ป่วยได้
การเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารนั้น ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลชัดเจน แต่ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างอาจจะแก้ไขได้ เช่น การรักษาการติดเชื้อเฮริโคแบกเตอร์ไพลอริ การหลีกเลี่ยงการรับประทานของหมักดอง อาหารรสเค็มจัดของปิ้งย่าง การกินอาหารที่มีวิตามินซีหรือคาโรทีนสูง งดการสูบบุหรี่และงดการดื่มสุรา การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว อาจจะลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารลงได้ แต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจน ดังนั้นหากท่านมีอาการของโรคกระเพาะอาหารดังกล่าวนานเกินกว่า 4 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
คือ อายุ หรือทานยาประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วอาการไม่ดีขึ้น
ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลวิภาวดี
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved