- โรคติดเชื้อเป็นภาวะที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตก่อโรคขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และโปรโตซัว เข้าสู่ร่างกายแล้วส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่างๆ เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ
- โรคติดเชื้อได้แก่ โรคติดเชื้อตามอวัยวะต่างๆ เช่น โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร โรคติดเชื้อที่พบได้บ่อย เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เช่น โควิท-19 โรคติดเชื้อที่กลับมาอุบัติใหม่ เช่น ฝีดาษลิง และโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์
- กลุ่มเสี่ยงโรคติดเชื้อคือผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือบกพร่อง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคบางชนิด
- อายุรกรรมโรคติดเชื้อคือสาขาย่อยของอายุรศาสตร์ที่มุ่งเน้นการวินิจฉัย รักษา การเฝ้าระวัง การป้องกันโรคติดเชื้อ รวมถึงการวิจัยและพัฒนาแนวทางป้องกันโรคติดเชื้อใหม่ๆ
- อายุรกรรมโรคติดเชื้อดูแลและรักษาโรคติดเชื้อที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร โรคไข้หวัดใหญ่ โรคเอดส์ เชื้อราที่ปอด วัณโรค โรคพยาธิ มาลาเรีย ไข้เลือดออก ไวรัสตับอักเสบ ซิฟิลิส เป็นต้น
โรคติดเชื้อเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจนเสียชีวิตได้ หากมีอาการที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ เช่น ท้องเสียจากการติดเชื้อทางเดินอาหาร หรือมีอาการการติดเชื้อในกระแสเลือดหรือทางเดินหายใจ จึงไม่ควรมองข้าม ควรเข้ารับการรักษาที่แผนกอายุรกรรมโรคติดเชื้อ
ในบทความนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับโรคติดเชื้อ และแผนกอายุรกรรมโรคติดเชื้อ รวมทั้งแนวทางการรักษาโรคติดเชื้อ เพื่อให้เข้าใจวิธีการดูแลและป้องกันการติดเชื้อในระบบต่างๆ ของร่างกายอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
/Vibhavadi%20Hospital%20-%20Jan%206%20(%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%20%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%20%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%20%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%20%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3)%20(2).jpg)
โรคติดเชื้อ คืออะไร
โรคติดเชื้อเป็นภาวะที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตก่อโรคขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และโปรโตซัว เข้าสู่ร่างกายแล้วส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่างๆ เช่น ระบบทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะ รวมถึงประสาทและสมอง สามารถแพร่กระจายได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการสูดดมละอองฝอยจากผู้ป่วย สัมผัสสารคัดหลั่ง การบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ รวมถึงการถูกสัตว์ที่เป็นพาหะกัดหรือทำให้เกิดบาดแผล
โรคติดเชื้อมีทั้งอาการแบบเฉียบพลันหรือเกิดเป็นภาวะเรื้อรัง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี เชื้อก่อโรคอาจมีการปรับตัวและพัฒนาเป็นเชื้อดื้อยา ซึ่งส่งผลให้การรักษามีความซับซ้อนและเพิ่มความเสี่ยงต่อในการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้
ในปัจจุบันนี้แม้เทคโนโลยีทางการแพทย์จะก้าวหน้า แต่โรคติดเชื้อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรงมากกว่าผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง
/Vibhavadi%20Hospital%20-%20Jan%206%20(%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%20%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%20%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%20%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%20%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3)%20(3).jpg)
โรคติดเชื้อ มีอะไรบ้าง
โรคติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้ในอวัยวะและระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยสามารถจำแนกได้ดังนี้
- โรคติดเชื้อตามอวัยวะต่างๆ ได้แก่ โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคติดเชื้อทางผิวหนัง โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อทางสมอง
- โรคติดเชื้อที่พบได้บ่อย ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคไซนัสอักเสบ โรคหัด ปอดบวม คางทูม โรคไข้หวัดใหญ่ โรคฉี่หนู ไข้รากสาด วัณโรค เยื่อหุ้มสมองอักเสบ งูสวัด โรคมาลาเรีย เป็นต้น
- โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เป็นโรคติดเชื้อที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ หรือมีการแพร่ระบาดมากขึ้นในพื้นที่ที่ไม่เคยระบาดมาก่อน เช่น โรคโควิด-19 (COVID-19)
- โรคติดเชื้อที่กลับมาอุบัติใหม่ เป็นโรคที่เคยถูกควบคุมได้หรือหายไปในช่วงเวลาหนึ่ง แล้วกลับมาระบาดอีกครั้ง เช่น ฝีดาษลิง โรคไวรัสอีโบลา เป็นต้น
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นโรคติดเชื้อที่แพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ได้แก่ ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี
กลุ่มเสี่ยงโรคติดเชื้อ มีใครบ้าง
ในทางระบาดวิทยาพบว่ากลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อและเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง มักเป็นกลุ่มที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือบกพร่อง ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่
- กลุ่มเปราะบางที่ง่ายต่อการติดเชื้อ ได้แก่ เด็กเล็กที่ระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ผู้สูงอายุที่มีความเสื่อมถอยของระบบภูมิคุ้มกันตามวัย สตรีมีครรภ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันและสรีรวิทยาในระหว่างตั้งครรภ์
- กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคบางชนิด เช่น ผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน หรือยากดภูมิที่ใช้ในการรักษาโรคอักเสบเรื้อรังและภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะที่ต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
- ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจากโรคประจำตัว เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องระยะสุดท้าย (AIDS) ผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นต้น
/Vibhavadi%20Hospital%20-%20Jan%206%20(%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%20%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%20%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%20%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%20%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3)%20(4).jpg)
อาการบ่งชี้ว่ามีโรคติดเชื้อ
การติดเชื้อในระบบต่างๆ ของร่างกายสามารถแสดงอาการที่แตกต่างกันไป เช่น
- การติดเชื้อทางเดินอาหาร อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิต ส่งผลให้เกิดอาการ เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง เป็นไข้ ท้องอืด เป็นต้น
- การติดเชื้อทางระบบสืบพันธุ์ อาจมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา ซึ่งบางครั้งเกี่ยวข้องกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาการที่พบ ได้แก่ ตกขาวผิดปกติ มีกลิ่นเหม็น คันหรือระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศ รวมถึงอาจมีแผล หนอง หรืออาการปวดขณะปัสสาวะ
- การติดเชื้อทางเดินหายใจ สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากไวรัสและแบคทีเรีย อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และอาจมีไข้ หากเป็นการติดเชื้อที่รุนแรง เช่น ปอดอักเสบ (Pneumonia) อาจมีอาการหายใจลำบาก
/Vibhavadi%20Hospital%20-%20Jan%206%20(%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%20%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%20%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%20%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%20%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3)%20(5).jpg)
ป้องกันโรคติดเชื้อได้อย่างไร
การป้องกันโรคติดเชื้อทำได้โดย การฉีดวัคซีนให้ครบตามกำหนดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้สามารถตอบสนองต่อเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ยังควรเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดี เช่น
- การกินอาหารที่มีประโยชน์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- การพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- การล้างมือให้สะอาดและถูกต้องตามหลักสุขอนามัย
- การเว้นระยะห่างและสวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง
- การหลีกเลี่ยงสถานที่แออัดและปรับสภาพแวดล้อมให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม กระบวนการติดเชื้อเป็นปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนั้นหากพบอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตราย
/Vibhavadi%20Hospital%20-%20Jan%206%20(%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%20%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%20%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%20%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%20%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3)%20(6).jpg)
อายุรกรรมโรคติดเชื้อ คืออะไร
อายุรกรรมโรคติดเชื้อเป็นสาขาย่อยของอายุรศาสตร์ เน้นการวินิจฉัย รักษา ป้องกัน และเฝ้าระวังโรคติดเชื้อ รวมถึงการวิจัยและพัฒนาแนวทางรักษา โดยเฉพาะในยุคที่โรคอุบัติใหม่และเชื้อดื้อยามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดูแลโดยอายุรแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางโรคติดเชื้อ ซึ่งขอบเขตของอายุรกรรมโรคติดเชื้อ ได้แก่
- การวินิจฉัยโรคติดเชื้อโดยใช้เทคนิคห้องปฏิบัติการ เช่น การเพาะเชื้อ การตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อ (PCR) และการตรวจแอนติบอดี รวมถึงประเมินประวัติสัมผัสโรคและปัจจัยเสี่ยง ช่วยให้เลือกใช้ยาปฏิชีวนะให้ตรงกับต้นเหตุของโรค
- การรักษาโรคติดเชื้อ ทำการรักษาใรคการติดเชื้อต่างๆ เช่น การติดเชื้อทางเดินอาหาร โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัส ยาต้านเชื้อรา และยาฆ่าพยาธิ รวมถึงให้การรักษาภาวะแทรกซ้อนหรือภาวะอวัยวะล้มเหลวจากการติดเชื้อรุนแรง
- การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อ เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนตับอักเสบ และวัคซีนโควิด-19 การกำหนดมาตรการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล เช่น การล้างมือและการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา
- การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องให้การผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสที่ต้องการการดูแลเฉพาะทาง
/Vibhavadi%20Hospital%20-%20Jan%206%20(%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%20%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%20%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%20%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%20%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3)%20(7).jpg)
อายุรกรรมโรคติดเชื้อ ดูแลรักษาโรคอะไรบ้าง
อายุรกรรมโรคติดเชื้อ เป็นสาขาที่ดูแลรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อต่างๆ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งครอบคลุมโรคต่างๆ ดังนี้
- โรคติดเชื้อไวรัสเช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคอีสุกอีใส โรคงูสวัด โรคเริม โรคตับอักเสบจากไวรัส และโรคติดเชื้อไวรัสอื่นๆ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสเด็งกี เป็นต้น
- โรคติดเชื้อแบคทีเรียเช่น โรคคออักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย โรคปอดบวม โรคติดเชื้อในกระแสเลือด โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย โรควัณโรค โรคผิวหนังติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น
- โรคติดเชื้อราเช่น โรคเชื้อราในช่องปาก โรคเชื้อราในช่องคลอด โรคเชื้อราที่ผิวหนัง โรคเชื้อราในปอด เป็นต้น
- โรคติดเชื้อปรสิตมาลาเรีย โรคบิด โรคพยาธิ เป็นต้น
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หนองใน ซิฟิลิส เริม หูด หูดข้าวโพด เป็นต้น
แผนกอายุรกรรมโรคติดเชื้อที่โรงพยาบาลวิภาวดี
แผนกอายุรกรรมโรคติดเชื้อที่โรงพยาบาลวิภาวดีให้บริการทางการแพทย์ที่ครบครันและมีคุณภาพแบบ One Stop Service ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย การรักษา การฟื้นฟูสุขภาพ ไปจนถึงการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา พร้อมอุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างครบวงจรในทุกกระบวนการรักษาในที่เดียว
ข้อมูลและบริการ
พร้อมให้บริการวินิจฉัยและรักษาโรคติดเชื้อ รวมถึงป้องกันและควบคุมในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง พร้อมมุ่งมั่นให้บริการทางการแพทย์ตามมาตรฐานสากลเพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยทุกกลุ่ม
- ให้บริการวินิจฉัยโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และปรสิต
- ให้บริการรักษาโรคติดเชื้อที่มีความซับซ้อน รวมถึงโรคที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ
- ให้บริการดูแลแบบเฉพาะบุคคลสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและการป้องกันโรคฉวยโอกาส เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็งหรือผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
- ให้บริการรักษาดูแลและรักษาผู้ป่วยที่มีโรคติดเชื้อรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น การติดเชื้อในระบบหายใจ ติดเชื้อทางเดินอาหาร หรือระบบไต โดยให้การดูแลอย่างใกล้ชิดในห้อง ICU หรือห้องพักฟื้นที่มีอุปกรณ์ทันสมัยเพื่อการติดตามอาการ
- การให้คำปรึกษาและการดูแลสุขภาพ บริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น การให้คำแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
เครื่องมือและเทคโนโลยี
การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการวินิจฉัยและรักษาโรคติดเชื้อให้มีความแม่นยำ เช่น
- ใช้เครื่องมือสำหรับการวินิจฉัยโรคติดเชื้อ เช่น การตรวจ PCR (Polymerase Chain Reaction) การเพาะเชื้อ (Culture Testing) การตรวจแอนติบอดี (Serology Testing)
- การใช้เทคโนโลยีการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะและยาต้านเชื้อไวรัส ที่สามารถตรวจสอบและปรับขนาดยาต้านเชื้อที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุดและลดผลข้างเคียง ลดความเสี่ยงจากการเกิดเชื้อดื้อยา
- การรักษาด้วยการฟอกเลือด (Dialysis) ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อรุนแรง
- ระบบเฝ้าระวังและการจัดการข้อมูลผู้ป่วย ใช้ระบบบันทึกข้อมูลทางการแพทย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Health Records: EHR) เพื่อบันทึกข้อมูลทางการแพทย์ของผู้ป่วยอย่างแม่นยำ ทำให้สามารถติดตามและปรับแผนการรักษาได้อย่างรวดเร็ว
- มีการให้คำปรึกษาผ่านระบบออนไลน์ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถติดตามอาการและรับคำแนะนำจากแพทย์โดยไม่ต้องเดินทางมาที่โรงพยาบาล
การวินิจฉัยและการรักษา
แผนกอายุรกรรมโรคติดเชื้อให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคติดเชื้อที่หลากหลาย เช่น โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร ได้แก่
- การตรวจการติดเชื้อเฉพาะทางด้วยวิธีต่างๆ เช่น การเพาะเลี้ยงเชื้อสำหรับการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือปรสิต
- การตรวจเลือดเพื่อหาสัญญาณการติดเชื้อ
- การใช้ CT Scan, MRI หรือ การตรวจอัลตราซาวด์เพื่อตรวจหาการติดเชื้อในอวัยวะภายใน
- การรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)
- การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยโรคมะเร็งหรือผู้ป่วยที่มีโรคภูมิแพ้หรือ HIV
- การฟื้นฟูและการป้องกันการติดเชื้อซ้ำ สำหรับผู้ป่วยที่เคยมีภาวะติดเชื้อเรื้อรังหรือมีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ
- การดูแลผู้ป่วยในระยะยาว โดยการติดตามอาการของผู้ป่วยหลังจากการรักษาเสร็จสิ้น เพื่อตรวจสอบผลของการรักษาและป้องกันการติดเชื้อซ้ำหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นหลังการรักษา
- ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อ เช่น การฉีดวัคซีน การปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ รวมถึงการดูแลสุขภาพเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
ทีมแพทย์และบุคลากร
แผนกอายุรกรรมโรคติดเชื้อของโรงพยาบาลวิภาวดีมีความเชี่ยวชาญในการวินิจฉัย รักษา และป้องกันโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อ
- ทีมแพทย์มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการวินิจฉัยและรักษาโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยและผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อที่ซับซ้อน
- ทีมแพทย์มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด และผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ที่ต้องการการดูแลโดยเฉพาะ
- ทีมแพทย์ร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์ในสาขาอื่นๆ ในการพัฒนาแนวปฏิบัติและมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากร
- มีความเชี่ยวชาญด้านการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
- มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อ การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม และการเสริมสร้างสุขอนามัยที่ดี
ค่าใช้จ่าย
โรงพยาบาลวิภาวดีมีการให้บริการแพ็กเกจและโปรโมชั่นที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้รับบริการหากต้องการสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจและค่าใช้จ่ายในในการรักษาโรคติดเชื้อ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่โรงพยาบาลวิภาวดี
สถานที่และเวลาให้บริการ
แผนกอายุรกรรมโรคติดเชื้อของโรงพยาบาลวิภาวดีตั้งอยู่ที่อาคาร 1 ชั้น 2 เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 08:00 น. ถึง 20:00 น. ผู้ป่วยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมหรือทำการนัดหมายได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-561-1111 และ 02-058-1111 หรือผ่านทางเว็บไซด์www.vibhavadi.com