แคดเมียม (Cadmium) มีสูตรทางเคมีคือ Cd
ค้นพบปี พ.ศ. 2360 ซึ่งในธรรมชาติมักปะปนอยู่ในแร่สังกะสีซัลไฟด์ และเป็นผลพลอยได้จากการถลุงแร่ สังกะสี แคดเมียมเป็นโลหะที่มีคุณสมบัติอ่อน งอได้ มีสีขาวปนน้ำเงินเป็นโลหะที่ทนต่อการกัดกร่อน มีจุด หลอมเหลวประมาณ 321 องศาเซลเซียส หากหลอมเหลวด้วยความร้อน และความกดดันสูงทำให้กลายเป็นไอ ควัน ในรูปแบบแคดเมียมออกไซด์ นอกจากนี้แคดเมียมอาจอยู่ในรูปเกลือหรือสารประกอบต่างๆ เช่น แคดเมียมออกไซด์ มีสีแดง แคดเมียมซัลเฟต มีสีเหลือง ใช้ในการผลิตสี และแบตเตอรี่นิกเกิล-แคดเมียม เป็น ต้น
การเข้าสู่ร่างกายและกลไกการเกิดโรค
เมื่อแคดเมียมถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้วนั้น ร้อยละ 80-90 จะจับกับโปรตีน (metallothionin) ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดพิษจากแคดเมียม และร้อยละ 50 ของแคดเมียมที่มีอยู่ทังหมดในร่างกาย สะสมอยู่ที่ตับ และไต
แคดเมียมมีระยะกึ่งชีพยาวนาน 7-30 ปี ตามปกติแคดเมียมถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ แต่ อัตราการขับออกทางปัสสาวะค่อนข้างต่ำและจำนวนเล็กน้อย ถูกขับออกทางน้ำดี น้ำลาย ผม และเล็บ
อาการเฉียบพลัน
(จากการหายใจรับไอควันแคดเมียม) อาการเฉียบพลัน
(จาการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มี
แคดเมียมเกินกว่า 15 มก/ลิตร)
ปวดศีรษะ มึนงง วิงเวียน ไข้หนาวสั่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน
คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย
เจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก สูญเสียน้ำ และเกลือแร่ อาจช็อกและไตวาย
อาการเรื้อรัง
โรคอิไต อิไต
เป็นโรคพิษแคดเมียมที่มีผลต่อกระดูก การที่ไตขับแคลเซียมและฟอสฟอรัส ออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น ต่อ เมแทโบลิซึมของกระดูก ทำให้เกิดกระดูกเปราะ กระดูกพรุน และ หักง่าย
แคดเมียมกับมะเร็ง ซึ่งมีผล
แคดเมียมจัดว่าเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง การรับสารแคดเมียมเป็นเวลานาน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง ต่อมลูกหมาก และมะเร็งปอด ได้ เป็นต้น
แคดเมียมก่อให้เกิดโลหิตจาง
แคดเมียมยังก่อให้เกิดการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น ภาวะซีด
ฝุ่น pm 2.5 ที่มีฝุ่นละอองของแคดเมียม
และก่อให้เกิดการขาดธาตุเหล็ก ทำให้เกิด
มีผลกระทบต่อ โรคทางเดินหายใจ โรคปอด โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น
การป้องกัน
1. หลีกเลี่ยงอาหารที่ปลูกและผลิตในพื้น ที่ ที่มีการปนเปื้อนของแคดเมียมในปริมาณที่สูง
2. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในบริเวณที่มีคนกำลังสูบบุหรี่
3. สวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละออง แคดเมียม ป้องกันไอควันแคดเมียม ให้เหมาะสม
4. งดเข้าพื้นที่เสี่ยง
5. หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจ า โดยเฉพาะการตรวจปัสสาวะ เพื่อดูภาวะความเสื่อมของไต
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
1. ในกรณีสูดดม ฝุ่นละอองแคดเมียม หรือไอควันแคดเมียม ให้ ออกจากพื้นที่นั้น รับอากาศ บรสทธ และส่งแพทย์ทันที
2. หากมีการกลืนกิน หรือดื่ม อาหารหรือน้ำดื่มที่มีแคดเมียมปนเปื้อน ให้ดื่มน้ำตามทันที 2 แก้ว แล้วรีบพบแพทย์
3. หากฝุ่นละอองแคดเมียมหรือ ไอควัน เข้าตา อาจ มีอาการแสบเคืองตา น้ำตาไหล ให้ล้างตา ด้วยน้ำสะอาดปริมาณมากๆ
และพบจักษุแพทย์
4. หากสัมผัสทางผิวหนัง ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนออกทันที ล้างด้วยน้ำไหลผ่าน รีบพบแพทย์
5. งดเข้าพื้นที่เกิดเหตุ ติดตามสถานการณ์ สังกตุอาการตนเอง หากผิดปกติ รีบพบแพทย์
แพทย์หญิง นวพรรณ ผลบุญ
แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์
ศูนย์อาชีวอนามัย โรงพยาบาลวิภาวดี
Privacy Policy | Cookie Policy
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved