การผ่าตัดแปลงเพศ
ในผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตใจซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกขัดแย้งของการรับรู้เพศที่ไม่สอดคล้องกับเพศที่แท้จริง ทางการแพทย์เรียกว่าgender dysphoriaหรือgender identity disorderเป็นความผิดปกติที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากในปัจจุบันสังคมยอมรับคนเหล่านี้มากขึ้นทำให้เขากล้ามารับการรักษามากขึ้นและได้ผลดี ทำให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ก่อนผ่าตัด
ก่อนที่จะทำการผ่าตัดแพทย์จะต้องทำการวินิจฉัยให้ได้ก่อนว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ และสามารถจะมำการผ่าตัดได้หรือไม่โดยมีขั้นตอนการพิจารณาดังนี้
- ผู้ป่วยต้องใช้ชีวิตอยู่ในสังคมในเพศที่ตรงข้ามกับเพศจริงทางร่างกายตลอดเวลาและประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิตเป็นเวลาอย่างน้อย12เดือน
- ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจและประเมินพฤติกรรมโดยจิตแพทย์อย่างน้อย2คนและหนึ่งในสองคนต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ
- ต้องได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนเพื่อเตียมสภาพร่างกายให้อยู่ในเพศตรงข้ามเสียก่อน
- ก่อนผ่าตัดแปลงเพศต้องผ่าตัดส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสร้างอวัยวะเพศเสียก่อน
เป้าหมายในการสร้างอวัยวะเพศหญิงใหม่คือ
- การสร้างช่องคลอดเทียมที่มีขนาดและความลึกพอสมควรเพื่อสามารถใช้ในการร่วมเพศได้ในกรณีที่ต้องการแต่ถ้าไม่จำเป็นต้องใช้ก็อาจไม่จำเป็นต้องสร้างให้มีความลึกมากก็ได้
- สร้างรูปร่างของอวัยวะเพศใหม่ให้ดูคล้ายกับอวัยวะเพศหญิงให้มากที่สุด ได้แก่ แคมนอกและแคมใน
- เปลี่ยนแนวของท่อปัสสาวะให้ถูกต้องโดยเวลาปัสสาวะจะต้องพุ่งลงด้านล่าง
- สร้างจุดรับสัมผัสหรือคลิตอริส
ภาวะแทรกซ้อน
- แผลผ่าตัดแยกหรือหายช้าหรือช่องคลอดใหม่หลุดลอกออกพบได้บ่อยพอสมควรเนื่องจากแผลผ่าตัดมีจุดที่ต้องมีการเย็บประกอบขึ้นมาจากผิวหนังหลายส่วน รวมทั้งการดูแลหลังผ่าตัดที่ไม่เหมาะสมหรือการใช้งานอวัยวะเพศใหม่เร็วเกินไป ถ้าแผลแยกหรือหลุดลอกไม่มากอาจใช้การทำแผลไปเรื่อยๆจนแผลหายเองได้แต่ถ้าเป็นมากอาจจะต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข
- เลือดคั่งใต้แผลผ่าตัด
- ช่องคลอดตีบ หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องทำการขยายช่องคลอดอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย6-12เดือน มิฉะนั้นก็อาจจะเกิดช่องคลอดตีบแคบได้ ถ้าเกิดใหม่ๆหลังการผ่าตัดก็อาจจะทำการถ่างขยายได้ แต่ถ้าทิ้งเอาไว้นานจนมีพังผืดแข็งก็อาจจำเป็นต้องอาศัยการผ่าตัดแก้ไข
- ช่องคลอดตื้น เช่นเดียวกับช่องคลอดตีบถ้าเกิดในระยะหลังก็จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อหาเนื้อเยื่ออื่นมาเสริมเพื่อเพิ่มความลึกแทน เช่น สำไส้ใหญ่ เป็นต้น
- ช่องคลอดทะลุเข้าไปในลำไส้ใหญ่ ต้องแก้ไขโดยการผ่าตัด ถ้าไม่รุนแรงก็อาจจะเย็บปิดได้เลย แต่ถ้าเกิดการติดเชื้อรุนแรงก็อาจจะต้องระบายอุจจาระออกทางหน้าท้องก่อนเพื่อให้แผลรอยทะลุหายสนิทดีก่อนค่อยนำลำไส้กลับเข้าที่เดิม
แพทย์
![](https://www.vibhavadi.com/assets/images/doctors/d236img1.jpg)
นพ.นราธิป ทรงทอง
แผนกศัลยกรรม (ศัลยศาสตร์ตกแต่ง)