ถ้าแบ่งอาการของโรคหัวใจที่ทำให้มาพบแพทย์แบบง่าย ๆ มี 3 ลักษณะ คือ
ต้องเข้าใจด้วยว่า บางรายผู้ป่วยอาจไม่มีอาการ บางรายมีอาการไม่ชัดเจน บางรายมาหาด้วยอาการแทรกซ้อน เช่น หลอดเลือดสมองอุดตันจากก้อนเลือดที่หลุดจากหัวใจ บางรายไม่ทันมาหาแพทย์เนื่องจากเสียชีวิตก่อน
อาการจุกแน่นหน้าอก เป็นอาการสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดมาพบแพทย์ อาการนี้บางคนเจ็บ บางคนว่าปวด แต่ส่วนใหญ่บอกว่า เป็นอาการแน่นหรือความรู้สึกจุกแน่นในหน้าอก คล้ายมีอะไรมาบีบรัดหรือมาทับที่หน้าอก อาการจุกแน่นหน้าอกเกิดที่บริเวณยอดอกตรงกลาง หรือเยื้องไปทางซ้ายได้เล็กน้อย บางรายจุกยอดอกคล้ายโรคกระเพาะอาหาร อาการปวดเจ็บมักร้าวไปที่ต้นคอ ด้านหลัง กรามซ้าย ไหล่ซ้าย หรือร้าวลงไปที่ปลายแขนซ้ายด้านใน บางคนอาการเจ็บร้าวไปที่คอหรือไหล่จะรุนแรงกว่าที่หน้าอกเองด้วยซ้ำ อาการเจ็บร้าวนี้เป็นตัวช่วยที่สำคัญในการวินิจฉัยด้วย
ถ้าหัวใจขาดเลือดไม่มาก อาการเจ็บแน่นไม่มากและไม่นาน อยู่เฉยๆ ไม่เจ็บ เจ็บเวลาใช้กำลัง เช่น วิ่งออกกำลัง เดินขึ้นบันได ข้ามสะพานลอย หรือกำลังทำงาน เช่น ยกของหนัก ผลักดันรถยนต์ เคลื่อนย้ายตู้เตียง แต่เมื่อหยุดพัก อาการก็หายไป อาจเจ็บมากแค่ 3-5 นาทีแล้วลดลง มักไม่นานกว่า 15-20 นาที แต่ถ้าหัวใจขาดเลือดอย่างรุนแรงจะเจ็บนานกว่านั้น อาจเจ็บนานกว่า 15-30 นาที แค่เดินใกล้ๆ หรือเดินขึ้นบันไดก็เจ็บแน่นหน้าอกหรือเจ็บแน่นเวลาอยู่เฉยๆ ถ้าหัวใจขาดเลือดจนกล้ามเนื้อหัวใจตาย มักเจ็บแน่นรุนแรงที่สุด เจ็บนานกว่า 30 นาที อาจเจ็บเป็นชั่วโมงหรือหลายชั่วโมง เจ็บตลอดเวลาแม้อยู่เฉยๆ อมยาอมใต้ลิ้นก็ไม่หาย และพบอาการอื่นๆร่วมด้วย อาการอื่นๆที่พบร่วมได้บ่อย และมีความสำคัญในด้านช่วยการวินิจฉัย คือ อาการเหงื่อออกตัวเย็น คลื่นไส้อาเจียน บางครั้งมีการปวดอยากถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ หรือบางครั้งรู้สึกหมดเรี่ยวแรง วิงเวียนหรือ เป็นลม ในทางการแพทย์ แพทย์แยกโรคอื่น ๆ ที่อาจมาด้วยอาการคล้าย ๆ กันเช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ กรดไหลย้อน เยื่อหุ้มปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปวดอักเสบหรือปอดบวม หลอดเลือดในปอดอุดตัน กระดูกหน้าอกอักเสบ หรือ ปลายประสาท เอ็น หรือกล้ามเนื้อหน้าอกอักเสบ หลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าปริหรือแตก
อาการเหนื่อยง่ายจากหัวใจวายเลือดคั่ง เป็นอาการของน้ำคั่งในถุงลมปอด เมื่อหัวใจบีบตัวได้ไม่ดี หรือบีบตัวดีแต่ต้องบีบตัวผ่านแรงเสียดทานที่สูง เช่น ลิ้นหัวใจตีบ ความดันโลหิตที่สูงมากๆ ทำให้ แรงดันเลือดในห้องหัวใจสูงขึ้น ผลคือแรงดันเลือดในปอดสูงขึ้นตาม ดันน้ำเลือดท้นเข้าไปในปอด (ในถุงลมปอด) การแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ถุงลมปอดเสียไปจากการที่เลือดคั่งที่ถุงลม เกิดอาการเหนื่อย เริ่มตั้งแต่เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกายอยู่เฉยๆไม่เหนื่อย ถ้าเป็นมากขึ้นแม้ออกกำลังกายเล็กน้อยจะเหนื่อย ถ้าเป็นมากขึ้นอีก จะเริ่มเหนื่อยตอนกลางคืนนอนราบไม่ได้ เพราะเวลานอนเลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจมากขึ้นดันน้ำเลือดท้นเข้าไปในถุงลม ปอดมากขึ้น ต้องลุกขึ้นนั่งเป็นช่วงๆ นอกจากนี้ ผลจากหัวใจบีบตัวไม่ดี ปริมาณเลือดที่ไปสู่สมอง กล้ามเนื้อลดลง ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง มึนงงง่าย ถ้าเลือดคั่งมากความดันในหลอดเลือดฝอยในปอดสูงมาก ดันน้ำเลือดในหลอดเลือดเข้าไปสู่ถุงลมในปอดจำนวนมาก ทำให้หายใจมีเสมหะเป็นฟองสีน้ำปนเลือด เหนื่อยหอบรุนแรง การแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ถุงลมในปอดทำไม่ได้ ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง ถ้ารักษาไม่ทัน อาจเสียชีวิตได้
หัวใจห้องขวารับเลือดดำจากร่างกายส่งไปฟอกที่ปอด ถ้าความดันในปอดสูง ความดันในหัวใจห้องขวาก็สูง ความดันในหลอดเลือดดำสูงขึ้นด้วยทำให้เส้นเลือดดำที่คอโป่งพอง น้ำและเกลือแร่ที่ร่างกายเก็บไว้ในหลอดเลือดดำก็ถูกดันออกมาภายนอก ทำให้เกิดการคั่งของเลือดในอวัยวะต่าง ๆเช่น ตับ กระเพาะอาหาร ลำไส้ ทำให้เกิด ตับโต แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน การคั่งของเลือดในแขนขาทำให้บวมตามปลายมือปลายเท้า หรือบริเวณก้น หลัง ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ขยับตัวนอนเป็นส่วนใหญ่
ถึงมีอาการเช่นนี้ แต่ยังมีโรคหลายชนิดที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่ายหรือบวมได้ เช่น
ในรายหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจเกิดหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะหรือหัวใจเต้นช้าผิดจังหวะ หรือบางครั้งเต้นเร็วบางครั้งเต้นช้า ทำให้มีอาการทั้งสองอย่างรวมกัน
อาการคล้ายกับอาการของโรคหัวใจขาดเลือดหรือโรคหัวใจวายเลือดคั่ง ได้แก่ เจ็บหน้าอก ใจสั่น หายใจไม่เต็มอิ่ม มือเท้าชา เหงื่อออกตามปลายมือปลายเท้า แต่ อาการมักเกิดในวัยรุ่นหรือวัยเจริญพันธุ์ พบในหญิงมากกว่าชาย ที่ช่วยวินิจฉัยคือ
อาการเหล่านี้มักเป็น ๆ หาย ๆ และส่วนใหญ่มีสาเหตุจากความเครียด ซึ่งในบางครั้งผู้ป่วยจะทราบ แต่ส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัว ต้องอาศัยคนใกล้ชิดช่วยสังเกตความเครียด
ด้วยความปรารถนาดี จาก
ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลวิภาวดี (Vibhavadi Heart Center)
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved