ต้อหิน ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม
โรคต้อหิน เกิดจากความเสื่อมของขั้วประสาทตา ซึ่งขั้วประสาทตา เป็นศูนย์รวมของใยประสาทตาที่เชื่อมระหว่างตาไปยังสมอง เมื่อมีความเสื่อมเกิดขึ้น ทำให้คนไข้ตามัวลงเรื่อยๆ จนตาบอดในที่สุด สาเหตุที่ทำให้เกิดความเสื่อมของขั้วประสาทตา มาจากมีความดันในลูกตาที่สูงมากขึ้นเกินปกติ โดยปกติคนทั่วไปจะมีค่าความดันลูกตาที่ไม่เกิน 21 มิลลิเมตรปรอท สำหรับคนไข้ต้อหินมีจะความดันในลูกตาที่สูงมากกว่าปกติ ทำให้เกิดแรงดันในลูกตาไปกดทับเส้นประสาทตา เส้นประสาทตาก็จะค่อยๆ เสื่อมมากขึ้นและตาบอดในที่สุด
สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่คนไข้จะมีโอกาสเป็นต้อหิน ได้แก่ คนที่มีประวัติครอบครัว เป็นต้อหิน หรือญาติสายตรงเป็นโรคต้อหิน กลุ่มคนเหล่านี้จะมีความเสี่ยงกว่าคนปกติถึง 9 เท่า คนที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับหลอดเลือด เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคไมเกรน นอกจากนั้น คนไข้ที่มีสายตาสั้นหรือยาวมากกว่าปกติ ก็มีความเสี่ยงมากขึ้น ,คนไข้ที่ประสบอุบัติเหตุทางตามาก่อน ทำให้เกิดเลนส์ตาเคลื่อน หรือมีกายวิภาคของตาผิดปกติไปจากเดิม คนไข้ที่ใช้ยาบางตัวอยู่เป็นประจำ เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์ ทั้งในรูปแบบของการยาหยอดตา ยารับประทาน หรือแม้แต่ยาพ่นก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นต้อหินมากกว่าคนปกติ
สัญญาณเบื้องต้นของโรคต้อหินนั้น จริงๆ แล้ว คนไข้โรคต้อหินส่วนใหญ่จะไม่มีอาการในระยะแรก เพราะคนไข้ 70-80% เป็นประเภทต้อหินเรื้อรัง คนไข้กลุ่มนี้จะมีความดันลูกตาเพิ่มขึ้นทีละน้อย ทำให้เกิดความเคยชินกับความดันลูกตาที่ค่อยๆเพิ่มสูงขึ้น จึงไม่เกิดอาการปวดรุนแรง แต่ว่าคนไข้มีอาการจะเริ่มตามัวลงอย่างช้าๆ โดยที่การสูญเสียการมองเห็นจะเริ่มมาจากด้านข้าง ทำให้ลานสายตาค่อยๆแคบลง จนกระทั่งมัวบริเวณตรงกลางที่มอง คนไข้ถึงจะรู้สึกตัวว่าการมองเห็นลดลง จึงมาหาหมอ ซึ่งเป็นระยะท้ายของโรคแล้ว
ดังนั้น โรคต้อหินมุมเปิดเรื้อรังจึงไม่มีอาการในระยะแรกของโรค ยกเว้นถ้าเป็นต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน จึงจะมีอาการปวดตารุนแรง ดังนั้นถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการก็ควรมาตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะคนไข้กลุ่มเสี่ยง ระยะเวลาสำหรับคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มผู้สูงมากกว่า 40 ปี อายุควรตรวจเป็นประจำทุกปี และไม่ควรซื้อยามาหยอดเอง ควรใช้ยาในความดูแลของแพทย์ ได้เพียงแค่ให้การมองเห็นที่มีอยู่ทรงตัวไม่ให้แย่ลง เพราะฉะนั้นควรตรวจพบในระยะแรกมีความสำคัญ เพื่อการรักษาที่ดี และป้องกันตาบอดให้ได้มากที่สุด
โดย พญ.ฤทัยรัตน์ วินิจฉัย จักษุแพทย์ สาขาต้อหิน
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved