ไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย เป็นภัยร้ายใกล้ตัวที่ต้องเฝ้าระวังหากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้
บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับไข้เลือดออก ตั้งแต่สาเหตุของโรค อาการไข้เลือดออกที่ต้องสังเกต วิธีการวินิจฉัยและรักษาโดยแพทย์ ไปจนถึงแนวทางการดูแลตัวเองเพื่อให้ห่างไกลจากโรค
ไข้เลือดออกคือโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักพบการแพร่ระบาดในเขตร้อนชื้นในช่วงฤดูฝน สามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเดงกีอาจแสดงอาการที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อยและสามารถหายไปได้เอง ผู้ป่วยบางคนอาจแสดงอาการรุนแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
เชื้อไวรัสเดงกีซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออกมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4 ติดต่อจากคนสู่คนผ่านยุงลายบ้านหรือยุงไข้เหลืองเพศเมีย ซึ่งมักออกหากินในช่วงกลางวัน เมื่อยุงลายกัดผู้ป่วยไข้เลือดออก เชื้อไวรัสเดงกีจะฝังตัวในกระเพาะอาหารยุงและเพิ่มจำนวน ก่อนแพร่ไปยังต่อมน้ำลาย ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 8-12 วัน
ยุงที่ติดเชื้อจะสามารถแพร่เชื้อได้ตลอดชีวิต เมื่อกัดคน ไวรัสเดงกีจะเข้าสู่กระแสเลือดและแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อ ทำให้เกิดอาการไข้เลือดออกภายใน 3-15 วัน หลังจากได้รับเชื้อ
อาการไข้เลือดออกสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะไข้สูง (Febrile Phase) เป็นระยะเริ่มต้นของโรค อาการไข้เลือดออกระยะแรกผู้ป่วยจะมีไข้สูงอย่างเฉียบพลัน มีอุณหภูมิร่างกายสูงถึง 39-40 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 2-7 วัน อาการคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ แต่ไม่มีอาการไอและน้ำมูก ไม่ตอบสนองต่อยาลดไข้กลุ่มทั่วไป
ในช่วงระยะไข้สูง ผู้ป่วยมักมีอาการปวดศีรษะรุนแรง หน้าแดง ปวดเบ้าตา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณชายโครงขวา อาจรู้สึกเจ็บเมื่อลองกดที่บริเวณลิ้นปี่ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ข้อ และกระดูก พร้อมจ้ำเลือดหรือผื่นแดงจากการรั่วซึมของหลอดเลือด และอาจมีอาการคันร่วมด้วย
ระยะวิกฤต (Critical Phase) อาการไข้เลือดออกระยะนี้มักเริ่มต้นระหว่างวันที่ 3-7 หลังจากเริ่มมีไข้สูง เป็นระยะวิกฤติที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษเนื่องจากเป็นช่วงที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการสำคัญของระยะวิกฤตได้แก่
ระยะฟื้นตัว (Recovery Phase) เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยพ้นระยะไข้สูง ในกรณีที่เกิดภาวะวิกฤต อาการไข้เลือดออกระยะนี้มักเริ่มต้นภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังจากพ้นช่วงวิกฤต โดยร่างกายจะเริ่มฟื้นฟูระบบต่างๆ ให้กลับสู่ภาวะปกติ ระบบไหลเวียนโลหิตกลับมาทำงาน อวัยวะภายใน เช่น ตับและไตค่อยๆ ฟื้นตัว
ผู้ป่วยระยะฟื้นตัวมักจะไข้ลดลง อุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตกลับสู่ปกติ ปัสสาวะเพิ่มขึ้น ภาวะตับโตลดลงค่อยๆ ลดลงภายใน 1-2 สัปดาห์ ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น มีผื่นแดงเล็กๆ ลักษณะสากและอาจเห็นวงสีขาวตรงกลาง
ไข้เลือดออกสามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ โดยเด็กมักมีอาการไม่รุนแรง อาจมีไข้สูงเป็นระยะเวลาสั้นๆ และหายได้เอง ส่วนในผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอาจพบไข้เลือดออกอาการรุนแรง เช่น ปวดท้องมาก อาเจียน กินอาหารไม่ได้ รู้สึกอ่อนเพลียมาก ซึมลง เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล หรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง
ความรุนแรงเกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายต่อเชื้อไวรัสเดงกีซึ่งส่งผลให้เกิดพยาธิสภาพที่สำคัญ ได้แก่
โรคไข้เลือดออกสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือสตรีมีครรภ์ ดังนี้
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเดงกีครั้งแรกมักไม่แสดงอาการรุนแรง แต่การติดเชื้อครั้งที่สอง โดยเฉพาะสายพันธุ์ต่างจากครั้งแรก อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา
การวินิจฉัยอาการไข้เลือดออกเริ่มจากการซักประวัติ เช่น การสัมผัสยุงลายหรือเดินทางไปพื้นที่ระบาด และการตรวจร่างกายเบื้องต้น หากอาการคล้ายโรคอื่น ๆ แพทย์จะใช้การตรวจห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ได้แก่
