มะเร็งตับอ่อน

  • โรคมะเร็งตับอ่อน คือเนื้องอกชนิดหนึ่งที่เกิดจากเซลล์ตับอ่อนที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติ ซึ่งตัวเนื้องอกที่เกิดขึ้นเป็นเนื้อร้ายที่เรียกว่า ‘มะเร็ง’
  • โรคมะเร็งตับอ่อนระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่จะมีอาการผิดปกติก็ต่อเมื่อมะเร็งอยู่ในระยะแพร่กระจายเรียบร้อยแล้ว ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับอ่อนมักมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ทานอาหารได้น้อย น้ำหนักตัวลดลงผิดปกติ ปัสสาวะมีสีเข้ม รวมถึงมีอาการปวดท้องหนัก หรือปวดท้องเรื้อรัง
  • การรักษามะเร็งตับอ่อนให้หายขาดมีเพียงการผ่าตัดเท่านั้น แต่สามารถทำการผ่าตัดได้ในกรณีที่มะเร็งยังไม่ลุกลาม ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักพบมะเร็งตับอ่อนก็ต่อเมื่อมะเร็งเข้าสู่ระยะลุกลามเรียบร้อยแล้ว ทำให้การรักษาส่วนใหญ่เป็นรูปแบบของการประคับประคอง หรือรักษาร่วม
  • วิธีดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งตับอ่อน ได้แก่ การหลีกเลี่ยงดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมถึงการรักษาน้ำหนักตัว และรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

มะเร็งตับอ่อน เป็นมะเร็งที่มีโอกาสพบน้อย แต่ก็อันตรายถึงชีวิตได้! ในบทความนี้ทางโรงพยาบาลวิภาวดีจะมาแนะนำให้รู้จักโรคมะเร็งตับอ่อน พร้อมบอกวิธีดูแลตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งตับอ่อน

โรคมะเร็งตับอ่อน (Pancreatic Cancer) คืออะไร

ตับอ่อนไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของตับ แต่ตับอ่อนเป็นอวัยวะชนิดหนึ่งที่อยู่ในร่างกายของคนเรา มีขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร อยู่ในช่องท้องด้านบน บริเวณหลังกระเพาะอาหารและอยู่ติดกับลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งตับอ่อนมีหน้าที่ในการผลิตเอนไซม์ที่ช่วยในการย่อยอาหาร และผลิตฮอร์โมนที่สำคัญหลายชนิด เช่น ฮอร์โมนอินซูลินที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

มะเร็งตับอ่อน คือเนื้องอกชนิดหนึ่งที่เกิดจากเซลล์ตับอ่อนที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติ ซึ่งเนื้องอกที่เกิดเป็นเนื้องอกชนิดร้ายที่เรียกว่า ‘มะเร็ง’

โรคมะเร็งตับอ่อนมีกี่ระยะ

โรคมะเร็งตับอ่อนมีกี่ระยะ

โรคมะเร็งตับอ่อน แบ่งเป็นทั้งหมด 4 ระยะ ได้แก่

1. มะเร็งตับอ่อนระยะแรกหรือเรียกว่าชั้น 1 แบ่งย่อยได้เป็น 2 ชั้น ได้แก่ ชั้น 1เอ (Stage IA) ก้อนมะเร็งจะมีขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร ยังไม่ลุกลามออกนอกตับอ่อน และยังไม่แพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง และชั้น 1บี (Stage IB) ก้อนมะเร็งจะมีขนาดใหญ่กว่า 2 เซนติเมตร แต่ยังไม่ลุกลามออกนอกตับอ่อน และยังไม่แพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง

2. มะเร็งตับอ่อนระยะที่ 2 หรือเรียกว่าชั้น 2 แบ่งย่อยได้เป็น 2 ขั้น ได้แก่ ขั้น 2เอ (Stage IIA) มะเร็งจะลุกลามออกนอกตับอ่อน แต่ยังไปไม่ถึงหลอดเลือดใหญ่ และยังไม่แพร่กระจายถึงต่อมน้ำเหลืองทั้งใกล้และไกล ส่วนขั้น 2บี (Stage IIB) มะเร็งจะลุกลามออกนอกตับอ่อน แต่ยังไปไม่ถึงหลอดเลือดใหญ่ มีการแพร่กระจายถึงต่อมน้ำเหลืองใกล้ แต่ยังไม่ถึงต่อมน้ำเหลืองไกล

3. มะเร็งตับอ่อนระยะที่ 3 คือระยะที่มะเร็งลุกลามออกนอกตับอ่อน และไปถึงหลอดเลือดใหญ่ อาจแพร่กระจายถึงต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง แต่ยังแพร่กระจายไม่ถึงต่อมน้ำเหลืองไกล

4. มะเร็งตับอ่อนระยะที่ 4 ในขั้นที่ 4 มะเร็งจะลุกลามไปยังอวัยวะที่ห่างไกลแล้ว

โรคมะเร็งตับอ่อนเกิดจากอะไร

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งตับอ่อนยังไม่ทราบแน่ชัด ทั้งนี้กว่า 90% ของโรคมะเร็งตับอ่อน เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ท่อตับอ่อนที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำย่อย และอีก 10% เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนภายในตับอ่อน

ปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งตับอ่อน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งตับอ่อน ได้แก่

  • ผู้ที่สูบบุหรี่ มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งตับอ่อนได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 2 - 3 เท่า
  • ผู้ที่มีภาวะตับอักเสบเรื้อรัง หรือเป็นนิ่วในตับอ่อนมีความเสี่ยงในเป็นมะเร็งตับอ่อนมากกว่าคนทั่วไป
  • ผู้ที่ประกอบอาชีพด้านอุตสาหกรรมที่ต้องสัมผัสหิน ก๊าซ สารเคมีต่างๆเช่น คนงานในอุตสาหกรรมเหล็ก
  • ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตับอ่อนจะมีความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งตับอ่อนได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่า

อาการโรคมะเร็งตับอ่อนเป็นอย่างไร

อาการโรคมะเร็งตับอ่อนเป็นอย่างไร

อาการที่บ่งบอกว่าอาจเกิดโรคมะเร็งตับอ่อน ได้แก่ มีภาวะตัวเหลือง ตาเหลือง ทานอาหารได้น้อย รู้สึกเบื่ออาหาร มีอาการปวดท้องเรื้อรัง มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ผู้ป่วย 10 - 20% ของจำนวนผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน มักเกิดโรคเบาหวานร่วมด้วย เนื่องจากมะเร็งเข้าไปยับยั้งการผลิตอินซูลิน

ทั้งนี้อาการโรคมะเร็งตับอ่อนยังสามารถแบ่งตามตำแหน่งที่เกิดได้อีกด้วย โดยแบ่งเป็น 2 ตำแหน่ง ดังนี้

บริเวณหัวตับอ่อน

กรณีเกิดก้อนมะเร็งที่บริเวณหัวตับอ่อน หัวตับอ่อนเป็นทางผ่านของท่อทางเดินน้ำดี ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนบริเวณนี้จะไม่สามารถระบายน้ำดีออก และมีน้ำดีคั่งอยู่ในกระแสเลือด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง รู้สึกอาการอ่อนเพลีย ทานอาหารได้น้อย รวมถึงมีปัสสาวะสีเข้ม

บริเวณตัวและหางตับอ่อน

กรณีเกิดก้อนมะเร็งที่บริเวณตัวและหางตับอ่อน เนื่องจากส่วนนี้ไม่ได้อยู่ใกล้ท่อน้ำดี ทำให้ในระยะแรกผู้ป่วยไม่รู้สึกถึงความผิดปกติ แต่ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการก็ต่อเมื่อก้อนมะเร็งขยายใหญ่ขึ้น หรืออยู่ในภาวะที่มีการแพร่กระจายเรียบร้อยแล้ว โดยผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ทานอาหารได้น้อย ปวดท้องอยู่ตลอดเนื่องจากก้อนมะเร็งไปเบียดเส้นประสาท

วินิจฉัยโรคมะเร็งตับอ่อนโดยแพทย์

จากที่ได้ทราบกันแล้วว่าผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนจะมีอาการผิดปกติ คือตัวเหลือง ตาเหลือง ทานอาหารได้น้อย ร่วมกับมีอาการปวดท้องเรื้อรัง การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับอ่อนจึงต้องมีการซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจเบื้องต้นก่อน เช่น ตรวจดูระบบการทำงานของเม็ดเลือด การทำงานของตับ โดยหากพบความผิดปกติ แพทย์จะตรวจเพิ่มเติม เช่น อัลตราซาวนด์ ซีทีสแกน เป็นต้น

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งตับอ่อน

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งตับอ่อน

เมื่อแพทย์ทำการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับอ่อนเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะเสนอแนวทางการรักษาโรคมะเร็งตับอ่อนตามความรุนแรงของโรค ดังนี้

การรักษาด้วยการผ่าตัด

วิธีการรักษามะเร็งตับอ่อนด้วยการผ่าตัด เป็นการผ่าตัดนำก้อนมะเร็งออกมา วิธีนี้จะใช้รักษาได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีก้อนมะเร็งขนาดเล็ก และตำแหน่งของก้อนมะเร็งจะต้องไม่กดทำลายอวัยวะข้างเคียง

การรักษาด้วยการทำเคมีบำบัดและการฉายแสง

วิธีการรักษามะเร็งตับอ่อนด้วยการทำเคมีบำบัดและการฉายแสง เป็นการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนทุกระยะ โดยการฉายแสงเป็นการลดขนาดก้อนมะเร็ง และชะลอการแพร่กระจายของมะเร็งอีกด้วย

การรักษาร่วม

วิธีการรักษาร่วม เป็นการรักษาเพื่อลดอาการข้างเคียงของโรคมะเร็งตับอ่อน

  • การรักษาร่วมกับการใส่สายสวนระบายท่อน้ำดีผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนจะมีภาวะตัวเหลือง ตาเหลือง เนื่องจากมีน้ำดีคั่งอยู่ในกระแสเลือด การใส่สายสวนจะช่วยระบายน้ำดีให้ออกมา วิธีนี้จะใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนที่อยู่ในระยะแพร่กระจาย หรือผู้ป่วยที่มีภาวะท่อน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน
  • การรักษาร่วมกับการใส่ขดลวดถ่างขยายลำไส้เป็นวิธีที่ช่วยคลายการอุดตันของลำไส้ วิธีนี้จะใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนที่อยู่ในระยะแพร่กระจาย และมีการอุดตันของทางเดินอาหาร

ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลโรคมะเร็งตับอ่อน

ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลโรคมะเร็งตับอ่อน

เป็นมะเร็งตับอ่อนแล้วยากที่จะรักษา แต่สามารถดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ แนะนำให้ปฏิบัติตัวดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ตรวจคัดกรองมะเร็งตับอ่อนได้อย่างไร

สำหรับวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งตับอ่อนสามารถทำได้ ดังนี้

  • ตรวจประวัติคนในครอบครัวว่ามีผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนหรือไม่
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งตับอ่อน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ การตรวจอัลตราซาวนด์ผ่านหน้าท้อง การตรวจอัลตราซาวนด์ด้วยการส่องกล้องทางเดินอาหาร และการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

การรักษาโรคมะเร็งตับอ่อนที่โรงพยาบาลวิภาวดี

ที่โรงพยาบาลวิภาวดีเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล ทำให้ผู้ป่วยมั่นใจได้ว่าจะได้รับการรักษาที่ตอบโจทย์ทั้งในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัย อีกทั้งทางโรงพยาบาลวิภาวดียังมีทีมแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านการรักษาโรคเฉพาะทางหลายด้าน ที่พร้อมให้คำแนะนำ นำเสนอแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับตัวคนไข้มากที่สุด

  • โรงพยาบาลวิภาวดีเป็นโรงพยาบาลโรงพยาบาลได้มาตรฐานระดับสากล ISO 9001 : 2008 และ Hospital Accreditation (HA)
  • โรงพยาบาลวิภาวดีตั้งอยู่ในทำเลคุณภาพใจกลางเมืองที่มีเส้นทางการคมนาคมที่สะดวก รวดเร็ว
  • มีศูนย์การรักษาโรคเฉพาะทางที่หลากหลาย ตอบโจทย์โรคและความต้องการด้านการรักษา
  • ตรวจรักษาด้วยแพทย์เฉพาะทางมีประสบการณ์
  • เทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน
  • มีบริการฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้วางแผนมาก่อน ด้วยสิทธิประโยชน์ประกันที่หลากหลาย
  • ห้องพักผู้ป่วยสะอาด เงียบสงบเหมาะแก่การพักผ่อน

สรุป

มะเร็งตับอ่อน เป็นโรคที่พบได้น้อย แต่เมื่อเป็นแล้วก็ยากที่จะรักษาเช่นกัน อีกทั้งอาการมะเร็งตับอ่อนเป็นอาการที่สังเกตได้ยากในช่วงแรก มักตรวจพบตอนที่มะเร็งแพร่กระจายเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้สำหรับผู้ที่มีอาการเข้าข่ายโรคมะเร็งตับอ่อน แนะนำให้รีบนัดแพทย์เพื่อตรวจรักษาเพิ่มเติม สามารถนัดหมายกับทางโรงพยาบาลวิภาวดีได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-561-1111 หรือ 02-058-1111 และสำหรับตัวแทนประกันชีวิต สามารถติดต่อผ่าน LINE: @vibhainsurance

FAQ

มะเร็งตับอ่อนเป็นภัยร้ายที่ส่งผลต่อสุขภาพ อันตรายถึงชีวิต ทั้งนี้ทางโรงพยาบาลวิภาวดีได้รวบรวมคำถามเกี่ยวกับมะเร็งตับอ่อน พร้อมตอบคำถามอย่างละเอียดไว้ให้แล้ว

ป้องกันมะเร็งตับอ่อนได้ 100% ไหม?

ไม่สามารถป้องกันมะเร็งตับอ่อนได้ 100% อีกทั้งในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุของมะเร็งตับอ่อนได้ชัดเจน ทำให้การป้องกันเป็นเรื่องยาก แต่สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

มะเร็งตับอ่อนส่งต่อทางพันธุกรรมได้ไหม?

สามารถส่งต่อทางพันธุกรรมได้ ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตับอ่อนจะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งตับอ่อนมากกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่า

หากผ่าตัดตับอ่อนออกจะยังใช้ชีวิตได้ไหม?

สามารถใช้ชีวิตต่อไปได้ ทั้งนี้การผ่าตัดนำตับอ่อนออกเป็นวิธีที่ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนระยะที่ยังไม่ลุกลาม โดยหากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งตับอ่อนอยู่ในระยะที่มีการแพร่กระจายแล้ว จะรักษาด้วยการทำเคมีบำบัดร่วมกับการรักษาร่วมแทน

“ภูมิใจที่ได้ดูแลคุณ”

สอบถามรายละเอียดและนัดหมายล่วงหน้าที่

02-561-1111

02-058-1111


ทีมแพทย์มะเร็งตับอ่อน