ไมเกรน (migraine) เป็นโรคปวดหัวชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะอาการที่สำคัญ คือ ปวดตุ้บๆ ที่บริเวณขมับข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ อาการปวดจะเป็นพักๆ เป็นๆ หายๆ
ความรุนแรงของอาการปวด มีตั้งแต่ปวดปานกลางจนถึงรุนแรงมาก ระยะเวลาในการปวดแต่ละครั้งส่วนใหญ่ประมาณ 4-7 ชม.
อาการปวดจะกำเริบหรือรุนแรงมากขึ้นเมื่อมี ความเครียด อากาศร้อน แสงจ้า หรืออดนอน
ขณะปวดไมเกรนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และอาจไวต่อแสงหรือเสียง ดังนั้นผู้ที่เป็นไมเกรนส่วนใหญ่มักอยากอยู่ในห้องมืดและเงียบ เพราะจะทำให้อาการปวดดีขึ้น
ไมเกรนเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเส้นเลือด และเส้นประสาทรอบๆสมอง ระบบประสาทผู้ป่วยที่เป็นโรคไมเกรนจะไวต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และสิ่งแวดล้อมมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคนี้ ระบบประสาทจะมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดอาการอักเสบดังกล่าวเกิดขึ้น และอาการปวดอย่างรุนแรงตามมา
ปัจจัยกระตุ้นมีดังนี้
แบบแรกอาการปวดตุบ ๆ แถว ๆ ขมับ หรือลึก ๆ อยู่แถวเบ้าตา เหมือนหัวใจเต้น และจะปวดในระดับกลางถึงมาก ซึ่งนี่เป็นลักษณะเด่นของการปวดไมเกรน แต่ถ้าปวดพอรำคาญ ไม่มากนัก โอกาสเป็นไมเกรนจะน้อย
นอกจากนี้ อาการปวดแบบไมเกรนนั้น เมื่อหายปวดจะหายสนิท โดยในช่วงที่ปวดนั้น อาจจะปวดได้นาน 2-3 วันตามทฤษฎี แต่โดยทั่วไป อาจจะปวดแค่ 2-3 ชั่วโมง หรืออาจจะ 4 ชั่วโมง
นอกจากนี้อาจมีอาการอาเจียน เห็นแสงแวบ ๆ เป็นสีเหลือง ๆ หรือเป็นหยัก ๆ ในช่วงก่อนปวด เรียกได้ว่าเป็นอาการนำ แต่อาการแบบนี้ไม่พบในคนไข้ทุกคน
Checklist อาการไมเกรน
ในความเป็นจริงแล้ว อาการปวดข้างเดียวไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกอะไรเลยว่าเป็นไมเกรน ปวดข้างเดียวนี้ อาจะเป็นเนื้องอก หรือเกิดจากล้ามเนื้อตึงตัวก็ได้ ตกหมอน หรือได้รับอาการบอบช้ำ
คนที่ปวดหัวข้างเดียวเพราะไมเกรนนั้น จริง ๆ แล้วมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของคนไข้ทั้งหมด ปวดสองข้างก็เป็นไปได้
คนสูงอายุจะไม่ค่อยเป็นกนมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาของวัยรุ่น คนหนุ่มสาวมากกว่าคนสูงอายุหลายเท่า คนที่เป็นไมเกรนนั้น จะเป็นได้ตั้งแต่เด็ก อายุ 7-8 ขวบ แต่ที่พบบ่อยจะเป็นช่วงวัยรุ่นอายุ 10 - 25ขึ้นไป
และจะเป็นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่พออายุมากขึ้นเรื่อย ๆ อาการจะน้อยลง ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนบางอย่าง ผู้หญิงบางคนเป็นมาตลอด พอมาถึงวัยหมดประจำเดือนกลับหายจากอาการไปเลย
การวินิจฉัยไมเกรนนั้น จำเป็นต้องอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะอาการปวด ตำแหน่ง ความรุนแรง ความถี่ ระยะเวลาในการปวด และอาการอื่นที่ร่วมด้วย
ประวัติโรคประจำตัวและประวัติการใช้ยา การตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือการตรวจเอกซเรย์เพื่อวินิจฉัยแยกจากโรคอื่น เช่น อาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว หรือจากภาวะเครียด การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง โรคของต่อมใต้สมองหรือมีเนื้องอก เป็นต้น
ไมเกรนไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็มีวิธีการช่วยให้ความถี่และความรุนแรง ของไมเกรนลดน้อยลง โดยใช้ยาเพื่อป้องกันรักษา และหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ดูแลสุขภาพและพบแพทย์สม่ำเสมอ ปัจจุบันจะมีการฝังเข็มเข้ามาด้วย ซึ่งเป็นที่ยอมรับและในการฝังเข็มนั้นได้มีการระบุว่า เป็นการรักษาไมเกรนได้เช่นกัน
ยาแก้ปวดไมเกรน คือ ยาที่ใช้เมื่อมีอาการปวด
ส่วนยาป้องกันไมเกรน ใช้เพื่อทำให้ความถี่และความรุนแรงของการปวดลดลง และจะใช้ในกรณีที่มีอาการปวดบ่อยกว่า 2 ครั้งต่อเดือน
ยาทั้ง 2 กลุ่มนี้มีมากมาย หลายชนิด การเลือกใช้ยาชนิดใด ควรได้รับคำแนะนำหรือควรปรึกษาแพทย์
ถาม: เมื่อมีอาการปวดศีรษะจะปวดรุนแรง ถึงขั้นอาเจียนออกมา เวลาหายปวดจะหายสนิท และสัปดาห์หนึ่งจะเป็นถึง 5 วัน อยู่ในขั้นหน้าวิตกหรือไม่
ตอบ : ควรให้แพทย์เฉพาะทางตรวจดูอาการว่าเป็นไมเกรนแน่นอนหรือเปล่า ซึ่งจากอาการโอกาสจะเป็นไมเกรนค่อนข้างสูง สำหรับความถี่ของการการที่เกิดขึ้นนั้นนับว่าค่อนข้างบ่อย เพราะควรจะปวดเดือนละ 2-3 ครั้ง กรณีที่ปวดบ่อย อาจจะต้องรับประทานยาป้องกันอาการปวด ในขณะที่ปวดไม่บ่อย อาจรับประทานยาแก้อาการปวด
ถาม: ทานยารักษาอาการเป็นประจำจะมีผลเสียหรือไม่
ตอบ : ยาไมเกรน แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มป้องกัน กับกลุ่มแก้เวลาปวด การจะนำมาใช้ต้องให้แพทย์พิจารณาเป็นราย ๆ ไป และเมื่อรับประทานแล้ว จะต้องดูการตอบสนองด้วย ส่วนยา คาฟาค๊อท ที่มีจำหน่ายและมีการใช้กันอย่างแพร่หลายนั้น ทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อาจทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบได้ บางรายอาจไม่ต้องใช้ยาชนิดนี้ เพียงยาพาราเช็ตตามอล หรือแอสไพริน ก็สามารถช่วยได้
ถาม: การพิจารณาอาการในเด็ก ควรทำอย่างไร
ตอบ : ถ้าพบอาการปวดศีรษะในเด็ก สิ่งแรกที่ควรเช็คคือสายตา หรืออาจจะมีปัญหากับเพื่อน เพิ่งย้ายโรงเรียน ไปอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ อาจเกิดอาการเครียดโดยไม่รู้ตัว จุดนี้ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นมาได้ แต่อย่างไรก็ตาม ในเด็ก อายุ 7-8 ปี ก็อาจพบว่าเป็นไมเกรนได้เช่นกัน ให้สังเกตดูว่าเวลาปวดจะปวดมาก อาจถึงขึ้นอาเจียน แต่เมื่อหายปวดจะหายสนิทเลยเช่นกัน
ด้วยความปรารถนาดี จาก รพ.วิภาวดี
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved