มะเร็งปากมดลูก หนึ่งในโรคร้ายแรงที่ผู้หญิงควรตระหนักและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยรองจากมะเร็งเต้านม แต่มะเร็งปากมดลูกป้องกันได้! สามารถลดความเสี่ยงหากรู้เท่าทัน มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกว่าคืออะไร มีอาการอย่างไร วิธีการรักษามีอะไรบ้าง และที่สำคัญคือแนวทางการป้องกันที่ทุกคนควรรู้ เพื่อดูแลสุขภาพของตัวเองให้ห่างไกลจากโรคร้ายนี้!
มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) คือมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณมดลูกส่วนล่างใกล้เคียงกับช่องคลอด พบได้บ่อยในผู้หญิงรองจากมะเร็งเต้านม สาเหตุหลักของโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV) ซึ่งสามารถติดต่อได้ผ่านทางเพศสัมพันธ์
ในระยะแรกของการติดเชื้อมักไม่แสดงอาการที่ชัดเจน ทำให้หลายคนไม่รู้ตัวว่าร่างกายกำลังมีความผิดปกติ การรับเชื้อไวรัส HPV นั้น ทำให้เซลล์เยื่อบุปากมดลูกมีความผิดปกติ และหากปล่อยทิ้งไว้อาจพัฒนาไปสู่มะเร็งปากมดลูกในที่สุด
โรคมะเร็งปากมดลูกมีการแบ่งระยะตามระดับความรุนแรงและการลุกลามของเซลล์มะเร็ง แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อบริเวณปากมดลูกออกไปตรวจและประเมินว่ามะเร็งได้ลามไปสู่อวัยวะอื่นๆ แค่ไหน ซึ่งการแบ่งระยะของมะเร็งปากมดลูกมีผลต่อแนวทางการรักษาและโอกาสในการหายขาด มะเร็งปากมดลูกแบ่งออกเป็น 4 ระยะหลักตามระดับความรุนแรงและการลุกลามของเซลล์มะเร็ง ดังนี้
มะเร็งปากมดลูกระยะที่ 1 (เริ่มต้น) มะเร็งยังอยู่เฉพาะที่เยื่อบุบริเวณปากมดลูก ในระยะนี้ ถึงแม้ว่าขนาดเนื้องอกจะใหญ่ขนาดไหน แต่เชื้อก็ยังคงอยู่แค่มดลูกเท่านั้น ยังไม่ลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ซึ่งระยะที่ 1 จะแบ่งออกได้ตั้งแต่ 1A ไปจนถึง 1B3 ซึ่งแบ่งตามขนาดของมะเร็งที่พบบริเวณปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกระยะที่ 2 (กระจาย) มะเร็งเริ่มลุกลามออกจากปากมดลูก เชื้อมะเร็งเริ่มลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงปากมดลูก เช่น เนื้อเยื่อรอบปากมดลูกและผนังช่องคลอดส่วนบน แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อุ้งเชิงกราน แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดมดลูกออก ในผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถทำได้จะใช้การฉายรังสีแทน
มะเร็งปากมดลูกระยะที่ 3 (ลุกลาม) มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง คือบริเวณอุ้งเชิงกรานและผนังช่องคลอดส่วนล่างหรือกดท่อไตจนเกิดภาวะไตบวมน้ำ การรักษาในระยะนี้แพทย์จะผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกรานออกและฉายรังสีหรือเคมีบำบัดในขั้นต่อไป
มะเร็งปากมดลูกระยะที่ 4 (สุดท้าย) มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ ทวารหนัก หรือลำไส้ตรง หรือแพร่กระจายไปยังอวัยวะที่อยู่ไกล เช่น ปอด ตับ หรือกระดูก ระยะสุดท้ายนี้สามารถรักษาได้ด้วยเคมีบำบัดเท่านั้น
มะเร็งปากมดลูกเกิดจากเชื้อไวรัส HPV เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อเนื้อเยื่อบุผิว และก่อให้เกิดโรคบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย มักติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ HPV ในครั้งแรก ระบบภูมิคุ้มกันจะพยายามกำจัดและปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อเชื้อไวรัส แต่เชื้อ HPV อาจทำให้เซลล์ที่ปากมดลูกเกิดความผิดปกติและกลายเป็นเซลล์มะเร็ง
นอกจากนี้ บางครั้งการติดเชื้อก็ไม่มีอาการมะเร็งปากมดลูกใดๆ ปรากฏ ทำให้เชื้อพัฒนาซึ่งใช้เวลาหลายปีจนกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกในที่สุด
มะเร็งปากมดลูกเกิดจากหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาของเซลล์ผิดปกติ โดยปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรค ได้แก่
ในระยะแรก มะเร็งปากมดลูกมักไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัวว่ากำลังมีเซลล์ผิดปกติในร่างกาย อย่างไรก็ตาม เมื่อโรคเริ่มลุกลามมากขึ้นอาจพบอาการเริ่มแรกมะเร็งปากมดลูกเหล่านี้ได้ โดยอาการมะเร็งปากมดลูกที่พบบ่อย ได้แก่
ขั้นตอนการวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกโดยแพทย์ แพทย์จะตรวจหากพบรอยโรคก็จะทำการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจมะเร็งปากมดลูก โดยใช้เครื่องมือปลายแหลมในการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจเพิ่มเติมในห้องปฏิบัติการต่อไป แต่หากแพทย์ตรวจไม่พบรอยโรค แต่ตรวจพบเซลล์มะเร็งปากมดลูกผิดปกติจาก HPV DNA Test หรือ Pap Smear แพทย์จะส่องกล้องปากมดลูกด้วยคอลโปสโคป (Colposcopic Examination) หรือขูดภายในมดลูก (Endocervical Curettage) และเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อจากเซลล์ปากมดลูกเพื่อนำไปตรวจเพิ่มเติม
มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่สามารถป้องกันและรักษาได้หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก โดยแนวทางการรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของโรค และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย แนวทางการรักษาประกอบไปด้วย
รักษาโรคมะเร็งปากมดลูกโดยการผ่าตัด (Surgery) จะใช้ในการรักษามะเร็งในระยะเริ่มต้น คือระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ขั้นต้น ซึ่งเป็นช่วงที่เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นบริเวณปากมดลูกและช่องคลอด การผ่าตัดจะมีหลายรูปแบบ เช่น การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวย (Conization หรือ Cone Biopsy) ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีเซลล์ผิดปกติหรือมะเร็งระยะเริ่มต้น
หากมะเร็งมีขนาดเล็กมากอาจใช้วิธีผ่าตัดมดลูก (Simple Hysterectomy) หรือผ่าตัดปากมดลูกแบบกว้าง (Radical Hysterectomy) แพทย์จะผ่าตัดปากมดลูก มดลูก ส่วนบนของช่องคลอด เนื้อเยื่อด้านข้าง และเลาะต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน หรือการตัดปากมดลูกออกแต่เก็บมดลูกไว้ (Trachelectomy) เหมาะกับผู้ป่วยมะเร็งระยะต้นที่ต้องการมีบุตร โดยตัดเฉพาะปากมดลูกออก แต่ยังสามารถตั้งครรภ์ได้ภายหลัง
เคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นวิธีการรักษามะเร็งปากมดลูกโดยใช้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง วิธีนี้มักใช้ร่วมกับการฉายรังสีหรือในกรณีที่มะเร็งอยู่ในระยะลุกลาม
(ระยะที่ 2-3) เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการรักษาที่ดีขึ้น เหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับการผ่าตัดได้
การฉายรังสี (Radiation Therapy) เป็นวิธีการรักษามะเร็งปากมดลูกโดยใช้พลังงานรังสีที่มีความเข้มสูงเพื่อทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง วิธีนี้สามารถใช้เป็นการรักษาหลัก ใช้ร่วมกับเคมีบำบัด หรือการผ่าตัดได้
หากพบว่าผู้ป่วยมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำแพทย์จะพิจารณาให้ฉายรังสีหลังผ่าตัด หากมะเร็งปากมดลูกเป็นระยะลุกลามเฉพาะที่ แพทย์จะให้ผู้ป่วยรักษาด้วยรังสีรักษาร่วมกับให้ยาเคมีบำบัดเป็นการรักษาหลัก ข้อจำกัดสำหรับการฉายรังสีคืออาจถึงวัยหมดประจำเดือนก่อนกำหนด หากผู้ป่วยอายุน้อยและต้องการมีบุตร ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม
มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ หากมีการดูแลสุขภาพ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและปฏิบัติตามแนวทางป้องกันอย่างเหมาะสม ซึ่งสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ง่ายๆ ดังนี้
การตรวจภายในถือเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้หญิง เพราะช่วยคัดกรองโรคต่างๆ รวมไปถึงมะเร็งปากมดลูกด้วยเช่นกัน และควรเข้ารับการตรวจภายในเป็นประจำทุกปี ในกรณีที่มีความผิดปกติ หรือมีความเสี่ยงควรพบแพทย์ตามนัดเพื่อตรวจเพิ่มเติมและหาแนวทางการรักษาในขั้นต่อไป
การฉีดยามะเร็งปากมดลูก หรือการฉีดวัคซีน HPV เป็นการป้องกันมะเร็งปากมดลูกก่อนติดเชื้อ ป้องกันเชื้อ HPV ชนิดที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก (โดยเฉพาะสายพันธุ์ 16 และ 18) เป็นวิธีป้องกันที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 - 10 ปี สำหรับเด็กสามารถฉีดเพียง 2 เข็มก็สามารถป้องกันได้ถึง 100% ในขณะที่ผู้ใหญ่ (อายุ 15 ปีขึ้นไป) ต้องฉีด 3 เข็ม
การตรวจมะเร็งปากมดลูกเพื่อคัดกรองมีด้วยกัน 2 วิธี คือ Pap Smear หรือ Pap Test และการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV จากปัสสาวะ การตรวจ Pap Smear คือการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ที่เรียกว่า HPV Test หรือ HPV DNA หากพบว่า Positive คือมีความเสี่ยงสูง และ Negative หมายถึงไม่พบเชื้อที่ก่อมะเร็ง
การตรวจหาเชื้อไวรัส HPV จากปัสสาวะ จะเก็บตัวอย่างปัสสาวะ 15 - 30 มิลลิเมตร (ปัสสาวะช่วงแรกตอนเช้า) เนื่องจากมีโอกาสพบเชื้อ HPV มากที่สุด จากนั้นส่งตัวอย่างไปตรวจในห้องปฏิบัติการ และรอผลตรวจ ไม่เกิน 1 สัปดาห์
โรงพยาบาลวิภาวดีให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งปากมดลูก ที่โรงพยาบาลวิภาวดี มี Package วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 9 สายพันธุ์ (Gardasil 9) ฉีดได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย อายุ 9 - 45 ปี ป้องกันเชื้อ HPV ได้มากกว่า 90% ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางมืออาชีพ อีกทั้งยังมีโปรโมชันเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แผนกสูติ – นรีเวช โทร.02-5611111 ต่อ 2220 หรือเข้ามาติดต่อรักษาโรคได้ที่โรงพยาบาลวิภาวดี ที่อยู่ 51/3 ถ.งามวงศ์วาน จตุจักร กรุงเทพฯ หรือโทรเพื่อนัดหมายก่อนเข้ารับการรักษาได้ที่เบอร์ 02-561-1111 หรือ 02-058-1111 และสำหรับตัวแทนประกันชีวิต สามารถติดต่อผ่าน LINE: @vibhainsurance
มะเร็งปากมดลูก โรคร้ายแรงในผู้หญิงที่ป้องกันได้ เกิดจากการติดเชื้อ HPV (Human Papillomavirus) สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน HPV และตรวจคัดกรองเป็นประจำ เช่น Pap Smear และ HPV DNA Test โดยอาการมะเร็งปากมดลูกมักไม่แสดงในระยะแรก แต่เมื่อรุนแรงขึ้นอาจพบอาการเริ่มแรกมะเร็งปากมดลูก เช่น มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ตกขาวผิดปกติ หรือปวดท้องน้อย
แนวทางการรักษาขึ้นอยู่กับระยะของโรค ได้แก่ การผ่าตัด เคมีบำบัด และการฉายรังสี การป้องกันโดยการฉีดวัคซีน HPV และตรวจภายในเป็นประจำ เป็นกุญแจสำคัญในการลดอัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูก และการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกได้
โรงพยาบาลวิภาวดี ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งปากมดลูก พร้อม Package วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 9 สายพันธุ์ พร้อมทีมแพทย์ให้คำแนะนำและปรึกษาตลอดการรักษา
หลายคนอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกและแนวทางป้องกัน เพื่อให้เข้าใจโรคนี้มากขึ้น เรารวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก พร้อมคำตอบมาตอบไว้ที่นี่
มะเร็งปากมดลูกมีโอกาสหายขาดได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรค หากตรวจพบในระยะเริ่มต้นจะเพิ่มโอกาสหายขาดได้สูง
ควรฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่อายุยังน้อย ตั้งแต่ 9 ปี เป็นต้นไป เพราะช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้มากขึ้น
วัคซีน HPV ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพประมาณ 70 - 90% และยิ่งได้ผลดีหากฉีดเมื่ออายุยังน้อยและไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
พบอาการข้างเคียงได้น้อย มักพบอาการบวมแดงบริเวณที่ฉีดเช่นเดียวกับการฉีดวัคซีนอื่นๆ
เด็กหญิงอายุ 9 ปี หรือผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อ HPV ก่อนฉีดวัคซีน หากต้องการตรวจสามารถตรวจ HPV DNA เพื่อหาความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved