มะเร็งปากช่องคลอดอุบัติการณ์พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของมะเร็งทางนรีเวชวิทยาและประมาณร้อยละ 0.6 ของโรคมะเร็งที่พบในสตรี (1,2) และมักพบมากในสตรีหมดประจําเดือน
สาเหตุของโรคมะเร็งปากช่องคลอดเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ การติดเชื้อไวรัสเฮชพีวี (HPV) การมีรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งของปากช่องคลอด (Vulvar intraepithelial neoplasia) มีรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก (Cervical intraepithelial neoplasia) โรค Lichen sclerosus สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ อ้วน ภูมิคุ้มกันตํ่า เคยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกมาก่อน (3,4) มะเร็งปากช่องคลอดมีสองชนิด (5)
ชนิดที่ 1 ชนิด Basaloid หรือ Warty
ชนิดที่ 2 ชนิด Keratinizing
ชนิดที่ 1 | ชนิดที่ 2 | |
อายุ | อายุช่วง 35-65 ปี | อายุช่วง 55-85 ปี |
รอยโรค | หลายๆจุด | จุดเดียว |
ปัจจัยเสี่ยง | ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง | เซลล์ผิดปกติขอปากช่องคลอด ที่เรียกว่า Vulvar Atypia |
พยาธิวิทยา | ชนิด Basaloid หรือ Warty | ชนิด Keratinizing |
การติดเชื้อไวรัสเฮชพีวี | เฮชพีวีชนิด 16,33 | ไม่สัมพันธ์กัน |
ประวัติโรคหูดหงอนไก่ | พบบ่อย | ไม่สัมพันธ์กัน |
ประวัติโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ | พบบ่อย | ไม่สัมพันธ์กัน |
การวินิจฉัย
โดยการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาชนิดของมะเร็งปากช่องคลอดร้อยละ 90 เป็นชนิด
Squamous Cell Carcinoma รองมาคือ Melanoma ซึ่งพบประมาณร้อยละ 2-4 ถัดลงมาคือ Basalcell Carcinoma พบได้ร้อยละ 2-3
การแบ่งระยะของมะเร็งปากช่องคลอด (6)
ระยะที่ 1 โรคจำกัดอยู่ที่ปากช่องคลอด
-ระยะ 1A รอยโรคขนาด ≤ 2 เซนติเมตร และมีการลุกลามไปในชั้นสโตรมา ≤ 1 มิลลิเมตร
-ระยะ 1B รอยโรคขนาด > 2 เซนติเมตร และมีการลุกลามไปในชั้นสโตรมา > 1 มิลลิเมตร
ระยะที่ 2 รอยโรคไม่จำกัดขนาดและมีการแพร่กระจายไปที่อวัยวะข้างเคียง (หนึ่งในสามส่วนล่างของท่อปัสสาวะ และ/หรือหนึ่งในสามของช่องคลอดส่วนล่าง และ/หรือทวารหนัก)
ระยะที่ 3 รอยโรคไม่จำกัดขนาดและมีการแพร่กระจายไปที่อวัยวะข้างเคียง (หนึ่งในสามส่วนล่างของท่อปัสสาวะ และ/หรือหนึ่งในสามของช่องคลอดส่วนล่าง และ/หรือทวารหนัก) ร่วมกับมีการแพร่กระจายไปยังต่อมนํ้าเหลือง
-ระยะ 3A แพร่กระจายไปที่ต่อมนํ้าเหลืองขาหนีบ 1ต่อม โดยมีขนาด ≥ 5 มิลลิเมตร หรือแพร่กระจายไปยังต่อมนํ้าเหลืองขาหนีบ 1-2 ต่อมโดยมีขนาด < 5 มิลลิเมตร
-ระยะ3B แพร่กระจายไปที่ต่อมนํ้าเหลืองขาหนีบ ≥ 2ต่อม โดยมีขนาด ≥ 5 มิลลิเมตร หรือแพร่กระจายไปยังต่อมนํ้าเหลืองขาหนีบ ≥ 3 ต่อม โดยมีขนาด < 5 มิลลิเมตร
-ระยะ3C แพร่กระจายไปที่ต่อมนํ้าเหลืองขาหนีบและมีการกระจายไป Extra Capsule
ระยะที่ 4
-ระยะ4A รอยโรคแพร่กระจายไปที่ส่วนบนของท่อปัสสาวะและ/หรือ ส่วนบนของช่องคลอด เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะเยื่อบุลำไส้ตรง กระดูกเชิงกรานระยะ 4B แพร่กระจายไปอวัยวะอื่นๆ
References
1. Siegel RL, Miller KD, Jemal A. Cancer Statistics, 2017. CA Cancer
J Clin 2017;67:7-30
2. U.S. Cancer Statistics Working Group. United States Cancer
Statistics
3. Madsen BS, Jensen HL, et al. Risk factors for invasive squamous
cell carcinoma of the vulva and vagina—population-based
study in Denmark. Int J Cancer 2008;122:2827-2834
4. Brinton LA, Thistle JE, et al. Epidemiology of vulvar neoplasia in
the NIH-AARP study. Gynecol Oncol 2017;145:298-304
5. Crum CP. Carcinoma of the vulva: epidermiology and
pathogenesis. Obstet Gynecol 1992; 79:448-54
6. Pecorelli S. Revised FIGO staging for carcinoma of the vulva,
cervix, and endometrium. Int J Gynecol Obstet 2009;105:103-4__
สามารถสอบถามเพิ่มเติมและรับบริการตรวจได้ที่แผนกสูติ-นรีเวช ชั้น 2 อาคาร 2
คลิก https://www.vibhavadi.com/Center/Clinics/id/02
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved