คือ ภาวะที่ข้อต่อระหว่างขากรรไกรบนและล่างไม่สามารถทำงานอย่างที่ควร มีผลต่อการเคลื่อนขากรรไกรล่างไปในทิศทางข้างหน้า ข้างหลัง หรือด้านข้างได้
สาเหตุอาจเกิดจาก
- แผ่นหมอนรองกระดูกสึกกร่อน หรือเคลื่อนตัวออกนอกตำแหน่ง
- กระดูกอ่อนของข้อต่อถูกทำลายจากภาวะข้อเสื่อม
- ข้อต่อถูกกระทบกระเทือนจากปัจจัยภายนอกหรืออาจจะหาสาเหตุไม่ได้ก็เป็นไปได้เช่นกัน
อาการที่พบได้บ่อย
- ปวดศีรษะ ปวดหู ปวดบริเวณหลังตา
- เสียงคลิกเวลาอ้างปากหรือหุบปาก
- ปวดจากการหาว อ้าปากกว้าง เคี้ยวอาหาร
- ขากรรไกรค้าง
- เจ็บกล้ามเนื้อขากรรไกร
วิธีการรักษา
ยังไม่มีวิธีการรักษาที่แน่นอน แต่มีวิธีบรรเทาอาการได้หลายวิธีดังนี้
- การรับประทานยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้อักเสบ เพื่อลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ
- การใส่อุปกรณ์ป้องกันการกระทบของฟันบนและล่าง
- การผ่อนคลาย เพื่อควบคุมความตึงเครียดของกล้ามเนื้อขากรรไกร เช่น ระมัดระวังพฤติกรรมการกัดเค้นฟัน การกัดของแข็ง
- หากการรักษาแบบประคับประคองไม่ได้ผล อาจต้องรักษาด้วยวิธีอื่นๆแทน เช่น การฉีดยาเข้าข้อต่อหรือกล้ามเนื้อ พวกยาสเตียรอยด์ สาร Botulinum toxin หรือการผ่าตัดข้อต่อขากรรไกรแบบส่องกล้องขนาดเล็ก หรือการผ่าตัดเปิดข้อต่อขากรรไกร
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved