ภาวะที่กรดในกระเพาะอาหารจะถูกหลั่งออกมาเพื่อการย่อยอาหาร กรดในกระเพาะนั้นไม่มีการไหลย้อนขึ้นสู่หลอดอาหารส่วนบน แต่ในภาวะผิดปกติอาจไหลย้อนผ่านกล้ามเนื้อหูรูดส่วนบนของหลอดอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบ และมีแผล (erosive esophagitis) หรือหลอดอาหารอักเสบโดยไม่เกิดแผล (non-erosive esophagitis)
นอกจากนี้กรดนี้อาจไหลย้อนผ่านหลอดอาหารเข้าสู่หลอดคอและกล่องเสียง (Laryngopharyngeal reflux : LPR) เกิดพยาธิสภาพต่าง ๆ เพราะเยื่อบุกล่องเสียง และหลอดคอบอบบางทนสภาวะกรดได้ไม่ดี รวมทั้งอาจก่อปัญหาด้านระบบการหายใจและปอด
ปัจจัยหรือพฤติกรรมบางอย่าง เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการไหลย้อนกลับ ของกรดหรือน้ำย่อยจากหลอดอาหารภาวะนี้เกิดได้ตลอดเวลา และไม่ว่ากำลังรับประทานอาหารหรือไม่ก็ตามพบอาการนี้ได้ตั้งแต่ทารกจนถึงผู้ใหญ่
อาการที่กล่าวข้างต้น อาจเป็น ๆ หาย ๆ หรือเป็นตลอดให้ปรึกษาแพทย์ หู คอ จมูก ซึ่งแพทย์จะตรวจทาง หู คอ จมูก เพื่อดูว่ามีความผิดปกติบริเวณกล่องเสียง และคอหรือไม่ เพื่อแนะนำการรักษาและปฏิบัติตัวต่อไป
ภาวะกรดไหลย้อนรักษาอย่างไรขึ้นอยู่กับอาการ และสุขภาพของแต่ละคน โดยทั่วไปหลักการรักษามี 3 ประการ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เป็นเป้าหมายสำคัญของการรักษา เพื่อให้อาการหายขาด และป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรค โดยปฏิบัติดังนี้
กินอย่างถูกสุขลักษณะ - ไม่ปล่อยให้ท้องว่าง และอย่าให้แต่ละมื้อผ่านไปอย่างเร่งรีบ เคี้ยวอาหารให้ละเอียด และเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการลุกเดินหลังมื้ออาหาร นั่งนิ่งๆ หลีกเลี่ยงการนอนราบทันที เพราะจะทำให้กระเพาะอาหารย่อยช้า โดยเฉพาะมื้อเย็นและทิ้งเวลาให้ย่อยอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนนอน เพราะหากอาหารไม่ย่อยแล้วนอน เป็นผลให้กระเพาะกับหลอดอาหารอยู่ในแนวราบเดียวกัน กรดในกระเพาะจะไหลย้อนกลับสู่หลอดอาหารได้ หลีกเลี่ยงอาหาร และเครื่องดื่ม ได้แก่ ชา กาแฟ น้ำอัดลม อาหารทอด อาหารรสจัด อาหารมัน ๆ ช็อคโกแลต ผักผลไม้บางชนิด เช่น ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว สะระแหน่ หอมหัวใหญ่ ถั่ว นม (ดื่มนมพร่องมันเนยได้)
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยต้องรักษาค่อนข้างต่อเนื่อง ตั้งแต่ 6 อาทิตย์ ถึง 6 เดือน บางคนอาการจะหายไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งอาจหยุดยาได้หลายเดือนหรือหลายปี ขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนนิสัยหรือสภาพแวดล้อม พยาธิสภาพของแต่ละบุคคล และต้องทำความเข้าใจด้วยว่า
โรคนี้อาจหายขาดไปเลยหรืออาจกลับมาเป็นใหม่ได้อีก
พญ. ดวงพร โชคมงคลกิจ
อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร รพ.วิภาวดี
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved