ไข้หวัดใหญ่

  • โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) มักมีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา
  • ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่มีการแพร่ระบาดในมนุษย์อย่างแพร่หลายคือ ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ซับไทป์ H1N1 และ H3N2 และ ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุ B แบ่งเป็น 2 lineages คือ Victoria และ Yamagata
  • เชื้อไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อได้ง่ายผ่านละอองฝอยจากระบบทางเดินหายใจ การสัมผัสสารคัดหลั่งโดยตรง และการสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคไข้หวัดใหญ่ได้แก่ ภาวะหายใจลําบากเฉียบพลัน หลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ การกำเริบของโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ โรคปอดบวม หรือปอดอักเสบ
  • แนวทางการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่คือดูแลตัวเองด้วยวิธีการที่เหมาะสม เช่น การพักผ่อนให้เพียงพอและดื่มน้ำมากๆ การกินยารักษาตามอาการ เลือกกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และการใช้ยาต้านไวรัสในการรักษา

โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อที่ไม่ควรมองข้ามหากดูแลตัวเองไม่ถูกวิธี อาการอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต เมื่อมีคนในครอบครัวป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที

บทความนี้จะพาคุณมาทำความรู้จักกับโรคไข้หวัดใหญ่ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร มีอาการอย่างไร มีกี่สายพันธุ์ รวมถึงแนวทางการรักษาและการป้องกัน เพื่อให้คุณสามารถดูแลตัวเองและคนรอบข้างให้ห่างไกลจากโรค

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) คืออะไร

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) คืออะไร

โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ รวมถึงโพรงจมูก ลำคอ และปอด มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) มักมีอาการรุนแรงมากกว่าไข้หวัดทั่วไป ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่จะสามารถหายได้เอง แต่ในกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อน อาการของโรคอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

สังเกตอาการไข้หวัดใหญ่

สังเกตอาการไข้หวัดใหญ่

แม้ว่าอาการของโรคไข้หวัดใหญ่จะคล้ายกับไข้หวัดธรรมดาแต่มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากกว่า โดยอาการไข้หวัดใหญ่สามารถสังเกตได้ดังนี้

  • ไข้สูง หนาวสั่น และมีเหงื่อออกมาก ผู้ป่วยมักมีไข้สูงเกิน 38°C
  • มีอาการปวดศีรษะและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อเป็นลักษณะเด่นของไข้หวัดใหญ่
  • รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หมดแรง แม้นอนพักก็ยังไม่สดชื่นขึ้น
  • เจ็บคอและไอแห้ง
  • ปวดตาและไวต่อแสง
  • คัดจมูก น้ำมูกไหล และจาม
  • หายใจลำบาก โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อแทรกซ้อน
  • ในเด็กจะพบอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย ได้บ่อยกว่าผู้ใหญ่

 อาการไข้หวัดใหญ่แบบรุนแรงในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง

อาการไข้หวัดใหญ่แบบรุนแรงในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่อาการรุนแรง ส่วนใหญ่มักพบในกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวหรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น

  • ระบบหัวใจและหลอดเลือดไข้หวัดใหญ่อาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันโดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
  • ระบบประสาทภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทที่สำคัญคือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดศีรษะรุนแรงและซึมลง
  • ระบบทางเดินหายใจผู้ป่วยอาจมีภาวะหลอดลมอักเสบและปอดบวม ทำให้มีอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก ในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่เป็นโรคปอดเรื้อรังอาจรุนแรงถึงขั้นเกิดภาวะหายใจล้มเหลว

ไข้หวัดใหญ่มีกี่สายพันธุ์

ไวรัสอินฟลูเอนซาที่เป็นสาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่มีกี่สายพันธุ์นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ สายพันธุ์ A, B และ C โดยสายพันธุ์ที่มีการแพร่ระบาดในมนุษย์อย่างแพร่หลายคือ ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ซับไทป์ที่พบว่ามีการแพร่ระบาดเป็นประจำ ได้แก่ H1N1 และ H3N2 และ ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุ B แบ่งเป็น 2 lineages คือ Victoria และ Yamagata โดยทั่วไปการติดเชื้อจากไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B มักมีอาการไม่รุนแรงเท่ากับสายพันธุ์ A

กลุ่มเสี่ยงอาการไข้หวัดใหญ่แบบรุนแรง

กลุ่มเสี่ยงอาการไข้หวัดใหญ่แบบรุนแรง

กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากโรคไข้หวัดใหญ่ได้แก่

  • สตรีมีครรภ์
  • เด็กเล็กอายุระหว่าง 6 เดือน ถึง 2 ปี
  • ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน ธาลัสซีเมีย มะเร็งระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัด ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
  • ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนขั้นรุนแรง บุคคลที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือมีดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป

เชื้อไข้หวัดใหญ่ติดต่อง่าย ควรเฝ้าระวัง!

โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ผ่านกลไกหลายประการ ได้แก่

  • ผ่านละอองฝอยจากระบบทางเดินหายใจเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่กระจายผ่านละอองฝอยขนาดเล็กจากการไอ จาม หรือพูดคุยกับผู้ติดเชื้อในระยะใกล้ โดยเข้าสู่ร่างกายของผู้อื่นผ่านทางเยื่อบุตา เยื่อบุโพรงจมูก หรือเยื่อบุปาก
  • ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งโดยตรง การสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยโดยตรง เช่น น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ จากการใช้ของส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ช้อนส้อม แก้วน้ำ หรือการสัมผัสใกล้ชิด เช่น การกอดหรือจูบ
  • ผ่านการสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถคงอยู่บนพื้นผิววัตถุต่างๆ ได้ระยะเวลาหนึ่ง เมื่อมือของบุคคลไปสัมผัสพื้นผิวที่ปนเปื้อนแล้วนำมือมาสัมผัสบริเวณใบหน้า เช่น ขยี้ตา หรือจับปาก ก็อาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้

ภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่

โดยทั่วไปผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงสามารถหายจากโรคได้เองภายในระยะเวลา 7–14 วัน อย่างไรก็ตามกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงอาจมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากการติดเชื้อ ได้แก่ ภาวะหายใจลําบากเฉียบพลัน หลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ การกำเริบของโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ โรคปอดบวม หรือปอดอักเสบ

อาการไข้หวัดใหญ่แบบไหนควรรีบพบแพทย์

อาการไข้หวัดใหญ่แบบไหนควรรีบพบแพทย์

โรคไข้หวัดใหญ่แม้ว่าจะสามารถรักษาและดูแลตัวเองได้ที่บ้าน แต่ในบางกรณีหากพบว่ามีอาการไข้หวัดใหญ่รุนแรงดังไปต่อไปนี้ ต้องได้รีบเข้าพบแพทย์อย่างเร่งด่วน

  • เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หอบเหนื่อย หายใจเร็ว
  • ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะเลย
  • ปากเขียว ปลายมือปลายเท้าเขียว อาจบ่งบอกถึงภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ
  • มีอาการชัก
  • ปวดกล้ามเนื้อรุนแรง
  • มีโรคประจำตัวกำเริบ

การวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่โดยแพทย์

การวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่ต้องใช้การตรวจร่างกายและทดสอบทางห้องปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถแยกแยะจากโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ ได้อย่างแม่นยำ

โดยแพทย์จะซักประวัติทางการแพทย์และตรวจร่างกายของผู้ป่วยเพื่อประเมินอาการเด่นของโรคไข้หวัดใหญ่ ร่วมกับการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจหาแอนติเจน การตรวจหาสารพันธุกรรม การเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัส เพื่อยืนยันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ นอกจากนั้นยังต้องวินิจฉัยเพื่อแยกแยะโรค COVID-19 และโรคไข้หวัดใหญ่ควบคู่กันไปด้วยเนื่องจากทั้งสองโรคมีอาการคล้ายกัน

แนวทางการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่

แนวทางการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่

ไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่กระจายได้ง่ายและอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงในกลุ่มเสี่ยง การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญในการลดความรุนแรงของโรคและป้องกันการแพร่กระจาย โดยไข้หวัดใหญ่ รักษาด้วยแนวทางเบื้องต้นดังนี้

  • การดูแลตัวเองด้วยวิธีการที่เหมาะสมโรคไข้หวัดใหญ่สามารถหายได้เองโดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ และกินยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ แก้ปวด หรือยาลดน้ำมูก ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเมื่อมีไข้สูง รวมถึงการเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน
  • การใช้ยาต้านไวรัสในการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง แพทย์อาจสั่งจ่ายยาต้านไวรัส เช่น โอลเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน แต่ยานี้อาจมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หรือเวียนศีรษะ

ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้โดยมีแนวทางสำคัญในการป้องกันโรคดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยเฉพาะการสัมผัสสารคัดหลั่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการรับเชื้อไวรัส หากมีความจำเป็นควรสวมหน้ากากอนามัย และรักษาระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร
  2. หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดีเช่น รถโดยสารสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่ทำงานที่มีการระบายอากาศไม่ดี อาจเป็นแหล่งแพร่เชื้อได้
  3. ล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำและสบู่หรือใช้แอลกอฮอล์เจลที่มีแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 60% ขึ้นไป ทำความสะอาด การล้างมืออย่างถูกวิธีสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสได้
  4. หลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่นเช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนส้อม ผ้าเช็ดหน้า ร่วมกับผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
  5. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ช่วยลดความรุนแรงของโรคและลดอัตราการเสียชีวิต โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง จึงควรฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี

การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ที่โรงพยาบาลวิภาวดี

โรงพยาบาลวิภาวดีใส่ใจและให้ความสำคัญกับสุขภาพของคนไทย พร้อมให้บริการตรวจวินิจฉัย ให้คำปรึกษา และรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ โดยทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์สูง ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมาตรฐานสากล อีกทั้งยังมีโปรโมชั่นเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ

ทำไมต้องรักษาไข้หวัดใหญ่ที่โรงพยาบาลวิภาวดี?

  • โรงพยาบาลได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล ISO 9001:2008 และ Hospital Accreditation (HA)
  • ศูนย์เฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจ เพื่อให้บริการดูแลและรักษาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ รวมถึงโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจอื่นๆ
  • ทีมแพทย์มากประสบการณ์ด้านโรคติดเชื้อและระบบทางเดินหายใจ พร้อมให้คำแนะนำเรื่องการป้องกันและรักษาอย่างมืออาชีพ
  • เครื่องตรวจวินิจฉัยที่ทันสมัยและแม่นยำ สามารถตรวจเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว
  • บริการรองรับผู้ป่วยฉุกเฉิน พร้อมสิทธิประโยชน์จากบริษัทประกันที่หลากหลาย
  • ห้องพักสะอาด เงียบสงบ ออกแบบมาเพื่อการพักฟื้นที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย

อย่ารอให้ไข้หวัดใหญ่รุนแรง ป้องกันและรักษาได้ที่โรงพยาบาลวิภาวดี

  • ที่อยู 51/3 ถ.งามวงศ์วาน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
  • นัดหมายล่วงหน้า โทร. 02-561-1111 หรือ 02-058-1111
  • สำหรับตัวแทนประกันชีวิต ติดต่อผ่าน LINE: @vibhainsurance

สรุป

โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) โดยสายพันธุ์ที่มีการแพร่ระบาดในมนุษย์คือ ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A และ สายพันธ์ุ B มักมีอาการรุนแรงมากกว่าไข้หวัดทั่วไป อาการไข้หวัดใหญ่ได้แก่ มีไข้สูงมาก หนาวสั่น ปวดศีรษะและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รู้สึกอ่อนเพลีย เจ็บคอและไอแห้ง ปวดตา คัดจมูก น้ำมูกไหล หายใจลำบาก

แม้ว่าในผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่จะสามารถหายได้เองโดยการดูแลตัวเองและกินยารักษาตามอาการ แต่ในกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่นเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ภาวะขาดน้ำ ปากเขียว มีอาการชัก ปวดกล้ามเนื้อรุนแรง มีโรคประจำตัวกำเริบ ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน สำหรับผู้ที่เป็นไข้หวัดใหญ่สามารถเข้ารับมาปรึกษาได้ที่โรงพยาบาลวิภาวดีดูแลและรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่โดยเฉพาะ

FAQ

ตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่เพื่อให้คุณเข้าใจและสามารถดูแลตัวเองได้ดียิ่งขึ้น

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A กับ B ต่างกันอย่างไร

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A มักรุนแรงกว่า สามารถแพร่ระบาดในวงกว้างเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ที่รวดเร็ว ส่วนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B มีอาการคล้ายกับสายพันธุ์ A แต่โดยทั่วไปมักไม่รุนแรงเท่าสายพันธุ์ A

เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A กี่วันหาย

สำหรับผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรง อาการของไข้หวัดใหญ่มักจะหายไปได้ใน 5-7 วันหลังจากเริ่มมีอาการ

ไข้หวัดใหญ่อันตรายไหม

โรคไข้หวัดใหญ่อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ได้แก่ ปอดอักเสบและ หลอดลมอักเสบดังนั้น หากมีอาการของไข้หวัดที่ดูรุนแรงกว่าปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที

เชื้อไข้หวัดใหญ่ติดง่ายไหม

ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อที่แพร่กระจายได้ง่ายจากการสูดดมละอองฝอยจากผู้ป่วยหรือสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ หรือโทรศัพท์ แล้วนำมือมาสัมผัสใบหน้า ดวงตา หรือจมูก

ไข้หวัดใหญ่มีโอกาสลงปอดไหม

ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสอินฟลูเอนซา ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ และในบางกรณีอาจลุกลามไปยังปอด ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้น

“ภูมิใจที่ได้ดูแลคุณ”

สอบถามรายละเอียดและนัดหมายล่วงหน้าที่

02-561-1111

02-058-1111


ทีมแพทย์ไข้หวัดใหญ่