เป็นวิธีการตรวจในระดับโมเลกุล ใช้ตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสเดงกีในตัวอย่างเลือด สามารถยืนยันชนิดของไวรัสเดงกีที่ก่อโรคได้ทั้ง 4 สายพันธุ์
เมื่อได้รับการยืนยันการติดเชื้อไข้เลือดออก แพทย์จะดำเนินการรักษาไข้เลือดออกโดยเน้นการฟื้นฟูสภาพร่างกายและป้องกันภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากยังไม่มีวิธีการรักษาเฉพาะเจาะจง การรักษาจึงเป็นแบบประคับประคอง อาการไข้เลือดออกมีแนวทางการรักษาดังต่อไปนี้
มนุษย์สามารถติดเชื้อไวรัสเดงกีได้หลายครั้งตลอดช่วงชีวิต เนื่องจากการติดเชื้อแต่ละครั้งจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ที่เคยได้รับเชื้อเท่านั้น แต่ไม่มีภูมิคุ้มกันถาวรต่อสายพันธุ์อื่น ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นอาจป้องกันสายพันธุ์อื่นได้เพียงชั่วคราว
หากบุคคลได้รับเชื้อไวรัสเดงกีในสายพันธุ์ที่แตกต่างจากครั้งก่อน ทำให้สามารถติดเชื้อซ้ำได้อีก และการติดเชื้อครั้งที่สองหรือครั้งต่อไปมีแนวโน้มอาการไข้เลือดออกรุนแรงกว่าการติดเชื้อครั้งแรก
การปฐมพยาบาลที่เหมาะสมสามารถช่วยบรรเทาอาการไข้เลือดออกเบื้องต้นและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ โดยแนวทางการปฐมพยาบาลเบื้องต้นมีดังนี้
โรงพยาบาลวิภาวดีให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของประชาชน พร้อมให้บริการตรวจวินิจฉัย ให้คำปรึกษา และรักษาโรคไข้เลือดออกโดยทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์สูง ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังมีโปรโมชั่นเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ป่วย
ทำไมต้องรักษาโรคไข้เลือดออกที่โรงพยาบาลวิภาวดี?
สามารถเข้ามาติดต่อรักษาที่โรงพยาบาลวิภาวดี ตั้งอยู่ที่ 51/3 ถ.งามวงศ์วาน จตุจักร กรุงเทพมหานคร หรือโทรนัดหมายล่วงหน้าที่เบอร์ 02-561-1111 หรือ 02-058-1111 สำหรับตัวแทนประกันชีวิต สามารถติดต่อผ่าน LINE: @vibhainsurance ได้เช่นกัน
โรคไข้เลือดออกคือโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกีซึ่งมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ สามารถติดต่อจากยุงลายเพศเมีย ผู้ที่มีอาการไข้เลือดออกจะแสดงอาการและความรุนแรงที่แตกต่างกันไป อาการไข้เลือดออกแบ่งเป็น 3 ระยะ คือไข้สูง วิกฤติ และฟื้นตัว โดยระยะวิกฤติต้องเฝ้าระวังเพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ช็อกหรือเลือดออกในอวัยวะภายใน ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
ดังนั้นหากสงสัยว่าติดเชื้อไข้เลือดออกจึงควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที ที่โรงพยาบาลวิภาวดีมีศูนย์เฉพาะทางด้านโรคติดเชื้อ พร้อมทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์ ให้บริการการรักษาโรคไข้เลือดอออกแบบครบวงจรโดยการใช้เทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย
รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก พร้อมคำตอบมาไขข้อสงสัย
แนวทางการพิจารณาว่าเป็นไข้เลือดออกหรือไม่สามารถสังเกตได้จาก
มีไข้สูงต่อเนื่อง 2-7 วัน
มีอาการเลือดออก เช่น จุดเลือดออกใต้ผิวหนัง หากไม่มี แพทย์จะใช้วิธีรัดแขนเพื่อตรวจหาจุดเลือดออก โดยผลตรวจมักเป็นบวกในวันที่ 2-3 ของการป่วย
พบว่าตับโตและมีอาการกดเจ็บ ซึ่งมักพบในวันที่ 3-4 ของการป่วย
มีภาวะช็อก
อาการไข้เลือดออกส่วนใหญ่สามารถหายได้เอง โดยการพักผ่อนอย่างเพียงพอ และกินยาแก้ปวดลดไข้เมื่อมีอาการ
ในระยะแรกของไข้เลือดออกอาจมีผื่นแดงบริเวณผิวหนังทั่วร่างกายร่วมกับอาการคันเล็กน้อย ซึ่งมักจะหายไปเองภายใน 2-3 วัน ส่วนในระยะหลังของโรค อาจพบจุดสีขาวบนผื่นหรือมีตุ่มแดงขึ้น โดยอาการเหล่านี้จะค่อยๆ ลดลงและหายไปเองภายในหนึ่งสัปดาห์
อาการทางผิวหนังที่พบในไข้เลือดออก ได้แก่ รอยแดงที่ใบหน้า ลำคอ และหน้าอกภายใน 24-48 ชั่วโมงแรก และผื่นปื้นแดงคล้ายผื่นหัด ซึ่งอาจมีจุดเลือดออกเล็กๆ และวงสีขาวแทรกภายใน โดยผื่นนี้มักเกิดขึ้น 3-5 วันหลังผื่นแรกจางลง
ในระยะช็อกของไข้เลือดออก อุณหภูมิร่างกายจะลดลงและมีอาการซึม เหงื่อออกมาก มือและเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็วแต่เบา ปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะออกน้อย และอาจมีภาวะเลือดออกง่าย เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระสีดำ หากรุนแรงอาจเกิดภาวะช็อกและความดันโลหิตต่ำ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ระยะนี้มักกินเวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมง
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved