ไทรอยด์เป็นพิษ แม้ว่าจะพบได้ไม่บ่อย แต่หากไม่ได้รับการรักษาอาจพัฒนาและนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ โดยหนึ่งในภาวะที่อันตรายที่สุดคือภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษขั้นวิกฤติ (Thyroid Storm) ซึ่งพบได้น้อยแต่เป็นอันตรายถึงชีวิต จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง และเข้ารับการรักษาให้ทันท่วงทีก่อนที่จะสายเกินแก้
พาไปทำความรู้จักกับไทรอยด์เป็นพิษว่าคืออะไร มีอาการอย่างไร พร้อมเจาะลึกถึงสาเหตุของโรคไทรอยด์ ไทรอยด์เกิดจากอะไร มีแนวทางการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันอย่างไร และแนะนำวิธีการตรวจไทรอยด์ด้วยตัวเองที่สามารถทำได้ง่ายๆ ที่บ้าน เพื่อสามารถดูแลสุขภาพของตัวเองได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ไทรอยด์ คือต่อมไร้ท่อที่ถือว่าใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่สร้างและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนออกไปสู่กระแสเลือด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสามารถทำงานได้ปกติ โดยเฉพาะในระบบหัวใจและระบบประสาท อยู่บริเวณคอด้านหน้ามีหน้าที่ควบคุมการใช้พลังงานในร่างกาย ต่อมไทรอยด์จึงส่งผลต่อร่างกายเกือบทุกส่วน หากไทรอยด์ทำงานผิดปกติ การทำงานต่างๆ ของร่างกายก็จะทำงานเร็วขึ้นและมากขึ้น เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกเยอะ อารมณ์ฉุนเฉียว ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้นจนทำให้น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
ทั้งนี้ ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism, Overactive Thyroid) คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากเกินความจำเป็น ส่งผลให้ระบบเผาผลาญของร่างกายทำงานมากขึ้นนั่นเอง
โรคไทรอยด์แบ่งออกได้หลายชนิดตามลักษณะของความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับต่อมไทรอยด์ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ดังนี้
ไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroidism) หรือไทรอยด์เป็นพิษ เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดสูงผิดปกติและกระตุ้นการทำงานของเซลล์ในร่างกายให้เร็วขึ้น ทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานเร็วขึ้น ส่งผลให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแม้รับประทานอาหารปกติ ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก เหนื่อยง่าย ประจำเดือนมาน้อยลง หรือไม่มาเลยในบางกรณี
นอกจากนี้ อาจมีอาการทางระบบประสาท เช่น อาการกระสับกระส่าย ขาดสมาธิ ความจำแย่ลง มือสั่น แขนขาอ่อนแรง และอาจพบภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ในบางคนอาจมีอาการท้องเสีย ผิวเป็นด่างขาว ผมร่วง หรืออาการเฉพาะที่ เช่น ตาโปน ต่อมไทรอยด์โต รวมถึงอาการผิวหนังผิดปกติ เช่น การเกิดปื้นหนาที่ขา (Pretibial Myxedema) ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ในโรคไทรอยด์เป็นพิษชนิดเกรฟส์ (Graves' disease)
ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) หรือไทรอยด์ต่ำ เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดต่ำกว่าปกติและชะลอการทำงานของเซลล์ทั่วร่างกาย อาการพบได้บ่อย ได้แก่ การมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแม้รับประทานอาหารในปริมาณเท่าเดิม เบื่ออาหาร ความดันสูง ขี้หนาว รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา อ่อนเพลียง่าย ผมร่วง ผิวแห้ง
ตลอดจนมีอารมณ์ซึมเศร้าและเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าได้ง่าย และมีโอกาสเกิดตะคริวบ่อยขึ้น หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ท้องผูก และมีอาการบวมที่ใบหน้า รอบดวงตา หรือทั่วร่างกาย ในบางกรณีอาจพบว่าต่อมไทรอยด์โตขึ้น
ไทรอยด์เป็นพิษเป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไป ส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกายผิดปกติ ทำงานเร็วขึ้น ผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์อาการที่พบสามารถแสดงออกได้หลายอย่าง แตกต่างกันไปในแต่ละคน ซึ่งอาจเกิดขึ้นทีละน้อยหรือรวดเร็วขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค ซึ่งอาการของไทรอยด์เป็นพิษ มีดังนี้
ไทรอยด์เป็นพิษเกิดจากภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินไป ทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานเร็วกว่าปกติ สาเหตุของไทรอยด์เป็นพิษเกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติของต่อมไทรอยด์เอง หรือปัจจัยภายนอกที่กระตุ้นให้ฮอร์โมนไทรอยด์สูงเกินไป มาดูกันว่าสาเหตุหลักของภาวะนี้มีอะไรบ้าง!
ภาวะไทรอยด์อักเสบ (Thyroiditis) เกิดจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ส่งผลให้ฮอร์โมนไทรอยด์รั่วเข้าสู่กระแสเลือด การใช้ยาบางชนิด เช่น ลิเธียม (Lithium) และอินเตอร์เฟอรอน (Interferon) ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดการอักเสบได้ นอกจากนี้ ปัญหาจากระบบภูมิคุ้มกัน หรือการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังคลอดบุตรก็เป็นอีกปัจจัยที่อาจทำให้เกิดภาวะนี้เช่นกัน
ไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไปส่งผลให้เกิดไทรอยด์เป็นพิษได้ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินไปเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดคือโรคเกรฟส์ (Graves’ disease) ซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองที่กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินกว่าความจำเป็นของร่างกาย
ในผู้ที่มีภาวะพร่องไทรอยด์ (Hypothyroidism) การได้รับฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทนเป็นสิ่งจำเป็น แต่หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายสูงเกินจนเกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษได้ บางกรณีอาจเกิดจากการใช้ฮอร์โมนไทรอยด์เพื่อยับยั้งการผลิตฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (TSH) เพื่อลดความเสี่ยงของก้อนเนื้อผิดปกติในต่อมไทรอยด์
นอกจากการใช้ยาแล้ว ยังมีกรณีที่ได้รับฮอร์โมนไทรอยด์โดยไม่ตั้งใจ เช่น การบริโภคเนื้อวัวที่ปนเปื้อนเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ของวัว จนเกิดเป็นอาการที่เรียกว่า Hamburger Thyroiditis หรือภาวะไทรอยด์อักเสบจากแฮมเบอร์เกอร์ แม้ว่าจะพบได้ไม่บ่อย แต่ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษโดยไม่รู้ตัว
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษเกิดจากการที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไป แต่ก็มีอีกหลายปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ มาดูกันว่ามีปัจจัยใดบ้างที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะไทรอยด์เป็นพิษมากขึ้น
เมื่อสงสัยว่าผู้ป่วยมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ แพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อยืนยันโรคและหาสาเหตุที่แท้จริง ได้แก่
ไทรอยด์เป็นพิษสามารถรักษาได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุ ความรุนแรงของโรค และสภาพร่างกายของผู้ป่วย แพทย์จะเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละคน ซึ่งอาจเป็นการใช้ยา การรักษาด้วยไอโอดีน หรือการผ่าตัด มาดูกันว่าแต่ละแนวทางการรักษามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง
ยาที่ใช้ในการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษคือยาที่ออกฤทธิ์สกัดกั้นการสังเคราะห์ฮอร์โมนไทรอยด์ เช่น ยาต้านไทรอยด์ Methimazole และ Propylthiouracil (PTU) หรือยากลุ่ม Beta blockers ยากลุ่มนี้ช่วยบรรเทาอาการภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เช่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย และยาฮอร์โมน Glucocorticoids ที่ช่วยลดอาการปวดจากภาวะไทรอยด์อักเสบ โดยยาเหล่านี้แพทย์จะเป็นผู้กำหนดขนาดยาและระยะเวลาการรักษาเพื่อควบคุมโรคให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
ไอโอดีน-131 เป็นสารกัมมันตรังสีที่ช่วยทำลายเซลล์ต่อมไทรอยด์เพื่อลดการผลิตฮอร์โมน เมื่อผู้ป่วยรับประทานเข้าไป ไอโอดีน-131 จะถูกดูดซึมเข้าสู่ต่อมไทรอยด์และปล่อยรังสีออกมา ทำให้ต่อมไทรอยด์ค่อยๆ เล็กลง ส่งผลให้อาการของไทรอยด์เป็นพิษดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (Thyroidectomy) เป็นวิธีรักษาแบบเดิมที่เอาต่อมไทรอยด์บางส่วนออกเพื่อลดการผลิตฮอร์โมน เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา หรือมีภาวะต่อมไทรอยด์โตมาก หลังผ่าตัดผู้ป่วยอาจต้องได้รับยาฮอร์โมนไทรอยด์เสริมในระยะยาวเพื่อป้องกันภาวะพร่องไทรอยด์
อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดได้รับความนิยมลดลงเนื่องจากผู้ป่วยไม่อยากเจ็บตัว และยังมีความเสี่ยงฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาจากต่อมไทรอยด์มากเกินไปในระหว่างผ่าตัด ซึ่งทำให้เกิดอาการไทรอยด์เป็นพิษอย่างรุนแรงและเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
การตรวจไทรอยด์เป็นพิษสามารถทำได้เอง โดยการสังเกตความผิดปกติบริเวณลำคอด้วยการยืดลำคอขึ้น หันทางซ้ายและขวาช้าๆ ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือทั้งสองข้างคลำลำคอพร้อมๆ กันในแต่ละด้าน จากด้านหลังไปด้านหน้า และจากบนลงล่าง หากสัมผัสและรู้สึกถึงความติดขัดเหมือนมีก้อนให้ลองคลึงดู หากตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นก้อนผิดปกติให้พบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยต่อไป
แม้ว่าไทรอยด์เป็นพิษจะเกิดได้จากหลายปัจจัย รวมไปถึงปัจจัยที่ควบคุมได้ยาก เช่น กรรมพันธุ์หรือโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน แต่เราสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคไทรอยด์ได้ด้วยการดูแลสุขภาพ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ที่มากเกินไป และหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย โดยวิธีที่ช่วยป้องกันไทรอยด์เป็นพิษได้ มีดังนี้
โรงพยาบาลวิภาวดีให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพโรคไทรอยด์เป็นพิษ ให้บริการตรวจวินิจฉัย ให้คำปรึกษา และรักษาโรคไทรอยด์โดยแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์สูง พร้อมแพคเกจตรวจรักษาโรคไทรอยด์ ทั้งผู้ที่สงสัยว่ามีความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์ คุณแม่ตั้งครรภ์ ผู้ที่พบก้อนที่คอ อีกทั้งยังมีโปรโมชันพิเศษเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย
สามารถขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้คลินิกบริการอายุรกรรมโรงพยาบาลวิภาวดี 0-2561-1111 ต่อ 1222 หรือเข้ารับการตรวจและรักษาไทรอยด์ได้ที่โรงพยาบาลวิภาวดี ที่อยู่: 51/3 ถ.งามวงศ์วาน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
โทรนัดหมาย: 02-561-1111 หรือ 02-058-1111 ติดต่อประกันชีวิต ผ่าน LINE: @vibhainsurance
ไทรอยด์เป็นพิษเป็นภาวะความผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์ที่หลั่งออกมามากเกินไป จนส่งผลให้การเผาผลาญของร่างกายมากเกินความจำเป็น ผู้ป่วยมักมีอาการน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ มือสั่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น แม้ว่าไทรอยด์เป็นพิษจะพบได้ไม่บ่อย แต่หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาจ
พัฒนาและนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ซึ่งก็คือภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษขั้นวิกฤติ (Thyroid Storm)
ไทรอยด์เป็นพิษสามารถรักษาและป้องกันได้ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นสำรวจตัวเองเสมอ หากพบอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ ที่โรงพยาบาลวิภาวดีมีแพคเกจตรวจรักษาคัดกรองผู้ป่วยที่ต้องการตรวจคัดกรองโรคไทรอยด์เป็นพิษ และคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ เครื่องมือแพทย์ทันสมัย ได้มาตรฐาน
รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคไทรอยด์เป็นพิษ
ไทรอยด์เป็นพิษมีระยะเวลากำเริบของโรค (ควบคุมได้ด้วยยา) โดยมากประมาณ 1 - 2 ปี และมีระยะสงบ (ที่สามารถหยุดยาได้) สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้
ไทรอยด์เป็นพิษสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการกินยา การผ่าตัด หรือการใช้สารรังสี ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแพทย์และผู้ป่วย
การหลีกเลี่ยงอาหารที่ห้ามกินเป็นหนึ่งในวิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นไทรอยด์ ผู้ป่วยไทรอยด์ต่ำควรงดกินผักกาดขาว บรอกโคลี คะน้า และหัวไชเท้า ถั่วเหลือง ส่วนผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษควรระมัดระวังการทานอาหารที่มีสารไอโอดีน ซีลีเนียม และสังกะสีสูง เช่น เห็ด จมูกข้าวสาลี รำข้าว หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ บรอกโคลี และข้าวกล้อง
ไทรอยด์เป็นพิษเป็นโรคที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะเมื่อโรคดำเนินไปถึงภาวะไทรอยด์เป็นพิษขั้นวิกฤติ (Thyroid Storm)
โรคไทรอยด์ในเด็กมีสามเหตุคล้ายกับผู้ใหญ่ แต่การรักษามีความซับซ้อนมากกว่า เนื่องจากเด็กไม่สามารถรับการรักษาด้วยไอโอดีนกัมมันตรังสี และการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ในเด็กทำได้ยากกว่า เนื่องจากขนาดของต่อมไทรอยด์เล็กและมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนสูง
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved